ศาลฝรั่งเศสตัดสินคดีฟ้องร้อง ให้บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ Orange แพ้คดีละเมิดการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใช้ไลเซนส์แบบ GPL
ซอฟต์แวร์ตัวนี้คือ Lasso เป็นไลบรารีภาษา C ด้านความปลอดภัย ใช้จัดการโปรโตคอลยืนยันตัวตน Security Assertion Markup Language (SAML) สำหรับทำ single sign-on โดยผู้พัฒนาคือบริษัท Entr'ouvert ของฝรั่งเศส ตัวซอฟต์แวร์มีไลเซนส์ 2 แบบคือ GPL สำหรับการใช้งานทั่วไป แต่ถ้าต้องการนำไปใช้เชิงพาณิชย์ต้องซื้อไลเซนส์จาก Entr'ouvert
Annette Hurst ทนายในสำนักงานทนายความที่ว่าความให้ออราเคิลในคดี API จาวาเขียนบทความแสดงความเห็นลงใน Ars Technica ระบุว่าการที่กูเกิลชนะคดีนี้จะแสดงว่าสัญญาอนุญาต GPL บังคับใช้ไม่ได้จริง
ความเห็นของ Hurst ระบุว่าการที่ออราเคิลไม่สามารถควบคุมการใช้งาน API ของตัวเองได้ เป็นอันตรายต่อการเปิดซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไปพร้อมๆ กับการขายซอฟต์แวร์แบบปิดซอร์ส (dual licensing) เพราะโค้ดอาจจะถูกนำไปใช้งานอย่างอื่น และผู้ผลิตอาจจะเลิกขายซอฟต์แวร์ แต่ให้บริการออนไลน์แทนเพื่อรักษาทรัพย์สินทางปัญญาของตัวเอง ลูกค้าจะมีทางเลือกในการซื้อซอฟต์แวร์มาใช้งานได้น้อยลง
Christoph Hellwig นักพัฒนาลินุกซ์ประกาศฟ้อง VMware จากการใช้โค้ดของลินุกซ์เข้าไปรวมไว้กับ vmkernel แต่ไม่ได้ส่งมอบซอร์สโค้ดของโครงการทั้งหมดออกมา หลังจากกล่าวหา VMware ว่าละเมิดซอร์สโค้ดของลินุกซ์มาตั้งแต่ปี 2006 และร่วมมือกับ Software Freedom Conservancy (SFC) เรียกร้องให้ VMware เปิดซอร์สโค้ดออกมา
ทาง SFC ระบุว่า VMware แจ้งกลับมาว่าจะไม่เปิดซอร์สโค้ดออกมา ทาง SFC จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากสนับสนุนให้ Hellwig ฟ้องร้อง VMware
ฝั่ง VMware ระบุว่าถูกกล่าวหาโดยไม่มีมูล และเตรียมพร้อมจะเปิดเผยข้อมูลในศาล โดยบริษัททำงานร่วมกับชุมชนโอเพนซอร์สมานานและได้พยายามทำให้แน่ใจว่าทำตามข้อตกลงการใช้งานของโอเพนซอร์ส
จาก MySQL อาจไม่ใช่ซอฟต์แวร์เสรีอีกต่อไป นั้น มีนักพัฒนารายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า "Norvald Ryeng" ได้รายงานข้อผิดพลาด (bug) นี้ลงใน MySQL Bugs โดยอยู่ในหัวข้อ MySQL Bugs: #69512: Wrong license in man pages in Community Server
โดยสรุปได้ว่า "ในหน้าสัญญาอนุญาตดังกล่าวนั้นเป็นการดึง copyright header ที่ผิดพลาดมาจากชุดอื่นที่ไม่ใช่ GPL packages ในระบบสร้างเอกสารหน้านั้นๆ" ทำให้ต้องทำการแก้ไขในรุ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งสุดท้ายข้อผิดพลาดนี้จะถูกแก้ไขใน MySQL 5.1.70, 5.5.32, 5.6.12 และ 5.7.1-m11 ตามลำดับ
มีคนไปพบว่าหน้าเพจที่อธิบายเกี่ยวกับเงื่อนไขข้อตกลงการใช้งาน MySQL จากเวอร์ชัน 5.5.30 ไป 5.5.31 ถูกเปลี่ยนแปลงในส่วนเงื่อนไขข้อตกลงใบอนุญาตการใช้งาน โดยมิได้มีการประกาศแจ้งไปยังผู้ใช้งานล่วงหน้า
จากข้อความเดิม
This documentation is free software; you can redistribute it and/or modify it only under the terms of the GNU General Public License as published by the Free Software Foundation; version 2 of the License.
