งาน Google I/O 2013 แถลงข่าวเสร็จสิ้นไปเมื่อคืนนี้ (ดูข่าวหมวด Google I/O) สิ่งที่พลิกโผชนิดหักปากกาเซียนทั่วโลกก็คือ เราไม่เห็นข่าว "ฮาร์ดแวร์ใหม่" และ "ระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่" จากกูเกิลเลย
ไม่ว่าจะเป็น Nexus 4 LTE, Nexus 7 รุ่นอัพเดต, Android 4.3 หรือแม้แต่ Chromebook/Chrome OS รุ่นใหม่ ไม่มีให้เห็นแม้แต่เงา (มีแต่แจก Chromebook Pixel ที่หลายคนมองว่าล้างสต๊อก ฮา)
กูเกิลคิดอะไรอยู่ ทำไมงานปีนี้ถึงต่างกับงานปีก่อนขนาดนี้?
คนที่ดูถ่ายทอดสด Keynote เมื่อคืนนี้ (คลิปย้อนหลังบน YouTube) คงเห็นภาพแบบนี้ถูกนำเสนอซ้ำๆ อยู่ตลอดการนำเสนอ
ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นมุมมองของกูเกิลว่า "แพลตฟอร์ม" ที่สำคัญและมีค่าควรแก่การสนใจ มีเพียงแค่
เพียงเท่านั้น
ครึ่งหลังของงานแถลงข่าวจึงเป็นการนำเอา "บริการ" หลักของกูเกิล 3 กลุ่มคือ Search, Social, Maps มาแสดงบน "แพลตฟอร์ม" ทั้งสามนี้ซ้ำไปซ้ำมาตลอดงาน
ผมเลี่ยงคำว่า "ระบบปฏิบัติการ" และใช้คำว่า "แพลตฟอร์ม" แทน เนื่องจากความหมายของคำว่าแพลตฟอร์ม นั้นไปไกลกว่าระบบปฏิบัติการมาก
iOS
ในส่วนของ iOS นั้นกูเกิลคงไปยุ่งอะไรมากไม่ได้ เพราะเป็นแพลตฟอร์มของแอปเปิล แต่ iOS ก็มีฐานผู้ใช้มากเพียงพอที่กูเกิลต้องให้ความสำคัญ (ขอแสดงความเสียใจกับ Windows Phone และ BlackBerry ด้วยนะครับ) ต้องนำ "บริการ" ของตัวเองมาอยู่บน iOS เกือบทุกตัวเพื่อไม่ให้เสียตลาดนี้ไป
Android
แต่กรณีของ Android นั้นเด่นชัดมากว่ากูเกิลต้องการสร้าง "แพลตฟอร์มมือถือ" ของตัวเอง แพลตฟอร์มที่ตัวเองสามารถควบคุมได้อย่างสมบูรณ์
ส่วนของ Android โอเพนซอร์สต้องถือว่ากูเกิลทุ่มสุดตัวมาตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา ทั้งการออกระบบปฏิบัติการแบบถี่ยิบ (ปีแรกๆ ออกถึง 3-4 รุ่นในปีเดียว) และการผลักดันแพลตฟอร์มไปในทิศทางที่ตัวเองต้องการผ่านฮาร์ดแวร์ตระกูล Nexus เป็นต้น
จากสถิติส่วนแบ่งตลาดล่าสุด ก็คงต้องสรุปว่ากูเกิลปิดเกมได้เรียบร้อยแล้ว บรรลุเป้าหมายของการสร้าง Android ให้ได้รับความนิยม มีฐานผู้ใช้มากพอที่จะมีอิทธิพลในตลาดแล้ว ในแง่ฟีเจอร์ใหม่ๆ ของระบบปฏิบัติการจึงไม่ถูกขับเน้นมากนักในปีนี้ และเริ่มจะหมุนตัวเองในฐานะ "แพลตฟอร์ม" ให้มากขึ้นโดยผ่าน Google Play (จะกล่าวต่อไปในส่วนของ "บริการ")
ข่าวใหม่จริงๆ ของ Android เมื่อคืนนี้จึงมีเพียงอย่างเดียวคือ Android Studio ในฐานะเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาเท่านั้น
เว็บ
แพลตฟอร์มที่สามและอาจเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญที่สุดของกูเกิล กูเกิลเป็นบริษัทที่โตมากับเว็บ และพยายามอย่างยิ่งที่จะ "ลัด" กระบวนการของระบบปฏิบัติการแบบเดสก์ท็อปไปให้หมด เหลือเพียง "เบราว์เซอร์" กับ "เว็บ" เท่านั้น
นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมกูเกิลถึงมาทำ Chrome (และ Chrome OS) เพื่อผลักดันเว็บไปในทิศทางที่ตัวเองต้องการ เว็บในมุมของกูเกิลนั้นสะท้อนให้เห็นชัดเจนจากสโลแกนของ Chrome ที่ว่า "The web is what you make of it" หรือเวอร์ชันภาษาไทยคือ "เว็บคือสิ่งที่คุณสร้างสรรค์"
เราจึงเห็นกูเกิลออก Chrome ให้กับแพลตฟอร์มสำคัญทุกแพลตฟอร์ม (Android/iOS ตามที่เขียนไปแล้วข้างต้น, ระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปหลักทั้ง 3 ค่าย และออก Chrome OS เพื่อลดการพึ่งพาระบบปฏิบัติการ) ในอีกทางหนึ่งเราก็เห็นกูเกิลผลักดันเทคโนโลยีเว็บ เช่น HTML5, WebGL, WebRTC, WebM ฯลฯ เพื่อให้เว็บมีความสามารถทัดเทียมกับแพลตฟอร์มแบบ native ด้วย
