openSUSE เปิดตัวซอฟต์แวร์ GUI จัดการแพ็กเกจตัวใหม่ชื่อ YQPkg เขียนด้วย Qt เพื่อเป็นทางเลือกใหม่แทน YaST ของเดิมที่มีความซับซ้อนสูง
จุดเด่นของ YQPkg คือเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งหมดโดยไม่ต้องพึ่งพาส่วนประกอบใดๆ ของ YaST เลย ตัวมันขี่อยู่บน libzypp ที่ใช้จัดการแพ็กเกจแบบคอมมานด์ไลน์
สถานะของ YQPkg ยังเป็นอัลฟ่า และยังขาดฟีเจอร์หลายอย่าง เช่น การจัดการคีย์ GPG แต่ในอนาคตก็ดูมีศักยภาพ ที่จะนำมาใช้แทน YaST ซึ่งถือเป็นแอพครอบจักรวาลในโลกของ SUSE และตอนนี้โครงการ SUSE เองกำลังเขียนหลายๆ ส่วนมาแทน YaST อยู่
Mozilla เปลี่ยนวิธีบีบอัดไฟล์ติดตั้ง Firefox บนลินุกซ์ จากเดิมใช้ .tar.bz2 มาเป็น .tar.xz เพื่อขนาดที่เล็กลงถึง 25%
xz เป็นซอฟต์แวร์บีบอัดที่ใช้อัลกอริทึม LZMA ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า gz หรือ bz2 ทั้งในแง่ขนาดไฟล์หลังบีบอัด และความเร็วในการคลายไฟล์ ช่วงหลังๆ ลินุกซ์ดิสโทรต่างๆ ล้วนแต่รองรับ xz หมดแล้ว ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ในการใช้งาน
Mozilla บอกว่าเลือกระหว่าง xz กับ Zstandard (.zst) ที่มีความเร็วการคลายไฟล์สูงกว่าเล็กน้อย แต่สุดท้ายเลือก xz เพราะบีบอัดได้มากกว่า ช่วยประหยัดพื้นที่และแบนด์วิดท์ รวมถึงมีดิสโทรที่รองรับมากกว่าด้วย
Valve อัพเกรดความสามารถให้ Proton ซอฟต์แวร์ compatibility layer สำหรับเล่นเกมวินโดวส์บนลินุกซ์ ซึ่งใช้งานทั้งบน Steam for Linux และ Steam Deck
ฟีเจอร์ใหม่คือรองรับเทคโนโลยีฝั่ง NVIDIA อย่าง DLSS 3 Frame Generation และ NVIDIA Optical Flow API ที่ใช้คำนวณความเปลี่ยนแปลงของพิกเซลในแต่ละเฟรม ช่วยให้จับการเคลื่อนไหวของวัตถุบนวิดีโอได้ดีขึ้น
Red Hat ประกาศรับรอง Red Hat Enterprise Linux (RHEL) เป็นดิสโทรอย่างเป็นทางการบน Windows Subsystem for Linux (WSL)
ที่ผ่านมา เราสามารถนำดิสโทรใดๆ ก็ได้ไปรันบน WSL ได้เองอยู่แล้ว โดยไมโครซอฟท์มีความร่วมมือกับดิสโทรบางราย เช่น Ubuntu, Debian, Fedora ให้รองรับ WSL อย่างเป็นทางการ และมีแพ็กเกจของดิสโทรเหล่านี้ให้กดคลิกดาวน์โหลดจาก Microsoft Store ได้เลย
ประกาศนี้คือ Red Hat ประกาศรองรับ RHEL บน WSL อย่างเป็นทางการ ในแง่การใช้งานคงไม่ต่างอะไรกับการดาวน์โหลด RHEL มาติดตั้งเอง แต่สำหรับลูกค้าองค์กร การที่มี RHEL อย่างเป็นทางการให้ใช้งานบน WSL จะช่วยให้รันแอพพลิเคชันองค์กรข้ามไปมาระหว่าง RHEL ปกติกับ RHEL WSL ได้ง่ายขึ้นมาก
ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ WSL ในงาน Microsoft Ignite โดยเพิ่ม Red Hat Enterprise Linux อย่างเป็นทางการ โดยทาง Red Hat จะส่งอิมเมจเข้ามาภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า เพิ่มทางเลือกให้กับนักพัฒนาที่ต้องการใช้ดิสโทรใกล้เคียงกับโปรดักชั่นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
นอกจากการรับดิสโทรใหม่ ไมโครซอฟท์ยังปรับปรุงแนวทางการสร้างดิสโทรสำหรับ WSL ให้ง่ายขึ้น สามารถ export จาก Docker container เลยก็ได้ ทำให้หลังจากนี้เราน่าจะได้เห็นดิสโทรใหม่ๆ บน WSL กันมากขึ้น
Fedora ออกเวอร์ชัน 41 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน ซอฟต์แวร์ใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
วงการเคอร์เนลลินุกซ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีประเด็นดราม่าว่า นักพัฒนาเคอร์เนลชาวรัสเซียถูกถอดสิทธิจากการเป็น maintainer โดย Greg Kroah-Hartman (gregkh) เบอร์สองของวงการเคอร์เนลให้เหตุผลสั้นๆ ว่าเป็นเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบหลายอย่าง (due to various compliance requirements) และนักพัฒนาเหล่านี้สามารถขอคืนสิทธิได้เมื่อส่งเอกสารตามที่เราต้องการ
