ข่าวนี้เป็นข่าวที่ตกจาก Blognone ไปนานสักหน่อย คือมีการเสนอข้อตกลงระหว่างประเทศในการโทรคมนาคม (International Telecommunications Rules - ITRs) ฉบับใหม่หลังจากที่ฉบับเดิมลงนามกันไปตั้งแต่ปี 1988 โดยกลุ่มผู้ให้บริการเครือข่ายในสหภาพยุโรป (European Telecommunications Network Operators' Association - ETNO) ที่เสนอให้มีการเข้ามาควบคุมอินเทอร์เน็ตในรูปแบบต่างๆ โดยมีเหตุผลหลักคือความไม่พอใจของผู้ให้บริการเครือข่ายที่ทำกำไรมหาศาลจากเครือข่าย
กรณีเช่นนี้เป็นปัญหาเดียวกับในสหรัฐฯ ที่ผู้ให้บริการไม่พอใจที่ YouTube กินแบนด์วิดท์อย่างมาก แต่คนได้กำไรเป็นกูเกิล ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องแบกรับค่าบริการโดยไม่กล้าที่จะส่งต่อค่าใช้จ่ายนี้ไปเป็นค่าบริการกับผู้บริโภคเพราะการแข่งขันที่สูง
ENTO ส่งข้อเสนอหลายประการครอบคลุมทั้งเรื่องความปลอดภัย, สแปม, และการควบคุมการใช้งานอื่นๆ แต่เรื่องสำคัญคือการให้ ITU เข้ามาควบคุมระบบการคิดค่าใช้งานเครือข่ายระหว่างกัน ทำให้เครือข่ายที่ไปสร้างทราฟิกให้เครือข่ายอื่นๆ จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายด้วย รวมถึงความสามารถในการควบคุมโปรโตคอลที่จะใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ผ่านทางกลไกของ ITU
หลายองค์กรออกมาต่อต้านข้อเสนอนี้ทันที เช่น Internet Society เรียกร้องให้สมาชิกของ ITU สนับสนุนการเติบโตของอินเทอร์เน็ต, การแข่งขัน, และนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้น และระบุว่าข้อตกลง ITRs ฉบับเดิมนั้นเปิดให้การสื่อสารในโลกสูงขึ้นอย่างมาก และหวังว่าชาติสมาชิก ITU จะยังคงแนวทางเดิมไว้
ขณะที่ทูตสหรัฐฯ ประจำสหภาพยุโรปออกมาโจมตีข้อเสนอนี้อย่างตรงไปตรงมา และระบุว่าระบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ทำงานได้อย่างดี และไม่มีข้อพิสูจน์อะไรว่าระบบควบคุมที่ ENTO เสนอนั้นจะทำงานได้ รวมถึงมีความเป็นไปได้ว่าข้อเสนอบางอย่างจะไม่เข้ากับการทำงานของอินเทอร์เน็ต
ข้อเสนอจะมีการพิจารณาในงาน WCIT-12 เดือนธันวาคมนี้ แม้จะสร้างข้อวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง แต่เมื่อชาติหลักอย่างสหรัฐฯ มีท่าทีแข็งกร้าวต่อข้อเสนอก็คงยากที่จะผ่านข้อตกลงออกมาได้ อย่างไรก็ดีการพิจารณาเรื่องนี้ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองต่อไป
ที่มา - Internet Society, Computer World
Comments
วันนี้เพิ่งอ่านจากเดลินิวส์มาว่ามีข้อตกลงที่ คลิกทีนึงก็ต้องเสียค่าบริการทีนึง ใช่เรื่องเดียวกันนี้มั้ยครับ? ยังคิดอยู่ว่าแบบนี้ต่อไปใครจะเล่นอินเทอเน็ตกัน
เคยอ่านอยู่เหมือนกัน เหมือนคนคิด(นักการเมือง?) เหมือนเป็นนักธุรกิจเลย เอาความคิดแบบนี้มาได้ไง
มุมมองแบบชาวบ้านๆแบบผมคือ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก็ได้กำไรอยู่แล้ว ไม่งั้นเขาคงเลิกบริการอินเตอร์เน็ตแล้วละ จะมาเก็บเพิ่มทำไม ทำให้การสื่อสารเป็นเรื่องที่ต้องเสียเงินเสียทองเพื่อการติดต่อสะงั้น แค่ค่า SMS ก็ได้กำไรมากละ
