Twitter ประเทศไทยร่วมกับ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และสภาทนายความ เปิดตัว #ThereIsHelp เมื่อผู้ใช้งานค้นหาคำสำคัญเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก จะได้รับการแจ้งเตือนอัตโนมัติเป็นภาษาไทย รวมถึงช่องทางให้บริการสายด่วนของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และสภาทนายความได้ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานกฎหมายจาก iLaw
หน่วยงานโทรคมนาคมของปากีสถาน หรือ PTA เผยว่า ได้บล็อกแอปหาคู่ 5 ตัวคือ Tinder, Grindr, Tagged, Skout และ SayHi เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายท้องถิ่น และเผยแพร่เนื้อหาผิดศีลธรรม ปัจจุบันปากีสถานถือเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากอินโดนีเซีย และการรักร่วมเพศยังถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย
รัฐบาลสิงคโปร์ มีคำสั่งให้ Facebook แก้ไขโพสต์หนึ่งในระบบ เนื่องจากว่าเป็นโพสต์ "ข่าวปลอม" (fake news) ตามกฎหมายใหม่ Protection from Online Falsehoods and Manipulation Act (POFMA) ที่เพิ่งออกในเดือนพฤษภาคม
โพสต์ดังกล่าวมาจากเพจชื่อ States Times Review โดยผู้ใช้ชื่อ Alexa Tan ที่อยู่ในออสเตรเลีย แต่เป็นเพจที่วิจารณ์รัฐบาลสิงคโปร์อยู่บ่อยครั้ง และเรียกร้องให้พรรครัฐบาล People’s Action Party (PAP) ลงจากอำนาจ ฝั่งของ Alex Tan เจ้าของเพจระบุว่าเขามีสถานะเป็นประชากรของออสเตรเลียแล้ว (แม้เกิดในสิงคโปร์) และไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลสิงคโปร์
การใช้งานโซเชียลมีเดีย มีการเซนเซอร์คำพูดและเนื้อหาการเมืองเป็นเรื่องปกติ มีเว็บไซต์และผู้ใช้งานถูกแบนตลอดเวลา แต่ล่าสุดแม้แต่แชทบ็อตก้ไม่รอดโดนแบนด้วย ล่าสุด Tencent เจ้าของแอพ WeChat ที่คนจีนส่วนใหญ่ใช้สนทนาพูดคุยกัน แบนแชทบ็อตของไมโครซอฟท์ซึ่งในจีนใช้ชื่อเรียกว่า Xiaobing
Xiaobing ไม่ได้เป็นผู้ช่วยอัจฉริยะระดับ Alexa ของ Amazon หรือ Siri ของ Apple แต่เป็น AI ที่สามารถสนทนากับผู้ใช้งานได้ ซึ่ง Tencent ให้เหตุผลในการแบน Xiaobing ว่าละเมิดกฎระเบียบแพลตฟอร์ม แต่ไม่ได้บอกว่าละเมิดอย่างไร
แม้ประเทศเวียดนามจะมีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและเปิดกว้างต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามยังคงเซ็นเซอร์สื่ออย่างเข้มงวด ล่าสุดรัฐบาลออกมาบอกว่า Facebook ละเมิดกฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่ของเวียดนามโดยอนุญาตให้ผู้ใช้โพสต์ความคิดเห็นต่อต้านรัฐบาล
สำนักข่าวเวียดนามอ้างคำพูดกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสารเวียดนามบอกว่า Facebook ยังไม่มีการตอบกลับใดๆ จากการที่รัฐบาลร้องขอให้ Facebook ลบแฟนเพจที่กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมที่นำไปสู่การต่อต้านรัฐบาล
กฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่เวียดนามที่มีผลบังคับใช้ 1 มกราคมที่ผ่านมามีข้อกำหนดให้บริษัทอินเทอร์เน็ตตั้งสำนักงาน และศูนย์จัดเก็บข้อมูลไว้ในประเทศ ทำให้เกิดความกังวลว่า ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานจะไม่ปลอดภัย และเจ้าหน้าที่รัฐบาลจะใช้อำนาจควบคุมบริษัทอินเทอร์เน็ต
