Garena เปิดตัว Garena Delta Force เวอร์ชัน PC ที่พัฒนาโดย Team Jade แล้ว สำหรับผู้เล่นในภูมิภาคอาเซียน ไต้หวัน อเมริกากลาง อเมริกาใต้ บราซิล ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ
ภารกิจของเกมนี้ ผู้เล่นจะต้องสมบทบาทเป็นสมาชิกระดับสูงของ G.T.I หรือกองกำลังรักษาสันติภาพ มีทั้งหมดสองโหมด ได้แก่ โหมด Warfare เป็นการทำสงครามขนาดใหญ่รองรับสูงสุด 64 คน และโหมด Operations เล่นเป็นทีม 3 คน เข้าไปสำรวจแผนที่ ผู้เล่นสามารถเลือกเล่นโอเปอเรเตอร์ได้ 4 ตำแหน่ง
บริษัทวิจัยตลาด IDC รายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาสที่ 2 ปี 2024 จำนวนส่งมอบรวม 64.9 ล้านเครื่อง เติบโต 3.0% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน เป็นทิศทางเดียวกับที่ Canalys บริษัทวิจัยตลาดอีกแห่งรายงานไปก่อนหน้านี้
ประเด็นที่น่าสนใจคือ IDC บอกว่า ภาพรวมทั่วโลกนั้นพีซีมีการเติบโตดี ยกเว้นในจีนที่ติดลบ โดยหากตัดจีนออกไป ตลาดพีซีรวมจะโตมากกว่า 5%
Ryan Reith รองประธานฝ่ายวิจัยของ IDC บอกว่า แนวโน้มที่ดีมากของตลาดพีซีการเติบโตแบบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ที่เติบโต 2 ไตรมาสติดต่อกันแล้ว จากกระแสความต้องการ AI PC ที่มากขึ้น รวมถึงการเข้าสู่รอบอัปเกรดอุปกรณ์ใหญ่ไป Windows 11 ที่เป็นปัจจัยสำคัญ เพราะยอดขายส่วนใหญ่ยังอยู่ที่พีซีกลุ่ม Non-AI
บริษัทวิจัยตลาด Canalys รายงานภาพรวมตลาดพีซี (เดสก์ท็อป+โน๊ตบุ๊ค) ประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2024 จำนวนส่งมอบรวม 62.8 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 3.4% เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน แบ่งเป็นโน๊ตบุ๊ค 50 ล้านเครื่อง เติบโต 4% และเดสก์ท็อป 12.8 ล้านเครื่อง เติบโต 1%
Canalys บอกว่าตัวเลขนี้สะท้อนการกลับมาเติบโตอีกครั้งของตลาดพีซี ซึ่งจากนี้อย่างน้อย 4 ไตรมาส ยังมีปัจจัยบวกมาเสริมทั้งการอัปเกรดเป็น Windows 11 และการเปลี่ยนมาใช้ AI PC มากขึ้น
ส่วนแบ่งตลาดแยกตามแบรนด์ Lenovo ยังครองอันดับ 1 ด้วยจำนวน 14.7 ล้านเครื่อง ตามด้วย HP (13.7 ล้าน), Dell (10.1 ล้าน), Apple (5.5 ล้าน) และ Asus (4.5 ล้าน) ในลำดับที่ 2-5
ในยุคสมัยนี้ Workstation ถือว่าเป็นชื่อประเภทคอมพิวเตอร์ที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงขึ้นในวงกว้างเท่าไหร่นัก และแยกความต่างกับ Desktop PC ได้ค่อนข้างยากขึ้นทุกที หรือหนักที่สุดคือผู้ใช้งานในยุคนี้ไม่รู้จักเลยว่า Workstation คืออะไร วันนี้ทีมงาน blognone จึงได้รับเกียรติจาก Lenovo ส่ง Lenovo ThinkStation P2 Tower มาให้รีวิว และไขข้องใจว่าคอมพิวเตอร์แบบ Workstation ทำอะไรได้บ้าง และเหมาะกับใคร
