Tags:
Node Thumbnail

Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวภายในระบุว่าไอบีเอ็มกำลังขายกิจการผลิตชิปออกไปเพราะใช้ทุนสูงและไม่ทำกำไร ขณะที่ Financial Times ระบุว่าไอบีเอ็มจ้าง Goldman Sachs ให้หาผู้ซื้อแล้ว ผู้ที่อาจจะเข้ามาซื้อ เช่น GlobalFoundries หรือ TSMC

แม้จะขายกิจการผลิตชิปออกไป แต่ไอบีเอ็มยังคงมีกิจการออกแบบชิป POWER อยู่ หากการขายครั้งนี้สำเร็จไอบีเอ็มก็จะกลายเป็นผู้ผลิตที่ไม่มีโรงงานของตัวเอง เช่นเดียวกับ AMD และ NVIDIA หรือผู้ผลิตชิป ARM จำนวนมากทุกวันนี้

Tags:
Node Thumbnail

มาตรฐาน USB Power Delivery (USB-PD) ตั้งกลุ่มทำงานมาตั้งแต่ปี 2011 สองปีผ่านไปแม้ตอนนี้มาตรฐานยังไม่สมบูรณ์แต่ Renesas ก็สาธิตอุปกรณ์ที่จ่ายไฟได้ตามมาตรฐานที่วางไว้แล้ว

มาตรฐาน USB-PD จะมีระดับการจ่ายไฟ 5 ระดับ แบ่งเป็นโปรไฟล์ตามวัตต์ที่ต้องจ่าย ได้แก่ 10, 18, 36, 60, และ 100 วัตต์ โดยต้องจ่ายไฟได้ 3 ระดับความต่างศักย์ คือ 5, 12, และ 20 โวลต์ ตัวชิปทั้งฝั่งจ่ายและรับพลังงาน จะต้องตกลงกันก่อนล่วงหน้าว่าสามารถจ่ายพลังงานได้ตามต้องการหรือไม่

Tags:
Node Thumbnail

อุตสาหกรรมไอซีมีข้อจำกัดต่อผู้เข้ามาแข่งขันรายใหม่ข้อใหญ่คือการลงทุนขั้นต้นนั้นแพงมาก การเลือกสถานที่ตั้งโรงงานจึงต้องมั่นใจกับความพร้อมของประเทศนั้นๆ อย่างมาก ข่าวล่าสุดสำหรับโรงงานใหม่ของอินเทลคือโรงงานใหม่อาจจะไปตั้งที่อิสราเอล

ข่าวนี้มีที่มาจาก Nahum Itzkovich ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการลงทุนของกระทรวงเศรษฐกิจอิสราเอล ว่าอินเทลกำลังเจรจาการลงทุนใหม่ที่มีมูลค่าถึงหมื่นล้านดอลลาร์ เท่ากับการลงทุนทั้งหมดของอินเทลในสิบปีที่ผ่านมารวมกัน

Tags:
Node Thumbnail

ชิป Cortex-A57 นั้นเป็นชิปรุ่นแรกที่เป็นสถาปัตยกรรม ARMv8 หรือ ARM รุ่น 64 บิต ก่อนหน้านี้ทาง ARM เปิดตัวชิปรุ่นนี้ว่าพร้อมผลิต แต่ก็ยังไม่มีการผลิตจริง จนกระทั่งวันนี้ ชิปล็อตแรกก็ออกมาจากโรงงานของ TSMC แล้ว

Tags:
Node Thumbnail

Fujitsu ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรของบริษัทลูก Fujitsu Semiconductor หลังประสบปัญหาทางการเงินมายาวนาน โดยแผนการของ Fujitsu มีดังนี้

  • แยกธุรกิจ LSI/SoC ออกไปรวมกับหน่วยธุรกิจ LSI ของ Panasonic ตั้งเป็นบริษัทใหม่ที่ยังไม่มีชื่อเรียก และมีเงินสนับสนุนจาก Development Bank of Japan
  • ขายโรงงานผลิตแผ่นเวเฟอร์ขนาด 300 มิลลิเมตรที่จังหวัด Mie ให้กับ TSMC ของไต้หวัน
  • ยังเก็บธุรกิจไมโครคอนโทรลเลอร์และอุปกรณ์แอนะล็อกไว้
  • โรงงานที่เหลือบางแห่งยังเก็บเอาไว้ แต่จะลดพนักงานลงประมาณ 2,000 ตำแหน่ง