บน Netflix มี Patriot Act With Hasan Minhaj เป็นรายการพูดถึงสังคมการเมืองและถ่ายทอดออกมาในฉบับทอล์คโชว์ โดยตอนหนึ่งในรายการมีพูดวิจารณ์ถึงนโยบายของ Mohammed bin Salman มกุฎราชกุมารของซาอุดิอาระเบีย ส่งผลให้รายการตอนดังกล่าวถูกแบนในประเทศตามคำขอของรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย
ยังไม่มีความชัดเจนอย่างเป็นทางการเรื่อง Google จะกลับไปเปิดบริการเสิร์ชในจีนหรืออีกนามว่า Dragonfly แต่มีข่าวลือว่าตัวบริการเสิร์ชนี้นอกจากจะบล็อคคำและเว็บไซต์ตามนโยบายเซนเซอร์เนื้อหาของจีนแล้ว ยังจะสามารถเชื่อมเบอร์โทรศัพท์ส่วนตัวของคนจีนได้ด้วย
เว็บไซต์ The Intercept อ้างอิงแหล่งข่าววงในบอกว่า ตัวเสิร์ชสามารถเชื่อมไปยังเบอร์มือถือของผู้ใช้งานแอนดรอยด์ได้ ซึ่งหมายความว่าการค้นหาของผู้ใช้แต่ละรายสามารถติดตามได้ง่ายและผู้ใช้ที่หาข้อมูลที่รัฐบาลห้าม นอกจากนี้มีรายงานตัวอย่างคำภาษาจีนที่เป็นคำต้องห้ามบนตัวเสิร์ชคือ "สิทธิมนุษยชน" "การประท้วงของนักศึกษา" และ "รางวัลโนเบล"
Knight First Amendment Institute สถาบันด้านเสรีภาพในโลกดิจิทัลเผยว่า แม้ศาลจะสั่งห้ามประธานาธิบดีทรัมป์บล็อคผู้ใช้บน Twitter แล้ว แต่ตอนนี้ประธานาธิบดียังคงไม่ยกเลิกการบล็อคบัญชี Twitter อีกกว่า 41 บัญชี และเรียกร้องให้ประธานาธิบดีปลดบล็อคกลุ่มคนดังกล่าวด้วย
รัฐบาลเวียดนามผ่านกฎหมายไซเบอร์ใหม่ท่ามกลางเสียงคัดค้าน เนื่องจากกฎหมายจำกัดสิทธิหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นระบุให้บริษัทไอทีที่ทำการตลาดในเวียดนาม จัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งานเวียดนามให้อยู่ในประเทศเท่านั้น และยังระบุให้ Facebook และ Twitter ต้องลบเนื้อหาสุ่งเสี่ยงออกภายใน 24 ชั่วโมงหากมีเจ้าหน้าที่ร้องขอให้ลบ
สำนักข่าว The New York Times รายงานว่า รัฐบาลอัฟกานิสถานได้แบน WhatsApp ชั่วคราว โดยส่งจดหมายไปที่บริษัทด้านการโทรคมนาคมเอกชนให้บล็อกบริการ ซึ่งตอนนี้ทางบริษัทกำลังตัดสินใจว่าจะแบนตามคำขอของรัฐบาลหรือไม่ ในขณะที่ฝั่ง Salaam Telecom ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมของรัฐบาลมีผู้ใช้รายงานว่า WhatsApp และ Telegram ไม่สามารถใช้งานได้มาสักพักแล้ว
จากกรณีเหตุปะทะระหว่างกลุ่มนิยมคนขาวแบบสุดโต่งกับกลุ่มต้านการเหยียดผิวเกิดขึ้นที่ชาร์ล็อตต์วิลล์จนทำให้วงการไอทีออกตัวต่อต้านชัดเจน ทั้ง GoDaddy, Google, Discord, Facebook, Twitter, Apple, Spotify ฯลฯ พร้อมใจกันระงับการใช้งานเว็บนาซีใหม่ (neo-Nazi) หรือ Daily Stormer กันเต็มที่ แม้จะมีทนายความอาวุโสจาก EFF เคยให้สัมภาษณ์กับ The Verge ว่า GoDaddy มีสิทธิที่จะไม่ให้บริการโดเมนแก่เว็บใดๆ ก็ย่อมได้
ล่าสุด EFF (Electronic Frontier Foundation) ผู้สนับสนุนให้มีการบริการคอนเทนต์อย่างเป็นกลาง ชี้แจงผ่านบทความการต่อสู้กับนาซีใหม่และอนาคตของเสรีภาพในการแสดงออก พูดถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่ามีทั้งอารมณ์ ตรรกะ และการบิดการใช้กฎหมายผสมผสานกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้แทคติกใดๆ ก็ได้ที่ทำให้เสียงของเหล่า neo-Nazi เงียบลง ขณะเดียวกันฝั่งที่เราเห็นด้วยก็อาจจะได้รับผลกระทบในไม่ช้า
