ไมโครซอฟท์เปิดตัวฟีเจอร์ Windows Recall ในงาน Build 2024 เดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งมากมาย มีประเด็นด้านความปลอดภัย เสี่ยงข้อมูลรั่วไหล จนไมโครซอฟท์ต้องเลื่อนแล้ว เลื่อนอีก
ไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์ให้แอพ Copilot for Windows สองอย่างดังนี้
สองฟีเจอร์นี้ใช้ได้กับแอพ Copilot เวอร์ชัน 1.25034.133.0 ที่ทยอยอัพเดตให้กลุ่ม Insider ก่อน
ที่มา - Microsoft
Visual Studio Code เปิดฟีเจอร์ Copilot Agent Mode ให้ผู้ใช้ทุกคนแล้ว หลังจากเปิดทดสอบแบบพรีวิวมาสักระยะหนึ่ง
Copilot Agent Mode เป็นเวอร์ชันอัพเกรดของ GitHub Copilot ปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนโค้ด จากเดิมที่ตัวปัญญาประดิษฐ์ช่วยทำงานตามสั่งเป็นชิ้นๆ ไป ตอนนี้พัฒนาเป็นร่าง Agent เสมือนมีเพื่อนโปรแกรมเมอร์อีกคนช่วยทำ peer programming คอยรับคำสั่งที่ซับซ้อนกว่าเดิม วิเคราะห์โค้ดเดิมของเราทั้งหมด อ่านไฟล์ที่จำเป็น นำเสนอแนวทางแก้ไขโค้ด รันคำสั่งในเทอร์มินัล รันทดสอบ แก้ข้อผิดพลาดต่างๆ แล้วทำเป็นลูปวนซ้ำๆ จนกว่างานที่สั่งจะเสร็จสิ้น
เมื่อปลายปี 2024 ไมโครซอฟท์เปิดตัวโครงการ Hyperlight ซึ่งเป็นไลบรารีภาษา Rust สำหรับรันฟังก์ชันขนาดเล็ก มีจุดเด่นตรงการแยกเป็น hypervisor ของตัวเองเพื่อความปลอดภัย และความเร็วที่เร็วกว่าการรัน VM แบบปกติ แต่ข้อเสียคือจำกัดเฉพาะการรันฟังก์ชันภาษา Rust เท่านั้น
ปีนี้ไมโครซอฟท์ปรับปรุง Hyperlight เพิ่มเติมเป็น Hyperlight Wasm โดยนำเอา WebAssembly (Wasm) เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ของภาษาโปรแกรม
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2025 Microsoft Research เผยแพร่งานวิจัย Muse โมเดลสร้าง "เกม" ที่แสดงภาพในเกมตามการควบคุมของผู้เล่นแบบเรียลไทม์
ล่าสุดไมโครซอฟท์นำโมเดลตัวนี้มาลองให้เล่นกันผ่านหน้าเว็บ Copilot Gaming Experience โดยเป็นการนำโมเดลมาโคลนเกม Quake II (ซึ่งปัจจุบันเป็นทรัพย์สินของไมโครซอฟท์เองผ่าน Bethesda ดังนั้นไม่ต้องดราม่ากันเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์)
ไมโครซอฟท์ร่วมมือกับ Meta เปิดให้องค์กรธุรกิจใช้งาน Llama 4 Maverick และ Scout ใน Azure AI Foundry และ Azure Databricks แล้ว
Llama 4 เป็นโมเดล AI โอเพนซอร์สรุ่นใหม่สำหรับการใช้งานแบบ Multimodal ซึ่ง Meta เพิ่งประกาศเปิดตัววันนี้
Bill Gates ออกหนังสือบันทึกความทรงจำ (memoir) ในโอกาสไมโครซอฟท์มีอายุครบ 50 ปี ใช้ชื่อหนังสือว่า Source Code