ผมมองว่าการแบกรับค่าบริการมันก็อยู่ที่การตั้งราคาตั้งแต่แรกล่ะครับ ถ้าตั้งพอดี ๆ ยังไงอยู่ได้ไม่เดือดร้อน แค่อาจจะกำไรน้อยนั่นก็เรื่องปกติอยู่แล้ว
อันนี้มุมมองผม ความไม่พอใจเป็นเพราะฝั่ง network นั่นสินค้าเป็น commodity ครับ True แพง ผมก็เลิก ไปติด 3BB แต่ฝั่งบริการเช่น Google, Facebook ฯลฯ นั้นความสามารถควบคุมตลาดดีกว่ามาก พอออกมาเป็นกำไร ฝั่ง network เลยเซ็งๆ แถมต้องเพิ่ม capacity ตามแต่ฝั่ง content จะหาอะไรมาใส่อีกไม่งั้นแข่งขันไม่ได้ คนย้ายออก
ยกตัวอย่างในวันนี้ ถ้าใครขาย ADSL 2Mb ซึ่งพอดู YouTube SD คนก็ไม่เอาครับ อยากดู 720p ขึ้นไป อนาคตเกิดรับ 4K เยอะๆ ฝั่ง network ก็จะโดนบีบให้ขยายอีก
ข้อความหลักในเรื่องนี้คือไหนๆ รวยแล้วก็มาช่วยกันจ่ายๆ มั่ง (network ops พูดอย่างนี้หลายประเทศ รวมสหรัฐฯ) ในความเป็นจริงคือบริษัท content ก็ช่วยจ่ายแล้วทุกวันนี้ผ่านการตั้ง CDN ไปจ่อๆ ทีละประเทศทั่วโลก แต่ไม่เอาเงินไปวางให้ตรงๆ แต่ดันกลายเป็นว่าบริษัท content ทำบริการ network มาแข่งเสียอีก อยากให้ network เร็วแทนที่จะจ่ายบริษัทเครือข่าย กลับไปจ่ายกูเกิล, amazon, microsoft ให้กระจายข้อมูลไปตาม CDN ให้
ธุรกิจถูกคุกคาม ก็ต้องหาทางทุกทางล่ะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
+1 ในแง่ของผู้ให้บริการครับ
ถ้าผมไม่ให้ราคากับผู้ให้บริการ ผมจะคิดผิดไหมครับ :P
สำหรับผม คิดกับผู้ให้บริการ (ในทุกๆ วงการ) ไว้เสมอว่า พอใจก็ทำ ไม่พอใจก็จงเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น ถ้าคุณยังอยู่ได้ แสดงว่าคุณก็ยังมีกำไรดำเนินธุรกิจได้ แล้วทุกอย่างมันเป็นไปตามกลไก ทุกวันนี้ถึงเราจะใช้แบนด์วิธเยอะขึ้น แต่อุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ ก็ถูกลงเยอะ ลูกค้าก็เยอะขึ้น แต่ถ้าคุณรับไม่ได้ที่กำไรน้อยก็ให้คุณออกจากธุรกิจไป ถ้าคุณออกจากธุรกิจ ตามกลไกตลาดแล้วเดี๋ยวก็มีเจ้าอื่นมาเสียบแทน
ถ้ายังต้องไปเก็บเงินจากฝั่ง content มันก็ไม่ใช่อินเทอร์เน็ตแบบทุกวันนี้แล้วครับ
ส่วนลูกค้า ส่วนตัวผมมองว่าไม่จำเป็นต้องสนใจผู้ให้บริการ เพราะทุกๆ ฝ่ายย่อมหวังให้ตัวเองเป็นฝ่ายได้ประโยชน์สูงสุดกันอยู่แล้ว
ขอบคุณครับ เห็นภาพขึ้นเยอะเลยทีเดียว
+1 ชัดเจนมาก
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ขาดทุนกำไร .. จำได้ว่ากูเกิลเคยออกมาพูดทีนึง ว่าทุกวันนี้โอปเรเตอร์สามารถให้บริการฟรีได้แล้วด้วยซ้ำ (แต่อาจต้องปรับโมเดลการสร้างรายได้ เช่น โฆษณาหรืออะไรก็ว่าไป )
my blog
ผมเข้าใจปัญหา
แต่ ผมสงสัยว่า ทางแก้ มันเป้นไปในลักษณะใดได้บ้างครับ
google(youtube) ถ้าต้องจ่าย ต้องไปจ่ายกับใคร ฝั่ง network นี่คือใครหรอครับ
ฝั่ง เน็ตเวิร์ค ก็พวก ISP หรือ พวกที่วาง Link หน่ะครับ
ลองใช้คำั่สั่ง tracert ไปที่ youtub.com ดูครับ ว่ามันผ่าน Network มากี่ตัว
ของผม เน็ตทุยโฮม ผ่านมาถึง สิบกว่าตัว...