ในงานเมื่อคืนนี้ จึงไม่น่าแปลกใจเห็นกูเกิลสาธิตแอพหลายๆ ตัวบน Chrome เวอร์ชันมือถือ (แทนที่จะเป็นแอพแบบ native) รวมถึงวิดีโอเชิดชู "ความเป็นเว็บ" ที่เปิดโชว์ในงานด้วย
Google I/O 2013 ชี้ให้เห็นทิศทางของกูเกิลที่แจ่มชัดแล้วว่าจะอยู่บน 3 แพลตฟอร์มนี้ และจะพยายามหลอมรวมทั้งหมดเข้าด้วยกันโดยมี Chrome เป็นสะพาน
ผมเลือกใช้คำว่า "บริการ" (service) แทนคำว่า "แอพ" ด้วยเหตุผลเดียวกันกับหัวข้อก่อนหน้า นั่นคือบริการนั้นมีความหมายกว้างกว่าแอพมาก
กูเกิลเป็นบริษัทที่หาเงินจาก "บริการ" บนอินเทอร์เน็ต โดยโมเดลรายได้หลักคือการโฆษณา และโมเดลรายได้รองคือการเก็บเงินแบบอื่นๆ (เช่น เก็บค่าพื้นที่บน Gmail หรือค่าใช้บริการ Google Apps) ดังนั้นเป้าหมายของกูเกิลคือผลักดัน "บริการ" ให้มีคนใช้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
ครึ่งหลังของงานแถลงข่าว กูเกิลนำเอาบริการหลัก 3 กลุ่มอันได้แก่ Search, Social และ Maps มาโชว์บนแพลตฟอร์มหลักทั้งสาม
แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่แค่นั้น กูเกิลยังมี "บริการ" อื่นๆ ในมืออีกมาก เช่น Gmail หรือ YouTube ที่ไม่ถูกพูดถึงเท่าไรนัก
"บริการ" ที่กูเกิลไม่ได้พูดชัดเจนบนเวที แต่ควรค่าแก่การพูดถึงโดยละเอียดในบทความนี้มี 2 ตัว ได้แก่
Google Play
กูเกิลใช้วิธี "แยกส่วน" Android ออกเป็นสองส่วน ได้แก่ ตัวระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สที่ใครๆ ก็นำไปดัดแปลงต่อได้ (เรารู้จักมันในชื่อ AOSP) และ API สำหรับเรียกติดต่อกับบริการในเครือของกูเกิล ซึ่งอย่างหลังนี้ไม่ได้โอเพนซอร์สด้วย
คนที่เคยติดตั้ง Android SDK คงคุ้นกับภาพด้านล่างนี้ จะเห็นว่าแพกเกจของ Android กับ Google API นั้นแยกขาดกันชัดเจน
งานเมื่อคืนนี้จึงเป็นเรื่องของบริการภายใต้แบรนด์ "Google Play" ฝาแฝดที่ไม่ค่อยมีคนสนใจนัก แต่เป็น เป้าหมายหลักที่กูเกิลหันมาทำ Android นั่นคือจูงใจให้นักพัฒนาแอพผูกติดกับ "บริการ" ของตนไม่ให้หนีไปไหน
เราจึงเห็นกูเกิลเปิดตัวบริการมากมายในชื่อ Google Play
กล่าวโดยสรุปคือส่วนของ Android นั้นกูเกิลพัฒนาตัวแกนหรือ "ระบบปฏิบัติการ" จนเป็นที่น่าพอใจแล้ว และตอนนี้กำลังรุกคืบไปยังส่วนของ "บริการ" เพื่อผูกใจผู้ใช้-นักพัฒนาแอพไว้กับกูเกิลนั่นเอง
Google+
ตอนที่กูเกิลเปิดตัว Google+ ใหม่ๆ นั้น กูเกิลพูดเสมอว่าไม่ได้เอามาแข่งกับ Facebook โดยตรง แต่ต้องการสร้างมันเป็น "social layer" ให้กับบริการอื่นๆ ของกูเกิลอีกทีหนึ่ง
เวลาผ่านมาหลายปี ตอนนี้เราคงเห็นชัดแล้วว่ากูเกิลใช้มาตรการ "ขายพ่วง" Google+ ในทุกกรณีที่มีโอกาส อะไรก็ตามของกูเกิลที่เกี่ยวข้องกับ "ตัวตน" และ "สังคม" จะโดนกูเกิลบังคับใช้ Google+ ทั้งหมด
ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจอีกเช่นกันที่ Google Play Games Service และ Google+ Hangouts ที่เปิดตัวเมื่อคืน จะบังคับใช้ Google+ เช่นกัน
ยุทธการขายพ่วง Google+ ของกูเกิลคงจะเดินหน้าไปในลักษณะนี้อีกเรื่อยๆ โดยมีเป้าหมายเดียวคือเป็นตัวเชื่อม "ตัวตน" ของผู้ใช้เข้าด้วยกันเป็นอันเดียว
งาน Google I/O ปีนี้แสดงให้เห็นอนาคตที่ชัดเจนของกูเกิลว่าจะมุ่งไปในทิศทางนี้ กูเกิลต่อจิ๊กซอฝั่ง "แพลตฟอร์ม" เกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว และกำลังใช้ประโยชน์จากมันอย่างเต็มที่โดยนำ "บริการ" ของตัวเองไปรันบนแพลตฟอร์มเหล่านั้น รวมถึงจูงใจนักพัฒนาภายนอกให้สร้างแอพหรือเปิดบริการบนแพลตฟอร์มเดียวกัน