Gates บอกว่าเขาก่อตั้งไมโครซอฟท์ตอนอายุ 20 ปี (ปีนี้เขาจะ 70 พอดี) ตลอด 50 ปีที่ผ่านมาเขาใช้ชีวิตอยู่ในสายตาของสาธารณะมาตลอด ออกหนังสือหลายเล่มแต่ไม่เคยมีเล่มไหนพูดถึงชีวิตตัวเองเลย เพราะเขามักคิดเรื่องอนาคตข้างหน้า และเรื่องของโลกภายนอก มากกว่าสนใจเรื่องในอดีตหรือเรื่องของตัวเอง
เหลือเวลาเพียง 6 เดือนที่ Windows 10 จะสิ้นสุดระยะซัพพอร์ตในวันที่ 14 ตุลาคม 2025 ท่าทีของไมโครซอฟท์นั้นดูจะไม่เลื่อนกำหนดออกไปอีกแล้ว อย่างไรก็ตามส่วนแบ่งผู้ใช้งาน Windows 11 ก็ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งในตอนนี้
ตัวเลขล่าสุดของ Statcounter เดือนมีนาคม 2025 ที่วัดส่วนแบ่งการใช้งานเฉพาะระบบปฏิบัติการ Windows พบว่า Windows 11 มีส่วนแบ่ง 42.69% ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของทั้งหมด ขณะที่ Windows 10 ยังเป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนแบ่งมากที่สุด 54.2%
นอกจาก Copilot Search in Bing ไมโครซอฟท์ยังเปิดตัวบริการและฟีเจอร์ในชุด Copilot อีกชุดใหญ่ โดยใช้สโลแกนว่า Copilot is Your AI Companion
ในแง่ของฟีเจอร์อาจไม่ต่างอะไรมากกับคู่แข่งในท้องตลาด ที่มีฟีเจอร์เหล่านี้นำมาสักพักแล้ว แต่ก็ถือเป็นการไล่กวดของ Copilot ให้ยังตามคู่แข่งทัน
ถ้ายังจำกันได้ จุดเริ่มต้นของ Copilot เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2023 เมื่อไมโครซอฟท์นำโมเดล GPT เข้ามาใส่ใน Bing Search กลายเป็นฟีเจอร์ชื่อ Bing Chat
เวลาผ่านมา 3 ปีกว่า เราเห็น Copilot เติบโต แตกลูกแตกหลานมากมาย ในขณะที่ Bing กลับถูกลืมๆ ไป แต่ในโอกาสมงคล ไมโครซอฟท์มีอายุครบ 50 ปี ไมโครซอฟท์ก็เปิดตัว Copilot Search ใน Bing
อ่านชื่อแล้วอย่าเพิ่งงงว่า อ้าว Bing เป็น search engine อยู่แล้ว ทำไมเราต้องมี Copilot Search กันอีก
ไมโครซอฟท์จัดงานฉลองบริษัทครบรอบ 50 ปี เมื่อคืนนี้ (ก่อตั้ง 4 เมษายน 1975) โดยเชิญอดีตซีอีโอทั้ง Bill Gates และ Steve Ballmer มาร่วมงาน
ผลิตภัณฑ์ตัวแรกของไมโครซอฟท์คือ ซอฟต์แวร์ Altair Basic ที่ Gates เพิ่งเผยแพร่ซอร์สโค้ดต้นฉบับต่อสาธารณะ หลังจากนั้นในปี 1980 ไมโครซอฟท์เริ่มเข้าสู่ตลาดระบบปฏิบัติการคือ Xenix ซึ่งเป็นยูนิกซ์ชนิดหนึ่ง ตามมาด้วย MS-DOS ในปี 1981
ไมโครซอฟท์มีซีอีโอมาแล้ว 3 คนคือ Bill Gates (1981-2000), Steve Ballmer (2000-2014) และ Satya Nadella (2014-ปัจจุบัน)
ไมโครซอฟท์ออก Windows 11 Insider Preview Build 26200.5518 (Dev Channel) ที่มีรายการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เช่น การตั้งค่าให้ Taskbar ปรับขนาดไอคอนเองหากมีแอพเยอะๆ (Taskbar icon scaling)
