สารานุกรมเสรีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในวันนี้คงไม่มีใครเกินวิกิพีเดียไปได้ ตอนนี้แนวคิดของวิกิพีเดียนั้นกำลังขยายตัวไปยังสาขาต่างๆ อย่างกว้างขวาง ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะหลายบทความที่ดีๆ ในวิกิพีเดียเองนั้นกลับไม่ได้รับการยอมรับจากชุมชนข้างในเท่าใหร่ด้วยเหตุผลที่ว่าวิกิพีเดียเป็นสารานุกรม อีกทั้งกระบวนการทำงานในวิกิพีเดียเองก็ยังเป็นคำถามให้กับหลายๆ คนว่าการใช้ผู้เขียนนิรนามจำนวนมากเช่นนี้จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบทความเฉพาะทางได้หรือไม่
ความแตกต่างเช่นนี้ทำให้โรงเรียนแพทย์สี่แห่งในสหรัฐฯ ได้แก่ Harvard Medical School, Stanford School of Medicine, University of California Berkeley School of Public Health, และ University of Michigan Medical School จับมือเป็นแกนนำในการก่อตั้งเว็บ Medpedia.com ที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลทางการแพทย์โดยเฉพาะ นอกจากนี้แล้ว ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่ประกาศร่วมมือในโครงการนี้อีกหลายหน่วยงาน และตอนนี้เองทางโครงการก็ยังรับสมัครหน่วยงานทางการแพทย์ทั่วโลกที่สนใจเข้าร่วมโครงการได้
การเข้าเป็นนักเขียนของทาง Medpedia ได้นั้นผู้สมัครจะต้องได้รับการยอมรับจากทางทีมงานของ Medpedia ก่อน โดยทีมงานจะพิจารณาจากความเชี่ยวชาญในเชิงการแพทย์ และบทความทั้งหมดที่แสดงอยู่ใน Medpedia จะมีสัญญาอนุญาตเป็น GFDL เพื่อรับประกันว่าเอกสารทั้งหมดจะนำไปใช้งานได้ฟรี
ตอนนี้มีแต่แถลงข่าวเปิดตัวและรับสมัครนักเขียน ส่วนการเปิดตัวให้คนภายนอกเข้าไปอ่านบทความนั้นเริ่มสิ้นปีนี้
ที่มา - Medpedia
Comments
กะเขียนแล้วข่าวนี้ แต่เผอิญหมดแรงก่อน
molecularck โม-เล-กุล่า-ซี-เค
sci news on foosci.com
http://www.digimolek.com
คือมันมีแนวความคิดรวบรวมความรู้นี้มานานแล้วครับ แต่ส่วนใหญ่ ไม่สิ เกือบทั้งหมด ไม่ฟรี!
ผมก็อยากรู้ว่า editors ต่างๆ เนี่ย มันจะอยู่กันได้นานแค่ไหนกัน แล้วข้อมูลในนั้น จะเชื่อถือได้มากแค่ไหน เพราะแค่ตอนนี้ Expert เองพูดอย่าง แต่หลักฐานจากการทดลอง ไปอีกอย่าง (มันยังมีความเชื่อเก่าๆ ที่เวลาทำการทดสอบแล้วมันไม่จริงอยู่เยอะมากสำหรับวงการแพทย์ และแม้แต่ฝรั่งเอง ก็ยังแก้ตรงนี้ไม่ได้)
แต่ถ้าเป็นเวทีสำหรับ debate ผมว่าเหมาะมากๆ (ถ้ามีคนสนับสนุนเงินทุนหน่ะนะ) เพราะฉะนั้น คนเอาไปใช้ ต้องอ่านอย่างมีวิจารณญาณมากๆ ไม่ใช่ อ๊ะ ผมเชื่อตาม professor นี้ละกันเพราะแกเคยสอนผมมา
ย้อนกลับมาอ่าน พบว่า ปิดตัวไปตอนปี 2013 ครับ