tracert ไปเจอ cdn ของ youtube ที่ตั้งอยู่ในไทยครับ 555
ถ้ามองแค่เรื่องแบนด์วิดท์ ผมว่าทุกวันนี้เราก็จ่ายผ่านการเลือกแพ็คเกจอินเตอร์เน็ตอยู่แล้วไม่ใช่เหรอ
เคสนึงที่คุ้นๆ คือ.. ภูมิภาคที่พึ่งเข้าถึงเนต (เช่น แอฟริกา) ซึ่งในภูมิภาคกลุ่มนี้แทบไม่มีฝั่ง service provider เลย มีแต่ user กับ network provider เท่านั้น ดังนั้นจะใช้บริการอะไรที พวก traffic เหล่านั้นจะวิ่งผ่านไปข้างนอกหมด
ขณะที่ end-point ฝั่ง service provider สามารถทำรายได้จาก end-to-end traffic (แม้แต่พวก free service ก้อมีรายได้จาก overhead traffic ที่เพิ่มเข้ามาในรูปของ ads ที่พ่วงมากับ content) .. ซึ่งสำหรับ local service อาจไม่มีปัญหาอะไรเพราะสามารถเรียกภาษีได้ ทว่าสำหรับ off-shore service กลับไม่มีกลไกที่จะช่วยกระจายรายได้เหล่านั้นมาเปนทุนสำหรับตัวกลางที่ traffic วิ่งผ่าน ซึ่งรวมทั้ง network provider และหน่วยงานรัฐต่างๆ ในท้องถิ่น ทำให้ค่าใช้จ่ายเกิดกับทาง user สูง เนื่องจากต้องใช้กลไกที่ใช้รูปแบบการหารายได้จากค่า network access ที่ได้มาจาก user (ทั้งการเรียกค่าใช้บริการจาก user โดยตรง หรือแบบอ้อมๆ ผ่านการสนับสนุนโดยรัฐซึ่งนำมาจากภาษีอีกต่อ)
ในทางนึง ค่าใช้จ่ายที่สูงนั้นจะทำให้เกิดกำแพงกั้นโอกาสที่ user จะเข้าถึงเครือข่ายได้.. ในอีกทางนึง หาก network provider ยอมกดราคาลงมา ย่อมมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพของ network provider และสุดท้ายจะส่งผลต่อโอกาสที่ user จะได้เข้าถึงเครือข่ายที่มีคุณภาพ (เช่น สัญญาณมีความเรวต่ำ, สัญญาณไม่เสถียร, ความครอบคลุมของเครือข่าย ฯลฯ)
นอกจากนั้น เมื่อโอกาสมีน้อยที่ user จะได้เข้าถึงเครือข่ายที่มีคุณภาพ การเกิด service provider ภายในภูมิภาคจึงมีโอกาสน้อยลงตามไปด้วย ทำให้วงจรเดิมเกิดวนไปเรื่อยๆ .. และส่งผลให้ยากที่จะพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพของภูมิภาคเหล่านี้
