JetBrains ออก Compose Multiplatform เวอร์ชัน 1.8.0 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ Compose Multiplatform for iOS เข้าสถานะเสถียร พร้อมใช้งานโปรดักชันแล้ว หลังจากเริ่มทดสอบมาตั้งแต่ปี 2023
Compose เป็นเฟรมเวิร์คสำหรับเขียน UI ของภาษา Kotlin ตอนแรกเขียนขึ้นมาสำหรับ Android แต่ภายหลังขยายมายังแพลตฟอร์มอื่นๆ คือ Windows, macOS, Linux และล่าสุดรองรับ iOS อย่างเต็มรูปแบบ เข้าถึงฟีเจอร์ accessibility ของ iOS อย่าง VoiceOver, AssistiveTouch, Full Keyboard Access
Google Play ประกาศข่าวให้นักพัฒนาทราบว่า หลังวันที่ 1 พฤศจิกายน 2025 เป็นต้นไป แอพทุกตัวที่มี target เป็น Android 15 ขึ้นไป จะต้องรองรับ page size ของหน่วยความจำขนาด 16KB
เดิมที page size ของ Android จำกัดไว้สูงสุดที่ 4KB แต่ใน Android 15 ปรับเพิ่มเป็น 16KB ข้อดีคือประสิทธิภาพโดยรวมดีขึ้น ไม่ต้องจัดสรรหน่วยความจำในแอพบ่อยๆ ข้อเสียย่อมเป็นการเปลืองแรมมากขึ้นเล็กน้อย แนวทางนี้ถูกเปิดเป็น optional มาสักระยะหนึ่ง และเตรียมเปลี่ยนเป็นค่าดีฟอลต์แล้ว
กูเกิลบอกว่าแอพที่ไม่มีโค้ด native ปนอยู่ด้วย ไม่ควรต้องทำอะไรเพิ่มเลย แต่นักพัฒนาที่เรียกใช้ไลบรารีหรือ SDK ที่มีโค้ด native ควรตรวจสอบความเข้ากันได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
จากที่มีคนค้นพบ UI ใหม่ของ Android 16 ที่ปิดการทำงานไว้ ล่าสุดกูเกิลเองเป็นฝ่ายเผลอโพสต์เนื้อหาบนบล็อก Google Design ก่อนกำหนด (เอาลงในภายหลัง) แต่ก็ไม่รอด มีคนเซฟภาพและวิดีโอเก็บไว้ทัน
UI แบบใหม่ใช้ชื่อว่า Material 3 Expressive แนวคิดของมันคือ expressive design ผลักดันให้แอพแสดงตัวตนของตัวเองออกมามากกว่าที่เคย เพื่อแก้ปัญหาแอพในยุคสมัยนี้หน้าตาซ้ำๆ เหมือนกันไปหมด
Mishaal Rahman นักขุดค้นข้อมูล Android ชื่อดัง ระบุว่าใน Android 16 Beta 4 มี UI แบบใหม่ของ Android ที่ปิดการทำงานเอาไว้ และคาดว่ากูเกิลจะนำมาโชว์ในงาน The Android Show วันที่ 13 พฤษภาคม
คาดว่า UI แบบใหม่จะใช้ชื่อว่า Material 3 Expressive แม้ภาพรวมของการใช้งานยังเหมือนเดิม แต่รายละเอียดหลายจุดถูกปรับปรุงใหม่ ใช้ไอคอนขนาดใหญ่ขึ้น สีสันสดใสมากขึ้น มีการใช้เอฟเฟคต์เบลอภาพพื้นหลัง (frosted glass) เยอะกว่าเดิม
หนึ่งในหน้าจอที่ถูกปรับเปลี่ยนเยอะที่สุดคงเป็น Quick Settings ที่ปรับทั้งขนาดไอคอน วิธีการแสดงไอคอนที่ถูกใช้งาน (toggled) ขนาดของปุ่มและแถบควบคุมต่างๆ
LG ถอนตัวจากธุรกิจโทรศัพท์มือถือในเดือนเมษายน 2021 แต่ยังดูแลลูกค้าเก่าๆ ตามสัญญาที่เคยบอกไว้ว่าจะอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยให้อย่างน้อย 3 ปีหลังวันวางขายสินค้า
