Twitter มีโครงการใหม่ที่ชื่อว่า Adult Content Monetization (ACM) โดยให้ผู้ผลิตเนื้อหาทางเพศเปิดให้ผู้ใช้งานสมัครสมาชิกและจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงเนื้อหาดังกล่าวและ Twitter จะได้รับส่วนแบ่งจากรายได้ ซึ่งปัจจุบัน Twitter ก็เป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ผลิตเนื้อทางเพศจะเข้ามาโปรโมทบัญชี OnlyFans ของตนเองอยู่แล้ว เพราะเป็นแพลตฟอร์มหลักแห่งเดียวที่อนุญาตให้โพสต์ภาพและวิดีโอที่มีเนื้อหาทางเพศ
PhotoDNA บริการระบุเอกลักษณ์ของรูปภาพจากการร่วมมือของ Microsoft และวิทยาลัย Dartmouth เพื่อใช้แก้ปัญหาการค้นหารูปเด็กที่ถูกละเมิดให้กับศูนย์เด็กหายและถูกละเมิดของสหรัฐอเมริกา (NCMEC) ขณะนี้ตรวจจับรูปที่ผิดกฎหมายไปแล้วหลายล้านรูป และมีองค์กรนำไปใช้งานแล้วมากกว่า 70 องค์กร มีเจ้าดังๆ เช่น Facebook และ Twitter และล่าสุดนักพัฒนาได้ปรับปรุงบริการให้ใช้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในรูปแบบของ Cloud Service
PhotoDNA ทำงานโดยเปลี่ยนรูปภาพเป็นโทนสีเทา (greyscale) จากนั้นทำการสร้างตารางให้เกิดกรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆ และใส่ค่าตัวเลขเข้าไปในแต่ละกรอบ ซึ่งค่าเหล่านี้จะสร้างข้อมูลเอกลักษณ์ของรูปภาพ (PhotoDNA signature) ขึ้นมา แล้วนำค่าที่ได้ไปจับคู่กับรูปภาพที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต
ไมโครซอฟท์บริจาคไลเซนส์ PhotoDNA ให้กับ INTERPOL เพื่อใช้ในฐานข้อมูล International Child Sexual Exploitation (ICSE) เพื่อให้ตำรวจทั่วโลกสามารถร่วมมือกันค้นหาและแชร์ข้อมูลการละเมิดเด็กได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ฐานข้อมูล ICSE เก็บข้อมูลภาพเด็กที่ถูกละเมิดเพื่อช่วยประสานงานหาเหยื่อเพื่อให้ความช่วยเหลือและจับกุมผู้ละเมิดเด็ก ทาง ICSE มีซอฟต์แวร์เปรียบเทียบภาพอยู่เดิมแล้ว แต่ PhotoDNA จะช่วยค้นหาภาพที่ถูกดักแปลงไปจากเดิม เช่น ถูกปรับสี, เพิ่มข้อความในภาพ ฯลฯ
ตอนนี้มีตำรวจจาก 46 ชาติมีสิทธิเข้าถึงฐานข้อมูล ICSE และกำลังอยู่ระหว่างการเชื่อมต่ออีก 25 ชาติ ที่ผ่านมาฐานข้อมูลนี้ช่วยค้นหาเหยื่อได้แล้ว 6,300 คน และช่วยจับกุมคนร้ายอีก 3,200 คน