อินเทลประกาศแต่งตั้งกรรมการเข้าร่วมบอร์ดบริษัทเพิ่ม 2 คน เพื่อร่วมในกระบวนการสรรหาซีอีโอคนใหม่แทน Pat Gelsinger ซึ่งอินเทลบอกว่าทั้งสองคนมีพื้นฐานมาจากธุรกิจการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ตามที่ David Zinsner ซีอีโอรักษาการณ์ของอินเทลเพิ่งให้สัมภาษณ์ไปก่อนหน้านี้
กรรมการคนแรกคือ Eric Meurice อดีตซีอีโอและประธาน ASML ผู้ผลิตเครื่องจักรที่สำคัญในกระบวนการผลิตชิป ส่วนอีกคนคือ Steve Sanghi ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานและรักษาการณ์ซีอีโอที่ Microchip Technology โดยตำแหน่งของทั้งสองคนที่อินเทลมีผลทันที
หลังจากจีนถูกสหรัฐกดดันและปิดกั้นหลายๆ ด้านในแง่ของการแข่งขันเรื่องการพัฒนาชิปเซ็ต ไปจนถึงการตรวจสอบบริษัทสัญชาติจีนเรื่องความมั่นคง
ล่าสุดหน่วยงานจัดการไซเบอร์ของจีน (CAC - The Cyberspace Administration of China) ประกาศเข้าตรวจสอบ Micron บริษัทผลิตชิปเมมโมรี่และสตอเรจสัญชาติอเมริกันในประเด็นด้านความมั่นคงด้วยเช่นกัน โดยให้เหตุผลว่า เพื่อปกป้องความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของซัพพลายเชน และป้องกันความเสี่ยงทางไซเบอร์
ขณะที่ Micron ยืนยันว่าระบบซัพพลายเชนทุกอย่างจะไม่กระทบจากการตรวจสอบครั้งนี้
ที่มา - Bloomberg
Morris Chang ผู้ก่อตั้งบริษัทเซมิคอนดักเตอร์สัญชาติไต้หวัน TSMC เผยในที่ประชุมในนครไทเปว่า บริษัทได้วางแผนผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี 3 นาโนเมตรแล้วที่โรงงานในรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ที่กำลังสร้างและจะเริ่มผลิตชิปในปี 2024 Chang เผยว่าตอนนี้แผนยังไม่เสร็จสิ้นแต่ก็ใกล้จะได้ข้อสรุปแล้ว
บนหน้าเว็บไซต์ของ TSMC เผยว่าชิป 3 นาโนเมตรนี้จะใช้ชื่อว่า N3 เมื่อเปรียบเทียบกับชิป 5 นาโนเมตรแล้ว จะมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นสูงสุด 70% เร็วกว่าเดิมสูงสุด 15% เมื่อใช้พลังงานในระดับเดียวกันและจะลดการใช้พลังงานสูงสุด 30% เมื่อมีความเร็วอยู่ในระดับเดียวกัน
Chang เผยว่า TSMC จะเริ่มผลิตชิป 3 นาโนเมตรในเฟส 2 หลังจากที่ผลิตชิป 5 นาโนเมตรในเฟสแรกแล้ว
Tim Cook ซีอีโอของ Apple เผยในที่ประชุมภายในบริษัทในเยอรมนีว่า บริษัทเตรียมใช้ชิปที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา ซึ่งน่าจะหมายถึงจากโรงงานผลิตชิปของซัพพลายเออร์รายใหญ่อย่าง TSMC ที่กำลังก่อสร้างในรัฐแอริโซนา รวมทั้งจะใช้ชิปจากโรงงานในยุโรปเพิ่มมากขึ้น
โรงงานของ TSMC ในรัฐแอริโซนาคาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ในปี 2024 นอกจากนี้ ยังมีข่าวว่าบริษัทวางแผนตั้งโรงงานเพิ่มอีกแห่งในรัฐเดียวกัน ปกติแล้ว Apple จะใช้ชิปจากโรงงานของ TSMC ที่อยู่ในไต้หวัน โดย Cook เผยว่าชิป 60% ของ Apple มาจากไต้หวัน