วิสัยทัศน์นี้ของกูเกิลคงใช้ได้อีกหลายปี (จนกว่าวงการจะเปลี่ยนรอบเทคโนโลยี หรือเจอคู่แข่งที่ฟ้าประทานมาให้โค่นกูเกิลลงได้) ในอีก 2-3 ปีข้างหน้าเราคงเห็นกูเกิลพูดถึงตัวแกนของ Android หรือ Chrome น้อยลง โดยหันไปเน้นที่บริการหรือแอพพลิเคชันมากขึ้น โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการขยายบริการของกูเกิลไปยังคนอีกหลายพันล้านคนในโลกนั่นเอง
มุมมองของกูเกิลที่ว่า "สงครามแพลตฟอร์มจบแล้ว" จะถูกต้องแค่ไหน คงขึ้นกับฝีมือของคู่แข่งอย่างแอปเปิลและไมโครซอฟท์ที่จะต้องแสดงให้เห็นแล้วล่ะครับ
Comments
สงคราแพลตฟอร์มจบตั้งแต่ไมโครซอฟต์ต้องมาทำแอพยูทูบลงวินโวส์โฟนเองแล้ว >_<
my blog
อืม... ชัดเจนครับ คนสนใจที่ Youtube ไม่เกี่ยงว่าจะ OS อะไร สรุปว่า แพลตฟอร์ม สำคัญกว่าตัว OS
Google+ เป็นสังคมส่วนนึงที่โดนคนส่วนใหญ่ลืม -_-
อยากให้ไปลองค้นสถิติ G+ ดูในต่างประเทศคนก็ใช้เยอะน่ะครับ แต่เมืองไทยคนใช้น้อยทำให้คุณคิดว่าคนทั่วโลกไม่ใช้ G+
+1
+1
โลกนี้กว้างใหญ่กว่าคนไทยรู้อีกเยอะครับ
สถิติที่กูเกิ้ลไม่เคยพูดชัดๆ น่ะเหรอครับ ว่ามีคนใช้เท่าไหร่กันแน่
+1024
ผมเอาไว้ใช้ตามไอดอล ซัชชี่ของผมนะครับเนี่ย
ผมก็แค่สังเกตุการกด Like บน Facebook กับ Google+
ระหว่าง Facebook กะ G+ ของเพจ Google เองละกัน นับจำนวน Comment และ Like มันต่างกันมาก
สติถิ Google+ คนใช้เยอะจริงๆแหละ เพราะมันบังคับมาจาก gmail กะ android user
ส่วนคนใช้งานจริงๆ นับแค่ facebook ก็เยอะละเท่าที่สังเกตุ ยังไม่รวม social ตัวอื่นๆ twitter,instagram อีก
ไม่มีสติถิหรอก ผมก็สังเกตุจากเพจดังๆแหละ ไม่ได้ดูแค่ไทยที่เดียวหรอก
ลองดู Samsung Mobile USA อีกอัน G+ กะ Facebook ปริมาณคน Like & Follow & comment ต่างกันลิบ
ที่ว่าถูกลืมก็เพราะ Google สมัคร G+ ให้เอง คนใช้งานทั่วไปก็หนีไปใช้งาน social อันอื่น....
MS ทำได้แค่มองตาปริบๆ
ผมผิดหวังมากที่ไม่ได้เห็น Android เวอร์ชั่นไหม่
แต่ก็ดีใจกับ S4 Pure Android
ตกลงวันแรก มาหมดเปลือแล้วใช่มั้ย สำหรับของเด่นๆ
keynote มีวันเดียวนะครับ :P
กูเกิ้ลเริ่มน่ากลัวเกินไปแล้ว หลังๆ ภาพบริษัทแสนดีเริ่มไม่เหลือเลย
บอกตรงๆ Google Don't be evil :p
ถามคนข้างบนๆว่า กูเกิ้ลร้ายตรงไหนเหรอครับ (ในข่าวนี้)
+1
ผมยังไม่มองว่าร้ายนะ ตราบใดที่ยังทำให้ผู้ใช้บริการพอใจได้อยู่
ตอนนี้กูเกิลกำลังต้องการรุกคืบสู่ความเป็นเจ้าของวงการเคียงคู่กับแอปเปิลจึงไม่แปลกที่จะเห็นการรวมตัวกันของแพลตฟอร์มต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยยึดแบรนด์เดียวคือ Google
แต่สิ่งที่ต้องเจอคือ การพิสูจน์ว่าจะเป็น Evil หรือไม่ ซึ่งถ้าผ่านตรงนี้ได้ อนาคตก็สดใสเรื่อย ๆ
หมายเหตุ: ผมว่าตอนนี้สมาชิกหลายคนเริ่มมีอคติมาเกินไปแล้วนะครับ ลดลงหน่อยก็ได้
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ผมยังอยากเห็นฟีเจอร์ใหม่ของ android อยู่นะ 0
เริ่มตันแล้วมั้งครับ
เขียนเก่งจัง ไม่เคยอ่านแบบนี้มาก่อน
ดูจบก็อึ้งเหมือนกัน ไม่มีอะไรว้าวเลย หมายความว่า ตอนนี้ android ไร้คู่แข่งแล้ว (ในความเห็นของเขา) แล้วจู่ ๆ ก็เอา s4 มาเป็น nexus ซะงั้น งงไปหมด รอดูรอบหน้าเลยแบบนี้ กะแล้วว่า พี่คนใหม่นี้ ชอบ Chrome ไม่ชอบ Android
Youtube ผมตอบคอมเมนต์ไม่ได้เพราะไม่ยอมไป Google+ นี่แหละ - -
ตอนที่ให้รวมชื่อบริการต่างๆ เป็นชื่อตาม G+ นี่ทำผมวุ่นวายมากครับ สุดท้ายก็ยอมใช้ชื่อตามที่ G+ สั่งมา
เรื่องน่าเศร้าคือเมลผมเกือบโดนแบนเพราะกูเกิลบอกไม่ใช่ชื่อจริง ก็แหม๋ผมใช้มาตั้งนานง่ะ โดยบังคับซะงั้น
งานนี้คนที่เครียดสุดน่าจะเป็น Microsoft
That is the way things are.
