อินเทลเปิดตัวซีพียูใหม่ที่งาน Computex 2019 โดยนำซีพียู Core i9-9900K (เปิดตัวครั้งแรกเดือนตุลาคม 2018) มาอัพเกรดเป็น Core i9-9900KS (Special Edition) โดยสามารถบูสต์คล็อคของคอร์ทั้ง 8 คอร์ขึ้นไปแตะ 5GHz พร้อมกันได้
Core i9-9900K ตัวเดิมสามารถบูสต์คล็อคแตะ 5GHz ได้อยู่แล้ว แต่สามารถบูสต์ได้แค่ 2 คอร์จาก 8 คอร์เท่านั้น (ถ้าบูสต์ทั้ง 8 คอร์พร้อมกันจะได้แค่ 4.7GHz) การอัพเกรดเป็น Special Edition ก็ช่วยเพิ่มความแรงให้อีกหน่อย
Core i9-9900KS ยังใช้กระบวนการผลิตที่ 14 นาโนเมตร และสถาปัตยกรรม Coffee Lake เหมือนเดิม สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือเรื่องของคล็อคเท่านั้น ตอนนี้อินเทลยังไม่เปิดเผยข้อมูลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าพลังงาน TDP รวมถึงราคา
ที่มา - Intel, Tom's Hardware
Comments
คัดchip สินะ เห็นมีร้านนอกทำขายแบบนี้นานแล้ว เลยทำขายเองซะเลย
น่าสนใจเรื่องคัดชิพครับ มันคืออะไร รบกวนเล่าให้ฟังได้มั้ยครับ ฟังแล้วรู้สึกว่ามันทำให้ cpu ทำงานได้เสถียรขึ้น แถมฟังแล้วเหมือนว่าเป็นอะไรที่ใครก็ทำได้
ที่เคยเห็นก็มีร้าน silicon lottery ที่คัด chip ที่สามารถ OC ไปได้ไกลๆมาขาย ให้กับนัก OC โดยไม่ต้องลุ้นน่ะครับ ราคาจะ up ขึ้นไปหน่อย
จะว่าไป เคยเห็นในกลุ่ม OC เมืองไทย เวลา cpu แรงๆออกใหม่ พวกนี้ก็กว้านซื้อหลายๆกล่อง แล้วคัดตัวที่ OC ได้ไกลไฟต่ำเก็บไว้ แล้วขายตัวที่ OC ได้ไม่ดี ออกมาถูกๆแบบราคาลด 10-20% เลยทั้งๆที่อายุการใช้งานไม่กี่ชั่วโมง (ตัวละหมื่นก็ลด1-2พันก็เยอะนะ) และตัวไหนที่ OC ได้เยอะหน่อย ก็ขายไปแบบทดสอบแล้วว่าวิ่งได้เท่านี้ต่อ ก็อัพราคาได้อีกหน่อย
ทีนี้ในมุมโรงงาน ปกติก็น่าจะมีการทดสอบ test อยู่แล้วว่า cpu แต่ละตัวจะวิ่งไปได้แค่ไหน เพราะ chip ที่ตัดจาก wafer มาคุณภาพไม่ได้เท่ากันหมด โดยถ้าไม่ผ่านมาตรฐานขั้นต่ำก็ตก qc อาจจะนำไป rework หรือทำรุ่นต่ำลง แต่ถ้ามีการคัด ตัวที่วิ่งไปได้ไกลกว่าเพื่อน ไกลกว่ามาตรฐานรุ่นปกติเยอะ ทำขายเป็นรุ่นพิเศษแบบนี้ ก็เพิ่มราคาได้อีก
เปิดหูเปิดตาเปิดโลกมากครับ ขอบคุณครับ