Samsung เผยแผน 5 ปี ตั้งเป้าผลิตทรานซิสเตอร์ขนาด 1.4 นาโนเมตรภายในปี 2027 หวังดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกาเพื่อแข่งกับบริษัทเซมิคอนดักเตอร์เจ้าใหญ่อย่าง TSMC
Moonsoo Kang รองประธานบริหารของบริษัทเผยว่า บริษัทตั้งเป้าเป็นผู้นำการผลิตชิปให้ได้ โดยตั้งเป้าผลิตชิปขนาด 3 นาโนเมตรรุ่นที่ 2 ให้ได้ภายในปี 2024 หลังจากเป็นเจ้าแรกที่เริ่มผลิตชิป 3 นาโนเมตรไปแล้ว รวมทั้งจะผลิตชิป 2 นาโนเมตรให้ได้ภายในปี 2025 และชิป 1.4 นาโนเมตรภายในปี 2027
Samsung ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงเป็น 3 เท่าภายในปี 2027 และจะเพิ่มรายได้ของธุรกิจรับจ้างผลิตชิปให้ได้ 3 เท่าเมื่อเทียบกับรายได้ของปีที่แล้ว โดยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชิปและขยายตลาดในสหรัฐฯ
NASA ประกาศเลือกชิป RISC-V จาก Microchip สำหรับโครงการ High Performance Spaceflight Computing (HPSC) คอมพิวเตอร์สำหรับภารกิจในอวกาศรุ่นต่อไป โดยเตรียมใช้คอร์ซีพียูเป็น SiFive X280 เป็นคอร์หลัก ส่วนตัวซีพียูจะออกแบบโดย Microchip
โครงการ HPSC เคยให้ Boeing ออกแบบคอมพิวเตอร์แบบเดียวกันโดยใช้สถาปัตยกรรม Arm มาตั้งแต่ปี 2017 ในตอนนั้น Boeing เลือกใช้คอร์ Arm Cortex-A53 เป็นแกนหลัก
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา สำนักงานอุตสาหกรรมและความมั่นคงของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้สั่งแบนการส่งออกสินค้า 4 ประเภทที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยีและสงคราม
สินค้าที่ถูกสั่งแบนได้แก่ ซอฟต์แวร์กลุ่ม ECAD ที่ใช้เทคโนโลยี Gate-AllAround Field-Effect Transistor (GAAFET) ที่ใช้ในการออกแบบชิปขนาด 3 นาโนเมตรหรือต่ำกว่า, เทคโนโลยี Pressure Gain Combustion (PCG) ซึ่งใช้ในยานอวกาศ, และวัสดุตั้งต้นสำหรับผลิต semiconductor แบบ ultra-wide bandgap 2 ชนิด อย่างแกลเลียมออกไซด์หรือเพชร
Washington Post รายงานอ้างอิงแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยตัว ระบุว่า Nancy Pelosi ประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกาเตรียมเข้าพบนาย Mark Liu ประธานบริษัท TSMC ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดแห่งไต้หวัน เพื่อหารือเรื่องการลงทุนตั้งโรงงานในสหรัฐ จากการเดินทางเยือนไต้หวันอย่างเป็นทางการครั้งนี้
เนื่องจากกฎหมาย Chips and Science Act เพิ่งผ่านสภา ทำให้รัฐบาลสหรัฐสามารถอุดหนุนเงินจำนวน 52 พันล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับโรงงานผลิตชิปภายในประเทศ ซึ่ง TSMC ได้ตั้งโรงงานในเมือง Phoenix รัฐแอริโซนา มูลค่า 1.2 หมื่นล้านเหรียญไปแล้วด้วย
Microchip ประกาศความร่วมมือกับบริษัทปัญญาประดิษฐ์สามบริษัท ได้แก่ Cartesiam, Edge Impulse, และ Motion Gestures ทำให้นักพัฒนาสามารถใช้เครื่องมือของทั้งสามบริษัทได้ใน MPLAB X IDE ของทาง Microship เอง
การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสามารถใช้งานกับข้อมูลบางประเภท กรณีนี้ทาง Microchip ออกชุดพัฒนา EV18H79A บอร์ดพัฒนาพร้อมตัววัดการเคลื่อนไหว 6 แกนของ TDK และ EV45Y33A ชุดพัฒนาติด BOSCH IMU และบริษัทที่เข้ามาเป็นพันธมิตรด้วยก็เป็นบริษัท AI ที่เน้นงานด้านแปลข้อมูลความเคลื่อนไหว ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแปลผลของเซ็นเซอร์ออกมาเป็น gesture ต่าง ว่าผู้ใช้ต้องการสั่งงานอะไร
บอร์ดพัฒนาเริ่มวางขายในจำนวนจำกัดแล้ว ราคาเริ่มต้น 39.95 ดอลลาร์
Microchip เปิดตัวชิป PolarFire SoC ที่เป็นชิป RISC-V รองรับลินุกซ์พร้อม FPGA ไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา และตอนนี้ก็เปิดตัวบอร์ดพัฒนาขายให้คนทั่วไปแล้วในชื่อ PolarFire SoC Icicle Kit
ตัวชิป PolarFire SoC เป็นชิป 5 คอร์ มี RISC-V RV64IMAC สำหรับตรวจสอบสถานะระบบหนึ่งคอร์ และ RV64GC สำหรับรันแอปพลิเคชั่นอีก 4 คอร์ แรมบนบอร์ดเป็น LPDDR4 2GB, สตอเรจมีทั้งแฟลชแบบ SPI 1Gb และ eMMC อีก 8GB (ใช้ SD แทนได้) ตัวชิปมาพร้อม FPGA ขนาด 254,000 logic element
อินเทอร์เฟซมีตั้งแต่งาน IoT อย่าง I/O 40 ขาแบบ Raspberry Pi, mikroBUS, SPI, I2C, CAN x 2, UART x 4, และ PCIe แบบ x4 อีกหนึ่งสล็อต พร้อมกิกะบิตอีเธอร์เน็ตอีก 2 พอร์ต
Microchip ผู้ผลิตชิปตระกูล AVR ที่ใช้งาน เปิดตัวบอร์ดพัฒนา AVR-IoT WG บอร์ที่มีชิปเข้ารหัส ทำให้สามารถจัดการกุญแจเพื่อยืนยันตัวตนอุปกรณ์กับคลาวด์ภายนอก โดยตัวบอร์ดคอนฟิกให้เชื่อมต่อกับ Google Cloud IoT ไว้แล้ว ทำให้สามารถเซ็ตอัพเพื่อส่งค่าเซ็นเซอร์กลับไปยังคลาวด์ได้ทันที
ตัวไมโครคอนโทรลเลอร์เป็น ATmega4808 ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 20MHz หน่วยความจำแฟลช 48KB แรม 6KB โมดูล Wi-Fi เป็น ATWINC1510 และชิปเข้ารหัสเป็น ATECC608A เชื่อมต่อกับ Google IoT Core Cloud ด้วย MQTT และยืนยันตัวตนด้วย JWT
ราคาบอร์ดพัฒนา 29 ดอลลาร์ เริ่มสั่งได้แล้ววันนี้
ที่มา - Microchip
Alibaba ประกาศเข้าซื้อบริษัทผลิตไมโครชิพจากจีน Hangzhou C-SKY Microsystems เพื่อสนับสนุนธุรกิจ Internet of Things
C-SKY Microsystems เป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในเมืองหางโจวของประเทศจีน เน้นพัฒนาสถาปัตยกรรมซีพียูและชิพแบบฝัง ซึ่งทางบริษัทบอกว่าชิพแบบฝังที่ผลิตเป็นจำนวนมากโดยบริษัทต่าง ๆ ในจีน มีเฉพาะของ C-SKY เท่านั้นที่ใช้สถาปัตยกรรมของตัวเอง ซึ่งการซื้อบริษัท C-SKY นี้จะช่วยให้ทีมวิจัยและพัฒนาชิพของทั้งสองบริษัททำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น และทำให้การพัฒนาชิพสำหรับใช้งาน IoT เป็นไปได้ง่ายขึ้น
Alibaba นั้นเคยลงทุนในบริษัท C-SKY มาแล้ว ซึ่งการเข้าซื้อครั้งนี้จะทำให้ Alibaba ถือหุ้นใน C-SKY ทั้งหมด 100% โดยไม่เปิดเผยมูลค่าการเข้าซื้อครั้งนี้
