เคยมีคนถามไปยังโครงการ OCW ของ MIT ว่าทำไมไม่เปิดให้ดาวน์โหลดวีดีโอเยอะๆ เพราะค่อนข้างมีประโยชน์ ทาง MIT ระบุว่าเป็นเพราะค่าใช้จ่ายในการอัพโหลดวีดีโอขึ้นเว็บนั้นแพงมาก
Berkeley ใช้ Google Video แทนน่าจะลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ไปได้เยอะ ส่วนกูเกิลเองนั้นก็คอนเทนต์เจ๋งๆ ไปเพียบ...
เบื่อกับนโยบายของ THNIC จะมีสักกี่หน่วยงานที่ขอจดโดเมนเนมเป็น xx.th อะไรมันจะวุ่นวายขนาดนัก ในเงื่อนไขข้อตกลงที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ก็ไม่ยักจะมีบอกว่า ชื่อโดเมน จะต้องสอดคล้องต้องกันกับ ชื่อหน่วยงาน ผมนะเห็นใจคนทำงาน แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการที่เอานโยบายมาบังคับแบบตัวอักษร ต่อตัวอักษรอย่างงี้
แหะๆ พึ่งเห็นก็วันนี้แหละ ไม่รู้ว่ามีมานานหรือยัง เลยขอลองใช้ซักหน่อย แต่คงไม่ได้ใช้อย่างเป็นทางการหละคร๊าบ (ก็มีบล๊อกส่วนตัวอยู่แล้วนี่นา) แต่ว่ารู้สึกบล๊อกจะเีรียบๆ แฮะ ไม่ค่อยมีอะไร และก็สงสัยจังพอโพสท์แล้วจะไปอยู่ที่ไหนอ่ะ?? *-* รอดูตอน submit ละกัน
คำถามหนึ่งที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่สามารถตอบได้ตลอดมา คือข้อสงสัยที่ว่าไลเซนส์แบบโอเพนซอร์สนั้นมีสภาพบังคับใช้จริงเพียงใด เนื่องจากยังไม่เคยมีคดีที่กฏหมายบังคับใช้จริงเลย
แต่จากนี้ไป อย่างน้อยๆ ในประเทศเยอรมนี ไลเซนส์แบบ GPL ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลบังคับใช้จริง เมื่อแฮกเกอร์คนหนึ่งชื่อ Harald Welte ได้ติดตามการละเมิด GPL แล้วพบว่าทางบริษัท D-Link นั้นได้ละเมิดไลเซนส์แบบ GPL เป็นจำนวนหลายรายการ
การละเมิด GPL ของ D-Link นั้นเกิดจากการที่ทาง D-Link นั้นไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ของบริษัทนั้นเป็นซอฟต์แวร์ GPL อีกทั้งไม่ได้ให้หนทางเข้าถึงซอร์สโค้ดไว้อย่างชัดเจน
โจทย์คณิตศาสตร์เจ็ดข้อที่มีการตั้งรางวัลให้กับผู้ที่สามารถแก้ปัญหาได้เป็นคนแรก รางวัลทั้งหมดมาจาก Clay Mathematics Institute (CMI) ก่อตั้งโดยนักธุรกิจ London T. Clay และนักคณิตศาสตร์ Arthur Jaffe
โจทย์ทั้ง 7 ข้อที่ได้รับการยอมรับว่ามีผลต่อวงการคณิตศาสตร์สูงและมีการตั้งรางวัลได้แก่
ข้อที่น่าสนใจที่สุดสำหรับวงการคอมพิวเตอร์อาจจะเป็น P versus NP ที่ถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในเจ็ดข้อนี้อีกด้วย
หลังจากพยายามเหนี่ยวนำให้สมาิชิกโพสบทความเป็นครั้งแรกในฟอรั่มก่อนที่จะขึ้ันหน้าแรก ผมพบว่าความพยายามนั้นค่อนข้างจะไม่ได้ผล อาจจะเป็นเพราะความไม่สะดวกอะไรหลายๆ อย่าง
อีกเรื่องหนี่งคือ Blognone ยังมีความเป็นผมกับมาร์คมากจนเกินไป ตรงนี้ยังขัดใจผมตลอดมาเพราะผมเองเชื่อว่า Blognone ควรเติบโตไปในทางที่มีร่วมมือกันเป็นปริมาณสูง ที่ผมเชื่อคือคนที่มาแบ่งปันกันใน Blognone ควรได้ผลตอบแทนในส่วนที่เขาทำตามสมควร ชื่อเสียงทั้งหมดไม่ควรตกมาอยู่กับคนดูแลเว็บเพียงเท่านั้น
โครงการ Blog@Blognone จะเป็นแนวทางใหม่ในการทำระบบ "หลังบ้าน" ของ Blognone ด้วยการเปิดโอกาสให้สมาิชิกจำนวนมาก เขียนเรื่องราวต่างๆ โดยมีกติิกาที่ "หลวม" กว่าหน้าบ้านมากๆ โดยไม่มีการ Moderate แต่อย่างใด
เราอาจจะกำลังได้เห็นการแตกแยกครั้งใหญ่ที่สุดของโลกโอเพนซอร์ส เมื่อกลุ่มนักพัฒนาลินุกซ์ได้รวมตัวกันออกเอกสารแสดงจุดยืนของตนกับ GPLv3 ขึ้นมา โดยเอกสารนี้แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน
จุดสำคัญที่ทางกลุ่มนักพัฒนาลินุกซ์ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยนั้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาใน GPLv3 ทั้งหมด ตั้งแต่เรื่องของ DRM, เงื่อนไขความเข้ากันได้กับไลเซนส์แบบอื่นๆ ไปจนถึงเรื่องของสิทธิบัตร