แต่การเดินทางย่อมมีจุดสิ้นสุด เวลาผ่านมา 4 ปี เว็บไซต์ LG ประเทศไต้หวัน ประกาศปิดเซิร์ฟเวอร์สำหรับอัพเดตโทรศัพท์ Android ในวันที่ 30 มิถุนายน 2025 เท่ากับว่าหลังจากนี้ไป สมาร์ทโฟน LG หากยังมีใช้งานอยู่ในตลาดจะไม่ได้อัพเดตใดๆ อีกแล้ว (ประเทศอื่นๆ อาจยังไม่ประกาศแต่น่าจะตามมาเหมือนกัน)
ตอนนี้คงมีคนที่ใช้มือถือ LG น้อยมากแล้ว
หลังจาก Google I/O 2024 ปีที่แล้ว เทเวลาทั้งหมดให้กับข่าวสาร AI จนไม่มีประกาศใดๆ ของ Android บนเวทีหลักเลย ล่วงเลยมาจนมาถึงปีนี้ กูเกิลแก้ปัญหานี้ด้วยการจัดงานแยกมันซะเลย
งาน Android ของปีนี้จะใช้ชื่อว่า The Android Show: I/O Edition จัดวันที่ 13 พฤษภาคม 2025 หรือ 1 สัปดาห์ก่อนงานใหญ่ Google I/O 2025 วันที่ 20 พฤษภาคม โดยผู้นำเสนอหลักในงานคือ Sameer Samat ประธานฝ่าย Android Ecosystem ที่ขึ้นเวทีนำเสนอเรื่อง Android ในงาน Google I/O ปีหลังๆ
กูเกิลมีเครือข่ายตามหาของ Find My Device เริ่มเปิดในปี 2024 แต่ผลการทดสอบในช่วงแรกๆ ออกมาแย่มาก แพ้เครือข่าย AirTag ของแอปเปิลแบบขาดลอย
เนื่องในโอกาสครบปีแรกของเครือข่าย Find My Device เว็บไซต์ The Verge จึงทดสอบด้วยการส่งแท็ก 3 ยี่ห้อที่ใช้เครือข่ายของกูเกิลคือ Pebblebee, Chipolo, Motorola ร่วมกับสินค้าค่ายอื่นได้แก่ AirTag ของแอปเปิล และ Tile ของ Life360 เพื่อดูว่าแท็กตามรอยยี่ห้อไหนใช้งานดีที่สุด
กูเกิลออก Android 16 Beta 4 ที่เข้าสถานะ Platform Stability (API ไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว) เหมือนกับ Beta 3
ฟีเจอร์ใหม่ใน Beta 4 จึงแทบไม่มีแล้ว เน้นแก้บั๊กและปรับปรุงประสิทธิภาพเป็นหลัก กูเกิลแนะนำให้นักพัฒนาแอพเริ่มมาทดสอบแอพตัวเองกับ Android 16 Beta 4 ได้แล้ว เพราะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น JobScheduler และ Intent ทำงานเข้มงวดขึ้น, ปรับขนาดของ Page Size เป็น 16KB, ปรับวิธีการแสดงผลแอพแบบเต็มจอ edge-to-edge เป็นต้น
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วกูเกิลได้เริ่มอัปเดตฟีเจอร์ Gemini Live หรือชื่อเดิม Project Astra ที่สามารถใช้กล้องของโทรศัพท์มือถือดูภาพสิ่งต่าง ๆ รอบตัว แล้ว Gemini สามารถอธิบายสิ่งที่เห็นตรงหน้าได้ สำหรับผู้ใช้ Pixel 9 และ Galaxy S25 โดยต้องเป็นลูกค้าที่สมัคร Gemini Advanced แบบเสียเงิน
มาวันนี้กูเกิลประกาศว่าความสามารถ Gemini Live จะเปิดให้กับผู้ใช้งาน Android ทุกคนฟรี เพียงแค่มีแอป Gemini เท่านั้น โดยคาดว่าจะอัปเดตให้ผู้ใช้แอป Gemini ครบทุกคนภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