บริษัทวิจัยตลาด Counterpoint Research รายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาสที่ 1 ปี 2024 จำนวนส่งมอบทั่วโลกเพิ่มขึ้น 3% เทียบกับไตรมาส 1 ปี 2023 กลับมาเติบโตเป็นครั้งแรก หลังจากตัวเลขลดลงติดต่อกัน 8 ไตรมาส และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากนี้ ด้วยปัจจัยความต้องการ AI PC และครบกำหนดรอบการอัปเกรดเครื่อง
ส่วนแบ่งตลาดคล้ายกับรายงานของ IDC ก่อนหน้านี้ โดย Lenovo ครองส่วนแบ่งมากที่สุด 24% ตามด้วย HP 21% และ Dell 16%
บริษัทวิจัยตลาด IDC รายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาสที่ 1 ปี 2024 เติบโต 1.5% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน 2023 มีจำนวนส่งมอบ 59.8 ล้านเครื่อง ทำให้ตลาดพีซีกลับมาเติบโตอีกครั้งในไตรมาสที่ 1 หลังจากลดลงมาสองปี
IDC บอกว่าสาเหตุหลักที่ตลาดพีซีไตรมาสที่ผ่านมาเติบโต ก็เพราะฐานจำนวนส่งมอบของปี 2023 ที่ต่ำมาก (ลดลงจากปี 2022 29%) จำนวนส่งมอบที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้ตลาดพีซีกลับมาที่ระดับก่อนเกิดโควิดอีกครั้ง
ปีนี้ไมโครซอฟท์พยายามผลักดันให้เป็นปีของ AI PC ซึ่งก็มาพร้อมกับสเป็กฮาร์ดแวร์ที่สูงขึ้นด้วย โดยมีข้อมูลที่ยังไม่เป็นทางการ ว่าไมโครซอฟท์ระบุสเป็กฮาร์ดแวร์ขั้นต่ำสำหรับการเป็น AI PC คือมีแรม 16GB เป็นอย่างน้อย
อย่างไรก็ตามนั่นคือสเป็กฮาร์ดแวร์เงื่อนไขเดียวที่ปรับเพิ่มขึ้นซึ่งมีข้อมูลออกมาตอนนี้ แต่น่าจะมีฮาร์ดแวร์ส่วนอื่นที่ปรับเงื่อนไขเพิ่มเช่นกัน โดยไมโครซอฟท์ตั้งเกณฑ์ว่ากำลังประมวลผลควรได้อย่างน้อย 40 TOPS จึงอาจมีรายละเอียดส่วน CPU, GPU และ NPU ด้วยเช่นกัน
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์ประกาศแผนผลักดัน AI PC โดยเพิ่มปุ่ม Copilot บนคีย์บอร์ดสำหรับเรียกใช้ฟังก์ชัน AI ใน Windows ได้โดยตรง
สามบริษัทวิจัยตลาด IDC, Gartner และ Canalys ออกรายงานภาพรวมตลาดพีซี ประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2023 ตัวเลขของแต่ละค่ายแม้จะแตกต่างกัน แต่มีแนวโน้มไปในทิศทางเหมือนกัน นั่นคือจำนวนส่งมอบรวมลดลงที่ระดับ 7-9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2022 จำนวนส่งมอบ 64-68 ล้านเครื่อง
อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า คือไตรมาสที่ 2 ปี 2023 ทุกค่ายจึงต่างมองว่าในไตรมาส 4 ปี 2023 หรือไตรมาสปัจจุบันแนวโน้มจำนวนส่งมอบพีซีที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ตัวเลขเป็นทิศทางเติบโตแบบเทียบปีก่อนหน้าเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาส
บริษัทวิจัยตลาด Counterpoint รายงานภาพรวมตลาดพีซี ของไตรมาสที่ 2 ปี 2023 จำนวนส่งมอบลดลง 15% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2022 แต่ที่น่าสนใจคือจำนวนนี้เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าคือไตรมาสที่ 1 ปี 2023
