Next Unit of Computing
สาวกพีซีฮาร์ดแวร์คงคุ้นหน้าตาเจ้า NUC (Next Unit of Computing) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มพีซีไซส์กล่องข้าวของอินเทลไปหลายเจเนอเรชั่น ล่าสุดมีข่าวลือมาว่าในไตรมาสแรกของปี 2016 จะมี NUC โค้ดเนม "Skull Canyon" (ไม่ใช่ยี่ห้อหูฟัง) ออกมา คาดว่าจะใช้ชิป Skylake ประกบกับชุดกราฟิกที่มากับ execution unit 72 ชุดและ L4 cache แบบ eDRAM ขนาด 128MB ซึ่งเทียบเท่า Iris Pro 580 ครับ ด้านอาร์ตไดเรกชั่น หยิบโลโก้หัวกะโหลกมาใช้ ก็สร้างความคาดหวังเรื่องความแรงอยู่ไม่น้อย
ที่มา - Fanlesstech ทาง TechPowerUp
ข่าวดีสำหรับคนชอบของแรงขนาดเล็กๆ หลังจากอินเทลประกาศเพิ่มรุ่นของ NUC พีซีขนาดจิ๋วรุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวพร้อมกับซีพียูรุ่นที่ 5 ของ Core i ในรหัส Broadwell โดยมี Core i7 มาให้เลือกแล้ว
โมเดลที่ว่ามาในรหัส NUC5i7RYH ใช้ซีพียู Core i7-5557U ดูอัลคอร์ความถี่ 3.1GHz บูสต์ได้เป็น 3.4GHz พร้อมกับจีพียู Intel HD 6100 ส่วนตัวเครื่องจะแชร์กับอดีตรุ่นท็อปที่ยังไม่วางขายอย่าง NUC5i5RYH ที่ใช้กล่องทรงสูง (แต่ก็ยังเล็กมากเมื่อเทียบกับเดสก์ท็อปทั่วไป) รองรับแรมสูงสุด 16GB และฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5"
ตามกำหนดการแล้ว NUC ที่ใช้ Broadwell จะเริ่มขายเดือนมีนาคม แต่รุ่น i7 จะขายช้าหน่อยเป็นไตรมาสสองครับ
เว็บ Fanless Tech โพสภาพสไลด์แผนการเปิดตัว NUC ของอินเทลในปีหน้า โดยมีรุ่นสำคัญสองรุ่น คือ รุ่นใหญ่ Rock Canyon ที่ใช้ชิป Core i5 รุ่น Broadwell และรุ่นเล็ก Pinnacle Canyon ที่ใช้ชิป Celeron
ภาพที่หลุดออกมาไม่ระบุว่าชิปรุ่นใหม่จะใช้วงจรส่วนกราฟิกเป็นรุ่นใด (เขียนเป็น XXXX เอาไว้) แต่บอกเพียงว่ามันจะแรงพอที่จะเล่นเกมได้ (immersive gaming)
ตัวบอร์ด Rock Canyon นั้นจะรองรับ USB 3.0 จำนวน 4 พอร์ตทั้งหน้าและหลัง โดยมี USB 2.0 เป็นหัวภายในที่ไม่ได้ต่อเอาไว้เท่านั้น และมีหนึ่งพอร์ตสำหรับชาร์จไฟโดยเฉพาะ ที่สำคัญคือชิป Wi-Fi จะฝังลงไปบนบอร์ดโดยตรงไม่ต้องซื้อการ์ดเพิ่มเหมือนแต่ก่อน
เครื่อง NUC เป็นพีซีขนาดเล็กที่อินเทลเริ่มวางตลาดมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยโครงสร้างเป็นเหมือนโน้ตบุ๊กที่ไม่มีแบตเตอรี่และจอภาพ ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กมากจนกระทั่งสามารถใส่เครื่องขนาดเล็กพอจะติดตั้งหลังจอภาพได้สบายๆ หลังจากวางจำหน่ายรุ่นแรก อินเทลก็อัพเกรดเครื่อง NUC มาโดยตลอด แต่มีรุ่นหนึ่งที่ผมสนใจเป็นพิเศษตั้งแต่มันประกาศข่าว คือ DE3815TYKHE
ความพิเศษของ NUC รุ่นนี้คือมันเป็น Atom Bay Trail ทำให้สามารถทำงานได้โดยไม่มีพัดลมอย่างสิ้นเชิง และอีกความสามารถที่สำคัญคือหัวต่อ GPIO แบบ 5V อีกหนึ่งชุด พร้อมพอร์ต I2C และ UART บนบอร์ด ทำให้บอร์ดรุ่นนี้สามารถใช้งานได้คล้ายกับบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น Raspberry Pi
