ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการของ John Lilly (CEO ของ Mozilla) คือ "A little more than 8.3 million downloads" ส่วนตัวเลขอย่างเป็นทางการจาก Guinness เค้าบอกว่ารออีกสามสี่วัน
สถิติอื่นๆ
- ส่วนแบ่งของ Firefox 3 ในตลาดเบราว์เซอร์โลกเพิ่มขึ้น 4% ในหนึ่งวัน (จาก 0.96% ขึ้นไปสูงสุดที่ 4.56% - ข้อมูลจาก Net Applications)
- ถ้านับเป็นไบต์ ข้อมูลถูกส่งออกไปทั้งหมด 83TB
- อัตราโหลดสูงสุดขึ้นไปที่ 17,000 ครั้งต่อนาที อัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 4,000 ครั้งต่อนาที
- ตัวนับของ Spread Firefox ยังนับต่อไปเรื่อยๆ ตอนที่ผมเขียน (เวลาดูจากข่าว) กำลังจะแตะหลัก 9 ล้าน ส่วนประเทศไทยอยู่ 27,222 ครั้ง ประเทศเพื่อนบ้านที่มากกว่าเราคือเวียดนาม (39,422) มาเลเซีย (30,490) ฟิลิปปินส์ (38,262) และสิงคโปร์ (31,220)
ที่มา - บล็อกของ John Lilly
Comments
เพื่อนบ้าที่น้อยกว่าเราคือ ลาว,พม่า,บรูไน และกัมพูชา ช่าวเป็นตัวเลขที่น่าภาคภูมิใจ
มาเลเซีย, สิงคโปร์ ประเทศเล็กกว่าไทย จำนวนประชากรก็น้อยกว่าประเทศเรามาก ยังดาวน์โหลดเยอะกว่าประเทศไทยอีก
จากสถิติผู้ชม blognone เดือนเมษายน 2008 คนเข้า blognone ก็ยังใช้ IE กันเยอะกว่า Firefox เยอะเลยครับ
อ้างอิงจาก http://www.blognone.com/node/7647
ข้อมูจาก wikipedia
มาเลเซีย ปี 2549 มีประชากร ประมาณ 26 ล้านคน
สิงค์โปร์ ปี 2548 มีประชากร ประมาณ 4.3 ล้านคน
ป.ล. ใครจะใช้ Browser อะไร ก็ไม่มีใครผิด ใครถูกนะครับ แล้วแต่ความชอบ
ไทย 41224 เริ่มบี้ มาเลเซีย 44777 ฟิลิปปินส์ 44365 และสิงคโปร์ 44181 แล้ว อินโดฯ 34099 นิวซีแลนด์ 29640
มันจริง ๆ
ล่าสุดไทยแซงมาเลเซียไปเรียบร้อยแล้ว ถ้าดูตามแนวโน้ม ฟิลิปินส์คงจะแซงเวียดนามในไม่ช้า
ต้องมาดูกันว่าไทยจะแซงเวียดนามได้ไหมในที่สุด
ไทย 100717 มาเลเซีย 100279 ฟิลิปินส์ 111735 สิงคโปร์ 87897 อินโดฯ 85253 นิวซีแลนด์ 54242 เวียดนาม 132559
จบอาทิตย์นี้ตัวเลขน่าจะนิ่ง แล้วเราน่าจะสรุปอะไรกันได้บ้างว่า ระหว่างไทยที่มีคนใช้เน็ตน้อยกว่าเวียดนามตั้ง 4 ล้านคน
แต่มีคนใช้ Firefox ใกล้เคียงกัน คนสาย IT น่าจะสรุปกันนะครับ
-*- คนบ้านเรามีคอมเยอะครับ แต่ใช้ไปวันๆ
คือมันอาจจะไม่เกี่ยวกับการโหลด Firefox โดยตรง(คือแค่จุดนี้วัดอะไรไม่ได้) ..แต่ก็ อธิบายไม่ถูก
วัดอะไรไม่ได้ แต่รู้สึกประเทศไหนโหลดเยอะมันดูดีกว่า :-)
ผมคิดว่ามันแสดงให้เห็นถึงการกระตือรือร้นการใช้เทคโนเลยีของเพื่อนบ้านเราได้นะว่ามีมากกว่าเราหรือไม่โดยประมาณ.