ส่วนแบ่งการตลาดแยกตามผู้ผลิต Lenovo เป็นอันดับ 1 ต่ออีกไตรมาส แม้จำนวนส่งมอบจะลดลง 18% อันดับ 2 คือ HP มีจำนวนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย พร้อมส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น อันดับ 3 คือ Dell และอันดับ 4 คือ Apple
บริษัทวิจัยตลาด IDC รายงานภาพรวมตลาดพีซีทั่วโลก ของไตรมาสที่ 2 ปี 2023 ภาพรวมมีจำนวนส่งมอบรวม 61.6 ล้านเครื่อง ลดลง 13.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2022 เป็นตัวเลขที่ลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่หก
IDC บอกว่าสาเหตุยังมาจากปัจจัยเดิมเหมือนกับไตรมาสก่อนหน้า คือปัญหาภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน ความต้องการพีซีที่ลดลงทั้งฝั่งลูกค้าบุคคล และลูกค้าองค์กร ตลอดจนงบประมาณด้านไอทีในการซื้ออุปกรณ์ใหม่ที่ลดลง
บริษัทวิจัยตลาด IDC รายงานภาพรวมธุรกิจพีซีของไตรมาสที่ 1 ปี 2023 ซึ่งมีปัจจัยกระทบทั้งความต้องการสินค้าที่ลดลง สินค้าค้างในสต็อก และปัญหาเศรษฐกิจโลก ทำให้จำนวนส่งมอบอยู่ที่ 56.9 ล้านเครื่อง ลดลง 29.0% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2022 ตัวเลขนี้ยังน้อยกว่าไตรมาส 1 ในปี 2019 และ 2018 ที่ยังไม่มีปัจจัยโควิด 19 เข้ามา ซึ่งอยู่ที่ 59.2 ล้านเครื่อง และ 60.6 ล้านเครื่อง ตามลำดับ
สามบริษัทวิจัยตลาด IDC, Canalys และ Gartner ออกรายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาสที่ 4 ปี 2022 โดยทั้งสามบริษัทให้ตัวเลขทิศทางเหมือนกัน นั่นคือยอดขายพีซีในไตรมาสยังคงลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปี 2021 เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4
โดยยอดขายภาพรวม IDC ประเมินที่ 67.2 ล้านเครื่อง ลดลง 28.1%, Canalys 65.4 ล้านเครื่อง ลดลง 29%, Gartner 65.3 ล้านเครื่อง ลดลง 28.5%
Mikako Kitagawa นักวิเคราะห์จาก Gartner มองว่าลูกค้าส่วนใหญ่ได้ซื้อพีซีใหม่ไปแล้วตั้งแต่ช่วงโควิด 19 ระบาด รวมกับปัญหาเศรษฐกิจในภาพใหญ่ ตลอดจนเงินเฟ้อ จึงกระทบทำให้ความต้องการพีซีเครื่องใหม่ลดลง
บริษัทวิจัยตลาดไอที IDC และ Canalys ออกรายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาสที่ 3 ปี 2022 ยังคงมีจำนวนส่งมอบลดลงต่ออีกไตรมาส โดย IDC ระบุว่าจำนวนส่งมอบรวมอยู่ที่ 74.3 ล้านเครื่อง ลดลง 15.0% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน ส่วนตัวเลขของ Canalys ระบุที่ 69.4 ล้านเครื่อง ลดลง 18%
ปัจจัยสำคัญยังเป็นเรื่องภาพรวมเศรษฐกิจ กับการเปิดเมืองหลังการระบาดของโควิด 19 ทำให้ความต้องการสินค้าประเภทพีซีลดลง อย่างไรก็ตามตัวเลขตอนนี้ก็ยังสูงกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด 19 ด้านฝั่งซัพพลายเออร์ก็เริ่มปรับลดคำสั่งซื้อล่วงหน้า ให้สอดคล้องกับทิศทางนี้เช่นกัน โดยมีข้อยกเว้นเพียงรายเดียวคือแอปเปิล