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วอินเทลเปิดตัว NUC Kit DE3815TYKHE รุ่นใหม่ที่นับเป็นรุ่นเล็กที่สุดในบรรดา NUC ตอนนี้ ความพิเศษของมันคือใช้ชิป Atom E3815 คอร์เดี่ยว 1.46 GHz ออกแบบมาเพื่อการใช้ในเชิงอุตสาหกรรมหรือใช้งานป้ายโฆษณา
บอร์ด NUC รุ่นใหม่นี้ไม่มีพัดลมทำให้ทำงานได้เงียบสมบูรณ์แบบ ที่พิเศษคือมันมี eMMC ความจุ 4 GB มาบนบอร์ดทำให้สามารถทำงานได้โดยเพิ่มแรม DDR3L เพียงอย่างเดียว โดยรองรับแรมสูงสุด 8 GB แต่สามารถติดตั้งฮาร์ดดิสก์เพิ่มเติมได้หากต้องการ
พอร์ตภายนอก มี USB 3.0 หนึ่งพอร์ต, USB 2.0 สองพอร์ต, พอร์ตแลนกิกะบิต, HDMI 1.4a, eDP, และ VGA รับไฟ 12-24 โวลต์ โดยต้องจ่ายพลังงานได้ 36 วัตต์
เครื่อง NUC ของอินเทลแม้จะมีขนาดเล็ก แต่หลายรุ่นที่ผ่านมากลับมีราคาสูงประมาณหนึ่งหมื่นบาท ทำให้คนที่ต้องการใช้งานเล็กๆ น้อยๆ ในบ้านต้องคิดหนักสักหน่อยที่จะซื้อมาใช้งาน แต่ NUC รุ่นล่าสุด คือ DN2820FYKH ใช้ Celeron N2820 ซึ่งข้างในคือแกน Bay Trail-M
DN2820FYKH รองรับแรมแบบ SODIMM DDR3L สูงสุด 8 GB ใส่ดิสก์ 2.5 นิ้วได้หนึ่งลูก และใส่การ์ด Wi-Fi บน mini PCI ได้อีกหนึ่งการ์ด แต่ชิ้นส่วนเหล่านี้ต้องซื้อเพิ่มเองทั้งหมด แต่มีตัวรับสัญญาณอินฟราเรดให้ในตัว
Celeron ชุดใหม่ของอินเทลในตอนนี้จะแบ่งเป็นตระกูล 29xxU ที่ใช้สถาปัตยกรรม Haswell และ N28xx ที่ใช้สถาปัตยกรรม Bay Trail ถ้าใครขยาดว่า Atom ไม่แรงพอสำหรับการใช้งาน อาจจะต้องทดสอบกันสักหน่อยว่า N2820 จะแรงพอแล้วหรือไม่
ฝั่งผู้ผลิตพีซีทยอยอัพเดตอุปกรณ์ชุดใหม่ของตัวเองไปใช้ซีพียู Core i รหัสใหม่ของอินเทลอย่าง Haswell กันไปเกือบครบแล้ว ทางด้านอินเทลเองก็ถึงคราวอัพเดตอุปกรณ์ของตัวเองอย่างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก Next Unit of Computing (NUC) ไปใช้ชิปรหัส Haswell บ้างแล้ว
โดย NUC ในรหัส D54250WYK นอกจากจะขยับไปใช้ซีพียู Core i5-4250U แล้ว ตัวชิปกราฟิกที่มาด้วยกันอย่าง HD5000 ยังรองรับความละเอียดแห่งอนาคตอย่าง 4K ในตัวแล้ว รวมถึงพอร์ตสำหรับต่อออกจอภาพ 4K อย่าง DisplayPort 1.2 ก็มีมาให้เช่นกัน สามารถเพิ่มแรมได้สูงสุด 16GB ใส่ SSD ได้สองตัวผ่าน mSATA และอีกหนึ่งผ่าน SATA
กระแสความนิยมคอมพิวเตอร์ ARM ขนาดจิ๋วเอาไว้ต่อกับโทรทัศน์ และการใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่เริ่มจากคอมพิวเตอร์แบบเดสก์ทอปเดิมๆ มาเป็นคอมพิวเตอร์แบบ All-In-One กันมากขึ้นเรื่อยๆ แสดงให้เห็นตลาดที่ไม่ใช่อุปกรณ์เคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊ก หรือแท็บเล็ต ว่ายังมีผู้ต้องการตลาดในส่วนนี้อยู่ แต่ความต้องการก็เปลี่ยนไปแม้จะเป็นเดสก์ทอปแต่ก็ต้องประหยัดพื้นที่และประหยัดพลังงานลงเรื่อยๆ ทางฝั่งอินเทลเองก็ตอบรับความต้องการนี้ด้วยการเปิดตัว Intel Next Unit of Computing ออกมา และตอนนี้ทางอินเทลก็ส่งมาให้ผมลองใช้งานหนึ่งสัปดาห์