ส่วนกรณีที่บางคนทักว่าพวกบริการที่ไม่แสวงกำไรอย่าง wikipedia หรืออื่นๆ จะทำไง.. เคสที่เค้าทำคือไม่ใช่ charge มันหมดทุกเจ้า อย่าง traffic การใช้ wikipedia เค้าจะละค่าใช้จ่ายให้ทั้งทาง user และ service provider คือแม้แต่ค่า network access ทาง user ก้อไม่ต้องเสีย ทำให้ user มีโอกาสเข้าถึงข้อมูล/บริการมากขึ้น ขณะที่กลไกแบบเดิมนั้น แม้การเข้าถึง non-profit service provider ก้อยังมีค่าใช้จ่ายที่ user ต้องจ่ายในส่วนค่า network access อยู่ (ซึ่งที่จิงมันมีต้นทุนการใช้ ทว่าที่สามารถละการเรียกค่าใช้จ่ายส่วนนี้จาก user หรือ service provider ได้ นั้นเพราะส่วนนึงมีทุนที่ได้มาจาก commercial service provider อื่นๆ มาช่วยหนุนนั้นเอง โดยทุนดังกล่าวนอกจากจะใช้ช่วยลดภาระของ user และช่วยพัฒนาศักยภาพของ network provider แล้ว ยังอาจนำไปใช้พัฒนา local service provider ได้อีกด้วย เช่น ใช้พัฒนาบริการพื้นฐานทางด้าน การศึกษา/การแพทย์/การบรรเทาภัย/อื่นๆ)
อีกกรณีคือ มีบางคนทักว่า content ในยุคนี้มันคือ user-generated content แล้ว หากมีค่าใช้จ่ายยิบย่อยงี้ ใครจะเอา content ไปใส่.. พูดรวมๆ คือคล้ายกรณีก่อนหน้านั่นแล ไม่ต้องจ่ายถ้าไม่ได้รายได้อะไร คร่าวๆ คือตั้งเกณฑ์ว่าเกินระดับที่กำหนดถึงต้องจ่าย ซึ่งลึกๆ แล้วพวก commercial service provider ไม่กล้าตั้งเกณฑ์ต่ำๆ แน่นอน เพราะไม่งั้นยอด user คงตก แล้ว value ของ service provider พวกนี้จะพลอยตกไปด้วย (เพราะ value เกิดจากฐานการใช้งานของ user และ content ที่ user นำมาใส่)
หลักๆ แล้วเค้าต้องการเรียกค่าใช้จ่ายเพิ่มจากทาง service provider เท่านั้น ไม่ใช่จะมาเรียกค่าใช้จ่ายเพิ่มจากทาง user (ในทางกลับกัน รายได้เหล่านั้นจะหมุนมาช่วยลดภาระที่ user ต้องจ่ายอีกตะหาก) .. หาก user จะโดนเรียกค่าใช้จ่าย คือ service provider เหล่านั้นแบ่งภาระมาที่ user อีกที ไม่ใช่ภาครัฐหรือ ITU หรือ network provider มาเรียกค่าใช้จ่ายเพิ่มจาก user โดยตรง
สุดท้ายก็เป็นความเห็นแก่ได้ของ ISP เองที่ไม่พอใจที่จะต้องแบกรับค่าใช่จ่ายส่วนเพิ่มที่เกิดจากการเติบโตทางด้าน content ของผู้ให้บริการรายอื่นโดยที่ตัวเองไม่ได้อะไรเลย(ตัวเองก็เป็นคนกำหนดราคาการให้บริการเองแท้ๆ ซึ่งกำหนดให้ต่ำเองเพราะต้องการให้ใช้บริการของตน)
ส่วนตัวผมถ้ามีการทำแบบนี้ได้จริงมันจะขัดขวางการเกิดบริการใหม่ๆเพราะมีต้นทุนสูงขึ้น แล้วมีคำถามตามมาดังนี้
ถ้าเก็บค่าบริการแยกต่างหาก(service provider จ่าย)แล้วบริการจะดีขึ้นหรือไม่?
ถ้าไม่สามารถใช้บริการ(จาก service provider)ได้เพราะปัญหาจากตัว ISP เองจะต้องรับผิดชอบอย่างไร?
ปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายสุดท้ายแล้วในทางปฏิบัติค่าใช้จ่ายทั้งหมดก็จะวนกลับมายังผู้บริโภคเสมอ ซึ่งก็คือเป็นการผลักภาระค่าใช้จ่ายของตัวเองให้ผู้บริโภครับไปอยู่ดี(ต้นทุน +ค่าใช้จ่าย +กำไร +ภาษี +อื่นๆ = ราคาบริการ) Model ดีแต่มันจะทำจริงได้หรือไม่ต้องติดตามกันต่อไป
ก่อนอื่นขอชี้แจงเอาไว้นิดนึง ว่าเคสที่ยกมาก่อนหน้านี้นี่ อาจไม่เกี่ยวกับเนื้อหาใน ITR อันล่าสุดนะ.. มันเกี่ยวกับเนื้อข่าวเฉพาะในเรื่องการบริหารรายได้และต้นทุน โดยเคสนี้คือ scenario สำหรับอธิบาย model ของบทแก้ไขหัวข้อนึงใน ITR (ซึ่งเคสนี้เคยถูกเสนอขึ้นมานานมากแล้ว และเคยถูกนำไป discuss แรงๆ กันมาแล้ว จึงไม่แน่ใจว่าร่าง ITR ฉบับล่าสุดยังจะมีบทแก้ไขนี้อยู่มั้ย หรือว่าจะถูกถอดออกไปแล้ว หรือเผลอๆ อาจได้แค่พูดเสนอแต่ยังไม่เคยถูกนำเข้า ITR ด้วยซ้ำ ทว่าถ้าจะมีเรื่องค่าใช้จ่ายการใช้ internet เพิ่มเข้ามา เดาว่าน่าจะเกี่ยวเนื่องกับเคสนี้ เพราะหัวข้ออื่นที่คุ้นๆ นั้น เหมือนจะเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในระดับล่างๆ คือระดับ network นู่นเลยซะมากกว่า)
ส่วนที่บอกว่า ISP หรือระบุให้ชัดๆ ว่าคือ network provider นั้น ไม่พอใจที่จะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม.. จะว่างั้นก้อได้ แต่ขอเพิ่มไว้นิดนึงว่า พวก network provider ไม่ได้มีแต่แบบหารายได้ ทว่ามีในส่วนของ ภาครัฐ/ภาคการศึกษา/NGO/อื่นๆ ด้วย พวกที่มีรายได้นั้นโดยมากทำถึงแค่ last-miles เท่านั้น ยังมีงานเหลืออีกมากในส่วน last-feet ที่ต้องวางระบบต่อไปถึงห้องถึงโต๊ะ (แถมเผลอๆ ในพื้นที่ไกลปืนเที่ยงนั้น พวกที่มีรายได้อาจทำถึงแค่ last 10-miles ด้วยซ้ำ แม้แต่ในบ้านเรา ทุกๆ ปียังมีอาสาสมัครเวียนไปวางระบบให้โรงเรียนไกลๆ ที่นู่นที่นี่กันอยู่ตลอด นอกจากนั้น ถ้าไปย้อนประวัติของแต่ละประเทศ โดยมากเครือข่ายยุคแรกๆ มักเริ่มที่ ภาครัฐ/ภาคการศึกษา กันทั้งนั้น)
สำหรับการเกิดบริการใหม่กับภาระส่วนเพิ่มของผู้ใช้ คงต้องดูในรายละเอียด.. หากกลุ่ม service provider มี margin ต่ำคงย่อมไม่สามารถใช้แนวทางตามเคสนี้ได้ ทว่าหากมี margin สูงแต่เค้ากลับไม่พัฒนาไรเพิ่มหรือเรียกค่าใช้จ่ายเพิ่มจากผู้ใช้ ส่วนต่างของ margin จะกลายเปน gap ล่อให้ service provider รายอื่นเข้ามาชิงส่วนแบ่งไป
ในทำนองเดียวกัน หาก margin ของ network provider ถูกบีบมากๆ เข้า สุดท้ายผู้ใช้จะโดนเรียกค่าใช้จ่ายเพิ่มอยู่ดี (หรือถ้าเค้าเลิก จะเลิกแบบหายไปเลย ไม่มีใครกล้าเข้ามาเอาส่วนแบ่งนี้ไป เพราะเข้ามาแล้วได้ไม่คุ้มเสีย แต่โอเคว่าภาวะของไทยอาจก้าวพ้นกรณีนี้ได้แล้ว ทว่าในอีกหลายๆ ที่ที่เพิ่งเริ่ม ถือว่าเสี่ยงมาก เพราะหากยิ่งต้องรองรับ content ปริมาณมาก การลงทุนย่อมสูงตาม ทำให้คืนทุนได้ช้าลง) .. ซึ่งหากมี model นี้ แทนที่เค้าจะมาเรียกเพิ่มจากผู้ใช้ เค้ายังมีทางเลือกให้ไปเรียกค่าใช้จ่ายจาก service provider แทนได้
ปล. ใครทราบบ้าง ว่าเนื้อความที่่ทำให้มีผู้สรุปไว้ทำนองว่า "คลิกปุ้บ จ่ายปั้บ" นี่ .. มันเขียนอยู่หนใดหนอ :?
service provider ที่พูดนี่นึกถึงภาพที่ประมาณว่า wikipedia ต้องปิดตัวลงเพราะไม่ได้ทำรายได้แล้วต้องแบกรับค่า content ที่มีคน view เป็นจำนวนมากรึเปล่าครับ(สมมติ)?