ข่าวนี้คงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของบริษัทญี่ปุ่นที่เริ่มแข่งขันเรื่องการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ หากใช้ฐานการผลิตในประเทศ

Tags:
Node Thumbnail

รายงานจาก China Times ระบุว่าแอปเปิลเริ่มทดสอบผลิตชิป A6X ด้วยเทคโนโลยี 28 นาโนเมตรจากโรงงานของ TSMC แล้ว แม้ทุกวันนี้ชิปที่ใช้งานจริงจะผลิตด้วยเทคโนโลยี 32 นาโนเมตรของซัมซุงก็ตาม หลังจากเริ่มโครงการทดสอบนี้มาตั้งแต่กลางปี 2011 อย่างไรก็ดีทาง TSMC ไม่แสดงความเห็นใดๆ ต่อข่าวนี้

Tags:
Node Thumbnail

ขณะที่โลกเซมิคอนดักเตอร์กำลังพัฒนาไปข้างหน้า ประเด็นราคากลับเป็นประเด็นสำคัญที่เราต้องจับตามองกันมากกว่า ที่งาน International Electron Devices Meeting (IEDM) อินเทลออกมาให้ข่าวว่าเทคโนโลยีการผลิตใหม่ที่จะไม่ทำให้ราคาแพงเกินไป และรายงานที่ออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริง แต่ไม่ได้ระบุว่าต้นทุนจริงจะเพิ่มเท่าใด

รายงานก่อนหน้านี้ระบุเทคโนโลยี 22 นาโนเมตรจะทำให้ราคาสูงกว่าเทคโนโลยี 28 นาโนเมตรถึง 30-40% และเทคโนโลยี 14 นาโนเมตรจะทำให้ต้นทุนต่อเวเฟอร์เพิ่มไปถึง 90%

กระบวนการผลิต 22 นาโมเมตรของอินเทลจะถูกใช้งานร่วมกับเทคโนโลยี 80 นาโนเมตรในบางชั้นและ 193 นาโนเมตรในชั้นสุดท้าย

Tags:
Node Thumbnail

ที่งาน Hot Chips Symposium ปีนี้เอเอ็มดีขึ้นประกาศสถาปัตยกรรมรุ่นต่อไปของบริษัท คือ Streamroller รุ่นต่อจาก Bulldozer ที่ทำได้ไม่ดีนักในการทดสอบหลายชุด โดย Streamroller จะแก้ปัญหาหลักคือการถอดรหัส (decode) คำสั่งที่เป็นคอขวดของ Bulldozer เพราะใช้ตัวถอดรหัสร่วมกันหลายคอร์ทำให้ถอดรหัสทำได้แค่ 2 คำสั่งต่อสัญญาณนาฬิกาต่อคอร์ ขณะที่อินเทล Sandy Bridge นั้นทำได้ถึง 4 คำสั่งต่อสัญญาญนาฬิกาต่อคอร์

Tags:
Node Thumbnail

ความพยายามลดช่องว่างของเทคโนโลยีการผลิตของ ARM ให้เทียบเท่ากับผู้ผลิตรายใหญ่อย่างอินเทล ทำให้ ARM ทำงานร่วมกับโรงงานผลิตชิปเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด คือ GLOBALFOUNDRIES โรงงานที่แยกตัวออกมาจากเอเอ็มดี โดยความร่วมมือจะทำให้ ARM ออกแบบชิปพร้อมผลิตสำหรับเทคโนโลยีการผลิต 20nm และ FinFET

การประกาศนี้เป็นการยืนยันความสัมพันธ์ล่วงหน้า แต่ก่อนหน้านี้ก็มีความร่วมมือแบบเดียวกันมาก่อนแล้ว โดยชิปตระกูล Cortex-A มีการทดสอบการผลิตที่โรงงานของ GLOBALFOUNDRIES ที่เทคโนโลยี 28nm และ 20nm ได้แล้ว สำหรับความร่วมมือต่อไปคือการพัฒนาพิมพ์เขียวสำหรับชิปกราฟิกตระกูล Mali และ Cortex รุ่นต่อไป