+1 อยากเห็นจริงๆว่าแมว9ชีวิตอย่างms จะโต้กลับยังไง
เห็นสู้เขาได้อย่างเดียวคือ Office ครับ นอกนั้นแพ้เขาหมด ไม่รู้จะสู้ยังไงแล้วครับ
ตอนนี้ Outlook.com ก็โอเคนะครับ ไม่ได้แย่นะ น่าจะสู้ได้สบาย ๆ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
จริงๆ ถ้าพูดถึงบริการ "บนเว็บ" ไมโครซอฟต์สู้กูเกิลได้สบายครับ ส่วนตัวผมยังคิดว่า Skydrive + Office Web apps นี่เจ๋งกว่า Google Drive + Google Docs + Picasa ซะอีก ส่วนบริการอื่นๆ ก็ท้าชนกันได้แบบหมัดแต่หมัด ที่ขาดๆ ไปก็คือบริการวิดีโอสตรีมมิ่งนี่แหละ ที่กูเกิลครองตลาดอยู่
แต่สิ่งที่ไมโครซอฟต์ยังสู้กูเกิล (และแอปเปิล) ไม่ได้เลยคือกลุ่มมือถือและแทบเล็ต และดูเหมือนกูเกิลจะรู้แกวเลยออกแนวสกัดดาวรุ่ง (อย่างกรณี Youtube) ไว้เนิ่นๆ เลย เพราะถ้ากลุ่มมือถือของไมโครซอฟต์รุ่ง มันก็ถือเป็นจิ๊กซอว์ที่ครบพอดีของไมโครซอฟต์ที่มีระบบปฏิบัติการมือถือ + บริการบนเว็บ
จริงๆ ถ้า MS จับ Xbox มาโคกับ WP กับบริการเว็บ บวกกับตัว Windows บวกกับถ้ามีกล่องเซ็ตท้อปจะสมบูรณ์แบบสุดๆเลยนะฮะ และมันจะเป็นอะไรที่น่ากลัวมากๆ เพราะตอนนี้ Xbox ตอบโจทย์เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ได้ดีทีเดียว ขาดแต่กล่องทีวีเท่าแหละครับ แต่ก็ได้ข่าวมีโปรเจ็คว่าจะทำอยู่นะครับ :D
ปล.Outlook+ Officce WebApp ดีมากๆนะครับ อยากให้ลองใช้กันดูครับ 5555
เห็นด้วยครับ มันน่าจับโคกันตั้งแต่แรกแล้ว แล้วจะเป็นอะไรที่เจ๋งมากๆ (Wii U ต้องใช้ Pad แยก ส่วน Xbox ถ้าใช้ WP แทนได้เลยจะ wow มาก) คือมันทำได้และควรทำด้วย เข้าใจว่า MS ก็อยากทำ แต่ไม่ทำออกมาซักที ถือว่าช้ามากและเตรียมจะฝังกลบตัวเองแล้วถ้ายังพัฒนา WP ด้วยความเร็วระดับนี้
เครียดครงไหน
นี่ไม่ได้อ่านข่าวเลยใช่มั้ยครับ = =
อ่าน แต่ไม่เห็นจะต้องเครียดตรงไหน
อืม เค้าก็ไม่ได้บอกแฮะว่าไมโครซอฟต์ควรเครียดตรงไหน ดังนั้น คุณก็สามารถบอกได้เช่นกันว่าไม่เห็นต้องเครียด
แต่ผมก็อยากอ่านมุมมองแบบขยายความของคุณบ้างว่าทำไมไมโครซอฟต์ถึงไม่เครียดครับ
อันนี้อยากรู้จริงๆ ครับ จะตอบก็ได้ จะไม่ตอบก็ได้
ต้องเครียด เพราะกลัว อิจฉาเหรอ
แต่ละบริษัทต่างสร้าง ecosystem ของตัวเอง ต่างมีดีมีด้อยในแต่ละ product และ service ภายใน ecosystem ของตัวเอง ขึ้นอยู่กับคนที่จะหยิบยกเอาข้อด้อยในบางเรื่องของอีกฝ่ายมาโจมตีอย่างไร โดยไม่ได้มองภาพรวมของระบบทั้งหมด
เนื่องด้วยว่าระบบปฏิบัติการ WP ของ MS นั้นเป็นที่รู้กันว่าไม่ได้รับความนิยม และถูกเมินจากผู้พัฒนาแอพรายใหญ่ๆ ด้วยครับ แถมกูเกิลยังไม่ยอมให้ใช้ API อีก ซึ่ง API นี้จะทำให้เข้าถึงบริการต่างๆ ของกูเกิลได้ ซึ่งถือว่าเป็นบริการหลักที่ทุกคนบนโลกอินเตอร์เน็ตนิยมใช้
อย่างน้อยๆ ที่เห็นก็คือ YouTube ที่กล่าวถึงในข่าว นั่นยิ่งทำให้ WP ถูกบีบให้ออกจากตลาดไปเรื่อยๆ ครับ
ถ้าพูดถึงยอดขายมันก็ปวดใจแล้ว ได้ส่วนแบ่งตลาดน้อยมากๆ
แบบนี้ไม่น่ากลัว? อ้อ ... ผมขอซัดแรงหน่อยนะครับ
ดูหนังน้ำเน่ามากไป? โลกธุรกิจมันไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยความความอิจฉาหรอกครับ เค้าใช้เหตุผลกันแล้วครับ