เว็บไซต์ข่าว South China Morning Post รายงานข่าวว่าหน่วยงานจัดการไซเบอร์ของจีน หรือ Cyberspace Administration of China กำลังอยู่ระหว่างสอบสวนเนื้อหาในอินเทอร์เน็ตจากสามแพลตฟอร์มใหญ่คือ WeChat, Weibo และ Baidu โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่าพบว่ามีผู้ใช้งานบางรายเผยแพร่ข้อมูลรุนแรง หยาบคาย เป็นภัยต่อความมั่นคง ความเป็นระเบียบของชาติ
Weibo ตอบนักข่าวกรณีกล่าวหาดังกล่าวว่า "Weibo เสียใจอย่างยิ่งต่อประสบการณ์เชิงลบของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เกิดจากข้อมูลที่เป็นอันตราย โดยเราจะเร่งแก้ปัญหาและให้ความร่วมมือกับการสืบสวน" ด้าน Baidu ก็ระบุจะเพิ่มมาตรการเซ็นเซอร์อย่างเข้มข้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีการแสดงข้อมูลผิดกฎบนโลกออนไลน์ และ Tencent ผู้สร้าง Wechat ก็ระบุไปในทำนองเดียวกันคือจะให้ความร่วมมือกับการสอบสวน
สถาบัน The Knight First Amendment จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ฟ้องร้องประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ไล่บล็อคผู้ใช้ทวิตเตอร์รายอื่น กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการเข้าถึงข้อมูล
ทางสถาบันระบุว่า เมื่อใดก็ตามที่ข้อมูลโซเชียลมีเดียถูกใช้โดยประธานาธิบดี ข้อมูลนั้นก็ทำหน้าที่เป็นข้อมูลสาธารณะ เทียบเท่าได้กับข้อมูลจากสถาบันการเมือง รัฐบาลท้องถิ่นและโรงเรียน หากประธานาธิบดีบล็อคบัญชีทวิตเตอร์ที่ล้อเลียนเยาะเย้ย ก็เท่ากับละเมิดสิทธิพลเมือง
ถึงแม้จะไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี แต่ด้วยความเป็นสื่อจึงขอเขียนถึงประเด็นนี้สักเล็กน้อยครับ
องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน (Reporters without Border / Reporters sans frontières - RSF) องค์กรนอกภาครัฐ (NGO) ระดับนานาชาติที่สนับสนุนเสรีภาพ ได้ออกดัชนีเสรีภาพสื่อ (World Press Ranking Index) เป็นประจำทุกปีและดัชนีในปีนี้ก็ออกมาแล้ว
ดัชนีเสรีภาพสื่อในปีนี้ประเทศไทยตกอยู่ในอันดับ 142 จากทั้งหมด 180 ประเทศ ตกลงจากอันดับ 136 ในปีก่อน อยู่ในโซน "สถานการณ์ที่ยากลำบากสำหรับสื่อ (Difficult Situation)" ส่วนประเทศที่ได้ท็อป 5 คือ นอร์เวย์, สวีเดน, ฟินแลนด์, เดนมาร์กและเนเธอแลนด์ ส่วน 3 อันดับสุดท้ายได้แก่ เกาหลีเหนือรั้งท้าย ตามมาด้วยเอริเทรียและเติร์กเมนิสถาน
ที่งานประชุม Bloomberg technology conference นาย Omid Kordestani ประธาน Twitter กล่าวถึงความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆใน Twitter โดยเฉพาะประเด็นการเมืองกระแสความเกลียดชังผู้อพยพว่า ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ ความคิดเห็นที่หยาบคายรุนแรง ก็ควรมีที่ยืนใน Twitter
ในบรรยากาศหาเสียงและการเลือกตั้งหยั่งเสียง นโยบายต่อต้านผู้ลี้ภัยของ Donald Trump ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าย Republican ก็ได้รับการพูดถึงทั่วสหรัฐฯ มีทั้งกระแสต้าน และกระแสหนุน พื้นที่ใน Twitter เป็นอีกช่องทางที่มีประเด็นทางการเมือง ความเกลียดชัง Hate Speech จากเหล่าผู้ใช้ตลอดเวลา
Kordestani ยังกล่าวเพิ่มเติมอย่างน่าสนใจว่า วาทกรรมเป็นสิ่งสำคัญต่อระบอบประชาธิปไตย แทนที่จะเป็นรถถังและกองกำลังบนถนน เพราะเป็นบรรยากาศที่ทำให้การถกเถียงมันเกิดขึ้น
