คำถามหนึ่งที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่สามารถตอบได้ตลอดมา คือข้อสงสัยที่ว่าไลเซนส์แบบโอเพนซอร์สนั้นมีสภาพบังคับใช้จริงเพียงใด เนื่องจากยังไม่เคยมีคดีที่กฏหมายบังคับใช้จริงเลย
แต่จากนี้ไป อย่างน้อยๆ ในประเทศเยอรมนี ไลเซนส์แบบ GPL ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลบังคับใช้จริง เมื่อแฮกเกอร์คนหนึ่งชื่อ Harald Welte ได้ติดตามการละเมิด GPL แล้วพบว่าทางบริษัท D-Link นั้นได้ละเมิดไลเซนส์แบบ GPL เป็นจำนวนหลายรายการ
การละเมิด GPL ของ D-Link นั้นเกิดจากการที่ทาง D-Link นั้นไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ของบริษัทนั้นเป็นซอฟต์แวร์ GPL อีกทั้งไม่ได้ให้หนทางเข้าถึงซอร์สโค้ดไว้อย่างชัดเจน
การฟ้องร้องเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยนาย Welte นั้นต้องหาหลักฐานจำนวนมากนับแต่การเทียบโค้ดกันในแต่ละส่วน จนกระทั่งได้รับชัยชนะในวันที่ 6 ที่ผ่านมานี้ โดยทางศาลได้มีคำสั่งให้ทาง D-Link ทำตามข้อกำหนดใน GPL และจ่ายค่าใช้จ่ายที่นาย Welte ต้องจ่ายไปในการฟ้องร้องครั้งนี้
ก่อนหน้านี้มีข่าวการละเมิด GPL มาแล้วประปราย ส่วนมากคนละเมิดมักจะยอมทำตามกันแต่โดยดี แต่ข่าวที่ว่ามีการฟ้องจนศาลเป็นคนสั่งบังคับคดีก็เพิ่งเคยมีครั้งนี้
ที่มา - Linux.com
Comments
D-Link - -"
เจ๋งจริง ชอบ ๆ
ว่าแต่ D-Link เมื่อไหร่จะมี driver for Linux บ้างอ่ะ รอมานานแล้ว หรือว่าที่ไม่มีเพราะไม่กล้าเปิด source ให้คนไปทำ driver เพราะกลัวความแตก อิอิ
เมืองไทย เรื่อง GPL คงอีกนานกว่าจะยอมรับกัน
------------------------------------------------- vavar-studio
vavar - ในประเทศตะวันตกเอง ยังตั้งคำถามกับ GPL กันอีกเยอะ เมืองไทยนี่แค่กฏหมายลิขสิทธิก็อีกนานแ้ล้วครับ ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
cool
vavar: คงต้องมีคนลองฟ้องก่อน