นั่นมันความเห็นของคนที่กลัว WP จะมาแย่งตลาด นี่อ่านเกมไม่ออกเหรอ
เห็นด้วยครับ ว่าเค้าพยายามกัน WP ออกไป เป็นการเตะตัดขาทุกวิถีทางเพื่อให้ WP ไม่ได้เกิดครับ
คราวนี้ลองบอกเหตุผลที่ MS ไม่ต้องกลัวหน่อยครับ
แล้วคุณลองบอกเหตุผลที่ไมโครซอฟต์ต้องเครียดมาหน่อยสิ เผื่อว่าผมจะคล้อยตาม
ให้ไปพอแล้วมั้งครับ เขียนไป 3 ย่อหน้าได้ ถ้าอยากให้ผมเป็นผู้พูดคนเดียวก็อย่าเรียกว่าการสนทนาเลยครับ
จบข่าวครับ ไม่สนทนาต่อ ถ้าอยากฟังอย่างเดียวหรืออ่านอย่างเดียวก็เชิญครับ
นั่นคุณคิดไปเอง ทั้งหมดนั่นแหละ พวกเสี้ยมนี่ผมเจอมาเยอะครับ
ผมว่าผมเจอร่างทรงอีกร่างของท่านผู้นั้นละครับ ปล่อยวางเถอะ lol
ครับผม ถ้ามีอีกคนรู้สึกเหมือนผม แสดงว่าน่าจะใช่แล้วล่ะ
ต้อง ಠ_ಠ ด้วยรึเปล่าครับ?
Dream high, work hard.
แบบนี้พอได้ครับ
(┛◉Д◉)┛彡┻━┻
ไม่เข้าใจว่าทำไมเรียก Google ว่า Evil กัน ณ ตอนนี้ เขาไม่ได้ทำอะไรยกเว้นทำเยอะอย่างมากแค่นั้น
"You call it monopoly; I call it enterprise." -John D. Rockefeller
มันก็เหมือนเวลากลุ่ม CP พยายามเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆแหล่ะครับ
คนไทยก็มองว่าผูกขาด คนต่างชาติกลับชอบผลิตภัณฑ์ที่ส่งออก
เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆโดยการให้ความจริงเพียงครึ่งเดียวเช่นเนื้อปลาดอลลี่
และผลิตภัณฑ์อีกหลายตัวที่คุณภาพกับบริการยังไม่สมราคาที่ควรจะได้รับมีการหมกเม็ดต่างๆ
รวมทั้งสัญญาที่ปกป้องตัวเองจนเหมือนเป็นการเอาเปรียบผู้ใช้บริการ
จริงๆแล้วมันก็ไม่ผิดหรอกครับแค่ความจริงใจยังน้อยไปในความคิดผม(ผมเป็นคนเยอะ) และแย่มากถ้าเทียบกับมาตราฐานสากล
ป.ล. คุณลองเทียบคุณภาพสินค้าส่งออกดูรึยังคับว่าคุณภาพต่างกันไหม?
ป.ล.2 ส่วนเกี่ยวกับ Google ในความคิดผมคือตอนนี้น่าจะเป็นช่วงใกล้หมดโปรโมชั่นแล้วและน่าจะเป็นช่วงเริ่มที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้ ดังนั้นสถาณการณ์ตอนนี้คือ Google กำลังเล่นแง่กับ Microsoft บ้างหลังจากที่โดนมาก่อนโดยตลอดโดยใช้เหตุผล เรื่องปกป้องผลประโยขน์มาเป็นประเด็น
ของอะไรก็ตามถ้าถึงขั้นผูกขาดต่อให้แจกฟรีก็เถอะ ตลาดต้องมีการแข่งขันถ้าให้เกิดการผูกขาดเมื่อไรผู้บริโภคเสียประโยชน์
พลาดดู มาตามเก็บเอากระทู้นี้ อิอิ
ต่อไปgoogleจะครองโลก=.,=
กูเกิลครองโลกมานานแล้วครับ
+1
I Love Google
(。♥‿♥。)
แบบนี้ดีแล้ว จะได้ไม่เสียเงินซื้อเครื่องบ่อยๆ อิอิ
Educational Technician
ผมหาอ่านอยู่ว่าตกลงgoogleเอาs4มาเป็นnexusจริงๆหรือ
ผมหาไม่เจอจริงๆ
ถ้าจุดเด่นของ Nexus คือ Pure Google และได้อัพเดตก่อนใคร
S4 ตัวใหม่ ได้ยืนจุดนั้นครับ
ข่าวเพิ่มเติมครับ (น่าจะได้อ่านแล้วมั้ง)
คุณ mk เลือกใช้คำได้ดีมากเนื้อหากระชับ
เป็นบทความที่เยี่ยมมากๆครับ ขอคารวะ
นึกย้อนกลับไปเมื่อสองสามปีก่อน ตอน Milestone เข้าไทย ไม่มีใครู้จัก ควักขึ้นมาใช้ ใครๆก็หัวเราะ ตราหน้าว่าเป็นระบบปฏิบัติการไร้อนาคต ขนาดพนักงานขายเองยังร้องยี้ที่จะขาย
ปัจจุบัน ใครไม่ใช่โทรศัพท์จากเกาหลี(ใต้) นี่แก่ และหัวเก่ามากๆ.
