Tags:
Node Thumbnail

SiFive ผู้ออกแบบชิปในชุดคำสั่ง RISC-V ปลดพนักงานออก 20% จากพนักงานเดิมที่มากกว่า 500 คน แม้เพิ่งจะเปิดตัวซีพียูสองรุ่น แต่บริษัทยืนยันว่ายังมีทุนเพียงพอ

ตัวชุดคำสั่ง RISC-V นั้นเปิดให้ทุกคนสามารถพัฒนาชิปที่ชุดคำสั่งเข้ากันได้อย่างเสรี แต่ตัวพิมพ์เขียวซีพียูที่ทำตามคำสั่งนั้นได้มีผู้ผลิตหลายรายซึ่งอาจจะขายหรือเป็นโครงการโอเพนซอร์สก็ได้ ตัวสถาปัตยกรรม RISC-V นั้นได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะชิปในกลุ่ม IoT ที่มีการใช้งานเป็นวงกว้างแล้ว แต่ชิปประสิทธิภาพสูงนั้นยังคงใช้งานกันในวงจำกัด

Tags:
Node Thumbnail

SiFive บริษัทผู้ออกแบบชิป RISC-V เจ้าดัง เปิดตัวซีพียูใหม่สองรุ่นคือ Performance P870 และ Intelligence X390

SiFive Performance P870 เป็นซีพียูระดับเรือธงรุ่นท็อปสุดของ SiFive ซึ่งเป็นการอัพเกรดใหญ่จาก P650 ของปี 2021 และ P670 ของปี 2022 โดยประสิทธิภาพสูงสุด (peak performance) แบบเธร็ดเดียวเพิ่มจากรุ่นก่อนถึง 50%

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลประกาศลงทุนในบริษัทด้านเซมิคอนดักเตอร์ 3 บริษัท เป็นชุดแรกในการลงทุนพันล้านดอลลาร์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมชิปที่ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยบริษัทหนึ่งในสามบริษัทคือ SiFive ผู้พัฒนาซีพียูสถาปัตยกรรม RISC-V

นอกจาก SiFive แล้ว อินเทลยังลงทุนในบริษัท Astera ผู้พัฒนาระบบเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับหน่วยความจำ ทำให้เร่งความเร็วงานบางประเภทเช่นงานปัญญาประดิษฐ์ และบริษัท Movellus ผู้พัฒนาระบบกระจายสัญญาณนาฬิกาในชิป ทำให้ชิปโดยรวมมีประสิทธิภาพดีขึ้น และประหยัดพลังงานลง

Tags:
Node Thumbnail

SiFive บริษัทผู้ผลิตซีพียู RISC-V ชื่อดัง เปิดเผยว่าซีพียูของตัวเองรุ่น SiFive Intelligence X280 ถูกนำไปใช้ในศูนย์ข้อมูลของกูเกิล เพื่อช่วยเร่งการประมวลผล AI/ML แล้ว

สิ่งที่กูเกิลทำคือนำ X280 ไปรันคู่กับหน่วยประมวลผล Tensor Processing Unit (TPU) ของตัวเอง เพื่อแบ่งเบาภาระงานบางอย่างออกจากหน่วยประมวลผลหลัก

ซีพียู SiFive X280 มีส่วนขยายชุดคำสั่งแบบเวกเตอร์ และรองรับการรวมรีจิสเตอร์เวกเตอร์เข้าด้วยกัน (รีจิสเตอร์ 512-bit x 32 ตัว) เพื่อให้ได้เวกเตอร์ยาวขึ้น (สูงสุดเป็น 4096 บิต) รวมถึงมีชุดคำสั่งคัสตอมสำหรับงาน AI/ML โดยเฉพาะด้วย จึงช่วยให้งานประมวลผล AI/ML มีประสิทธิภาพดีขึ้น

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศเลือกชิป RISC-V จาก Microchip สำหรับโครงการ High Performance Spaceflight Computing (HPSC) คอมพิวเตอร์สำหรับภารกิจในอวกาศรุ่นต่อไป โดยเตรียมใช้คอร์ซีพียูเป็น SiFive X280 เป็นคอร์หลัก ส่วนตัวซีพียูจะออกแบบโดย Microchip

โครงการ HPSC เคยให้ Boeing ออกแบบคอมพิวเตอร์แบบเดียวกันโดยใช้สถาปัตยกรรม Arm มาตั้งแต่ปี 2017 ในตอนนั้น Boeing เลือกใช้คอร์ Arm Cortex-A53 เป็นแกนหลัก

Tags:
Node Thumbnail

บริษัท SiFive ผู้ออกแบบซีพียู RISC-V เปิดตัวคอร์ประสิทธิภาพสูงตัวใหม่ SiFive Performance P650 อย่างเป็นทางการ หลังออกมาโชว์ตัวเลขไปรอบหนึ่งเมื่อเดือน ต.ค.

