Search Engine Optimization
หลังจาก กูเกิลประกาศสงครามกับ content farm เราก็เห็นมาตรการอย่างแรก กูเกิลเริ่มดำเนินการต่อต้านสแปมผลการค้นหา โดยปรับอัลกอริทึม ตามมาอย่างรวดเร็ว อันนี้เป็นมาตรการอย่างที่สองครับ
รอบนี้แนวคิดของกูเกิลจะแหวกแนวเล็กน้อย เพราะแทนที่กูเกิลจะบล็อคสแปมในผลการค้นหาเสียเอง ก็ขอยืม "พลังแห่งมวลชน" หรือแนวคิด crowdsourcing จากผู้ใช้กูเกิลช่วยกันระบุว่าลิงก์ไหนในผลการค้นหาเป็นสแปม ผ่าน Chrome Extension ชื่อ Personal Blocklist
ข่าวนี้ต่อจาก กูเกิลประกาศสงครามกับ content farm โดย Matt Cutts หัวหน้าทีมต่อต้านสแปมของกูเกิลได้ประกาศในบล็อกส่วนตัวของเขาว่า กูเกิลเริ่มปรับอัลกอริทึมของการเรียงผลค้นหาไปบางส่วน เพื่อไม่ให้สแปมเนื้อหาแบบที่เรียกว่า content farm รวมถึงเว็บที่ก็อปปี้เนื้อหาจากเว็บอื่น ติดอันดับดีเหมือนเดิม
Matt Cutts ระบุว่าการปรับรอบนี้จะกระทบกับผลการค้นหาเพียง 2% (แต่ที่เปลี่ยนจนรู้สึกได้มีเพียง 0.5%) คาดว่าคงจะมีมาตรการอื่นๆ ตามมา
เว็บไซต์ Hacker News ซึ่งทำงานร่วมกับ Matt Cutts ระบุว่าผลการค้นหาบางประโยคที่ Hacker News เคยเสนอไป มีคุณภาพดีขึ้นอย่างชัดเจน
หลังจากกูเกิลปรับวิธีการค้นหาผ่านหน้าเว็บมาเป็น Google Instant ซึ่งหาได้แบบไม่ต้องคลิกหรือกด enter ทำให้เกิดการถกเถียงกันมากว่า SEO แบบเดิมจะเป็นอย่างไร จะถึงกาลอวสานของวงการ SEO หรือไม่
ความเห็นมีหลากหลายมาก อย่างแรกคือมีคนมองว่า "SEO จะไม่สำคัญอีกต่อไป" เพราะผู้ใช้งานกูเกิลจะไม่เจอหน้าเว็บเหมือนกันอีกแล้ว ทุกคนจะปรับคีย์เวิร์ดไปตลอดเวลา ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลให้การปรับหน้าเว็บให้เหมาะกับผลการค้นหาแบบใดแบบหนึ่งนั้นทำได้ยากขึ้น - Steve Rubel
บ้านเราคนแถวๆ นี้บ่นเรื่องการทำ SEO แบบ black hat กันเยอะ แต่ล่าสุดคนที่ทำแบบนี้กลายเป็นกูเกิลไปซะแล้ว
เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อกูเกิลของญี่ปุ่น (ประเทศซึ่ง Yahoo! ครองตลาดสูงมาก) ได้ว่าจ้างบริษัท Cyberbuzz โปรโมทเว็บของตนด้วยการให้บล็อกเกอร์จำนวนมากเขียนบล็อกเพื่อโปรโมทและส่งผลให้เกิดการดันค่า Pagerank ของ Google.co.jp ให้สูงขึ้นกว่าปรกติ