ผมคนนึงละครับ ที่ยั่งไม่ขอให้โทรศัพท์ จากค่าย เกาหลี แต่ขอเป็นไม่ญีปุ่น (sony) ก็ ไต้หวั่น (HTC , asus)
คนใช้มือถือแซมมี่กาแลกซี่ที่เห็นเกลื่อนๆได้เต็มประสิทธิภาพจริงๆก็ใช่ว่าจะเยอะนะครับ - - บางคนซื้อมาใช้ยังกับไอโฟน
[S]
ยุคต่อไปคือการทำให้ตัว Platform และบริการบน Platform ฉลาดขึ้นเรื่อยๆด้วยครับ จะเห็นว่าความฉลาดของบริการแต่ละตัวของ Google นั้นเพิ่มสูงขึ้นมาก (เช่นเดียวกับ Facebook ที่ฉลาดขึ้นเช่นกันครับ) ดังนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดีครับ
MS เองต่อไปผมว่าคงไปจำตลาดองค์กร + ตลาดเกม เป็นหลักหรือเปล่าครับ ... OS อย่าง Windows ก็ยังเป็น OS ที่เกมให้ความนิยมมากที่สุดอยู่ รวมไปถึง XBox ที่พัฒนาตัวเองขึ้นมาจนเป็นหนึ่งในสาม Console ที่ขายดีที่สุด (จะว่าง่ายๆก็ถือว่าเอาชนะปู่นินเทนโ้ด้ได้)ดังนั้นถือว่า MS ก็มีตลาดเฉพาะทางที่ Google ยังไม่เข้ามายุ่งวุ่นวายนักที่ยังทำเงินได้ดีอย่างต่อเนื่องครับ
Facebook เองถึงจะดังแต่ผมก็อดคิดไม่ได้ว่าถ้า Facebook ไม่ขยายวิธีคิดตัวเองออกไปให้คน "ขาดไม่ได้" แล้วซักวันอาจจะลงเอยเหมือน Hi5/Multiply/My Space ก็เป็นได้นะครับ เพราะโลก Social Network เปลี่ยนไปตลอดเวลา G+ เองก็คงเข้าใจจุดนี้แล้วก็พัฒนารอ (คือทำให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ถึง Active User จะไม่มาก แต่ถ้า Facebook เผลอเมื่อไหร่อาจจะมีวันจบเห่น่ะครับ)
อีก 5 ปีคงคิดไม่ค่อยออกว่า Apple/Google/MS/Facebook จะเป็นอย่างไรครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
ผมว่าทิศทางการก้าวไปของกูเกิ้ลนะตอนนี้ ก็น่าจะล้อไปกับยุคของ WEB ไหมครับ ซึ่งกำลังเดินมาถึง WEB 3.0 เข้า ไป WEB 4.0
http://flatworldbusiness.wordpress.com/flat-education/previously/web-1-0-vs-web-2-0-vs-web-3-0-a-bird-eye-on-the-definition/
http://rattanasak.jigsawoffice.com/content/content.php?mid=2862&did=340&tid=4
ตามที่เคยมีการพยากรณ์กันไว้
จากงาน I/O นี้ ทำให้ผมเห็นชัดว่า คนที่เป็น User เค้ามองอะไรบ้าง เพราะเค้าไม่มองอะไรเลย(ในงานครั้งนี้)
แต่จากนี้ไปประมาณปลายปี ถึงต้นปี น่าจะได้เห็นการพัฒนาของบริการที่ดีขึ้นจากงานครั้งนี้ครับ
ในฐานะ Dev คนหนึ่ง ผมชอบงาน I/O ครั้งนี้มากๆ เพราะมันเป็นอนาคตของทั้ง Google เอง และ Dev ด้วย ^_^
ความจริงงาน I/O มันเป็นงาน for dev มาตั้งแต่แรกแล้วนะ ดูจากชื่องานสิ
ความจริง WWDC ก็ for dev นะครับ ...