ไปเป็น
เพียงหนึ่งเดือนหลังบริษัท Citrix เข้าซื้อบริษัท Cloud.com เจ้าของซอฟต์แวร์บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานกลุ่มเมฆ CloudStack เจ้าของใหม่ก็ประกาศโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ชุด CloudStack ทั้งหมดแล้ว
"สัญญาอนุญาต" หรือ license หมายถึงข้อกำหนดที่บอกว่าเราทำอะไรกับซอฟต์แวร์ (รวมถึงงานสร้างสรรค์อื่นๆ) ได้บ้าง
ในโลกของซอฟต์แวร์เสรี/โอเพนซอร์สก็มีสัญญาอนุญาตมาตรฐาน (เป็นแพ็กเกจสำเร็จรูป) ให้เลือกใช้ได้หลายชนิด ตามแต่ความต้องการของนักพัฒนาที่ต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการมีสัญญาอนุญาตจำนวนมากทำให้นักพัฒนาหน้าใหม่อาจจะงงว่าควรเลือกแบบไหนอย่างไรดี
Free Software Foundation (FSF) ในฐานะผู้ดูแลสัญญาอนุญาตยอดนิยมหลายตัว ได้ออกเอกสารแนะนำนักพัฒนาว่าควรเลือกใช้สัญญาอนุญาตแบบไหนบ้าง
บริษัทที่ให้บริการด้านโอเพนซอร์ส OpenLogic ได้สแกนไบนารีของแอพบน iPhone App Store และ Android Market จำนวน 635 ตัว และพบโค้ดที่เป็นโอเพนซอร์สจำนวนมาก
จุดสำคัญคือ 71% ของแอพที่มีโค้ดโอเพนซอร์ส ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตของโค้ดต้นฉบับ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็น GPL/LGPL และ Apache License เงื่อนไขที่ผิดกันมากมี 4 แบบ ได้แก่
มีนักพัฒนารายหนึ่งที่สนใจที่จะพอร์ตซอฟต์แวร์ที่รันบนซิมเบียนไปวินโดวน์โฟน 7 ได้ไปศึกษารายละเอียด Microsoft Application Provider Agreement และได้ตั้งข้อสังเกตที่ข้อที่ 5 ข้อย่อย E ที่กล่าวว่า
e. The Application must not include software, documentation, or other materials that, in whole or in part, are governed by or subject to an Excluded License, or that would otherwise cause the Application to be subject to the terms of an Excluded License.