ที่มา - Techcrunch
John S. and James L. Knight Foundation มูลนิธิการกุศลเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของสื่อในสหรัฐอเมริกา ประกาศมอบทุนกว่า 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.1 พันล้านบาท) ให้ Columbia University เพื่อจัดตั้ง Knight First Amendment Institute สถาบันภายในกำกับของมหาวิทยาลัย เพื่อปกป้องเสรีภาพการแสดงความเห็นบนโลกดิจิทัล
สถาบันดังกล่าวนี้จะมีส่วนในการสนับสนุนสื่อมวลชนในสามด้าน คือกิจกรรมด้านการศึกษาและการวิจัย (เช่น การประชุมประจำปี Sunshine Week), เป็นเครือข่ายร่วมกับมูลนิธิหรือองค์กรการกุศลด้านสิทธิเสรีภาพบนโลกดิจิทัลอย่าง EFF และเป็นกองทุนให้กับการส่งเสริม (advocates) สิทธิเสรีภาพสื่อบนโลกออนไลน์
Freedom House ออกรายงานจัดอันดับเสรีภาพอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ปีนี้ไทยได้คะแนน 63 คะแนนเต็ม 100 (ยิ่งมากยิ่งไม่เสรี) ตกลงจากปีที่แล้วที่ได้ 62 คะแนนและนับเป็นคะแนนแย่ที่สุดตั้งแต่มีการสำรวจดัชนีนี้มาตั้งแต่ปี 2011
รายงานระบุสามประเด็นหลักที่มีความเปลี่ยนแปลงในไทย ได้แก่ ศาลทหารตัดสินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นโทษหนักถึง 60 ปี (สารภาพแล้วลดโทษเหลือ 30 ปี), การกักตัวคนจำนวนกว่า 400 คนในค่ายทหารและเข้าตรวจสอบข้อมูลเครือข่ายสังคมออนไลน์ของแต่ละคน, กฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอลที่ทำลายความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงออก
หนึ่งในปัญหาที่ถกเถียงกันสำหรับผู้ดูแลเว็บไซต์เวลาเกิดปัญหาทางกฎหมายขึ้นมา คือตัวเว็บไซต์หรือเจ้าของเว็บไซต์ จำเป็นที่จะต้องรับผิดชอบต่อความเห็นที่อยู่บนเว็บไซต์ตัวเองหรือไม่ และจากคำตัดสินล่าสุดของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเมื่อวานนี้ ทำให้ระบุว่าเว็บไซต์นั้นต้องรับผิดชอบต่อความเห็นที่ถูกโพสต์ในเว็บด้วย
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก โพสแถลงการณ์ต่อเหตุการณ์ยิงหนังสือพิมพ์ในฝรั่งเศส ระบุว่าเหตุการณ์การยิงโดยกลุ่มหัวรุนแรงนี้และเหตุการณ์หลายปีก่อนที่ชายหัวรุนแรงในปากีสถานพยายามตัดสินโทษประหารต่อตัวมาร์กเอง เพราะเฟซบุ๊กไม่แบนข้อความเกี่ยวกับโมฮัมหมัดทีทำให้ชายคนนั้นไม่พอใจ แสดงว่าทุกคนต้องปฎิเสธความพยายามของกลุ่มหัวรุนแรงที่จะทำให้คนอื่นเงียบ
เขาระบุว่าแม้ว่าเฟซบุ๊กจะเคารพกฎหมายแต่ละประเทศ แต่เฟซบุ๊กไม่ยอมให้ประเทศไหนมากำหนดว่าใครแชร์อะไรได้บ้างในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และการกระทำของกลุ่มหัวรุนแรงในฝรั่งเศสเป็นเรื่องที่เราต้องไม่ยอมรับ
ที่มา - Facebook
คำแปลจากแถลงการณ์
หลังจากที่ YouTube Movies และ Google Play Movies ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในบริการที่เปิดให้ชม The Interview ทางกูเกิลก็ได้ออกมาเปิดเผยเหตุผลในการตัดสินใจในครั้งนี้แล้วครับ
กูเกิลบอกว่าเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ทางโซนี่ได้เริ่มติดต่อบริษัทต่างๆ รวมถึงกูเกิลด้วย เพื่อถามว่าจะช่วยทำให้ภาพยนตร์เรื่อง The Interview ของพวกเขาขึ้นฉายบนอินเทอร์เน็ตได้หรือไม่ ทางกูเกิลก็มีความเห็นตรงกันและกระตือรือร้นที่จะช่วย แม้ว่าสิ่งแรกที่คิดคือผลกระทบด้านความปลอดภัย ที่เห็นได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้