แต่มีผู้ใช้ชื่อ @phantomofearth ที่ขุดข้อมูลใน Windows Insider ค้นพบว่าใน Build นี้มี Start Menu แบบใหม่ซ่อนอยู่ ซึ่งเป็น Start Menu แบบที่ผู้ใช้เรียกร้องกันมานาน
Bloomberg รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง ว่าไมโครซอฟท์ได้สั่งพักหรือชะลอแผนการสร้างศูนย์ข้อมูลใหม่ในหลายประเทศทั้ง สหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย ส่วนในสหรัฐอเมริกามีทั้งศูนย์ข้อมูลในรัฐนอร์ทดาโคตา, รัฐอิลลินอย และรัฐวิสคอนซิน
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าโครงการศูนย์ข้อมูลนี้อาจยกเลิกหรือชะลอจากเหตุผลที่แตกต่างกัน โดยไมโครซอฟท์ได้ยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่ทั้งในลอนดอน, เคมบริดจ์ และชิคาโก ส่วนกรณีของอินโดนีเซียกับรัฐวิสคอนซิน มาจากปัญหาในการก่อสร้าง
หลายคนอาจลืมกันไปแล้วว่า เมื่อปลายปี 2024 ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows 365 Link มินิพีซีสำหรับใช้งาน Windows บนคลาวด์โดยเฉพาะ
หลังเวลาผ่านมาราวครึ่งปี วันนี้ Windows 365 Link เริ่มวางขายอย่างเป็นทางการแล้วในสหรัฐและอีกหลายประเทศ ด้วยราคา 349 ดอลลาร์
ผู้ใช้ฝั่งคอนซูเมอร์อาจเข้าใจยากว่าทำไมเราต้องซื้อฮาร์ดแวร์ราคาไม่ถูกเท่าไร มาเพื่อใช้เดสก์ท็อปผ่านคลาวด์ด้วย ตลาดของ Windows 365 Link คล้ายกับคอมพิวเตอร์กลุ่ม Thin Client ในอดีต ที่มีคอมพิวเตอร์สำหรับงานเฉพาะทาง (เช่น จุดขายหรือจุดบริการ) ต่อเชื่อมกับระบบเดสก์ท็อปที่จัดการจากส่วนกลางโดยตรง
ไมโครซอฟท์จะมีอายุครบ 50 ปีในวันพรุ่งนี้ (ก่อตั้ง 4 เมษายน 1975) ในโอกาสนี้ผู้ก่อตั้งอย่างบิล เกตส์ จึงนำซอร์สโค้ดของ Altair Basic ซอฟต์แวร์ตัวแรกของไมโครซอฟท์ นำมาเผยแพร่ต่อสาธารณะ
เกตส์เล่าว่าเขากับพอล อัลเลน (เสียชีวิตในปี 2018) ใช้เครื่อง PDP-10 ของบริษัท DEC ในห้องแล็บคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ฝึกสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากนั้นในปี 1975 เมื่อบริษัท MITS ออกเครื่องมินิคอมพิวเตอร์รุ่น Altair 8800 และโฆษณาในนิตยสาร Popular Electronics ทำให้พวกเขาทั้งสองคนมองว่านี่คือยุคสมัยของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น
ไมโครซอฟท์มี Microsoft Security Copilot เป็น AI ช่วยวิเคราะห์หาช่องโหว่ความปลอดภัยมาตั้งแต่ปี 2023 ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกมาโชว์ผลงานแล้วว่า Security Copilot ช่วยให้ค้นหาช่องโหว่ได้จริง