Microchip Technology ประกาศเข้าซื้อกิจการ Microsemi ด้วยมูลค่าราว 8,350 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นแนวโน้มของการควบรวมกิจการในธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ที่จะมีมากขึ้น แบบเดียวกับดีล Broadcom และ Qualcomm
Microsemi เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าหลักคืออวกาศยาน และกลาโหม ตลอดจนอุปกรณ์สื่อสาร, ศูนย์ข้อมูล และโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มอวกาศยานที่มีการเติบโตสูง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทำให้ Microchip สนใจและเข้าซื้อกิจการ Microsemi เพื่อโอกาสในตลาดกลุ่มนี้
Microchip ควบรวม Atmel ไปได้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ตอนนี้ก็ยังแสดงท่าทีสนใจพัฒนาชิปตระกูล AVR ต่อไป ด้วยการออกชิปรุ่นใหม่มาเพิ่มเติมอีก 4 รุ่นในตระกูล ATtiny
ATtiny817/816/814/417 มีจำนวนขาตั้งแต่ 14 ถึง 24 ขา หน่วยความจำแฟลช 4KB หรือ 8KB มีแหล่งกำเนิดสัญญาณนาฬิกา 20MHz ในตัว รองรับการทำงานด้วยไฟฟ้า 1.8V-5.5V สื่อสารภายนอกด้วย USART มี ADC 10 บิต และอินพุตสำหรับรองรับปุ่มสัมผัสแบบ capacitive
ราคาชิปเริ่มต้นที่ตัวละ 0.43 ดอลลาร์ หรือ 15 บาท เมื่อสั่งทีละหมื่นตัว การเปิดตัวมาพร้อมชุดพัฒนา Xplained Mini Kit ราคา 8.8 ดอลลาร์ สามารถใช้งานร่วมกับ Arduino ได้ การพัฒนาซอฟต์แวร์บนตัวชิปจะใช้ Atmel START ที่เป็นเว็บ หรือ Atmel Studio 7 ก็ได้
จากเมื่อช่วงต้นปีที่บริษัท Microchip ผู้ผลิตชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล PIC ได้เสนอซื้อบริษัท Atmel ผู้ผลิตชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล AVR ล่าสุดบริษัท Microchip ได้ประกาศว่าการควบรวมกิจการกับบริษัท Atmel ได้เสร็จสิ้นแล้วในด้านการเงิน (officially complete from a financial perspective) โดยในขณะนี้เหลือเพียงการควบรวมทีมดำเนินการซึ่งจะเสร็จสิ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเท่านั้น
เมื่อปีที่แล้ว Dialog Semiconductor ประกาศเข้าซื้อ Atmel ผู้ผลิตชิป AVR ที่เป็นหัวใจสำคัญของบอร์ด Arduino ด้วยมูลค่า 4.6 พันล้านดอลลาร์ ล่าสุดทาง Atmel ก็ประกาศยกเลิกข้อเสนอซื้อครั้งนี้โดยระบุว่า Microchip ผู้ผลิตชิป PIC คู่แข่งสำคัญเสนอข้อเสนอที่ดีกว่า
ทาง Atmel จะจ่ายค่ายกเลิกข้อเสนอให้กับ Dialog เป็นเงิน 137.3 ล้านดอลลาร์
ข้อเสนอเดิมของ Dialog แบ่งเป็นเงินสด 4.65 ดอลลาร์ต่อหุ้น และหุ้นของ Dialog 0.112 หุ้นต่อหุ้นของ Atmel 1 หุ้น หลังจากที่มีการประกาศข้อเสนอ หุ้นของ Dialog ตกลงอย่างต่อเนื่อง (จากก่อนประกาศอยู่ที่ 45 ดอลลาร์ต่อหุ้น ตอนนี้เหลือ 26.01 ดอลลาร์ต่อหุ้น) ทำให้มูลค่าที่ผู้ถือหุ้น Atmel จะได้รับตกลงอย่างมาก