เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบเอกสาร RFC หรือ "เอกสารขอความคิดเห็น" ที่เริ่มฉบับแรกเมื่อวันที่ 7 เมษายน 1969 หรือ 12 ปีก่อนอินเทอร์เน็ตที่เริ่มจริงจังในยุค IPv4 (RFC791) ในปี 1981 โดยตัว RFC เกิดขึ้นในยุค ARPANET
DARPA (ชื่อ ARPA ในยุคนั้น) ต้องการสั่งซื้ออุปกรณ์เครือข่ายแบบ packet-switching โดยเรียกว่า Interface Message Processors (IMP) หลังจากนักวิจัยได้รับงานจาก DARPA ก็มาออกแบบโปรโตคอลว่าควรมีหน้าตาอย่างไร กระบวนการออกแบบมีการถกเถียงในหมู่นักวิจัยจนกลายเป็นเอกสาร RFC ออกมา
กระบวนการเข้ารหัสเว็บ HTTPS ทุกวันเป็นการเข้ารหัสการเชื่อมต่อ ทำให้ตัวเว็บเซิร์ฟเวอร์จะอ่านเนื้อหาได้เสมอ หากเราต้องการส่งข้อมูลที่แม้แต่เว็บเซิร์ฟเวอร์อ่านไม่ได้ เราต้องอาศัยวิธีอื่นๆ เช่นส่งเมลเข้ารหัส PGP หรือส่งไฟล์ zip แบบมีรหัสผ่าน แต่ล่าสุด Martin Thomson จาก Mozilla ก็ผลักดันมาตรฐาน RFC 8188 ที่ทำให้การส่งข้อมูลเข้ารหัสเป็นมาตรฐานกลางแล้ว
มาตรฐานนี้กำหนดค่าสำหรับ "Content-Encoding" แบบใหม่ คือ "aes128gcm" ที่ระบุว่าข้อมูลถูกเข้ารหัสแบบ AEAD_AES_128_GCM เอาไว้ เมื่อประกาศ encoding แบบนี้แล้วข้อมูลส่วนแรกของเนื้อ HTTP จะกลายเป็นการประกาศกุญแจเข้ารหัส ตั้งแต่ค่า salt, ค่า record size สำหรับขนาดข้อมูล, ค่าหมายเลขประจำกุญแจเข้ารหัส
วิศวกรจากหัวเหว่ยและ ISC เสนอ RFC7873 DNS Cookie ให้กระบวนการขอข้อมูล DNS จะต้องมีกระบวนการยืนยันตัวตนก่อน
กระบวนการนี้เมื่อไคลเอนต์ต้องการขอข้อมูล DNS จะต้องส่งค่าสุ่มเสมือน (pseudorandom) Client Cookie ไปยังเซิร์ฟเวอร์ก่อน จากนั้นเซิร์ฟเวอร์จะส่งค่า Server Cookie กลับมา และใช้ค่านี้ในการขอข้อมูล DNS ครั้งต่อๆ ไป
IETF ออกเอกสาร RFC7858 ระบุถึงการขอข้อมูล DNS แบบเข้ารหัสแล้ว โดยใช้การเชื่อมต่อแบบ TLS ผ่านพอร์ต 853 ที่ประกาศใหม่
โดยปกติแล้วการเข้ารหัส TLS เช่นการเชื่อมต่อเว็บ จะต้องยืนยันชื่อโดเมนของเครื่องปลายทาง (เช่นโดเมน www.blognone.com) แต่เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ DNS เอง RFC7858 จะเปิดให้เข้ารหัสการเชื่อมต่อแบบไม่ต้องยืนยันตัวตน (authenticate) ก็ได้ หรืออาจจะใช้กระบวน key-pinning เช่นเซิร์ฟเวอร์ DNS สาธารณะอาจจะเปิดเผยค่า fingerprint ของกุญแจสาธารณะให้คนทั่วไปได้คอนฟิกไว้ล่วงหน้า
HTTP/2 เตรียมประกาศเป็นมาตรฐานมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ เมื่อวานนี้ทาง IETF ก็เผยแพร่เอกสารเป็น rfc7540 เป็นทางการแล้ว
RFC หรือ request for comments เป็นเอกสารที่ไม่ได้ขอความเห็นตามชื่อของมันเท่าใดนัก เพราะเอกสารที่ประกาศเป็น RFC จะเป็นมาตรฐานขั้นสุดท้ายที่ไม่มีการแก้ไขอีก จะมีเฉพาะการประกาศ RFC ใหม่เพื่อทดแทน RFC เดิมเท่านั้น
ที่มา - The Register
IETF หน่วยงานออกมาตรฐานอินเทอร์เน็ตกลายเป็นองค์กรที่มีอิทธิพลสูงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง จากการออกมาตรฐานสำคัญ เช่น HTTP 2.0 หลายมาตรฐานเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ใช้จำนวนมาก ต้นทุนของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และผลประโยชน์ของบริษัทเอกชนและรัฐบาลทั่วโลก หากใครได้ตามข่าวการออกมาตรฐานแต่ละครั้ง การถกเถียงใน mailing list ของ IETF จะยาวนับร้อยนับพันข้อความ และหลายครั้งที่ประธานกลุ่มทำงานระบุว่าน่าจะได้ข้อสรุปก็จะมีข้อถกเถียงกันต่อไปเรื่อยๆ อีกพักใหญ่โดย IETF ไม่ได้ยึดเสียงโหวตเพื่อหาข้อสรุปให้มาตรฐาน ทำให้น่าสงสัยว่าสุดท้ายแล้วมาตรฐานต่างๆ นั้นออกมาได้อย่างไร ตอนนี้ก็มีเอกสาร RFC7282 หัวข้อ "On Consensus and Humming in the IETF" มาอธิบายถึงกระ
RFC เป็นเอกสารที่กำหนดมาตรฐานหลายๆ ด้านในอินเทอร์เน็ตมาช้านาน ที่น่าแปลกคือในบรรดาเอกสารที่เต็มไปด้วยเนื้อหาแล้วชวนปวดหัวเหล่านี้ มักมีการเขียนเอกสารมาตรฐานตลกๆ แทรกเข้ามาอยู่เสมอๆ เช่นการส่งข้อมูลแบบไอพีผ่านนกพิราบสื่อสาร (RFC1149) หรือจะเป็นปัญหา Y10K (RFC2550) ที่น่าตกใจคือมาตรฐานเหล่านี้หลายๆ ตัวได้รับการอิมพลีเมนต์จริง เช่นมีการผูกหน่วยความจำแฟลชไปกับขานกพิราบจริง