เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา ทางสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA ร่วมมือกับ มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC) เปิดตัวระบบย่อลิงก์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ dg.th เพื่อให้การแชร์ลิงก์ ของหน่วยงานภาครัฐไทยได้อย่างปลอดภัยและน่าเชื่อถือ โดยระบบจะมีการป้องกันการทำลิงก์ที่ไม่เหมาะสม ด้วยการเพิ่มการกรองคำที่ไม่เหมาะสม หากใช้งานคำดังกล่าวจะต้องได้อนุมัติจากผู้ดูแลหน่วยงานนั้น
สำหรับบริการย่อลิงก์หน่วยงานรัฐในต่างประเทศก่อนหน้านี้ มีบริการย่อลิงก์ 1.usa.gov ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ให้บริการในลักษณะคล้ายกัน
หากหน่วยงานรัฐไทยหน่วยงานใดสนใจ สามารถติดต่อ DGA ได้ตามรายละเอียดการติดต่อในเว็บไซต์ dg.th
หลังการเปิดเว็บ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ทางศูนย์ข้อมูล COVID-19 ของรัฐบาลก็ออกมาเตือนถึงโดเมนปลอมเพื่อหลอกเอาข้อมูลประชาชน รวม 44 โดเมน อย่างไรก็ดีวันนี้ทาง THNIC ก็ออกมาปฎิเสธว่าโดเมนเกือบครึ่งที่อยู่ภายใต้ .th นั้นไม่มีการจดจริง เพราะ .th ยังไม่รองรับการจดโดเมนเป็นภาษาไทย
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ผู้ใช้ monkiez บนเว็บ Thaihosttalk ระบุว่าไม่สามารถจดโดเมน true.co.th ได้ โดยระบุว่าได้รับการติดต่อจาก THNIC ว่ามีบริษัทโทรคมต้องการโดเมนนี้ และหลังจากนั้นเมื่อตรวจสอบก็พบว่าคำว่า TRUE กลายเป็นคำสงวนไม่สามารถจดโดเมนใน .th ได้อีกแล้ว
ผมได้อีเมลขอความเห็นจากทาง THNIC ได้รับคำชี้แจงว่า การจองชื่อโดเมนนี้ถูกจองซ้ำอย่างผิดปกติ โดยไม่มีการยื่นเอกสารให้ถูกต้องจึงได้เพิ่มคำสงวนเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยปกติการจองชื่อโดเมนจะจำกัดให้จองได้ 60 วัน หรือสองรอบ รอบละ 30 วัน
สำหรับการเพิ่มคำสงวน ทาง THNIC ระบุว่ามีการเพิ่มอยู่เรื่อยๆ ตามประเด็นอ่อนไหวต่างๆ แต่ในกรณีนี้เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
โดเมนรายประเทศส่วนมากมักมีการจัดหมวดหมู่ภายใต้โดเมนอีกครั้ง เช่น .co.th หรือ .or.th แต่หลายประเทศก็เปิดให้จดโดเมนระดับที่สองกันตรงๆ เช่น .us ที่จดโดยตรงเพียงปีละ 8 ดอลลาร์ หรือ .uk ที่เปิดให้องค์กรการศึกษาสามารถจดโดเมนระดับที่สองได้โดยตรงเช่นกัน ตอนนี้ประเทศไทยเองก็เริ่มมีโดเมนระดับที่สองอนุมัติให้จดเป็นชุดแรกแล้ว
โดเมนชุดแรกมี 31 ชื่อ บริษัทต่างประเทศที่เรารู้จักกันดีก็มาร่วมจดหลายบริษัท เช่น ebay.th, google.th, oracle.th, paypal.th มหาวิทยาลัยอีก 3 ชื่อได้แก่ chula.th, ku.th และ psu.th
วันนี้มีข่าวเรื่องโดเมนของบลจ. กิมเอ็ง (www.kimeng.co.th) กลายเป็นเว็บของห้างหุ้นส่วนจำกัด คิมอิงลิช ส่งผลให้หลายคนตกอกตกใจว่าเกิดการขโมยโดเมนกันขึ้นหรืออย่างไร