ดังเพราะเว็บก็คงดับเพราะเว็บนี่แหละ
ผมว่าฝรั่งจะมองแง่ แข่งกันสร้างสรรค์มากกว่า
ส่วน Cloud Service ต้องคงต้องรอให้เน็ตแรงมากๆกว่านี้ก่อน TT
ถึงเวลานั้นคงสนุกน่าดู
Google Play Services คือวิธีแก้ปัญหา fragmentation นี่เอง ย้าย feature ใหม่ๆมาอยู่บน app ที่ Google อัพเดทเอง ไม่ต้องรอผู้ผลิตทำ ROM ใหม่ ต่อไปความต่างระหว่าง version จะน้อยลงเรื่อยๆ เพราะของเล่นมาอยู่บน Google Play Services หมดแล้ว น่าจะเป็นพวก core OS จริงๆที่จะโดน update เป็นรุ่นใหม่ของ Android
รบกวนอธิบายรายละเอียดหน่อยได้มั้ยครับ
คือผมเหมือนจะเคยอ่านเจอมาแว้บๆ แต่ยังไม่เก็ตเท่าไร
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
แต่ก่อน api ใหม่มากับ os รุ่นใหม่ครับ ซึ่งต้องรอให้ผู้ผลิตปล่ยอรอมกันออกมาถึงได้ช้ามาก
พอหลังๆกูเกิลเปลี่ยนเป็นการปล่อย api มากับตัว google play service แทน ซึ่งแอพตัวนี้มันอัพเดทได้เองด้วย ไม่ต้องผ่าน play store ครับ ไม่ว่ารุ่นไหนก็ได้ api ใหม่นี้กันหมด
อ่านแล้วสงสารไมโครซอฟจริงๆแหะ เหมือนนักเลงเก่าที่โดน นักเลงวัยรุ่นหน้าใหม่ไล่ตบหัวทุกงานเลย
ถ้าไม่ทำอะไรออกมาแข่งก็ว่าใครเค้าไม่ได้นี่ครับ
หรือว่าทำออกมาไม่ได้เพราะโดนแย่งตัวไปหมดแล้วหว่า - -" จริง ๆ เห็น Microsoft Research ก็ปล่อยของให้ว้าวได้เรื่อย ๆ แต่ไม่ออกมาเป็นชิ้นเป็นอันสักที
ผมว่า MS ทุ่มเทไปที่ windows อยู่ครับ ตรงส่วนอื่น ๆ เลยเหมือนช้า (อีกอย่าง business model ไม่เหมือนกัน และสู้เขาไม่ได้ครับ รายได้ของ MS มาจากการขาย ส่วน Google มาจากโฆษณา เพราะฉนั้น ทุกอย่างจึงแจกฟรี และใช้ opensource และมาตรฐานเปิด เวลาในการพัฒนาจึงสั้นกว่า เพราะเอาของที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุง)
เข้าใจว่าถ้าเป็นบริการที่เป็นแบบฟรีก็ต้องยกให้ Google ส่วนแบบที่ยกระดับขึ้นมาก็ต้องยกให้ Apple เพราะเอากันจริงๆ จะซื้อเพลง MV หนังสือ ดูเกี่ยวกับความรู้ที่เป็นVDO(iTuneU เป็นที่นิยมและน่าเชื่อถือกว่า Youtube ในแง่ข้อมูลเชิงวิชาการแบบจริงจัง และคนฟังเพลง ดูMV แบบสมบูรณ์ก็ยังโหลดจาก iTunes ไม่ใช่ดู Youtube) ในแง่การค้นหา Siri ใช้ฐานข้อมูลที่หลากหลายกว่าและสามารถตอบโจทย์สำหรับอนาคตได้ดีกว่า ในแง่ของชุด Office ถ้าจะทำงานสื่อสิ่งพิมพ์ Page สามารถทำงานในระดับ Indesign ได้ และสำหรับการทำสื่อการนำเสนอ คนก็ยังรู้สึกว่า Keynote น่าใช้กว่าโปรแกรมของ Google แม้แต่ Powerpoint คนส่วนใหญ่ชอบทำงานนำเสนอกับ Keynote มากกว่า(คิดง่ายๆถ้า MS ออก PowerPoint กับ Apple ออก Keynote ลงOS ของ Google อันไหนจะน่าสนใจกว่ากัน ซึ่ง Keynote Save เป็น File ของ PowerPoint ได้)
การสรุปว่าทุกอย่างจะไปทำงานบนเวบเป็นการสรุปที่ง่ายเกินไปและที่จริงมันก็ไม่ใช่แบบนั้น100% การทำงานหลักอย่างตัดต่อ VDO การสร้างโมเดล3D และอื่นๆ ยังต้องใช้ทรัพยากรณ์ของเครื่องเพื่อใช้ในการประมวลผลออกสู่หน้าจอและใช้ในการตอบโต้จาก Input ถ้าระบบประมาลผลแบบเมฆจะนำมาใช้ก็อาจจะช่วยในด้านการประมวลผลชิ้นงานขนาดใหญ่ ซึ่งตรงนั้นอาจจะเป็นชิ้นงานที่บริษัทอยากทำขึ้นมาภายใต้ทรัพยากรที่ไม่พร้อมขององค์กร จึงต้องใช้บริการประเภทนี้ แต่ถ้าเครื่องสามารถประมวลได้และบริษัทที่มีทุนซื้อเครื่องจำนวนมาก การทำงานผ่านเครื่องในองค์กรจะรวดเร็วกว่าเยอะ(ต่อให้ความเร็วระบบNetworkจะเร็วกว่านี้มากขนาดไหนก็ตาม) ดังนั้น OS ในรูปแบบ OSX Linux ยังเป็น OS ที่มีคนใช้ต่อไปอีกนาน แต่จะมีความเป็น OS ผ่านWebมากขึน ซึ่งในลักษณะแบบนี้ Apple ก็ทำสำเร็จใน iCloud ซึ่งอยู่ในรูปแบบบริการเสริม ในแง่ความเป็น OS ยังเป็น OS เสริมของ OSX และ iOS
Chrome OS มีความซับซ้อนของระบบปฏิบัติการน้อยเกินไป ดังนั้นแล้ว ถ้าจะใช้งานประเภทนี้ ใช้ Linux จะดีซะมากกว่า ถ้าต้องการลดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถใช้งานผ่านเวบได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังสามารถทำงาน เล่นเกมส์ ผ่านเครื่องโดยตรงได้ดีกว่ามากด้วย ปัจจุบันหน่ายความจำก็มีปริมาณที่มากเพียงพอที่ขนาดของ OS ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องมาพิจารณา