หลังจากที่โครงการ VideoLAN ได้ยื่นหนังสือต่อแอปเปิลให้ถอด VLC for iPad/iPhone ออกจาก App Store เนื่องจากผิดเงื่อนไข GPL เมื่อราวสองเดือนที่แล้ว (ข่าวเก่า) วันนี้ข้อเรียกร้องก็เป็นผลเมื่อ VLC ได้หายไปจาก App Store เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตามการการถอด VLC ออกนี้ไม่มีผลต่อผู้ที่ดาวน์โหลดไปแล้วก่อนหน้า ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ดาวน์โหลดในจุดนี้ก็คงต้องพึ่งบริการจาก Cydia ด้วยความจำยอมต่อไป
ที่มา: macstories
ผู้ที่ใช้ VLC for iPad และ VLC for iPhone อาจต้องฝันสลาย เพราะโครงการ VideoLAN ผู้พัฒนา VLC ต้นฉบับ ได้ยื่นหนังสือไปยังแอปเปิลให้ถอด VLC for iPad/iPhone ออก เนื่องจากละเมิดเงื่อนไข GPL ของโค้ดต้นฉบับ
VLC รุ่นมาตรฐานใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL แต่เมื่อเป็น VLC for iPad/iPhone ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Applidium (นำโค้ดเดิมมาพัฒนาต่อ) ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไข iTunes Terms and Conditions ที่ระบุไม่ให้ติดตั้งโปรแกรมเกิน 5 เครื่อง ซึ่งถือเป็นการทำ DRM
หลังจากที่มี วิวาทะชาว WordPress: ธีมควรเป็น GPL หรือไม่? ก็มีบทวิเคราะห์นี้เกิดขึ้นว่า Theme นั้นคือการนำโค้ดบางส่วนจาก WordPress มาใช้ (Themes are Derivative of WordPress) ดังนั้นโค้ดทั้งหลายในธีมต้องเป็น GPL ด้วย
เพราะ GPL คือสัญญาอนุญาตที่ระบุว่า คุณมี "อิสรภาพ" ที่จะแก้ไขดัดแปลงแจกจ่าย ฯลฯ แต่ "ต้องให้งานนั้นเป็น GPL เหมือนกัน"
แน่นอนว่ามีความสับสนกันพอสมควรระหว่าง "อิสรภาพ (Freedom)" กับ "ของฟรี (Free lunch)" ในตอนท้ายบทความ คุณมาร์คผู้เขียนเลยอธิบายว่า งั้นควรทำธีมที่เป็น GPL ขายอย่างไร? บทความนี้ได้อ้างอิงด้วยว่า Drupal และ Joomla! ต่างก็บังคับให้ธีมเป็น GPL เช่นกัน
วิวาทะต่อเนื่องได้อีก!
วงการ WordPress มีประเด็นใหญ่ให้ถกเถียงกันอีกครั้ง เมื่อ Matt Mullenweg ผู้สร้าง WordPress แสดงความเห็นผ่านวิดีโอว่า ธีมของ WordPress ควรใช้สัญญาอนุญาต GPL แบบเดียวกับตัว WordPress เอง (โดยเขาอ้างอิงความเห็นจาก Software Freedom Law Center ทีมกฎหมายที่เชี่ยวชาญด้านโอเพนซอร์สมากเป็นอันดับต้นๆ) และกล่าวว่านักพัฒนาธีมที่ไม่ยอมปล่อยโค้ดออกมาเป็น GPL นั้น "ชั่วร้าย" (evil)
เมื่อปี 2007 เคยมีข่าวว่า บริษัท Monsoon โดนฟ้องข้อหาละเมิด GPL ของซอร์สโค้ด BusyBox เนื่องจากเอา BusyBox ไปใช้ในอุปกรณ์ของตัวเอง แต่ไม่ยอมปล่อยซอร์สโค้ดออกมาตามเงื่อนไขของ GPL (BusyBox คือซอฟต์แวร์ที่รวมคำสั่งและเครื่องมือที่ใช้บ่อยของ UNIX สำหรับอุปกรณ์ฝังตัว)