Tags:
Node Thumbnail

ไม่ถึงเดือนหลังอินเทลประกาศลงทุนในบริษัทผลิตเครื่องจักรผลิตชิปมูลค่ากว่า 4,000 ล้านดอลลาร์ คู่แข่งอย่าง TSMC ก็ประกาศลงทุนถือหุ้น 5% และเงินช่วยเหลือการวิจัยเป็นเงิน 1,400 ล้านดอลลาร์

ASML ระบุว่าต้องการเงินลงทุนในรูปแบบนี้เพิ่มเติมอีก โดยต้องการทั้งหมดให้เป็นสัดส่วน 25% ของหุ้นทั้งหมด หากสัญญากับอินเทลผ่านไปได้ด้วยดีและอินเทลได้ถือหุ้น 15% ตอนนี้ก็ยังเหลือพื้นที่ให้บริษัทอื่นเข้าไปลงทุนแบบเดียวกันเป็นหุ้น 5%

TSMC เองก็คล้ายอินเทลที่หวังจะได้เทคโนโลยีผลิตด้วยแผ่นเวเฟอร์ 450 มิลลิเมตร และกระบวนการ EUV (extreme ultra-violet) เพื่อที่จะผลิตชิปที่กระบวนการที่ละเอียดขึ้นกว่าตอนนี้

Tags:
Node Thumbnail

ARM แถลงผลประกอบการไตรมาสสองของปีนี้ รายได้เพิ่มขึ้น 12% จากปีที่แล้วเป็น 213 ล้านดอลลาร์ เป็นกำไรก่อนภาษี 104.5 ล้านดอลลาร์หรือส่วนต่างกำไร 46.4% (รวย!) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้วถึง 23%

ในไตรมาสที่สองนี้ ARM ได้ค่าไลเซนส์ชิปมาทั้งหมด 2,000 ล้านตัว (รวมทุกชิป และชิปอุตสาหกรรมจำนวนมากเป็นรุ่นเก่าผลิตมาหลายปี) ส่วน ARMv8 นั้นกำลังได้รับความสนใจโดย Freescale ประกาศเปิดตัวชิป ARMv8 สำหรับอุปกรณ์เครือข่ายไปแล้ว และทางด้านชิปกราฟิก Mali นั้นก็มีการเซ็นสัญญาเพิ่มอีกสามราย โดยสองรายเป็นลูกค้าหน้าใหม่

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลประกาศลงทุนในบริษัท ASML Holding NV ผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับผลิตชิปสัญชาติเนเธอร์แลนด์ โดยมูลค่าการลงทุนรวมทั้งหมดประมาณ 4,100 ล้านดอลลาร์ จุดประสงค์หลักเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตชิปด้วยแผ่นเวเฟอร์ขนาด 450 มิลลิเมตร และกระบวนการ lithography ด้วยแสง extreme ultra-violet (EUV)

หากกระบวนการทั้งหมดผ่านไปได้ด้วยดี ภายใน 5 ปีข้างหน้า อินเทลจะเข้าไปถือหุ้นของ ASML ทั้งหมด 15% และจ่ายเงินลงทุนเพื่อการวิจัยไปอีก 1020 ล้านดอลลาร์

กระบวนการผลิตชิปด้วยเวเฟอร์ขนาดใหญ่ช่วยลดค่าใช้จ่ายรวมต่อชิปลง โดยการอัพเกรดกระบวนการผลิตครั้งล่าสุด อินเทลลดค่าใช้จ่ายในการผลิตชิปไปได้ 30-40% หลังการอัพเกรด คาดว่าการอัพเกรดไปเป็นเวเฟอร์ขนาด 450 มิลลิเมตรก็จะลดต้นทุนได้มากเช่นเดียวกัน

Tags:
Node Thumbnail

บริษัท Toshiba เตรียมลงทุนสร้างโรงงานผลิตอุปกรณ์กึ่งตัวนำใหม่ในประเทศไทย หลังจากโรงงานเดิมที่จังหวัดปทุมธานีโดนน้ำท่วมไปเมื่อปีที่แล้ว

โรงงานเดิมที่จังหวัดปทุมธานีนั้นสร้างเมื่อเดือนตุลาคมปี พ.ศ.2533 โดยมีพนักงานทำงานอยู่ประมาณ 1,400 คน ด้วยเงินลงทุน 1,215 ล้านบาท