ช่องโหว่ที่ค้นพบในรอบนี้เจอกับซอฟต์แวร์ bootloader สายโอเพนซอร์สหลายตัว เช่น GRUB2 ที่นิยมใช้ในลินุกซ์, U-boot, Barebox (สองตัวหลังนิยมใช้ในระบบปฏิบัติการฝังตัว) แนวทางที่ไมโครซอฟท์ใช้คือให้ทีมวิจัยช่องโหว่ Microsoft Threat Intelligence สั่งพร็อมต์ให้ Security Copilot ไล่หาช่องโหว่ประเภท integer overflow ที่เป็นไปได้จากโค้ดของซอฟต์แวร์ bootloader เหล่านี้ แทนการนั่งไล่อ่านโค้ดเองด้วยมนุษย์
ไมโครซอฟท์ขยายฟีเจอร์ Copilot ช่วยสรุปเอกสาร Word จากของเดิมได้ยาวสุด 300 หน้า เพิ่มเป็น 3,000 หน้า (10 เท่า!) ช่วยให้การอ่านเอกสารที่ยาวมากๆ ง่ายขึ้นมาก
วิธีการใช้งานสามารถเรียกได้จากเมนู Home > Copilot > Summarize this doc สามารถเลือกความยาวได้ 3 ระดับคือ Brief (a short paragraph), Standard (key points summarized), Detailed (a long-form summary)
ฟีเจอร์นี้เริ่มใช้แล้วกับ Word for Web วันนี้ ส่วน Word for Windows และ Word for Mac ต้องเริ่มจากกลุ่ม Insider ก่อน
ไมโครซอฟท์เริ่มปล่อยฟีเจอร์ AI ของ Windows 11 ที่เดิมมีเฉพาะ Copilot+ PC ที่ใช้ชิป Snapdragon X เพราะเป็นสัญญาเอ็กซ์คลูซีฟกับ Qualcomm ให้กับพีซีที่ใช้ซีพียู AMD/Intel ด้วย
ตัวอย่างฟีเจอร์เหล่านี้เราคุ้นๆ กันในข่าวมาพอสมควรแล้ว เช่น Live Caption ในการประชุมออนไลน์-เล่นวิดีโอจากในเครื่อง, Paint Cocreator, Photos Restyle Image, Photos Image Creator
Windows 11 Insider Preview Build 26200.5516 (Dev Channel) นอกจาก ตัดสคริปต์ bypassnro.cmd เพื่อบังคับให้ต่อเน็ตตอนติดตั้ง ยังมีฟีเจอร์ใหม่ๆ เพิ่มอีกหลายอย่าง
ไมโครซอฟท์ออก Windows 11 Insider Preview Build 26200.5516 (Dev Channel) มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เป็นข่าวคือถอดสคริปต์ bypassnro.cmd ที่ถูกใช้เป็นเทคนิคเลี่ยงการติดตั้ง Windows 11 แบบบังคับเชื่อมต่อเน็ต-สร้างบัญชี Microsoft Account กันมานาน
ไมโครซอฟท์เริ่มบังคับต่อเน็ต-มีบัญชี Microsoft Account ใน Windows 11 version 22H2 แต่ยังพอมีช่องทางหลบเลี่ยงได้ โดยเรียกสคริปต์ bypassnro.cmd ตอนติดตั้ง Windows เพื่อบอกให้ไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเปลี่ยนแปลงล่าสุดคือ ไมโครซอฟท์ถอด bypassnro.cmd ออกจากระบบปฏิบัติการแล้ว ด้วยเหตุผลตรงไปตรงมาว่าต้องการให้ผู้ใช้เชื่อมต่อเน็ตและมีบัญชี Microsoft Account หลังติดตั้ง
ไมโครซอฟต์เปิดเว็บ Windows Roadmap แจ้งแนวทางการพัฒนา Windows 11 ว่าจะมีฟีเจอร์ใดเพิ่มเข้ามาในช่วงเวลาใดบ้าง จากเดิมที่ต้องรอว่าอัพเดตฟีเจอร์แต่ละรอบจะได้รับอะไรบ้าง