เห็นด้วยครับ... แสดงถึงความแตกต่างในเรื่องการกระตือรือล้น... ของคนในสายงาน IT (ถ้านอกสายงานนี้จะมีสักกี่คนที่สนใจกับเรื่อง.. Browser)
บางทีผมว่า mozilla น่าจะนับสถิติโดยการให้ browser ส่งข้อมูลกลับไปยัง mozilla หลังจากเปิดใช้งานขึ้นครั้งแรกหลังติดตั้งมากกว่า... เผื่อว่าหลายๆ บริษัทจะโหลดแค่ตัวเดียว แต่ติดตั้งยังเครื่องลูกข่ายในบริษัทอีก หลายร้อยเครื่อง (ให้เครื่องในบริษัทโหลดพร้อมกันหมดสงสัยเนตคงเดี้ยง...)
ว่าแต่ ISP เราแอบทำ cache ไฟล์เก็บไว้ใน proxy server ป่าวหว่า.. ตอนโหลดมา ดูมันเร็วๆ พิกล
I'm using TT&T. Now it's up to 2Mps. That's why lately it's faster than before.
ผมอยู่สาย Marketing แต่สนใจ มาตราฐานการแสดงผลครับ
แอบช่วยปั่นไปหลายโหลดแล้วเหมือนกัน
คิดอยู่ว่าจะตอบยังไงดีไม่ให้โดนด่า เพราะผมพูดตลอดว่าผมสนับสนุน Opensource ทุกตัว เพราะจะได้มีไปคานกับเจ้าใหญ่ๆบ้าง
แต่ผมว่าหลายๆคนคิดว่า firefox มัน browserเทพ คนไม่ใช้แปลว่าไม่รู้จัก เพราะถ้ารู้จักต้องใช้ทุกคน
มันไม่ใช่นะครับ
ผมรู้จัก เคยใช้ แต่ผมชอบ Opera มากกว่า แปลว่าผมไม่กระตือรือร้นเหรอ
รณรงค์ให้ใช้ firefox กันเยอะๆก็เป็นเรื่องดี เพราะทำให้มันโตเร็วขึ้น แข็งแกร่งขึ้น แต่จนกว่ามันจะดีกว่า opera ผมใช้ browser ที่ผมชอบก่อนจะดีกว่า
คิดดี มีความสุขครับ
ชอบอะไรใช้อันนั้นครับ มีความสุขที่สุดละ
ชอบ IE6 :P
Nice - SE7ENize.com
@NiceThai
ปัญหาคือ ไม่ใช่ว่าคนที่ไม่สนใจจะใช้ Opera แทน แต่ส่วนใหญ่จะไม่รู้เลยสิ ว่า browser คืออะไร มีประโยชน์อะไรนอกจากเอาไว้เปิด hi5
ถ้ายังอยู่ในกลุ่มสีเหลืองเดียวกันก็ไม่ต่างกันหรอกครับ ตัวเลขต่างกันแค่นี้แทบจะหานัยสำคัญไม่ได้
ที่น่าตกใจมาก ๆ จริง ๆ คือ การนำโด่งของอิหร่านในกลุ่มตะวันออกกลาง เท่าที่รู้จักกับ
คนกลุ่มแถมนี้รวมถึงแอฟริกา(ตอนเหนือ) เท่าที่รู้จักคนอิหร่านเป็นกลุ่มคนที่เปิดกว้างมาก
แต่คาดไม่ถึงว่าจะใช้ firefox ต่างกันขนาดนี้
จีน รัสเซีย ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ น่าผิดหวังมาก
ผมว่าในงานที่ browser มีความสำคัญมากๆ เค้ายังไม่เปลี่ยนไปใช้ firefox3 ครับ เพราะตัว final release เองก็ยังมี bug อยู่ รอให้ทุกอย่างลงตัวจริงๆ ค่อยเปลี่ยนยังไม่สายครับ อีกอย่าง firefox 2 ก็ไม่ได้มีปัญหาตรงไหน (ถ้าไม่ได้ใช้ภาษาไทย)
ถ้าต้องดูแลระบบ it ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินๆทองๆ คงไม่ด่วนตัดสินใจ upgrade