ผมเพิ่งรู้ว่ามีธุรกิจแบบนี้ และเพิ่งรู้ว่ามันมี cpu ที่ต่างออกไปแม้แต่ในล็อตเดียวกัน ผมนึกว่ามันจะเหมือนกันหมดทั้งไลน์การผลิตซะอีก แล้วตัวที่แตกต่างก็มีแต่ defect ตีเสียไป เพิ่งรู้ว่ามันมีตัวที่ defect แบบ high performance เป็น unicorn แบบนี้ด้วย
ขอบคุณมากครับ
ผมเคยเจอ สมัยก่อนครับ ของ AMD อารมณ์ประมาณที่ เม้นนี้พูดถึง คือ สมัย Athlon/Duron ที่มีการเอา carbon มา ลากเชื่อมระหว่างขา บางตัว OC ได้ 10-20% ก็เอามาขายราคาสูง (เมื่อ 10กว่าปีก่อน)
ก็ไม่คิดว่าสมัยนี้ยังมีอยู่
Duron นี่เก่าพอควรเลยนะ ผมใช้ AMD ล่าสุดคือ K6-2 ร้อนโคตรๆ
เพราะมันมีuserสายocซื้อมาเทสพอocไปไม่ได้ตามเป้าแล้วก็ขายกันเยอะเลยมีพ่อค้ารับทำมันซะเองเลย
จริงๆintelรุ่นก่อนหน้านี้เค้าก็มีขายรุ่นพิเศษที่ocไปได้ไกลออกมาด้วยเหมือนกันนะ
แล้วล็อตการผลิตก็มีผลเยอะครับล็อตเดียวกันคุณภาพก็จะใกล้ๆกันด้วย
เพราะความละเอียดอ่อนในการผลิต ทำให้ยังควบคุมทั้งล๊อตไม่ได้ครับ จะมีส่วนที่วิ่งได้ไม่ดี (กินไฟ ร้อน คล๊อคน้อย) ก็ตัดลงไปขายเป็นรุ่นถูก (ปิดคอร์ ปิดแคช ว่ากันไป)
AMD สมัย Phenom II นี่เล่นกันสนุกเลยครับ
ผมเองก็เคยซื้อ x2 555 จากพ่อค้าใน OCZ ที่เอามาเทสเปิดหัวเป็น x4 955 ได้แบบลื่นๆมาใช้ ราคาแพงกว่า x2 555 ปกติหน่อย
แต่ถูกกว่า x4 955 ตัวจริงมาก
ของผมจำรุ่นไม่ได้ แต่เปิด 3หัวได้อันนึงเวลาซื้อก็วัดดวงเอา
ปกติการผลิต CPU จะทำในลักษณะว่าผลิตรุ่นสูงสุดที่ต้องการออกมา แล้วจึงทดสอบและคัดแยกเป็นรุ่นที่เล็กกว่าในกรณีที่ CPU ที่ได้มันไม่ผ่านรุ่นสูงสุดที่ว่า อย่าง Core i รุ่นที่ 9 ทาง Intel คงจะตั้งเป้าไว้ที่ Core i9 9900K พอผลิตออกมาแล้ว ถ้ามันไม่สามารถตีเป็น i9 9900K ก็จะตีเป็นรุ่นต่ำกว่าแทน เพื่อไม่ให้มันสูญเปล่า แต่ในข่าว CPU ที่ผลิตออกมาได้บางตัวมันดีกว่า i9 9900K ไปเยอะ เลยทำให้ Intel ตีออกมาเป็น i9 9900KS ครับ
และในบางกรณี ผลิตชิปเกรดดีๆ ออกมาได้เยอะ แต่ตลาดไม่ได้ต้องการ เขาจะเอารุ่นที่ต่ำกว่า ก็ยอมเอาเกรดดีๆ มาตีเป็นรุ่นต่ำกว่า ขายได้เงินน้อยหน่อยก็ยังดีกว่าขายไม่ออก
แสดงว่าไลน์ผลิตเดียวกันแล้วมาคัดเกรดเอาเหรอครับ?
ใช่ครับ ดีไม่ดี celeron ยัน i9 หน้าตาเดียวกันหมด
I need healing.