บริษัทวิจัยตลาด Gartner รายงานภาพรวมตลาดพีซีประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2022 จำนวนส่งมอบอยู่ราว 72 ล้านเครื่อง ลดลง 12.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2021 ซึ่งเป็นอัตราลดลงที่มากกว่าเมื่อไตรมาส 1/2022 รวมทั้งการลดลงเกิดขึ้นในทุกภูมิภาค ทั้งจากปัจจัย ภูมิรัฐศาสตร์, เศรษฐกิจ และซัพพลายเชน
Mikako Kitagawa ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Gartner ให้ความเห็นว่า ปัญหาเงินเฟ้อและการสู้รบในยูเครน ส่งผลมากต่อความต้องการ Chromebook ขณะเดียวกันผู้ผลิตพีซีก็พบปัญหาการผลิตสินค้าให้ทันความต้องการ แต่เริ่มดีขึ้นหลังจีนเริ่มผ่อนคลายมาตรการในช่วงปลายไตรมาสที่ 2
บริษัทวิจัยตลาด Gartner รายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาสที่ 1 ปี 2022 จำนวนส่งมอบ 77.5 ล้านเครื่อง ลดลง 7.3% เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2021
ปัจจัยหลักที่ทำให้ยอดส่งมอบลดลงคือ Chromebook ซึ่งมีการเติบโตสูงของยอดขายในปี 2020 และ 2021 จากภาคการศึกษา จึงเป็นความท้าทายของภาพรวมตลาดพีซีที่จะรักษาการเติบโตในปีนี้
หากไม่รวมตัวเลขของ Chromebook ภาพรวมตลาดพีซีจะเติบโต 3.3% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่เริ่มชะลอตัว เนื่องจากตลาดส่วนบุคคลเริ่มเปลี่ยนหรือหยุดการซื้อ ขณะที่ภาคธุรกิจยังมีการซื้อพีซีเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการทำงานแบบไฮบริด
ส่วนแบ่งการตลาดแยกตามแบรนด์ 3 ลำดับแรกยังเหมือนเดิมคือ Lenovo HP และ Dell ตามด้วย Apple และ Acer ในลำดับที่ 4-5
ยังอยู่ที่เรื่องราวของจอภาพ Studio Display จากแอปเปิล ถึงแม้ในรายละเอียดสเป็กจะบอกว่าใช้งานได้กับ Mac และ iPad แต่หลักการแล้วก็น่าจะใช้กับ Windows ได้เช่นกัน เพียงแต่แอปเปิลไม่ได้บอกไว้
The Verge จึงสอบถามไปยังแอปเปิลว่า Studio Display ต่อกับพีซี Windows ได้หรือไม่ และคำตอบก็คือควรจะทำงานได้ตามปกติ แต่ฟีเจอร์พิเศษหลายอย่างไม่รองรับ ทำให้เมื่อต่อกับพีซีแล้ว Studio Display จะทำงานเหมือนหน้าจอเสริมธรรมดาเท่านั้น และคุณภาพการแสดงผลก็จะขึ้นอยู่กับความละเอียดของสัญญาณจากต้นทาง
บริษัทวิจัยตลาด Canalys และ IDC ออกรายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาสที่ 4 ปี 2021 และตัวเลขรวมตลอดปี 2021
เริ่มที่ข้อมูลจาก Canalys ระบุว่าไตรมาส 4/2021 จำนวนพีซีที่ส่งมอบ (รวมเดสก์ทอป, โน้ตบุ๊ค และเวิร์กสเตชัน) เพิ่มขึ้นเป็น 92 ล้านเครื่อง เทียบกับปีก่อนที่ 91 ล้านเครื่อง ตัวเลขรวมตลอดปี 2021 เป็น 341 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 15% จากปี 2020 และเพิ่มขึ้น 27% จากปี 2019 เป็นจำนวนส่งมอบสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2012 มูลค่าตลาดรวมยังเพิ่มขึ้นถึง 11% จากปีก่อน
ปัจจัยสำคัญของการเติบโตตลอดปี 2021 (รวมทั้ง 2020) มาจากการระบาดของโควิด 19 โดยโน้ตบุ๊คเป็นสินค้าที่มียอดขายโดดเด่นที่สุด เพิ่มขึ้น 16% คิดเป็น 275 ล้านเครื่อง ส่วนเดสก์ทอป เพิ่มขึ้น 7% เป็น 66 ล้านเครื่อง