spread firefox เป็นแค่การโฆษณาแบบนั้นหนึ่งเท่านั้น เค้าแค่ต้องการจุดกระแสครับ
พยายามโหลด แต่เน็ตเดี้ยง
ezybzy.info blog
ใคร download Firefox 3 ไปแล้ว อย่าลืมไปรับใบ Certificate กันด้วยนะ ที่
Firefox 3 Download Day certificate
กรอกชื่อเราลงไป ระบบก็จะสร้างไฟล์ PDF มาให้ครับ
ลองใส่ Bill Gates กับ Steve Jobs ลงไปแล้วดู output รู้สึกตลกดีครับ //ล้อเลียนศาสดา
โหลดอยู่หลายครั้งกว่าจะสำเร็จเฮ้อ
ก็มีแต่ไอทีเท่านั้นแหละครับที่รู้จัก Firefox user เขาไม่รู้หรอก
© NgOrXz ™ ®
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เก่งที่สุดในโลก
ไอที ของหลายๆแห่ง ยังไม่รู้จักเลยครับ เศร้าใจ
ผมเจอรู้จักแต่ไม่คิดจะใช้ และที่สำคัญคือไม่รู้ความแตกต่างระว่าง ie กับ fx
แนะนำหัวข้อนี้ครับ ช่วยกันแนะนำความสามารถใหม่ใน Firefox 3 เพื่อติดใจ หรือเห็นความต่าง
ส่วนเรื่องจำนวนนั้น มันก็บอกไม่ได้หรอกครับว่า การกระตือรือล้นของคนในสายงาน IT นั้นเป็นอย่างไหร ก็เป็นการคาดเดาเท่านั้น ดูบ้านเราสิครับ ผมเห็นเกือบทุกบ้าน มีคอมพิวเตอร์ใช้กันแล้ว แต่การใช้คอมพิวเตอร์นั้นเป็นแค่อุปกรณ์อิเล็กโทนิกส์เท่านั้น ซื้อมาแสนแพง แต่กับใช้ไม่คุ้มค่า
กับ ผู้ใช้ทั่วไป หรือแม้แต่คนสายงาน IT เขาก็ไม่ค่อยรู้ความต่างมันเท่าไหร ตราบใดที่ IE มันยังคงติดมากับเครื่องไม่ต้องไปแสวงหามาติดตั้งเอง เขาก็คงใช้มันอยู่อย่างนั้น ว่าเราหันไปสนใจเนื้อหากับแก่นแท้ของมันเถอะครับ
อิอิ แต่ก็ไปรวมดาวน์โหลด ตอนเที่ยงคืนก่อนด้วย งงมากๆ ครับ ทำไม่เปลี่ยนหน้าเว็บ(theme) สองครั้ง เพียงไม่ถึงวัน ส่วนตัวก็เล่นมันทุก อันเลย
----- ดาวนับล้านลอยอยู่บนท้องฟ้า จะมีไม่น่าที่ลอยอยู่เองเฉยๆ อย่าท้อแท้ที่จะเรียนรู้ และจงเป็นครูสอนผู้อื่นต่อ
แปลว่าไทยมีคนไอทีประมาณ 30k เหรอครับ อืม ก็ประมาณนั้นถ้านับคนเรียนจบในช่วง 15 ปีล่าสุดรวมกับที่กำลังเรียนอีก 6 ปี ก็แปลว่าต้องมีคนไอทีที่ว่าปีละ 1500 คน แต่ละภาควิชาจะมีประมาณรุ่นละ 60 คน แสดงว่ามีมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 25 แห่ง ตัวเลขใกล้เคียง
แนะนำ user เขาสิครับ เริ่มจากคนที่เล่นเน็ตบ่อยๆ ที่เราสนิทก็ได้
Jusci - Google Plus - Twitter
ตัวเลขการพัฒนาการทางด้าน internet เราช้ามากครับ
ประเทศไทยมีประชากร 65,068,149 ตอนนี้มี internet user 8,465,800 คน (ปี 2000 มี 2,300,000 คน) คิดเป็น 13.0 %
เวียดนามมีประชากร 85,262,356 ตอนนี้มี internet user 18,226,701 (ปี 2000 มี 200,000 คน) คิดเป็น 21.4 %