จุดเด่นของ P650 คือมีประสิทธิภาพต่อรอบคล็อคเพิ่มขึ้น 40% จาก P550 รุ่นก่อน (จากปัจจัยความกว้างของการประมวลผลคำสั่งต่อรอบ) และมีประสิทธิภาพโดยรวมเพิ่มขึ้น 50% (จากปัจจัยเพิ่มคล็อคสูงสุดขึ้นอีก) ทำให้ดันเพดานของ RISC-V ให้สูงขึ้นอีกในแง่ประสิทธิภาพ

P650 สามารถต่อกันได้สูงสุด 16 คอร์ และยังมีส่วนขยาย RISC-V hypervisor สำหรับ virtualization ด้วย

Tags:
Node Thumbnail

SiFive บริษัทออกแบบซีพียู RISC-V เผยข้อมูลกับ The Register ถึงคอร์ซีพียูรุ่นใหม่ที่ยังไม่มีชื่อ ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าคอร์ P550 ตัวที่แรงที่สุดของบริษัทในปัจจุบันอีก 50% ทำให้ประสิทธิภาพขึ้นมาใกล้เคียงกับ Arm Cortex-A78 มากขึ้นเรื่อยๆ

คอร์ซีพียูตัวใหม่ยังใช้สถาปัตยกรรมคล้าย P550 แต่เพิ่มแคช L3 จาก 4MB เป็น 16MB และเพิ่มคล็อคสูงสุดเป็น 3.5GHz จากเดิม 2.4GHz, สามารถวางต่อกันได้สูงสุด 16 คอร์, รองรับแรม DDR5 และ PCIe 5.0 โดยจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม 2021 ซึ่งต้องรอดูตัวเลขประสิทธิภาพจริงๆ กันอีกที

Tags:
Node Thumbnail

Canonical ประกาศว่า Ubuntu รองรับซีพียูสถาปัตยกรรม RISC-V ที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ โดยเริ่มจากบอร์ดของ SiFive บริษัทของทีมผู้ก่อตั้ง RISC-V

Canonical บอกว่าสถาปัตยกรรม RISC-V ที่เป็นสถาปัตยกรรมเปิด มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ จึงร่วมมือกับทีม SiFive พอร์ต Ubuntu มารันบนบอร์ดเหล่านี้ ที่ผ่านมาบอร์ด RISC-V สามารถรันลินุกซ์ได้อยู่แล้ว แต่การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ การันตีการแก้บั๊กและออกแพตช์ความปลอดภัย ถือเป็นปัจจัยสำคัญให้นักพัฒนาเลือกใช้ RISC-V ในการสร้างผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น

Tags:
Node Thumbnail

จากข่าวลือ อินเทลเสนอซื้อ SiFive บริษัทของผู้ออกแบบซีพียู RISC-V วันนี้ข่าวจริงมาแล้ว ไม่ได้เป็นการซื้อกิจการ แต่เป็น SiFive เลือกใช้บริการโรงงานผลิตชิปของอินเทลแทน

ข่าวนี้มาพร้อมกับการเปิดตัวคอร์ซีพียู RISC-V ซีรีส์ใหม่ชื่อ SiFive Performance ที่เน้นสมรรถนะสูงไปท้าชน Arm โดยคอร์ซีพียูรุ่นแรกใต้ซีรีส์นี้ชื่อ P550 ทำคะแนนเบนช์มาร์ค SPECInt 2006 ได้ 8.65 คะแนนต่อ GHz ถือเป็นคอร์ RISC-V ที่ประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน ตัวเลขของ SiFive ระบุว่าคอร์ P550 จำนวน 4 คอร์มีขนาดบนชิปเท่าๆ กับ Arm Cortex-A75 หนึ่งคอร์ โดยมีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ (performance-per-area) เหนือกว่า

Tags:
Node Thumbnail

Bloomberg รายงานข่าวว่า SiFive บริษัทผู้ผลิตชิป RISC-V กำลังได้รับข้อเสนอซื้อกิจการจากอินเทล ในราคาประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์