รู้แล้วว่ากระดอง CPU มีไว้ทำไอะไร เอาไว้ปิดให้ไม่เห็นว่าไส้ในเหมือนกันนี่เอง
ถูกต้องครับ ว่ากันเป็นรายตัวเลย
เอามาทดสอบ จากนั้นก็ตีว่าจะได้ไปเป็นรุ่นใหน ส่วนใหนของ CPU ไม่ผ่านแต่พอจะปิดการใช้งานได้ก็จะปิด
ด้วยเหตุนี้ นัก OC นักโมทั้งหลายจึงพยายามจะหาวิธีเปิดส่วนที่มันปิดไว้ หรือแปลงร่าง CPU
เพราะบางครั้ง อาจจะปิดเพราะ "การตลาด" ก็มีครับ
ตอนนี้ที่เห็นชัด ๆ ก็พวกตระกูล F ทั้งหลาย ชิปเดียวกันเป๊ะ แต่ปิด feature ส่วน graphic ไว้
เรื่องคัดชิพตอนนี้น่าจะมีแค่ลากไกลกว่าตัวอื่นๆ
สมัยก่อนช่วง Athlon II Phenom II ซื้อมาแล้วลุ้นเปิดหัว ซื้อ 2 core, 3 core มาลุ้นเปิดเป็น 4 core ใน BIOS
Athlon II, Phenom II ชื่อนี้นี่ คุ้นเคยมาก
ตอนนี้ก็ยังมีอยู่ครับ เพียงแต่ตอน Athlon II กับ Phenom II มันดันมีฟีเจอร์เปิดคอร์ที่ถูกปิดไว้ที่ CPU ครับ
จริงๆ เรื่อง ขนาด transistor Density เล็กลงเรื่อยๆก็เหมือนกันด้วยกับการคัดชิพนะ อย่างที่ intel เคยบอกไว้ ว่า 10NM สามารถมีคุณภาพต่างกันได้ ก็เพราะ จำนวน 10nm ที่มีอยู่ในชิพ เยอะกว่า เจ้าอื่นอาจมี 14 ผสม10เยอะกว่า
https://www.blognone.com/node/91348
และวงการ gpu ก็เจ้าแห่งการคัดชิพเลย
นึกว่าวงการคัด Chip จะมีแค่ Ram ซะอีก
แปลกที่ตอนผลิตก็ค่อนข้างเข้มงวดและต้องการความสะอาดมากๆ แล้วใช้เครื่องจักรในการผลิตด้วย ยังได้ของคุณภาพไม่เท่ากันอีกเหรอเนี่ย นึกว่าจะคงเส้นคงวาตลอดการผลิตเสียอีก
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ถ้าเอาเทคโนโลยีสมัยนี้ไปผลิตระดับร้อย nm ของสมัยก่อนมันก็คงแม่นแหละครับ ตัวท็อปเริ่มขายตอนที่ผลิตผิดพลาดน้อยได้จำนวนเพียงพอทำราคาได้คงไม่ใช่ระดับทำได้เกือบ 100% ชิลๆ
เหมือนวิ่งไล่จับกันน่ะครับ
ผลิตเล็กลงเรื่อยๆ เครื่องจักรก็ต้องปรับให้ตามทัน แล้วตอนลงมา step ถัดไปแรกๆมันก็จะมี error เยอะหน่อย ก็ตัดมาขายเป็นรุ่นกลาง-ต่ำตามสภาพของแต่ละตัว
พอเครื่องเริ่มนิ่ง แม่นยำ ก็จะอัดรุ่นสูงออกมาได้เยอะขึ้น
แล้วพอลดขนาดลงอีก ก็ไปวนลูปกันใหม่
เหมือนเป็น swan song ผลงาน masterpiece ส่งท้ายการรีดเทคโนโลยี 14 nm มาตลอดห้าปีของ Intel
Boost 5GHz ได้ทั้ง 8 cores แบบ out of the box ถือว่าสมศักดิ์ศรี
Gen 10 nm จะรีดให้ถึง 5GHz base clock ได้ไหม แต่เห็นรีบจะข้ามไป 7 nm เหลือเกิน
โห...ข่าวนี้มีแต่คนแก่คุยกัน Athlon Duron อ่านละสนุกดี
หัวข้อนี้เปิดหูเปิดตามากกกกกก
เพิ่งรู้ว่ามีการคัด chip และการผลิตแบบนี้
chip binning มีทำกันมานานมากแล้วครับ และทำกันเป็นเรื่องปรกติครับ
เห็นพูดถึงเรื่องคัดชิปกัน ผมเคยซื้อ i7 แต่ได้ Xeon มา (bios เห็นแบบนี้) ไม่รู้เกี่ยวกันไหม ใครพอทราบบ้าง
อ๋าาาาาา
Xeon E3??
เท่าที่ทราบมาคือ ผลิตบนเวเฟอร์เดียวกัน เช่น ผลิตเป็น i7 หรือ xeon ที่เป็นรุ่นสูงสุดก่อน แล้วมีคัดสเปกทีหลัง ว่าเปิดคอร์ได้กี่คอร์ ก็แยกเป็น i3 i5 i7 ประมาณนี้ครับ