ส่วนในกรณีของ network provider ในบ้านเราคงกำไรคุ้มเกินคุ้มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับในตัวเมืองและในส่วนสำหรับที่ไกลปืนเที่ยงนั้นพัฒนาช้ามากต้องรอให้ภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจเปิดตัวนำร่องเข้าไปก่อนแล้วเอกชนค่อยตามเข้าไปชุบมือเปิบในภายหลัง
ส่วนตัวผมกลับมองว่าที่น่าเป็นห่วงด้าน service provider มากกว่าด้าน network provider ที่ถึงหากเอกชนไม่ลงมือทำยังไงภาครัฐก็จำต้องทำอยู่ดี(หากต้องการที่จะพัฒนาตามประเทศอื่นให้ทัน) แถมตลาดที่ลงทุนไปแล้วก็ยังกำหนดค่าบริการพื้นฐานได้เองอีกด้วยแต่ทาง service provider จะไม่เหลือที่สำหรับ service provider ขนาดเล็กรายใหม่ๆที่ยังไม่แข็งแกร่งพอหรือ service provider สาธารณะที่ไม่แสวงหาผลกำไร และทำให้ service provider มุ่งเน้นไปทางธุรกิจแทน
เคสที่เคยเอ่ยถึงในเม้นทด้านบน.. ในนั้นมีแจงเอาไว้แล้ว ว่าเค้าไม่ได้จะเรียกค่าใช้จ่ายจาก service provider ทุกราย
ในทางกลับกัน ยังอาจไม่เรียกค่าใช้จ่ายจากผู้ใช้สำหรับ traffic ที่ติดต่อกับ service provider บางรายอีกด้วย หรืออาจเลือกละค่าใช้จ่ายให้แบบราย content ก้อยังได้.. เช่น traffic ที่ access เข้าไปใช้บริการของภาครัฐ, หรือ traffic ที่ access wikipedia, หรือ traffic ที่ access บาง facebook fan page/group บาง youtube channel ฯลฯ
โดยต้นทุนสำหรับ traffic พวกนี้จะถูกชดเชยด้วยรายได้ที่เรียกมาจาก service provider บางรายนั่นเอง ลักษณะเช่นบาง traffic อาจไม่ถูกคิด air time จากเดิมที่จะคิด air time กับทุกๆ traffic)
พอดีคุ้ยเจอแหล่งอ้างอิงเรื่อง sending party network pays แล้ว แต่เนื่องจากเนื้อหามันต่อกับเรื่องที่เคยคุยๆ ไว้ในอีกโพสนึง เลยขอใส่ลิงกที่ไปเม้นทไว้ในโพสนั้นแล้วกันนะครับ.. blognone.com/node/36847#comment-496945
ไงลองดูรายละเอียดจากบรรดาลิงกในนั้นอีกทีนึงก่อนละกัน.. แล้วหากจะแย้งหรือยังคาใจในกรณีไหน ค่อยมา discuss กันต่ออีกที
ก่อนอื่นขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
เท่าที่อ่านคร่าว(ที่เหลือ TL:DR; XD)
น่าจะมีปัญหาที่เกิดจากแทรกแทรงด้านเนื้อหาแน่นอน
ส่วนเรื่อง sending party network pays นอกจากจะมีช่องโหว่แล้วยังสงสัยในเรื่องมาตรวัดว่า service provider รายใดควรจะถูกเก็บค่า traffic แต่คาดว่าที่แน่นอนคือพวกรายใหญ่ๆโดน
ขออภัยด้วย.. พอดียังอ่านไม่หมดเช่นกัน เลยไม่แน่ใจว่าข้อความอื่นๆ ที่เปนบริบทแวดล้อมนั้น ข้อความไหนเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด มี fact รองรับแค่ไหน T_T
เลยเกรงว่าหากไปตัดหรือย่อแล้วจะยิ่งทำให้ใจความผิดเพี้ยน แล้วจะพลอยทำให้ยิ่งดราม่ากันไปใหญ่.. จึงขอเลือกเน้นที่การแชรแหล่งข้อมูล แล้วให้แต่ละคนนำข้อมูลต้นทางเหล่านั้น มาใช้ประกอบการตัดสินใจหรือใช้หาข้อมูลเพิ่มเติมต่อกันเองอีกที (หรือการปล่อยให้ไปดูข้อมูลต้นทางกันเองแบบนี้นี่ จะยิ่งทำให้เผลอหลงร่วมดราม่าไปกับพวกเมืองนอกได้ง่ายขึ้นหว่า :?)