กูเกิลอัปเดต Google Play services เวอร์ชัน 25.14 ให้กับผู้ใช้ Android ซึ่งรายการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในอัปเดตนี้ระบุว่า
[โทรศัพท์] ฟีเจอร์นี้จะช่วยให้อุปกรณ์รีสตาร์ทโดยอัตโนมัติหากถูกล็อกเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน
ไทยคือประเทศแรก ๆ ที่กูเกิลนำร่องใช้ฟีเจอร์ Google Play Protect ในปี 2024 เพื่อบล็อกความพยายามในการติดตั้งแอปที่อาจมีความเสี่ยงจากแหล่งที่มาที่ไม่รู้จักบนอินเทอร์เน็ต (sideloading) ซึ่งในประเทศไทยหน่วยงานที่ร่วมดำเนินงานกับกูเกิลก็คือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี)
กูเกิลบอกว่าจนถึงตอนนี้ Google Play Protect ช่วยบล็อกการติดตั้งแอปที่อาจมีความเสี่ยงไปแล้วกว่า 6.6 ล้านครั้ง บนอุปกรณ์ Android ในประเทศไทย 1.4 ล้านเครื่อง
อย่างไรก็ตาม มิจฉาชีพมักจะใช้วิศวกรรมสังคมในการหลอกลวงผู้ใช้ให้ปิด Google Play Protect และดาวน์โหลดแอปที่เป็นอันตรายจากแหล่งที่มาที่ไม่รู้จักบนอินเทอร์เน็ต
ย้ำก่อนว่า ข่าวนี้ไม่ได้แปลว่า Android เลิกโอเพนซอร์ส แต่เปลี่ยนวิธีการโชว์ซอร์สโค้ดที่กำลังพัฒนาอยู่เท่านั้น
เดิมที ซอร์สโค้ดของ Android มีทั้งหมด 2 branch คือ ซอร์สโค้ดที่แสดงต่อสาธารณะบน Android Open Source Project (AOSP) และซอร์สโค้ด internal ที่เข้าถึงได้เฉพาะทีมจากกูเกิลและบริษัทพาร์ทเนอร์ที่ทำสัญญา Google Mobile Services (GMS)
ที่ผ่านมา กูเกิลเลือกพัฒนาโค้ดบางส่วนของ Android (เช่น Bluetooth Stack) บน AOSP branch แต่โค้ดส่วนใหญ่อยู่ใน internal branch เมื่อพัฒนาจนเสร็จสิ้นแล้วก็จะนำโค้ดมาปล่อยบน AOSP branch อีกที
กูเกิลเปิดตัว Pixel 9a โทรศัพท์รุ่นกลางเน้นความคุ้มค่า โดยปีนี้อัพเดตเร็วขึ้นกว่าปีที่แล้ว ตัวเครื่องปรับดีไซน์เป็นแบบขอบตัดมากก่อน (flat profile)
LINE บน Android ออกอัปเดต โดยมีของใหม่ที่สำคัญคือ สามารถตั้งค่าอุปกรณ์ Android เป็นอุปกรณ์เสริมได้แล้ว จากก่อนหน้านี้ต้องเป็นอุปกรณ์หลักเท่านั้น
LINE ใช้ระบบกำหนดอุปกรณ์หลักซึ่งมักเป็นสมาร์ทโฟน ส่วนการล็อกอินผ่านอุปกรณ์ประเภทอื่น เช่น คอมพิวเตอร์ หรือ iPad จะถูกกำหนดเป็นอุปกรณ์เสริม เพื่อทำให้สามารถใช้งานได้พร้อมกัน อย่างไรก็ตามเงื่อนไขนี้ถูกจำกัดที่ Android แม้เป็นแท็บเล็ต ซึ่งที่ผ่านมาต้องระบุเป็นอุปกรณ์หลักเท่านั้น ในอัปเดตนี้จึงทำให้คนที่ใช้แท็บเล็ต Android สามารถเลือกกำหนดเป็นอุปกรณ์เสริมได้ตอนล็อกอิน จึงใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ได้แล้วนั่นเอง