แต่โรงงานแห่งใหม่ที่จะสร้างขึ้นจะย้ายไปสร้างที่ 304 อินดัสเตรียล ปาร์ค ในจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งโรงงานแห่งนี้จะใช้แทนโรงงานเดิมที่จังหวัดปทุมธานี โรงงานแห่งใหม่จะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลระหว่าง 15 ถึง 20 เมตร และอยู่ในบริเวณที่ไม่มีแม่น้ำสายหลักที่ใช้ในการระบายน้ำ

Tags:
Node Thumbnail

งาน International Solid-State Circuits Conference นั้นเป็นงานประชุมวิชาการด้านวงจรกึ่งตัวนำชั้นนำของโลก ทุกปีบริษัทขนาดใหญ่จะขนเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประชันกันอยู่เสมอ ก่อนจะถึงงานจริงๆ ทางอินเทลก็เริ่มเปิดรายละเอียดของานวิจัยใหม่ๆ ออกมา

งานที่น่าสนใจมากคือชิปรุ่นใหม่ตัวต่อจาก Claremont ที่เป็นซีพียูที่ทำงานด้วยเทคโนโลยี Near Threshold Voltage (NTV) ที่ช่วยให้ซีพียูกินพลังงานต่ำลงอย่างมาก โดยต่ำกว่า 10 มิลลิวัตต์เมื่อทำงานความเร็วต่ำสุด โดยเมื่อปีที่แล้วอินเทลเปิดเฉพาะซีพียูเท่านั้นแต่ในปีนี้ทางอินเทลจะโชว์ชิปรุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกันนี้กับทั้ง GPU, และหน่วยความจำ

Tags:
Node Thumbnail

จากเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ทำให้หลายโรงงานต้องย้ายออกไปจากประเทศไทยหรือบางโรงงานก็ย้ายไปยังจังหวัดอื่นๆ ล่าสุดมีการโพสภาพประกาศของบริษัท ซันโย เซมิคอนดักเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ว่าเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อเครื่องจักรทุกเครื่อง โดยไม่สามารถซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีดังเดิม ทำให้บริษัทกำลังจะเลิกจ้างพนักงานส่วนใหญ่ในวันที่ 25 ธันวาคมนี้ และจะมีพนักงานส่วนหนึ่งได้รับการจ้างงานต่อเพื่อดำเนินการอื่นๆ นับแต่การกู้ซากเครื่องจักร ไปจนถึงการดำเนินการอื่นๆ เพื่อหยุดการผลิต

Tags:
Node Thumbnail

เว็บ ExtremeTech อ้างแหล่งข่าวภายในของเอเอ็มดีว่าบริษัทกำลังยกเลิกชิปสองรุ่นคือ Trinity ที่จะมาแทน Llano และ Krishna ที่จะมาแทน Zacate เพื่อย้ายโรงงานผลิตไปยัง TSMC แทน ทำให้ชิปทั้งสองรุ่นน่าจะเปิดตัวล่าช้าออกไป

เหตุผลของการย้ายสาเหตุหลักคือกำลังผลิตที่จำกัดมากของ GlobalFoundries ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเอเอ็มดีเองไม่สามารถผลิตชิปได้เพียงพอต่อความต้องการของเอเอ็มดีได้ ทำให้ชิป APU ในปีนี้ซึ่งสร้างกระแสมาได้ดีกลับต้องเสียโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย ขณะที่เอเอ็มดีเองก็มีความเชื่อมโยงกับ GlobalFoundries น้อยลงเรื่อยๆ โดยถือหุ้นอยู่เพียงร้อยละ 9.6 และ CEO ที่เป็นลูกหม้อเก่าของเอเอ็มดีนั้นก็เพิ่งจะถูกเปลี่ยนตัวออกไป