แนวทางนี้เป็นความพยายามของไมโครซอฟท์ที่จะพัฒนาวินโดวส์แบบเปิดเผยมากขึ้น โดย Roadmap จะเปิดเผยฟีเจอร์ 3 ชนิด ได้แก่ 1) ฟีเจอร์ที่เปิดให้แล้วใน Windows Insider 2) ฟีเจอร์ที่เปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปบางส่วน 3) ฟีเจอร์ที่เปิดให้ใช้ทั่วไป
ไมโครซอฟท์ประกาศทำฟีเจอร์ Startup Boost ช่วยให้แอพพลิเคชันในตระกูล Office ทำงานเร็วขึ้น
Office Startup Boost เป็นเซอร์วิสที่รันตอนผู้ใช้ล็อกอินเข้าระบบ ถูกเรียกให้ทำงานโดย Windows Task Scheduler เพื่อพรีโหลดและปรับแต่งประสิทธิภาพของแอพในชุด Office ไว้ล่วงหน้า
ฟีเจอร์นี้จะไม่เปิดใช้เป็นค่าดีฟอลต์ ผู้ใช้ต้องเปิดเองจากหน้า Settings ก่อน เบื้องต้นยังรองรับแค่ Word เพียงตัวเดียว และพีซีที่จะใช้งานได้ต้องมีทรัพยากรเยอะพอ คือ มีแรมว่างอย่างน้อย 8GB, สตอเรจว่างอย่างน้อย 5GB และไม่ได้ทำงานในโหมด Energy Saver
Office Startup Boost จะเริ่มเพิ่มเข้ามาให้ใช้งานในช่วงเดือนพฤษภาคม 2025
ไมโครซอฟท์ปรับปรุงหน้าจอล็อกอิน Microsoft Account ฝั่งคอนซูเมอร์ ซึ่งมีผู้ใช้งานมากกว่า 1 พันล้านบัญชี
หน้าจอล็อกอิน Microsoft Account แบบใหม่จะทยอยเปิดใช้งานในเดือนมีนาคม-เมษายน เริ่มจากเว็บและมือถือก่อน ส่วนแอพบนวินโดวส์จะตามมาในขั้นถัดไป
ไมโครซอฟท์ปรับหน้าตาของ Xbox Game Bar for PC (เข้าถึงได้ด้วยปุ่ม Win+G) เล็กน้อย สิ่งที่เปลี่ยนแปลงชัดเจนคือสไตล์ของปุ่มกด toggle ที่เปลี่ยนหน้าตาไปบ้าง (จากวงกลมเป็นสี่เหลี่ยมขอบมน จากขีดเส้นใต้ปุ่มเป็นกรอบทั้งปุ่ม)
การเปลี่ยนแปลงอีกอย่างคือปรับวิธีการควบคุมกล่อง Widget Store ที่เปิดปิด widget ย่อยต่างๆ บน Game Bar ในโหมด Compact สำหรับการใช้บนเครื่องเล่นเกมพกพา ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าไมโครซอฟท์กำลังปรับอะไรหลายๆ อย่างเพื่อเครื่องเกมพกพาแบรนด์ Xbox ตามข่าวลือว่าจะออกปลายปี
ที่มา - Xbox
ไมโครซอฟท์เปิดตัวผู้ช่วย AI บน Microsoft 365 Copilot สำหรับการค้นหาข้อมูลเชิงลึกและค้นหาข้อมูลสำหรับงานวิจัย ในรูปแบบเดียวกับ Deep Research ของ OpenAI และ Gemini Deep Research ของกูเกิล ซึ่งของไมโครซอฟท์แยก AI Agent เป็นสองตัวคือ Researcher และ Analyst
Researcher ระบุความสามารถช่วยการค้นคว้าข้อมูลที่มีขั้นตอนซับซ้อน ให้ข้อมูลที่มีคุณภาพสูง และตรงกับที่ต้องการใช้งานมากกว่าที่เคยมีมา ตัวผู้ช่วย AI ทำงานผสมผสานระหว่างโมเดล Deep Research ของ OpenAI กับเครื่องมือขั้นสูงของ Microsoft 365 Copilot รองรับการทำงานร่วมกับแหล่งข้อมูลภายนอกบน Salesforce, ServiceNow, Confluence และอื่น ๆ เพื่อหา insight ได้