กูเกิลประกาศใช้ Vulkan เป็น official graphic API หลักของระบบปฏิบัติการ Android แทน OpenEL GS ที่ใช้มายาวนาน ใน Android 16 เป็นต้นไป กูเกิลจะเรนเดอร์ทุกอย่างด้วย Vulkan ทั้งหมดแล้ว
ระบบปฏิบัติการ Android รองรับ Vulkan มาตั้งแต่ Android 7.0 Nougat ในปี 2016 และรองรับทั้ง Vulkan กับ OpenGL ES มาโดยตลอด ข้อดีของ Vulkan คือเป็น API ที่ใหม่กว่า รองรับฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่าง ray tracing และให้ประสิทธิภาพดีกว่า
Google Play Games ออกเวอร์ชันพีซีมาได้สักพักใหญ่ๆ (เปิดตัวปี 2021 เปิดให้ใช้งานจริง 2022) ตอนแรกมีเฉพาะเกมจาก Android เล่นบนวินโดวส์ แต่ภายหลังก็ขยายมาเป็นเกมพีซีแท้ๆ ด้วย
ล่าสุดกูเกิลประกาศแผนการของ Google Play Games บนพีซีเพิ่มเติม ดังนี้
กูเกิลออก Android 16 Beta 3 ตอนนี้เข้าสถานะ Platform Stability แปลว่า API ไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
สัปดาห์ที่ผ่านมาผู้ใช้จำนวนหนึ่งพบว่าโทรศัพท์แอนดรอยด์ของตนนั้นมีแอปพลิเคชั่นที่ไม่มีหน้าจอโผล่ขึ้นมา คือ Android System SafetyCore โดยแอปนี้เป็นส่วนเสริมทำให้ Google Messages สามารถแจ้งเตือนผู้ใช้เมื่อได้รับหรือกำลังส่งต่อภาพโป๊ ส่งผลให้ผู้ใช้จำนวนหนึ่งแสดงความไม่พอใจว่ากูเกิลกำลังพยายามสอดส่องการใช้งาน
ตัว SafetyCore ไม่ได้ไปสแกนภาพด้วยตัวเอง แต่ตัวมันนั้นเป็น machine learning จัดหมวดหมู่ภาพที่ว่าภาพนั้นเป็นภาพโป๊หรือไม่ กูเกิลระบุว่าการจัดหมวดหมู่ภาพนี้ทำในโทรศัพท์โดยตรง ไม่มีการส่งภาพกลับไปยังกูเกิลแต่อย่างใด
กูเกิลขยายฟีเจอร์ให้ Find My Device เครือข่ายตามหาตำแหน่งอุปกรณ์ สามารถตามดูพิกัดของเพื่อนเรา (ที่แชร์ให้เรา) ได้แล้ว ลักษณะเดียวกับ Find My Friends ของแอปเปิลในอดีต ที่ตอนหลังรวมร่างกับ Find My iPhone กลายเป็นแอพใหม่ Find My
เพราะแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การหลอกลวงทางโทรศัพท์ (scam) ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะประเทศไทย ล่าสุดกูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ Scam Detection ด้วยพลัง AI ให้กับสมาร์ทโฟน Android และ Pixel ตามที่เคยโชว์ไว้ในงาน Google I/O 2024
วิธีการของกูเกิลต่างไปจากการบล็อคตามหมายเลขโทรศัพท์ใน blacklist ที่ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ เพราะกูเกิลใช้วิธีให้ AI ดักอ่าน-ฟังการสนทนาแบบเรียลไทม์ ประมวลผลแบบ on-device แล้วประเมินว่านี่เป็นสแคมหรือไม่
ฟีเจอร์ widget ของ Android ถูกทอดทิ้งไม่ค่อยมีใครสนใจมานาน ล่าสุดกูเกิลปรับหน้า Google Play Store ให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาแอพตาม widget ได้มากขึ้น