หลังจากอินเทลเตรียมขาย NUC คอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเยา ก็เริ่มมีรีวิวออกมาบ้างแล้ว
สรุปจากรีวิวของ The Tech Report บอกว่า NUC นั้นขนาดเล็กมากขนาดเพียง 4" x 4" x 2" สามารถถือได้ด้วยมือเดียว (จนบอกอินเทลว่าน่าจะเปลี่ยนชื่อเป็นอัลตร้าบ๊อกซ์) บูทเครื่องได้ไว และสตรีมหนังความละเอียดสูงจาก Netflix ได้สบายๆ ในขณะเดียวกันยังกินไฟต่ำมาก ระดับเดียวกับอัลตร้าบุ๊ก
ข้อเสียของ NUC คือมันมีพอร์ตเชื่อมต่อให้ใช้งานแบบจำกัดจำเขี่ยมาก ไม่มีแม้แต่ Wi-Fi ในตัว และประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับเดสก์ท็อป
เครื่อง Intel Next Unit of Computing (NUC) เปิดตัวไปตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ตอนนี้อินเทลเริ่มประกาศรุ่นสินค้าที่จะวางขายจริงออกมาแล้วสองรุ่น เป้าหมายหลักคือระบบจอภาพโฆษณา เพราะเครื่อง NUC เองออกแบบให้ติดตั้งเข้าหลังจอภาพได้พอดี
DC3217BY เป็นรุ่นที่มาพร้อมพอร์ต Thunderbolt สามารถซื้อหัวแปลงมาใช้เป็น DisplayPort ได้ ส่วนรุ่น DC3217IYE ไม่มี Thunderbolt แต่ได้พอร์ต HDMI สองพอร์ตมาชดเชย ทั้งสองรุ่นใช้ซีพียู Intel Core i3 3217-U รองรับแรมสูงสุด 16GB ใส่การ์ด mini-PCIe ได้สองช่อง โดยช่องขนาดเต็มรองรับ mSATA และอีกช่องหนึ่งเป็นแบบความยาวครึ่งเดียว
ทั้งสองรุ่นจะออกขายในปีนี้ และอินเทลประกาศว่าปีหน้าจะมีอีกรุ่นออกมา
Next Unit of Computing (NUC) บอร์ดสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กจากอินเทลที่มีขนาดเพียง 10x10 ซม. สเปคด้านในเป็น Sandy Bridge Core i3/i5 มีพอร์ตสมัยใหม่ครบครัน
ในงาน Computex ที่ไต้หวัน อินเทลได้นำเจ้า NUC นี้มาโชว์ตัวพร้อมด้วย โดยสเปคเบื้องต้นคาดว่าจะใช้บอร์ดชิปเซ็ต HM65 และอาจใช้พอร์ต USB 2.0 สามพอร์ตแทน USB 3.0 สองพอร์ตตามข่าวก่อนหน้า แรมเริ่มต้นอยู่ที่ 4GB และใช้ SSD ความจุ 40GB รุ่นนี้จะวางขายไตรมาสสามนี้ ด้วยราคา 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ
และในไตรมาสสี่ จะมีอีกหนึ่งรุ่นที่ใช้ชิปเซ็ตซีรีส์ 7 พร้อมกับ USB 3.0, พอร์ต Thunderbolt และคาดว่าจะมีรุ่นราคาถูกที่ใช้ซีพียู Celeron อีกด้วย
ข่าวยอดขายที่น่าประทับใจของ Rasberry Pi คงทำให้อินเทลเริ่มคิดว่าตลาดคอมพิวเตอร์กำลังเปลี่ยนไปยังคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้การใช้งานคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กนั้นแทบไม่มีโอกาสใช้ชิปอินเทล เพราะไม่มีแพลตฟอร์มรองรับยกเว้นชิปตระกูล CE ที่ขายสำหรับผู้ผลิตทีวีเป็นหลัก แต่ตอนนี้อินเทลก็เปิดตัวบอร์ดแบบใหม่ที่น่าจะขายทั่วไปแล้ว
บอร์ด Next Unit of Computing (NUC) เป็นบอร์ดที่ใช้ชิป x86 ในขนาด 10ซม. x 10ซม. จะได้ชิป Sandy Bridge Core i3/i5 พร้อมพอร์ต Thunderbolt, HDMI, และ USB 3.0 ภายในสามารถใส่แรมได้สองสล็อต