หลังจากนั้นก็มีบริษัทโดนฟ้องด้วยข้อหานี้อีกเรื่อยๆ (ทั้ง Cisco และ Verizon โดนกันมาหมดแล้ว) ล่าสุดโดนกัน 14 บริษัทซึ่งมีบริษัทใหญ่ๆ อย่าง Best Buy, Samsung, JVC โดยอุปกรณ์ที่โดนฟ้องก็มีตั้งแต่ HDTV ของ Samsung หรือเครื่องเล่น Blu-ray ของ Best Buy
จากข่าวเก่า ไมโครซอฟท์ปลด Windows 7 USB/DVD Download Tool ออกเนื่องจากอาจละเมิด GPL! ตอนนี้ไมโครซอฟท์ออกมายอมรับแล้วว่า Windows 7 USB/DVD Download Tool (ตัวย่อคือ WUDT) นั้นมีโค้ดที่เป็น GPL อยู่จริง โดยไมโครซอฟท์บอกว่าเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะไมโครซอฟท์จ้างบริษัทภายนอกพัฒนาโปรแกรมนี้
อย่างไรก็ตาม ไมโครซอฟท์ก็ประกาศว่าจะเปิดซอร์สของ WUDT ตามเงื่อนไขของ GPL ในสัปดาห์หน้า และได้ตรวจสอบโค้ดของโปรแกรมต่างๆ บน Microsoft Store อย่างละเอียด พบว่ามีโปรแกรม WUDT เพียงโปรแกรมเดียวที่เข้าข่ายละเมิด GPL
ไมโครซอฟท์ปลด Windows 7 USB/DVD Download Tool (WUDT) เครื่องมือช่วยให้ผู้ที่ซื้อวินโดวส์ 7 จากเว็บไซต์ Microsoft Store สามารถสร้างแผ่นดีวีดีหรือคัดลอกไฟล์ลงธัมป์ไดร์ฟเพื่อใช้ในการติดตั้งได้ เนื่องจากถูกระบุว่าอาจละเมิดอนุสัญญา General Public License (GPL)
โดยผู้ที่เปิดเผยคือเว็บไซต์ Within Windows ซึ่งพบว่าโค้ดโปรแกรมดังกล่าวอาจมาจาก CodePlex ชื่อโปรเจค ImageMaster ที่อยู่ภายใต้อนุสัญญา GPLv2 ทาง Within Windows ได้ระบุว่าไมโครซอฟท์เข้าข่ายที่จะละเมิด GPLv2 ด้วยเหตุผลสองประการ คือ
"พรรคโจรสลัด" หรือ Pirate Party ที่เริ่มโด่งดังจนได้เก้าอี้ในรัฐสภายุโรป กำลังเริ่มดำเนินการนโยบายหนึ่งที่เคยหาเสียงไว้ นั่นคือการปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญา และข้อเสนอจากพรรคโจรสลัดคือลดระยะเวลาคุ้มครองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้สร้างลง จากเดิมที่ขั้นต่ำ 25-50 ปี (ขึ้นกับประเภทของงานและประเทศ) ลงมาเหลือ 5 ปี
ในมุมมองของผู้นิยมเสรีภาพของข้อมูลข่าวสาร ข้อเสนอของพรรคโจรสลัดก็น่าจะดี อย่างไรก็ตามพรรคโจรสลัดกลับโดนคัดค้านโดย Richard Stallman หรือ RMS แห่ง Free Software Foundation ผู้เสนอแนวคิดซอฟต์แวร์เสรีและ GPL
หลังจากฟ้องกันมาครึ่งปี ทางซิสโก้ก็ได้ตกลงนอกศาลกับ Free Software Foundation (FSF) ที่จะเปิดเผยซอร์สโค้ดทั้งหมดตามที่ถูกเรียกร้อง พร้อมกับสนับสนุนทางการเงินอีกจำนวนหนึ่ง
ทาง FSF นั้นระบุว่ายินดีกับการร่วมมือของซิสโก้ในครั้งนี้ แต่อย่างไรก็ตามทาง FSF จะดำเนินการตรวจสอบซิสโก้ต่อไป
ยังไม่มีการยืนยันรายชื่อที่แน่ชัดว่าสินค้าตัวไหนบ้างที่จะมีการเปิดเผยซอร์สโค้ดออกมา แต่สินค้าในตระกูล LinkSys จำนวนมากนั้นใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่เป็น GPL
ที่มา - FSF