ที่มา - Android Developers
ข่าวเล็กๆ ที่อาจไม่ต้องรู้ก็ได้แต่น่าสนใจคือ Chrome for Android จะปรับพื้นที่แสดงผลหน้าเว็บ (viewport) เพิ่มอีกเล็กน้อย ในพื้นที่ส่วนล่างของหน้าจอ ที่เดิมทีเว้นระยะไว้สำหรับ gesture navigation bar ด้านล่าง (สำหรับคนใช้ UI แบบ gesture) จะเปลี่ยนเป็นการแสดงผลหน้าเว็บไปจนสุดขอบล่างของจอ แล้ววาง gesture navigation bar ทับบนหน้าเว็บอีกที (ดูภาพประกอบ)
กูเกิลเรียกการแสดงผลแบบนี้ว่า edge-to-edge คือชนขอบล่าง การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มใน Chrome 135 เป็นต้นไป
Honor ประกาศขยายระยะเวลาการันตีอัพเดตของสมาร์ทโฟนซีรีส์ Magic ของตัวเองเป็น 7 ปี เท่ากับกูเกิลและซัมซุง โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ Honor Alpha Plan ที่ประกาศเมื่อคืนนี้
สมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่จะได้การันตีอัพเกรด Android 7 รุ่น และแพตช์ความปลอดภัยนาน 7 ปีคือ Honor Magic 7 Pro โดย Honor บอกว่าจะประกาศแผนการซัพพอร์ตสมาร์ทโฟน "เรือธง" รุ่นอื่นๆ ทั้งทรงแท่งและจอพับได้ตามมา
ที่มา - Honor, 9to5google
Qualcomm ประกาศความร่วมมือกับกูเกิล ว่าจากนี้ไป ชิป Snapdragon ซีรีส์ 7 และ 8 จะได้รับการซัพพอร์ต Android และแพตช์ความปลอดภัยนาน 8 ปี โดยเริ่มจากชิป Snapdragon 8 Elite เป็นตัวแรก
ภายใต้ความร่วมมือนี้ Qualcomm การันตีว่าจะออกซอฟต์แวร์ที่จำเป็น เช่น เคอร์เนล ไดรเวอร์ ให้กับผู้ผลิตมือถือเป็นเวลานาน 8 ปี (ส่วนผู้ผลิตมือถือจะซัพพอร์ตนาน 8 ปีด้วยหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ช่วยให้งานของผู้ผลิตมือถือง่ายขึ้นมาก) โดยการอัพเดตโค้ดของ Qualcomm จะแยกส่วนจากโค้ดของผู้ผลิตมือถือ ผ่าน Project Treble ของระบบปฏิบัติการ Android ที่มีอยู่เดิมแล้ว
GNU Emacs ซอฟต์แวร์แก้ไขข้อความในตำนาน (ตำนานจริงๆ เพราะออกเวอร์ชันแรกต่อสาธารณะในปี 1985) ออกเวอร์ชันใหม่ 30.1 (ถือเป็นเวอร์ชันแรกของ 30.x) มีของใหม่ที่สำคัญคือ Emacs ถูกพอร์ตมายัง Android เป็นครั้งแรก
การใช้งาน Emacs บน Android จำเป็นต้องคอมไพล์โดยมี Android NDK เข้าช่วย (เพราะ Emacs เขียนด้วย C) ตอนนี้ทางโครงการ GNU Emacs ยังไม่ได้แจกจ่ายไบนารีหรือแพ็กเกจของ Emacs บน Android ออกมา (ใครอยากได้ต้องคอมไพล์ใช้เอง) ต้องรอดูกันว่าทางโครงการจะตัดสินใจทำแพ็กเกจอย่างเป็นทางการ หรือจะเปิดให้ชุมชนผู้ใช้งานทำกันเอง (ก่อนหน้านี้มีแพ็กเกจอย่างไม่เป็นทางการ พอร์ตกันเองอยู่ก่อนแล้วบน F-Droid)