การดักฟังของ NSA แม้จะมีข้อมูลตัวเลขออกมาว่า NSA ดังฟังจากผู้ให้บริการรายใดบ้างเป็นจำนวนเท่าใด แต่ที่ไม่ชัดเจนคือกระบวนการเหล่านี้ทำได้อย่างไร เพราะบริการอีเมลของกูเกิลนั้นให้บริการผ่าน SSL มาเป็นเวลานาน และเอกสารชุดล่าสุดที่เปิดเผยออกมาก็แสดงให้เห็นว่ากระบวนการสำคัญคือการดักฟังการเชื่อมต่อระหว่างศูนย์ข้อมูลของกูเกิลและยาฮูเอง
ตัวเลขบันทึกของการดักฟังการเชื่อมต่อระหว่างศูนย์ข้อมูล ทำให้ NSA สามารถจัดเก็บ metadata ของการสื่อสารได้เพิ่มเติมกว่า 180 ล้านชุดในเวลา 30 วัน โดยโครงการ MASCULAR เป็นโครงการแยกไปจาก PRISM ที่พยายามดักฟังระหว่างผู้ใช้ทั่วไปที่กำลังเชื่อมต่อเข้าไปยังผู้ให้บริการ
ทาง NSA ออกมาตอบ Washington Post โดยตรงว่ากระบวนการนี้ได้รับอนุมัติจากอัยการสูงสุด (Attorney General) แล้ว โดยกระบวนการจะลดความเป็นไปได้ที่จะดักฟังพลเมืองสหรัฐฯ ให้น้อยที่สุดเพราะ NSA เป็นหน่วยงานข่าวกรองระหว่างประเทศ
ส่วนทางกูเกิลออกมาตอบว่า กังวลกับการดักฟังประเภทนี้มาระยะหนึ่งแล้ว และเป็นเหตุผลให้กูเกิลเข้ารหัสการส่งข้อมูลระหว่างศูนย์ข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ ทางกูเกิลเองก็ตกตะลึงเมื่อรู้ข่าวว่า NSA ดังฟังการเชื่อมต่อระหว่างโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกส์ส่วนตัวของกูเกิล
ที่มา - Washington Post
Comments
กูเกิ้ลตะลึงเลยหรอเนี้ย!!
มียิ้มด้วย
เอา comma ในหัวข้อข่าวออกครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
เหนือไหมล่ะ
มันไปแท็บเอาระหว่าง Data Center ใน Cloud ฝั่งขวา เช่น อาจจะไปดักระหว่าง Google private cable ที่ต้องต่อผ่านระหว่างบุคคลที่สาม (ประมาณกูเกิลไม่ให้ดัก ก็ไปใช้อำนาจบังคับเอากับคนกลางที่ต้องผ่าน) หรือไปแอบติดตั้งอุปกรณ์ดักจับข้อมูลในตึกที่ไปใช้ร่วมกับชาวบ้าน เป็นต้น
=_= เฮ้ย เงิบเลย ไม่ดักผู้ใช้ แต่ไปดักที่ผู้ให้บริการแทน Traffic in clear text เงิบเลย
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
Google ต้องทำธุรกิจผิดกฎหมายแน่ ๆ ครับ เพราะว่า
"ถ้าไม่ได้ทำอะไรผิดก็ไม่เห็นต้องกลัวการถูกดักข้อมูล"
-มิตรสหายร่วมเว็บท่านหนึ่งไม่ได้กล่าวไว้
อันนี้มุกหรือคิดจริงครับเนี้ย
แซวสมาชิกที่ชอบมาตอบว่า ถ้าตัวเองไม่ได้ทำผิดกฎหมาย จะกลัวการถูกดักข้อมูลไปทำไม ครับ
เป็นตรรกะ ที่น่าสนใจ จริงๆ ครับ , จนทำให้นึกสงสัยทันทีว่า เรามีประตูห้องน้ำไว้ทำอะไร