บริษัท Trolltech จากนอร์เวย์ ผู้พัฒนา Qt toolkit ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าใช้ใน KDE (แต่นอกนั้นยังมี Opera, Skype และ Google Earth) ประกาศว่า Qt ใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPLv3 แล้ว
อย่างไรก็ตาม สัญญาอนุญาตเดิมของ Qt ซึ่งมีทั้ง Qt license และ GPLv2 ก็ยังใช้ได้อยู่ โดยผู้ใช้มีสิทธิ์เลือกได้ตามต้องการ
Richard Stallman แสดงความยินดีกับการตัดสินใจครั้งนี้ และแสดงความเห็นว่านี่เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการปรับ KDE ไปใช้ GPLv3 ด้วยในอนาคต
ที่มา - Trolltech
ขณะที่เครื่อง Eee PC ของ Asus ได้รับความสนใจเป็นอย่างสูงในช่วงหลัง ตอนนี้ก็เริ่มมีข่าวถึงการละเมิดสัญญาอนุญาตแบบ GPL กันหนาหูขึ้นเรื่อยๆ โดยประเด็นหลักที่สร้างปัญหานั้นคือการที่ Asus ได้เข้าไปแก้ไขเคอร์เนลของลินุกซ์ โดยมีการเพิ่มเติมอินเทอร์เฟชที่ชื่อว่า asus_acpi เข้าไปในตัวเคอร์เนล
ทาง Asus มีการแจกไฟล์ขนาด 1.8 กิกะไบต์บนเว็บของตัวเองโดยอ้างว่านั่นคือซอร์สโค้ดของลินุกซ์ในเครื่อง Eee PC แต่ผู้ที่โหลดมาก็พบว่ามันเป็นเพียงไฟล์ deb ที่บีบอัดรวมกัน อีกทั้งเป็นคนละเวอร์ชั่นกับที่ใช้งานในเครื่อง Eee PC อีกด้วย
Eee PC ใช้งานลินุกซ์ Xandros รุ่นพิเศษโดยก่อนหน้านี้กรณีของ Xandros ก็มีข้อถกเถียงกันมาก่อนในประเด็นที่ไปเซ็นสัญญาสิทธิบัตรกับไมโครซอฟท์มาก่อนแล้ว
ในปัจจุบัน สัญญาอนุญาตแบบ GNU GPL ใช้กันอย่างแพร่หลายในซอฟท์แวร์ต่างๆ มากมาย ทั้งในฝั่งเซิฟเวอร์หรือฝั่งผู้ใช้ทั่วไป ถ้าหากมีการแก้ไขซอร์สโค้ดนั้นเพื่อแจกจ่าย จำเป็นต้องเปิดเผยซอร์สโค้ดที่แก้ไขนั้นๆ แต่ในสัญญาอนุญาต GNU GPL นั้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงการแก้ไขซอร์สโค้ดและเปิดเป็นบริการให้แก่ผู้ใช้ โดยไม่มีการแจกจ่ายตัวซอฟท์แวร์
ถ้าใครติดตามข่าว GPL ที่ Blognone เสนอมาตลอด คงรู้ว่า GPLv3 ได้รับเสียงตอบรับไม่ดีนัก ปัจจุบันยังมีโครงการโอเพนซอร์สใหญ่ๆ แค่ 2-3 แห่งที่ประกาศตัวว่าจะใช้ GPLv3 (เช่น Samba เป็นต้น) ในขณะที่บางโครงการถึงกับต่อต้าน (เช่น ท่าทีของ Linus) แต่ส่วนมากมักยังรอดูท่าที และพอใจกับ GPLv2 ที่ใช้อยู่ปัจจุบันมากกว่า
ทุกคนคงคุ้นเคยกับสัญญาอนุญาต GPL กันดี เพราะใช้ในซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สเต็มไปหมด แต่ปัญหาใหญ่ของ GPL นั้นก็คือยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางด้านกฎหมายอย่างแพร่หลาย (ถึงแม้จะพิสูจน์ได้แล้วในเยอรมนี) ตอนนี้ถึงตาของสหรัฐฯ เสียที
การยื่นฟ้องครั้งนี้เกิดขึ้นโดย Software Freedom Law Center เป็นผู้ฟ้องแก่ Monsoon Multimedia เพราะมีการตรวจพบการใช้งาน BusyBox ภายในตัวสินค้าของทาง Monsoon แต่ไม่ได้ทำการเผยแพร่ซอร์สโค้ดแต่อย่างใด