Tags:
Node Thumbnail

ช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงงาน IDF 2011 อินเทลยังคงมีของมาโชว์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เทคโนโลยีตัวแรกคือซีพียูตัวใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี Near Threshold Voltage (NTV) โดยมีชื่อรหัสว่า Claremont เป็นชิปสาธิตการทำงานของซีพียูที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษให้ทำงานที่ใกล้กับความต่างศักย์เริ่มเปลี่ยน (Threshold Voltage - ค่าความต่างศักย์ที่เริ่มทำให้ทรานซิสเตอร์เปลี่ยนสถานะ) โดย Claremont จะทำงานที่ความต่างศักย์ประมาณ 400-500 มิลลิโวลต์เท่านั้น ขณะที่ซีพียูทั่วไปทุกวันนี้จะทำงานประมาณ 1 โวลต์ขึ้นไป

No Description

Tags:
Node Thumbnail

เจ้าพ่อแห่งชิปสื่อสาร Broadcom ประกาศเข้าซื้อกิจการบริษัท NetLogic Microsystems Inc. ซึ่งทำชิปด้านเครือข่าย คิดเป็นมูลค่า 3.7 พันล้านดอลลาร์

ชื่อของ NetLogic ไม่คุ้นหูคนทั่วไปเท่าไรนัก แต่บริษัทก็อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ผลงานหลักคือหน่วยประมวลผลสำหรับอุปกรณ์เครือข่ายหลายชนิด, หน่วยประมวลผลสำหรับอุปกรณ์ฝังตัว, อุปกรณ์ด้านไฟเบอร์ออปติกส์ เป็นต้น การซื้อกิจการครั้งนี้ชัดเจนว่าเป็นการเสริมทัพผลิตภัณฑ์ของ Broadcom นั่นเอง

ผู้ถือหุ้นของ NetLogic จะได้รับเงินหุ้นละ 50 ดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าราคาปิดตลาด 57% คาดว่าการควบกิจการจะเสร็จสมบูรณ์ในครึ่งแรกของปี 2012

Tags:
Node Thumbnail

หนังสือพิมพ์ China Econimic News รายงานอ้างแหล่งข่าวภายในว่า TSMC กำลังเริ่มสายการผลิตชิป Apple A6 รุ่นทดสอบด้วยเทคโนโลยี 28 นาโนเมตรและ 3D stacking โดยระบุว่าที่จริงแล้ว TSMC มีเทคโนโลยีที่เหมาะจะผลิตชิปสำหรับแอปเปิลแต่ที่ผ่านมาแอปเปิลเลือกใช้ซัมซุงเพราะฝั่ง TSMC นั้นกำลังผลิตเต็มตลอดเวลาเพราะมีคำสั่งผลิตจาก NVIDIA และ Qualcomm อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่วิกฤติเศรษฐกิจในตอนนี้ทำให้ยอดสั่งซื้อไปยัง TSMC ลดลงอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีช่องว่างให้กับแอปเปิล

Tags:
Node Thumbnail

แม้จะฟ้องร้องกันนุงนังแต่แอปเปิลกับซัมซุงนั้นก็ยังมีฐานนะเป็นคู่ค้ารายใหญ่ต่อกันมายาวนาน โดยเฉพาะหัวใจหลักอย่างซีพียู Apple A4, และ A5 นั้นก็ล้วนผลิตจากโรงงานของซัมซุงทั้งสิ้น แต่พอคดีมาถึงจุดแตกหักเช่นนี้ Dan Heyler นักวิเคราะห์จากบริษัท Merrill Lynch ก็ออกมาคาดการณ์ว่าแอปเปิลน่าจะเปลี่ยนโรงงานผลิตชิปรุ่นต่อไปอย่าง Apple A6 เป็นโรงงานของ TSMC แทน

TSMC นั้นมีเทคโนโลยีการผลิตที่ 28 นาโนเมตรนับว่าก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก การใช้ชิปที่กระบวนการผลิตที่เล็กลงนี้จะทำให้ชิปรุ่นต่อไปของแอปเปิลประหยัดพลังงานกว่าคู่แข่งไปอีกก้าว โดย TSMC นั้นมีข่าวว่าทำงานร่วมกับแอปเปิลมาระยะหนึ่งแล้วแม้จะยังไม่มีรายละเอียดออกมา

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลประกาศก่อสร้างโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ในชื่อว่า Fab 42 เป็นโรงงานแห่งที่ 11 ของอินเทลในรัฐแอริโซนา คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวมมากกว่า 5 พันล้านดอลลาร์ และสร้างงานให้นับพันตำแหน่ง