SiFive เป็นสตาร์ตอัพสายออกแบบซีพียูสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งในปี 2015 โดยทีมนักวิจัยจาก University of California Berkeley ซึ่งเป็นผู้คิดค้นซีพียูสถาปัตยกรรม RISC-V นั่นเอง (แกนนำคือ Krste Asanović ที่ริเริ่มโครงการ RISC-V ในปี 2010)

RISC-V (อ่านว่า ริสก์ไฟว์) เป็นสถาปัตยกรรมซีพียู (ISA) แบบเปิดให้ใครนำไปใช้ก็ได้ ตัวชุดคำสั่งเป็นโอเพนซอร์ส ส่วนเอกสารเทคนิคเป็น Creative Commons ทำให้ RISC-V ได้รับความสนใจมากขึ้นมากในยุคที่ NVIDIA ซื้อ Arm ไปแล้ว ปัจจุบันมีองค์กรไม่หวังผลกำไรคือ RISC-V International ทำหน้าที่ดูแลพัฒนาสเปกและเอกสารต่างๆ

Tags:
Node Thumbnail

SiFive ผู้ผลิตชิป RISC-V รายสำคัญออกบอร์ดพัฒนา SiFive HiFive Unmatched บอร์ดขนาด Mini-ITX พร้อมซีพียู SiFive U740 SoC ที่ภายในมีคอร์หลัก U74 จำนวน 5 คอร์และคอร์เล็ก SiFive S7 สำหรับงานเรียลไทม์อีกหนึ่งคอร์

ตัวบอร์ดออกแบบมาเป็นพีซีเต็มรูปแบบ โดยขนาดบอร์ดเป็น mini ITX และการรับไฟฟ้าใช้มาตรฐาน ATX เหมือนพีซีปกติ สามารถใส่การ์ด PCIe ขนาด 8 เลน, มีแลนกิกะบิต, หน่วยความจำ 8GB, สตอเรจ 32GB แบบ QSPI flash, ช่อง micro SD, M.2 แบบ PCIe x4 สำหรับใส่ NVMe 2280, M.2 PCIe x1 สำหรับใส่การ์ด Wi-Fi

Tags:
Node Thumbnail

โลกโอเพนซอร์สในช่วงสิบปีก่อนมักพูดกันเฉพาะซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สอย่างเดียว ในช่วงไม่กี่ปีมานี้เราเริ่มเห็นฮาร์ดแวร์โอเพนซอร์สจำนวนมากที่เปิดไฟล์ออกแบบบอร์ด แต่บอร์ด HiFive1 น่าจะเป็นบอร์ดแรกๆ ที่ใกล้เคียงการโอเพนซอร์สทั้งระบบมากที่สุด เพราะมันใช้ซีพียู SiFive E310 ซีพียู RISC-V โอเพนซอร์สไฟลออกแบบ

ตัวบอร์ด HiFive1 ใช้บอร์ดร่วมกับบอร์ด Arduino ได้ และตัวซอฟต์แวร์ก็รองรับ Arduino IDE แม้จะต้องเซ็ตอัพ SDK ของ SiFive ก่อนก็ตาม

ตัวชิป E310 ไม่มีพอร์ตอนาล็อกในตัว และไม่มีหน่วยความจำแฟลชในตัวชิป แต่บอร์ด HiFve ก็ใส่ชิปหน่วยความจำแฟลชขนาด 128 Mbit มาไว้บนตัวบอร์ดแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

SiFive ผู้พัฒนาซีพียูออกซีพียูโอเพนซอร์สสองรุ่นบนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง RISC-V ทั้งสองรุ่นได้แก่

Freedom U500 ซีพียู 64 บิตรองรับการทำงานแบบมัลติคอร์ เชื่อมต่อความเร็วสูง PCIe 3.0, USB 3.0, แลนกิกะบิต, DDR3/4 ผลิตด้วยเทคโนโลยี 28 นาโนเมตร ตัว U500 จะสามารถพัฒนาบนบอร์ด FPGA อย่าง Xilinx Vertex-7 หรือ Microsemi SF2+ ได้ ราคาบอร์ดเริ่มที่ 125 ดอลลาร์ รองรับลินุกซ์

Freedom E300 ซีพียู 32 บิตขนาดเล็กสำหรับอุปกรณ์ IoT ผลิตด้วยเทคโลยี 180 นาโนเมตร มีหน่วยความจำแฟลชและแรมในตัว การพัฒนาใช้บอร์ด Digilent Arty ราคาบอร์ด 99 ดอลลาร์ รองรับ FreeRTOS