ผมได้ติดต่อสอบถามไปยัง THNIC ผู้ให้บริการจดโดเมน .co.th ในประเทศไทย ได้คำตอบในเรื่องนี้มาว่าโดเมนนี้ถูกเปลี่ยนเป็น maybank-ke.co.th เพื่อเปลี่ยนตามชื่อบริษัท ที่เปลี่ยนจาก "บริษัท หลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)" เป็น "บริษัท หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)" มาตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2554
จากที่ข่าวเดิมผมได้ระบุไปว่ารหัสผ่านได้ถูกเข้ารหัสแบบทางเดียว (hash) ไว้ ปรากฎว่าเป็นความเข้าใจผิด เนื่องจากต้นฉบับอีเมลใช้คำว่า "เข้ารหัส" ไว้เฉยๆ แต่ผมอนุมานไปเองว่าเป็นแบบทางเดียว โดยอันที่จริงแล้วรหัสผ่านชุดเก่าถูกเข้ารหัสไว้แบบสองทาง อย่างไรก็ตามสำหรับระบบใหม่ที่ทาง THNIC ปรับปรุงได้เปลี่ยนระบบการจัดเก็บรหัสผ่านเป็นแบบทางเดียวเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ไม่มีรายงานว่ากุญแจ (key) ของรหัสผ่านชุดเดิมถูกนำออกไปด้วยหรือไม่อย่างไรครับ
ที่มา - อีเมลจาก THNIC
จากกรณีที่ THNIC ออกมาประกาศว่าพบร่องรอยการเจาะระบบของ THNIC และประกาศให้ผู้ใช้ดำเนินการเปลี่ยนรหัสผ่าน ผมได้ทำการสอบถามเพิ่มเติมไปทาง THNIC และรับคำตอบมาดังต่อไปนี้ครับ
ระบบที่ถูกจู่โจมคือระบบการบริหารจัดการโดเมนของลูกค้า ซึ่งพบว่ามีการเข้ามาแก้ไขข้อมูลไปทั้งสิ้น 18 แถว แต่ทาง THNIC ก็แก้ไขข้อมูลกลับภายในวันเดียวกัน และปิดระบบการล็อกอินเป็นเวลา 3 วัน โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ทาง THNIC ได้ตรวจสอบจนพบช่องโหว่ และมีการแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าว แล้วเปลี่ยนเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพื่อป้องกันกรณีหากผู้จู่โจมทิ้งคำสั่งอะไรไว้ โดยอุปกรณ์ชุดเก่าทั้งหมดได้ถูกเก็บไว้เป็นหลักฐานในการดำเนินการทางกฎหมายต่างๆ ต่อไป
THNIC ผู้ให้บริการโดเมน (registrar) .TH ได้อีเมล์แจ้งลูกค้าว่าระบบจัดการโดเมนได้ถูกเจาะ และเป็นไปได้ว่าแฮคเกอร์จะได้ข้อมูลอีเมล์ และรหัสผ่านไปด้วย โดย THNIC แจ้งว่าขอให้ลูกค้าทุกท่านรีบเปลี่ยนรหัสผ่านบนระบบจัดการโดเมน รวมถึงทุกบัญชีบริการอื่นๆ ที่มีการใช้รหัสผ่านเดียวกันนี้โดยด่วน
เรียนท่านเจ้าของ Account ระบบจัดการโดเมนทุกท่าน
ในวันนี้ทาง THNIC ผู้ให้บริการโดเมน .th ได้ส่งอีเมลแจ้งกับลูกค้าว่า บริษัทตรวจพบร่องรอยการเจาะระบบ และมีความเป็นไปได้ที่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านอาจถูกเจาะออกไป โดยแนะนำให้ผู้ใช้ทุกคนเปลี่ยนรหัสผ่านบัญชี THNIC รวมถึงบัญชีอื่นๆ ที่อาจใช้รหัสผ่านชุดเดียวกันด้วย
ทั้งนี้ทาง THNIC ระบุว่าได้มีการแก้ไขเพื่อป้องกันในขั้นต้นเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ณ เวลาที่เขียนข่าวนี้ ยังไม่มีการแจ้งใดๆ บนหน้าเว็บไซต์ของ http://www.thnic.co.th แต่อย่างใดครับ
อีเมลฉบับเต็มดูได้หลังเบรกครับ
เรียนท่านเจ้าของ Account ระบบจัดการโดเมนทุกท่าน