โรงงานแห่งใหม่นี้จะรองรับกระบวนการผลิตแบบ 14 นาโนเมตรซึ่งจะทำให้อินเทลกลับไปเป็นผู้นำในแง่ของกระบวนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์อีกครั้ง หลังจากที่บริษัทฝั่งเอเชียเช่น TSMC กำลังพยายามไล่เข้ามาด้วยกระบวนการผลิต 28 นาโนเมตรที่เริ่มผลิตได้ตั้งแต่ปี 2010 ที่ผ่านมา แต่ในแง่ของกำลังการผลิตนั้น ขนาดเวเฟอร์ของ Fab 42 ยังคงเป็นแบบ 300มม. ซึ่งก็ตรงตามที่บริษัทเคยประกาศข่าวไว้ว่าการอัพเกรดไปใช้เวเฟอร์ขนาด 450มม. นั้นแพงเกินไปและต้องรอไปถึงปี 2018

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลเตรียมลงทุน 6-8 พันล้านดอลลาร์เพื่อสร้างโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ในรัฐโอเรกอน โดยโรงงานแห่งนี้จะเป็นโรงงานแรกที่เตรียมพร้อมสำหรับการผลิตเวเฟอร์ขนาด 450 มิลลิเมตร

อย่างไรก็ตามอินเทลระบุว่ายังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนไปผลิตเวเฟอร์ขนาด 450 มิลลิเมตรในทันทีเพราะค่าใช้จ่ายจะสูงมาก โดยคาดว่าการผลิตจะเริ่มได้อย่างเร็วในปี 2018

ทุกวันนี้เวเฟอร์ขนาดใหญ่ที่สุดที่อยู่ในกระบวนการผลิตอยู่ที่ 300 มิลลิเมตร การเพิ่มขนาดเวเฟอร์จะทำให้การผลิตแต่ละครั้งได้ชิปจำนวนมากขึ้น สัดส่วนพื้นที่เหลือทิ้งว่างตามขอบเวเฟอร์จะน้อยลง แต่ค่าใช้จ่ายในการอัพเกรดกระบวนการผลิตจะสูงมาก โดยตอนนี้ผู้ผลิตที่เตรียมอัพเกรดไปใช้กระบวนการผลิต 450 มิลลิเมตรได้แก่ TSMC, ซัมซุง, และอินเทล

Tags:
Node Thumbnail

แม้ว่าอินเทลจะเป็นบริษัทที่ผลิตไอซีได้บริษัทแรกในโลก และยังเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีเทคโนโลยีการผลิตชิปที่ก้าวหน้าที่สุด แต่โรงงานผลิตชิป (เรียกกันว่า Fab) ของอินเทลนั้นใช้สำหรับผลิตชิปที่ออกแบบโดยอินเทลเพียงอย่างเดียวจนกระทั่งวันนี้ที่ทางบริษัท Achronix ได้ประกาศว่าจะผลิตชิป FPGA รุ่นใหม่ผ่านทางเทคโนโลยี 22 นาโนเมตรของอินเทล

ชิปรุ่นที่จะผลิตใหม่นี้คือ Achronix Speedster22i ที่มีขนาดเทียบเท่ากับชิป ASIC 22 ล้านเกต

Tags:
Node Thumbnail

ผู้ใช้ทั่วๆ ไปอาจจะไม่รู้กันว่าผู้ผลิตชิปที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เราใช้กันอยู่ไม่ว่าจะเป็นนั้นมาจากผู้ผลิตรายเดียวกันที่ชื่อว่า TSMC โดยมีลูกค้าสำคัญๆ เช่น ATI, NVIDIA, Broadcom, หรือ VIA

การประกาศผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของ TSMC นั้นค่อนข้างน่าประทับใจมาก ด้วยรายได้รวม 2.86 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณหนึ่งแสนล้านบาทไทย เป็นกำไรสุทธิไป 930 ล้านดอลลาร์

รายได้ร้อยละ 63 ของ TSMC ยังมาจากการผลิตชิปที่เทคโนโลยี 130 นาโนเมตรหรือต่ำกว่านั้น ร้อยละ 28 มาจากเทคโนโลยี 90 นาโนเมตร และร้อยละ 18 มาจากเทคโนโลยี 65 นาโนเมตร

ที่มา - ArsTechnica

Pages