Safari แม้จะใช้งาน WebApps จำนวนมากได้ แต่ในด้านความสเถียรในการใช้งานก็ยังสู้ Apps ผ่าน iOS และ OSX โดยตรง ไม่ได้อยู่ดี ซึ่ง Chrome เวบบราวเซอร์ ซึ่งดูเหมือนเป็นหัวใจของ Chrome OS ก็อยู่ในสถานะเช่นเดียวกัน และ Apple จะไม่ออก Safari OS มาอย่างแน่นอน
ในด้าน Social Apple มียอดการส่งข้อความใ่นiMessages 28,000 ต่อวินาที ข้อมูลจาก Apple Event October 2012 ส่วน FaceBook 20 นาทีมียอดการส่งข้อความ 2,716,000 ข้อความ ข้อมูลจาก www.onlineschools.org หมายความว่า Social ของ Apple ไม่ใช่ Social ที่ไม่มีคนใช้ และอยู่ในระดับต้นๆอีกด้วย
ปีนี้แน่นอนว่า Apple เตรียมเปิดตัว OS ตัวใหม่และยังมีข่าวลือเรื่อง iWork + iLife ตัวใหม่ที่น่าจะเปิดตัว และการพัฒนาระบบการบริการให้ดียิ่งขึ้น (โดยเฉพาะแผนที่) อาจจะทำให้ Goole เสียโอกาสมากกว่า ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีมากเพียงพอ
ประโยคสุดท้ายกำปั้นทุบดินไปมั้งครับ ดูาผมไม่เห็นกูเกิลจะเสียโอกาสตรงไหนมีแต่เสริมและเน้นในสิ่งที่ตัวเองเก่งและหนีห่างคู่ต่อสู้ทั้งนั้นเลยน่ะครับ ทั้งหมดในio ไม่ชอบแค่s4 nexus เท่านั้น รู้สึกแซมมี่ออกจะมีอิทธิพลเกินค่ายแอนดรอยด์อื่นไปอ่ะครับ
คือกรณี iWork + iLife ส่วนตัวเข้าใจว่า Google คงไม่ถนัดเกี่ยวกับด้าน lifestyle มากนัก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม Google รู้ทั้งรู้ว่า ปีนี้ Apple ไม่ได้แค่เปิดตัว OS ใหม่ แต่ถึงขั้นยกเครื่อง "ประสบการณ์การใช้งาน" กันเลยทีเดียว จึงรู้สึกแปลกใจว่าทำไมถึงกลับไม่ออก OS ใหม่ๆ มาบ้าง ไม่มากก็น้อย
จากประสบการณ์ ปกติแล้ว OS + iLife + iWork + iTunes + Store เป็นจุดแข็งของ Apple มาโดยตลาด ตอนนี้ Apple มีระบบค้นหาอย่าง Siri และระบบสังคมอย่าง iMessages + Facetime + iCloud AddressBook และบริการ Mail + Doc + Calendar + AddressBook + Disk + BackUP + location + Photo ของ iCloud ก็มีผู้ใช้ในระดับจำนวนมาก(จำนวนเท่ากับยอดขายสินค้า iOS + Mac) หลายคนอาจจะเข้าใจว่ามันสำเร็จเพราะ การถูกบังคับใช้แบบกลายๆ แต่มันก็สำเร็จ สำหรับ Map พื้นฐานบริการนี้ในด้านคอนเซ็ป น่าสนใจกว่าคู่แข่งมาก แต่มีปัญหาเรื่องระบบฐานข้อมูลซึ่ง Apple คงพยายามหาทางออกที่ดีได้ในเร็วๆนี้
ถ้า Apple เริ่มมีบริการของตนเองที่ดีเพียงพอแล้ว หมายความว่า รายได้ของ Goole อาจจะมีผลกระทบ จากการไม่ใช้บริการจากผู้ใช้สินค้า Apple ก็เป็นได้
แต่บริการของ Apple ก็ข้อนข้างมีมาตราฐาน ระบบแบบเปิดกว้าง อย่าง Youtube blogger ยังไม่มี จะเผยแพร่สื่อ VDO ขึ้น iTunes ก็มีขั้นตอนมากกว่า Youtube มาก จะทำBlog ก็ใช้ iWeb และจดทะเบียนโดเมนอีกที ระบบสังคมแบบ private เป็นระบบที่ Apple มี (มีเฉพาะระบบสังคมแบบที่ไม่สามารถหาคนรู้จักใหม่ๆได้ผ่านระบบสังคมนั้นๆโดยตรง) แต่ระบบสังคมแบบ public (หาคนรู้จักใหม่ๆผ่านระบบสังคมนั้นๆ) Apple ยังไม่มีในส่วนนี้ แต่ Google มีบริการนั้นแล้วคือ Google+
VDO สะกด video ครับ
@TonsTweetings
"ในด้าน Social Apple มียอดการส่งข้อความใ่นiMessages 28,000 ต่อวินาที ข้อมูลจาก Apple Event October 2012 ส่วน FaceBook 20 นาทีมียอดการส่งข้อความ 2,716,000 ข้อความ ข้อมูลจาก www.onlineschools.org หมายความว่า Social ของ Apple ไม่ใช่ Social ที่ไม่มีคนใช้ และอยู่ในระดับต้นๆอีกด้วย"
"iMessages 28,000 ต่อวินาที"
"FaceBook 20 นาทีมียอดการส่งข้อความ 2,716,000 ข้อความ"
=
iMessages = 28,000 ข้อความต่อวินาที
FaceBook = 22,633 ข้อความต่อวินาที
"หมายความว่า Social ของ Apple ไม่ใช่ Social ที่ไม่มีคนใช้ และอยู่ในระดับต้นๆอีกด้วย"
=
"หมายความว่า Social ของ Apple จัดอยู่ในระดับต้นๆ"
อ่านแล้วงงๆ นึกว่าการส่งข้อความ iMessages vs Facebook , iMessages แพ้อย่างราบคาบ ฮ่าๆๆๆ
ทำไมไม่เทียบกับ whatsapp หรือ line ครับ