ข้อมูลจาก Asia Internet Usage Stats and Population Statistics
เห็นแล้วก็เศร้าใจกับการพัฒนาด้าน Internet ของประเทศไทยและระบบ network ภายในและการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
ผมว่าแทนที่จะมอง จำนวนคนที่ใช้ เราสนใจเรื่อง content ที่คนเหล่านั้นเข้าถึง ดีกว่าไหมครับ
ถ้ามองเรื่อง content คงต้องเซงหนักกว่าเดิมหรือเปล่าครับ สำหรับประเทศไทย !!!
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
เวียดนามมี internet host 106,772 (2007)
ไทยมี 973,941 (2007)
เวียดนามมีสถานี FM 7 สถานี
ไทยมี FM 351 สถานี
เวียดนามอาจจะเป็นประเทศในโลกไม่กี่ประเทศที่สามารถเข้าถึงฐานข้อมูล
ทางวิชาการได้ทั้งหมด เพราะมันหา login ฟรีเก่ง สร้างเองก็ได้แถมแจก
เพื่อนอีก
แจกเผื่อมาถึงคนไทยด้วย :P
Nice - SE7ENize.com
@NiceThai
internet host เยอะ แต่ต้องถามต่อว่าไอ้ internet host มันเอามาทำ bit-colo เท่าไหร่ด้วยนะ ;P
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
ก็ต้องถามกลับว่าแล้วคนใช้เน็ตเพิ่มเป็นดอกเห็นเนี่ย ใช้ทำอะไร
เหอๆๆ ....... -_-' อันนี้คงตอบแทนคนอื่นไม่ได้ว่าใช้ทำอะไร แต่การที่คนใช้เน็ตเพิ่มขึ้นเยอะ ๆ เพื่อทำให้เกิดการกระจายโอกาสในการใช้งาน และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้หลากหลายมากขึ้น (เปิดทางเลือกมากกว่าสื่อหลัก) น่าจะเป็นการดีกว่านะ
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
ที่แย้งนะ ไม่ได้ว่าอะไรนะครับ แต่ไงผมก็ว่ามันแปลก ๆ อยู่ ถ้าจะเอาตัวเลขผู้ใช้งาน
อินเตอร์เน็ตมาเป็นตัวบอกถึงการพัฒนาทางอินเตอร์เน็ต ในขณะที่ไม่เอาตัวเลขของ
host มาเป็นส่วนประกอบ
มันเหมือนกับบอกว่า ม. เปิด ดีกว่า ม. ปิด เพราะมีนักศึกษาเยอะกว่า อย่างไงอย่างนั้น
เลย ยิ่งเรื่องเนื้อหาบน internet ยิ่งเปรียบเทียบยาก ทั้ง ๆ ที่เราก็รู้ว่าเน็ตในประเทศเวียดนาม
ช้ากว่าเน็ตออกนอกประเทศ (ข้อมูลจาก duocore) และระบบการปกครองของเขาไม่เอื้อ
อำนวยยิ่งทำให้เทียบลำบาก แต่ก็ยังมีคนมาฟันธงแบบสนุกปากอีก
พูดแดกดันกันมันสนุกครับ แต่บางทีเราก็ต้องมีข้อมูลสนับสนุนด้วย หลาย ๆ เรื่องที่
เรามักจะดูข้อมูลตัวเดียว เช่น เวียดนามเก่งคณิตศาสตร์กว่าบ้านเรามาก ถ้าดูประวัติการแข่งขัน
คณิตศาสตร์โอลิมปิค แต่เราก็ปิดหูปิดตาไม่ยอมรับรู้ว่า ทางด้านชีววิทยานั้น เราเก่งกว่าเขาเยอะ
อย่างนี้เป็นต้น
ไม่เอาดีกว่า -_-' ขอเอาออกแล้วกัน ...
