หลังจากฟาก Android เริ่มอัพเกรดเป็นรุ่น 2.0 กันได้สักพักแล้ว ก็ถึงคราวของ OPhone ซึ่งเป็นการแตกสายการพัฒนาของ China Mobile ที่แยกไปจาก Android รุ่นปรกติ โดยทั่วไปแล้วคงเป็นการรวมเอาฟีเจอร์ต่างๆ ของ Android 2.0 เข้าไปใน OPhone แต่ที่น่าสนใจคือฟีเจอร์รองรับ Windows Mobile API
ไม่มีความชัดเจนว่าการรองรับที่ว่านี้หมายความว่าอย่างไรในทางเทคนิค มันอาจจะหมายถึงการรองรับซอฟต์แวร์จาก Windows Mobile โดยตรงในบางส่วนซึ่งจะเป็นฟีเจอร์ที่ยิ่งใหญ่มาก เพราะซอฟต์แวร์ทั้งหมดจาก Windows Mobile จะมารันได้บน OPhone ทันที หรืออาจจะเป็นแค่ความพยายามเลียนแบบ API เพื่อให้นักพัฒนาพอร์ตซอฟต์แวร์มาได้ง่ายๆ เท่านั้น
รายงานข่าวจากไชนา โมบายล์ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากแล้ว ที่จะนำสมาร์ทโฟนของกูเกิล ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ออกจำหน่ายแล้ว โดยตัวเครื่องซึ่งจะใช้ชื่อว่า “โอโฟน” (OPhone) นั้นจะใช้งานบนโครงข่าย TD-SCDMA 3G ใหม่ของบริษัท
ก่อนหน้านี้เป็นที่ทราบกันว่า ไชนา โมบายล์ ให้ความสนใจที่จะนำสมาร์ทโฟน ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เข้ามาให้บริการในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจีน ทว่าติดปัญหาที่ว่า จะต้องพัฒนาระบบปฏิบัติการให้เป็นภาษาจีนก่อน ซึ่งคาดว่าจะนำออกจำหน่ายได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้านี้
สำหรับผู้ผลิตตัวเครื่องโอโฟนให้กับไชนา โมบายล์ นั้นมีข่าวลือว่าบริษัท เลโนโว โมบาลย์ จะได้รับงานชิ้นนี้
หนังสือ ซินหัว เปิดเผยว่าบริษัท ไชนา โมบายล์ กำลังเร่งพัฒนาระบบปฏิบัติการ (OS) สำหรับใช้กับเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นของตนเอง รวมทั้งการพัฒนาเครื่องโทรศัพท์ขึ้นเองด้วยในชื่อว่า “โอโฟน” (Ophone)
ทั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ให้บริการโทรคมนาคมเข้าสู่วงการผลิตเครื่องลูกข่ายสำหรับใช้งานกับโครงข่ายที่ตนเองให้บริการ และเป็นการชิงตัดหน้าเข้าสู่ตลาดโมบายล์ อินเทอร์เน็ต
แหล่งข่าวกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ บริษัท เลโนโว เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิตเครื่องลูกข่ายกลุ่มแรกในจีน และได้ยอมรับว่าเครื่องโอโฟนจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ค่อนข้างสมบูรณ์ในเกือบทุกบริการที่ไชนา โมบายล์ ให้บริการ