เดลล์เปิดตัว Concept Luna พีซีต้นแบบบนแนวคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เดลล์ผลักดันมาโดยตลอด โครงการนี้เป็นความร่วมมือกับอินเทล เพื่อสร้างอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่สามารถถอดเปลี่ยนหรือใช้งานซ้ำได้ ซึ่งเดลล์ประเมินว่าปริมาณคาร์บอนที่ใช้ตลอดกระบวนการจะลดลงถึง 50%
ไฮไลท์ของ Concept Luna ที่ทำให้ลดการใช้พลังงานเช่น การลดขนาดเมนบอร์ดลง ทำให้ใช้พลังงานการผลิตน้อยลงตาม การดีไซน์ภายในใหม่ทำให้พึ่งพาพัดลมน้อยลง ใช้แบตเตอรี่ที่เล็กลง แต่ยังได้ประสิทธิภาพ และตัวบอดี้ผลิตโดยใช้พลังงานหมุนเวียน
นอกจากนี้ Concept Luna ยังส่งเสริมแนวทางการซ่อมเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ง่ายขึ้น ลดจำนวนสกรูลงเหลือ 4 ตัวเท่านั้น งานประกอบมีขนาดระดับฝ่ามือที่ไม่ยากในการถอดเปลี่ยน
บริษัทวิจัยตลาด Canalys รายงานภาพรวมตลาดพีซีในไตรมาสที่ 3 ปี 2021 เติบโต 5% เทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2020 จำนวนส่งมอบทั้งเดสก์ท็อป-โน้ตบุ๊ก-เวิร์กสเตชันรวม 84.1 ล้านเครื่อง แบ่งเป็นโน้ตบุ๊ก 67.4 ล้านเครื่อง และเดสก์ท็อป 16.6 ล้านเครื่อง
Canalys บอกว่า แม้อัตราการเติบโตจะลดลง แต่จำนวนส่งมอบรวมยังอยู่ในระดับที่สูง เพราะไตรมาส 3 ปี 2020 จำนวนส่งมอบพีซีก็สูงมากทำสถิติเช่นกัน ส่วนความท้าทายของผู้ผลิตพีซียังคงเป็นปัญหาซัพพลายเชน โดยเฉพาะจากการระบาดของโควิด 19 ในเอเชีย ซึ่งมองว่าปัญหานี้จะดีขึ้นในช่วงปี 2022
ผู้ผลิตน่าจะรับรู้ปัญหานี้อยู่แล้ว แต่เลือกที่จะไม่เปิดเผยโดยหวังว่าน่าจะไม่มีใครรู้
Jarrod'sTech สังเกตเห็นความผิดปกติ และ Linus Tech Tip ได้นำมาทดสอบและนำเสนอผ่าน youtube คลิป "วิถีสกปรกที่ผู้ผลิตใช้ในการดาวน์เกรดพีซีของคุณ"
Linus ได้เอาโนตบุค 2 เครื่องที่สเปค RAM คล้ายๆกัน คือ 16 gigabytes, 3200 megahertz, DDR4.
แต่เครื่องหนึ่งเป็น AMD ส่วนอีกเครื่องเป็น Intel สเปคดังนี้
เครื่อง AMD ราคา 1650 ดอลลาร์
ASUS Strix G15 Advantage edition
AMD Ryzen 9 5900HX 8-Core + Radeon RX 6800M
เคื่อง Intel ราคา 2400 ดอลลาร์
Gigabyte Aorus 15G
Intel i7 11800H + NVIDIA GeForce NRTX 3080
3 บริษัทวิจัยตลาดทั้ง IDC, Gartner และ Canalys รายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาสที่ 4 ปี 2020 และตัวเลขรวมตลอดปี 2020 ซึ่งเป็นปีที่ตลาดพีซีมีอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี
เริ่มที่ข้อมูลจาก IDC เฉพาะไตรมาส 4/2020 จำนวนส่งมอบ 91.6 ล้านเครื่อง เติบโต 26.1% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน และตลอดปี 2020 ส่งมอบรวม 302.6 ล้านเครื่อง เติบโต 13.1% โดย Ryan Reith ฝ่ายวิจัยของ IDC บอกว่าแม้การเติบโตในตลาดพีซีจะทำให้คนสนใจประเด็นการทำงานและเรียนที่บ้าน แต่ตลาดเกมมิ่งพีซี, หน้าจอ และ Chromebook ก็ต่างเติบโตสูงเช่นกัน