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
ถ้ามองเรื่อง content คงต้องเซงหนักกว่าเดิมหรือเปล่าครับ สำหรับประเทศไทย !!! <<<< โดนใจ :D
ประเทศไทยเข้าถึงได้น้อยที่สุดเพราะส่วนใหญ่โดนบล็อค
+10000000000000000000
--
Without Wax - T.J.M. Potter
บริษัท ลูกค้าผม บังคับใช้ Firefox แล้วเอา IE ออก ครับ Policy from Taiwan
ใช่ๆ ลุ้นเกาหลีใต้อยู่เหมือนกันครับว่าจะเยอะ แต่พอไปดู...ว้า
ปรากฏว่าครั้งสุดท้ายที่ดูประเทศญี่ปุ่นประเทศเดียว โหลดไป 496k+
เดาว่าตอนปิดตลาดน่าจะทะลุเกจ 500k+ ไปได้แน่ๆ เลย
จริงๆ นะรู้สึกเหมือนกันเลยว่าประเทศไหนโหลดเยอะจะดูดี อิอิ
คนไทยได้เท่านี้ก็คงพอใช้ได้ละมั้งครับ แต่ผมบอกเพื่อนผมตั้งหลายคนแน่ะให้ไปโหลด
เค้าไม่รู้จัก จนเขาหาว่าได้ตังค์จาก mozilla ปะเนี่ย -_-" แต่ก็หนุกดี รู้สึกสะใจบอกไม่ถูก อิอิ
"จนเขาหาว่าได้ตังค์จาก mozilla ปะเนี่ย"
เหมือนกันเลยครับ :P เพื่อนมันบอก "promoter ขายสินค้าจริงๆ มีแข่งใครชวนเพื่อนได้เยอะสุดลงกิเนสบุ๊คป่าวเนี่ย"
My Blog -> http://paiboonpa.wordpress.com
โดนไปเหมือนกัน 555
Jusci - Google Plus - Twitter
แต่ก็เห็นสัญญาณที่ดีนะครับ ที่อย่างน้อยก็มีการใช้ในวงกว้างพอสมควร ต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้
---
Khajochi Blog : It's not a Bug ... It's a Feature
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
สถิติน่าสนใจครับ
มีการวิเคราะห์ ความเกี่ยวโยงระหว่างสถิติการดาวน์โหลด Firefox 3 กับเขตพื้นที่ทางเศรษฐกิจของเพนตากอน พบว่า
ประเทศที่อยู่ในแกนหลักเศรษฐกิจโลก ดาวน์โหลดในปริมาณมากทั้งนั้น (10K ขึ้นไป) ในขณะที่ประเทศที่ยังอยู่นอกวงเศรษฐกิจโลกแทบทั้งหมดดาวน์โหลดน้อย (ต่ำกว่า 10K)
ข้อยกเว้นของกลุ่มแกนหลักมีเป็นหย่อม ๆ อยู่ที่แอฟริกาใต้, กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มบอลติก
ข้อยกเว้นของกลุ่มนอกวง อยู่ที่ตุรกี และโคลัมเบีย (อันที่จริง ตุรกีน่าจะอยู่ในกลุ่มแกนหลักได้แล้ว) และยังมีประเทศอื่นในกลุ่มนี้ที่มีสถิติดาวน์โหลดสูง ได้แก่ อิหร่าน, เวเนซูเอลา, เปรู และอินโดนีเซีย
โปแลนด์เป็นประเทศแรกที่ทำสถิติถึง 100K และประเทศที่เข้าร่วมในกลุ่มแกนหลักใหม่ ๆ ล้วนกระตือรือร้นที่จะใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เพื่อให้เข้ารวมกับแกนหลักได้อย่างสนิทยิ่งขึ้น ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูก
มีคำพูดว่า ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นประโยชน์สำหรับประเทศกำลังพัฒนา แต่ก็ปรากฏว่าโอเพนซอร์สไม่ได้เข้าไปถึงกลุ่มประเทศเหล่านั้นอย่างที่ควรจะเป็น