งาน IGF2013 วันที่สาม ผมเข้าห้อง "The Cloud, Many Clouds, and Free Expression" นำเสนอประเด็นความขัดแย้งระหว่างเสรีภาพการแสดงออกและบริการกลุ่มเมฆที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ในประเทศต่างๆ และการนำเสนอทางออก
Izumi Aizu จากสถาบัน InfoSocionomics ญี่ปุ่น
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ประกาศเรียกผู้ต้องสงสัยสี่คนที่เชื่อว่าเป็นผู้โพสต์ข้อความระบุว่าจะมีการปฎิวัติ
ทั้งสี่รายรวมถึง บรรณาธิการข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, พิธีกรรายการ, และแกนนำเสื้อแดงในจังหวัดชลบุรี ถูกหมายเรียกเพื่อเข้าพบพนักงานสอบสวนต่อไป โดยความผิดที่ถูกดำเนินคดีเป็นตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2) มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปีและปรับ 1 แสนบาท
ผบก.ปอท. ยังเตือนผู้ที่กดไลค์และแชร์ข้อความดังกล่าวว่ามีความผิดเช่นเดียวกัน
ปัญหาความเป็นส่วนตัวของสหรัฐฯ มีประเด็นในช่วงหลังเมื่อเอฟบีไอใช้ช่องทางการขอข้อมูลด้วยจดหมายความมั่นคง (National Security Letters - NSLs) เพื่อสั่งให้บริษัทโทรคมและหน่วยงานทางการเงินให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของศาล ล่าสุด EFF ฟ้องร้องต่อศาลแคลิฟอร์เนียชนะ โดยผู้พิพากษา Susan Illston สั่งให้หน่วยงานเพิกถอนจดหมายเหล่านี้และหยุดการออกจดหมายเพิ่มเติมภายใน 90 วัน
จดหมาย NSLs ออกโดยอาศัยอำนาจภายใต้กฎหมาย Patriot Act แต่ในการพิพากษารอบนี้ระบุว่าอำนาจนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดีระยะเวลา 90 วันที่ศาลให้กับเอฟบีไอ ทำให้เอฟบีไอสามารถยื่นเรื่องเข้าสู่ศาลอุทธรณ์ได้
Kai Fu Lee อดีตผู้อำนวยการของกูเกิลสาขาประเทศจีน และย้ายไปทำงานบริษัท Innovation Works ของเขาเอง เขาเป็นหนึ่งในคนจีนที่มีคนตามจำนวนมากใน Sina Weibo เว็บ microblogging ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในจีน โดยล่าสุดมีคนตามถึงสามสิบล้านคน แต่การออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีนในช่วงหลังทำให้เขาถูกลงโทษแบนจากเว็บไปสามวัน
ตัว Kai Fu Lee ยอมรับว่าวิจารณ์รัฐบาลในหลายประเด็น เช่น
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) จัดอภิปรายเรื่องผลกระทบจากพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ Ann Lavin ตัวแทนจากกูเกิลระบุถึงปัญหาของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ของไทยว่ามีปัญหาหลักคือมาตรา 15 ที่ระบุถึงความผิดของผู้ให้บริการ ทำให้ทั้งที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้กูเกิลสามารถเข้าไปทำธุรกิจได้ ทั้ง สิงคโปร์, มาเลเซีย, และอินโดนีเซีย
ปัญหากฎหมายที่ทำให้กูเกิลไม่เข้ามาเปิดธุรกิจ YouTube ซึ่งเปิดให้เจ้าของเนื้อหาทำเงินจากการโฆษณาที่ส่งลงบนวิดีโอได้ เป็นปัญหาที่คุณกริช ทอมมัสได้เคยระบุว่าเป็นปัญหาทางกฎหมายจนแกรมมี่ไม่ต้องการนำวิดีโอขึ้น YouTube อีกต่อไปเพราะไม่สามารถสร้างรายได้กลับเข้ามาได้