บริษัทวิจัยตลาด IDC และ Gartner ออกรายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาส 3 ปี 2020 โดยต่างให้ข้อมูลว่าตลาดพีซีมีการเติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี เช่นเดียวกับ Canalys ที่ออกมารายงานก่อนหน้านี้
ตัวเลขของ IDC ระบุว่าตลาดเติบโต 14.6% เทียบกับไตรมาส 3 ปี 2019 จำนวนส่งมอบ 81.3 ล้านเครื่อง ขณะที่ Gartner ให้ตัวเลขเติบโต 3.6% จำนวนส่งมอบ 71.4 ล้านเครื่อง (ที่ตัวเลขต่างกันมากเพราะนิยามพีซีที่แตกต่างกัน)
บริษัทวิจัยตลาด Canalys รายงานภาพรวมของตลาดพีซีในไตรมาสที่ 3 ปี 2020 จำนวนส่งมอบ 79.2 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นถึง 12.7% เทียบไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบสิบปีของตลาดพีซี
Ishan Dutt นักวิเคราะห์ของ Canalys อธิบายว่าช่วงไตรมาส 2 นั้น ผู้ผลิตต่างพยายามบริหารซัพพลายเชนในการผลิต เพื่อรองรับความต้องการสินค้าสูงจากเหตุโควิด-19 ขณะที่เข้ามาสู่ไตรมาส 3 สายการผลิตเริ่มบริหารจัดการดีขึ้น จนรองรับความต้องการได้ ตลอดจนโรงเรียนเข้าสู่ช่วงเปิดภาคการศึกษา ทำให้ความต้องการพีซีจากกลุ่มนี้เพิ่มสูงขึ้นอีก อีกทั้งหลายประเทศก็เริ่มพบการระบาดระลอกที่สอง ทำให้ความต้องการอุปกรณ์สำหรับเรียนหรือทำงานที่บ้านยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
บริษัทวิจัยตลาดทั้ง IDC และ Gartner รายงานตัวเลขส่งมอบพีซีของไตรมาสที่ 2 ปี 2020 ภาพรวมมีการเติบโตสูงขึ้น สะท้อนความต้องการสินค้าในช่วงที่ผ่านมาซึ่งมีการระบาดของโควิด-19 ทำให้คนทำงานที่บ้านมากขึ้น และสถานการณ์ซัพพลายเชนที่ดีขึ้น
ตัวเลขของ Gartner ระบุว่าพีซีที่ส่งมอบในไตรมาสมี 64.8 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 2.8% ส่วน IDC ระบุว่ามี 72.3 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 11.2% ทั้งนี้สาเหตุที่ตัวเลขของสองค่ายนี้ต่างกันมาก เนื่องจากการนับและไม่นับอุปกรณ์บางอย่างเป็นกลุ่มพีซี เช่น Surface หรือ Chromebook เป็นต้น
บริษัทวิจัยตลาด Canalys ออกรายงานยอดขายพีซีในไตรมาสแรกของปีว่าลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 8% ซึ่งลดลงมากสุดนับตั้งแต่ 2016 แม้กระแส work from home ทั่วโลกจะทำให้ความต้องการพีซีพุ่งขึ้นสูงกว่าปกติจนขายกันเกลี้ยงหน้าร้าน แต่เพราะซัพพลายเชนกระทบจากไวรัสโคโรนา เลยทำให้ยอดขายลดลง
ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Canalys เผยว่าตลาดพีซีเริ่มต้นปี 2020 ด้วยปัญหาซีพียู Intel ขาดตลาดอยู่แล้วก่อนถูกซ้ำด้วยไวรัสโคโรนาตั้งแต่ช่วงตรุษจีน ขาดที่ดีมานด์เพิ่มขึ้นสูงจากทั้งฝั่งผู้บริโภคและองค์กร จนทำให้เรื่องราคาของพีซีแทบไม่เป็นปัจจัยในการซื้อแล้ว ปัจจัยสำคัญมีเพียงความเร็วในการซัพพลายสินค้าให้พอกับดีมานด์เท่านั้น