แผนที่นี้ วิเคราะห์ตามปริมาณการดาวน์โหลดเท่านั้น ยังไม่ได้เทียบต่อจำนวนประชากร
หมายเหตุ: แผนที่เศรษฐกิจของเพนตากอน เป็นการแบ่งกลุ่มประเทศในโลกอย่างคร่าว ๆ เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มแกนหลัก (functioning core) ซึ่งมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ มีอัตราการเติบโตสูง และบทบาทในเวทีเศรษฐกิจโลก กับกลุ่มนอกวง (non-integrated gap) คือไม่มีบทบาทในเศรษฐกิจโลก มีเสถียรภาพไม่เพียงพอ
ผ่าน: slashdot
ดีมากเลยครับ แยกเป็นอีกข่าวหนึ่งได้เลยนะเนี่ย
ประเด็นที่ผมตกใจมากคือ ยอดดาวน์โหลดของเวียดนามมันเยอะกว่าบ้านเราไปเกือบช่วงตัว
มันน่าจะชี้ให้เห็นอะไรหลายอย่าง
และเรื่องที่กลัวๆ ว่าเวียดนามจะแซงไทยนั้น มันก็ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้
สำหรับผม รอโหลดตั้งแต่เที่ยงคืน แต่กว่าจะได้โหลดจริงๆ ก็สิบโมงเช้า :p
อืม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนที่ไม่ดาวน์โหลดไฟร์ฟอกซ์ จะไม่เก่งไอทีนี่ครับ
ถ้าจะเอาสถิติมาแปลแบบโต้งๆ อย่างนี้ ผมว่าคนแปลใช้สถิติในทางที่ผิดนะครับ
มันคงเป็นความชอบส่วนบุคคลมากกว่า (มากๆ) ครับ
ไม่รู้นะครับ ในความหมายของผม คน IT ที่ดี น่าจะกระหายที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆมากกว่า
แต่ก็อีกแหละ บางคนก็ไม่อยาก download เพราะอาจจะไม่ชอบ Firefox ไม่อยากเป็นส่วนร่วมสถิติ หรือเหตุผลล้านแปด ซึ่งเราจะไปเหมาเอาว่า "ไม่กระตือรือร้น" ก็ไม่ได้
สรุปคือ ตัวเลขการ download นั้นไม่อาจจะบอกได้ว่า เราล้าหลังกว่า ประเทศที่ download มากกว่าเรา
แต่ผมก็ไม่คิดว่าเรายังนำหน้าเวียดนามอยู่นะ
ความรู้สึกตอนโหวตผมคือ คล้ายๆ กับโหวต AF + พวกทำครกยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลก
แต่พอลองเล่นจริงๆแล้ว ก็ต้องร้องออกมาว่า "ออซั่ม!"
ประเทศที่ รัฐบาล-เอกชน-ปชช มีความพร้อมสูงสุดต่อความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี คือ 1.เดนมาร์ก 3.สิงคโปร์ 15.ญี่ปุ่น
มั้ง
เป็นเพราะหน่วยงานรัฐที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ทั้งหลายใช้ Windows XP 2008 Edition v.12 กันหมด (รู้ ๆ กัน) แล้วมี IE7 ใช้กันหมดแล้ว ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้หมาไฟ
@TonsTweetings
ของแท้ต้องมี iLLUSiON ;P ----- ดาวนับล้านลอยอยู่บนท้องฟ้า จะมีไม่น่าที่ลอยอยู่เองเฉยๆ อย่าท้อแท้ที่จะเรียนรู้ และจงเป็นครูสอนผู้อื่นต่อ
ไม่ได้ร่วมสร้างสถิติเหมือนกัน เพราะลืม มาเปิดเมลวันที่ 18 สายไปเสียแล้ว...
