โครงการ NaCl นับเป็นอาวุธสำคัญของ Chrome ที่จะบุกโลกเดสก์ทอป เพราะมันสามารถนำโค้ดที่เขียนสำหรับเดสก์ทอปขึ้นไปรันบนเบราว์เซอร์ได้ แต่ปัญหาที่ผ่านมาคือมันรองรับ x86 เป็นหลัก และต้องคอมไพล์ใหม่หากต้องการรองรับ ARM ที่ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้กูเกิลประกาศว่าจะรองรับ Portable NaCl (PNaCl - อ่านว่า พินนาเคิล) และที่งาน Google I/O โครงการนี้ก็เปิดตัวเป็นทางการแล้ว
PNaCl ทำให้คอมไพล์เลอร์ไม่ปล่อยโค้ดที่เป็นโค้ดสำหรับซีพียูตัวใดตัวหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นโค้ดกลางของ LLVM เพื่อให้คอมไพล์เลอร์ในตัวเบราว์เซอร์ไปคอมไพล์ซ้ำอีกครั้ง กระบวนการนี้ทำให้นักพัฒนาไม่ต้องสนใจว่าสถาปัตยกรรมปลายทางจะเป็นอะไร
ข้อจำกัดสำคัญของ PNaCl คือมันจะไม่รองรับการลิงก์เข้าไปยัง glibc (เช่นฟังก์ชั่น printf) อีกต่อไป แต่จะต้องใช้ฟังก์ชั่นจาก Newlib ที่ทำงานคล้ายกันแต่ยังคงมีข้อจำกัดเพิ่มเติมหลายอย่าง
ตอนนี้การรองรับ PNaCl จำกัดเฉพาะ Chrome 29 เท่านั้น
ที่มา - The Register
Comments
โอ้ว สงสัย android จะกลายเป็นลูกเมียน้อยซะแล้ว เมื่อเจอแบบนี้
ผมเข้าใจว่า NaCl อ่านว่า โซเดียมคลอไรด์ มาตลอดเลย ;P
ผมเองก็ไม่ต่างกันครับ develop ที เค็มกันเลยทีเดียว
ใน Google เองก็เรียกว่า Salt นะครับ
แถม library ยังชื่อ Pepper เลย :)
นึกถึงเกลือแกง
คราวนี้มีโพแทสเซียมด้วย
โพแทสเซียมโซเดียมคลอไรด์....
Coder | Designer | Thinker | Blogger
นิดนึงครับ โพแทสเซียมใช้ตัว K ครับ
ส่วน P คือ Phosphorus ครับ
+1 ตกวิชาเคมีกันเลยทีเดียว 55
ສະບາຍດີ :)
ครับ เคมีเกรด 2.5 อย่าคิดอะไรมากครับ (รับสภาพความเป็นจริง)
Coder | Designer | Thinker | Blogger
แหม่ ยกให้ P กับ K นี่แหละครับ ตัวที่จำสลับกันง่ายสุดใน 3 โลก
Dream high, work hard.
ความจริงจะเล่นแก็กสูตรเคมีสักหน่อย จบกัน
ขำ ๆ นะครับ ;-)
Coder | Designer | Thinker | Blogger
555+ จำผิดครับ นี่ขนาดที่อ.ปรึกษาผมตอนม.ปลายนะเนีย่สอนเคมีนะเนี่ย ถ้าแกมาเห็นเข้าคงโดนเขกหัว
ขอบคุณที่แก้ครับ
เคมี 4.0 ครับ ยังสงสัยว่า ทำไมต้อง เกลือพกพา
ผมว่าเจ้าของข่าวน่าจะสับสนอยู่นะครับ ทั้ง glibc และ Newlib ก็เป็นไลบรารีภาษา C เหมื่อนกัน ดังนั้น ถึงจะลิงก์ไปหา Newlib ก็น่าจะใช้ฟังก์ชัน printf ได้อยู่ดีครับ
ว่าแต่ ตัว NaCl มันยอมให้เรียกใช้ printf ด้วยเหรอครับ?