คห. ส่วนตัว จะเอาวัน ๆ เดียว มาตัดสินความกระตือรือล้นด้าน IT มันดูจะโหดร้ายเกินไปหน่อย อย่างผมที่ไม่ได้โหลด FF3 ในวันที่ 17 ที่ผ่านมา ก็ไม่ได้หมายความว่าผมใช้ หรือยอมใช้ IE แต่อย่างใด และยังชื่นชอบ FF มากกว่า Opera ถ้าไม่ติดข้อจำกัดเรื่องการบริโภคแรมที่แก้ไม่หาย ทำให้ต้องตัดใจเป็นพัก ๆ
และจากบางความเห็น ผมว่าความสัมพันธ์ของ OpenSource กับประเทศกำลังพัฒนา มันแปรผกผันกับทฤษฎีที่ว่าเอาไว้นะครับ ประเทศที่พัฒนาแล้ว หมายความว่าเค้ามีกฏที่หนัก และจิตสำนึกที่แข็งแกร่งกว่า (หรือเปล่า) ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา เค้ามีกฏที่หนัก และจิตสำนึกที่มากพอหรือเปล่้า . . .
ผมคิดว่า อาจจะไม่ได้มีความหมายที่เกี่ยวกับด้าน IT โดยตรงคือมีคนทำงาน IT มากแค่ไหน
อาจจะไม่ได้มีความหมายว่า Firefox ดีกว่า IE หรือ Opera ดีกว่า หรือ Safari ตามมาติดติด
แต่ผมคิดว่ามันมีความหมายในเชิงที่ว่า บ้านเรายังใช้ Software เถื่อนเป็นบริมาณมหาศาล จากการเรียนรู้จาก ถ้าเป็น Linux ก็ต้องใช้ Firefox หรือ ตัวอื่นเป็นหลัก ( ถ้าอ้างอิงจาก สัดส่วนการขาย Windows : Computer : อัตราการโหลด Firefox )
สังเกตจาก คนใช้ Windows (ตัวแทนของ ของเถื่อนผิดกฏหมาย) มากมาย แต่เค้าไม่ได้สนใจ Firefox (ตัวแทนในความหมายของฟรี หรือของถูกกฏหมาย) เลย เพราะก็ของฟรีนิ (Windows มันเป็นของฟรีที่เค้าหาได้โดยทั่วไปในบ้านเรา แต่ไม่ได้นึกถึงกฏหมายหรือหน้าที่โดยชอบธรรม)
คือ ไม่ได้หมายความว่า ใช้ IE และ windows แล้วจะเป็นของเถื่อนของไม่ดี ( แต่อย่างน้อย ก็คิดได้ว่า ยังเป็นสีเทาแถมไปทางเข้มๆด้วย )
แต่ ใช้ Firefox มันทำให้คิดได้ 100% ความที่คนใช้เค้าใช้ Firefox ของถูกกฏหมาย 100% ( ส่วนนี้ขาวแน่ๆ จุดเล็กๆ ที่อยู่บนสีเทา ที่เห็นชัดแน่ๆ )
แล้วผมก็มั่นใจว่าคนที่ใช้ Firefox นั้น จะมีของแท้หรือของฟรี ที่เค้าใช้นอกจาก Firefox หรือ programs อื่นๆ อีกแน่ๆ ใช่มั้ยครับ
" Firefox จะเป็นตัวแทนหรือปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกว่า ประเทศนั้นมีการใช้ Software ที่ถูกกฏหมายและมีความรับผิดชอบมากแค่ไหน และพร้อมสำหรับโลกในยุคต่อไปมากกว่า "
meare.spatc.net