เมื่อเหตุผลไม่ชัดเจน จึงมีเสียงประท้วงว่าทำไมถึงตัดสิทธินักพัฒนาเหล่านี้ตามมา ซึ่ง Linus Torvalds เจ้าเก่าก็มาตอบ (แบบดุดันเหมือนเดิม) ว่าการตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นไปแล้ว การรวมตัวประท้วงกันเยอะๆ (เขาใช้คำว่า Russian troll factories) ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาแต่อย่างใด
Canonical ประกาศออก Ubuntu 24.10 Developer Preview หรือ Ubuntu 24.10 Concept สำหรับชิป Snapdragon X Elite เพื่อให้นักพัฒนาสามารถช่วยปรับปรุงการใช้งาน ทดสอบฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่จะมากับ Ubuntu บน arm64 ในอนาคต โดย Canonical ปล่อยไฟล์สำหรับติดตั้งบนโน๊ตบุ๊ค Snapdragon X Elite ให้นำไปลองติดตั้งได้
นอกจากนี้ Canonical ยังโชว์ภาพ Ubuntu 24.10 บน Lenovo Thinkpad T14s ที่สามารถทำงานกับ Ubuntu ได้อย่างดีที่สุดตอนนี้
ลินุกซ์เริ่มรองรับชิป Snapdragon X Elite ตั้งแต่ Linux 6.11 เป็นต้นมา ตามที่ Qualcomm เคยประกาศว่ากำลังทำให้ Snapdragon X Elite รองรับลินุกซ์ไว้
Ubuntu ออกเวอร์ชัน 24.10 โค้ดเนม Oracular Oriole มีของใหม่ดังนี้
ทีมพัฒนา Arch Linux ประกาศว่าได้สปอนเซอร์จาก Valve สนับสนุนให้พัฒนาโครงการย่อย 2 โครงการ ได้แก่ build service infrastructure และ secure signing enclave โดย Valve จะสนับสนุนการเงินให้กับนักพัฒนาเหล่านี้ในฐานะฟรีแลนซ์
Arc Linux บอกว่าการสนับสนุนของ Valve มีคุณค่ามาก เพราะเหล่าอาสาสมัครสามารถลงมือพัฒนาโครงการเหล่านี้ได้ทันที แทนการใช้แค่ช่วงเวลาว่างเท่านั้น โครงการเหล่านี้ยังจะช่วยแก้ปัญหาระยะยาวหลายๆ อย่างของ Arch Linux ได้ด้วย
Valve ใช้ Arch Linux เป็นแกนกลางสำหรับพัฒนา SteamOS เวอร์ชัน 3.x ที่ใช้กับเครื่องเกมพกพา Steam Deck โดย SteamOS เวอร์ชันก่อนหน้านั้น (ยุคที่ใช้กับ Steam Machine) พัฒนาบน Debian
ดิสโทรลินุกซ์หลายตัวย้ายฐานข้อมูลดีฟอลต์จาก MySQL มาเป็น MariaDB กันนานพอสมควรแล้ว เช่น Fedora เริ่มตั้งแต่ปี 2013, RHEL ปี 2014, Debian ในปี 2017 แต่ดิสโทรยอดนิยมอย่าง Ubuntu ยังไม่ยอมเปลี่ยนมาใช้ MariaDB แทนสักที
โครงการย่อย DRM ส่งแพตช์อัพเดตเข้าโครงการลินุกซ์หลักเพื่อเตรียมรวมเป็นลินุกซ์ 6.12 โดยรอบนี้มีความพิเศษคือเพิ่มตัวเลือกแสดงหน้าจอแครชเป็น QR ได้
Wedson Almeida Filho หนึ่งในผู้ดูแลโครงการย่อย Rust for Linux ประกาศถอนตัวจากโครงการหลังดูแลโครงการนี้มา 4 ปีเต็ม ระบุเหตุผลว่าเบื่อที่จะต้องมาตอบโต้เรื่องที่ไม่ใช่เรื่องเทคนิค
Filho แนบลิงก์ถึงสาเหตุที่เขาลาออกเป็นวิดีโองานสัมมนา Linux Storage Filesystem ที่ Kent Overstreet บรรยายถึงข้อเสนอของการรองรับ Rust ใน API ของ filesystem แต่ช่วงถามตอบก็มีการโต้แย้งกันว่า C/C++ ยังคงเป็นภาษาหลักแล้วทำไม Overstreet ยังคงพยายามยัดเยียด Rust เข้ามา (LWN เขียนสรุปเหตุการณ์ไว้) โดย Filho ยืนยันว่าไม่ได้ยัดเยียดให้ใครใช้ Rust
ทีมวิศวกรรมของ LinkedIn เขียนบล็อกเล่าเบื้องหลังการย้ายระบบของ LinkedIn ที่เดิมรันอยู่บน CentOS 7 มาใช้ Azure Linux ของไมโครซอฟท์
หลังจากโดนไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ LinkedIn มีแผนการย้ายระบบเซิร์ฟเวอร์เดิมทั้งหมดไปอยู่บน Azure แต่สุดท้ายก็ยังทำไม่สำเร็จ ส่วนการย้ายระบบปฏิบัติการรอบนี้เกิดขึ้นช่วงต้นปี 2024 และสิ้นสุดช่วงเดือนเมษายน
สัปดาห์นี้มีผู้ใช้ Windows 10/11 ที่ติดตั้งแพตช์ความปลอดภัยรอบเดือนสิงหาคม 2024 รายงานว่าเกิดปัญหาไม่สามารถบูตเข้าลินุกซ์ในระบบที่เป็น dual boot ได้ ล่าสุดไมโครซอฟท์ยืนยันปัญหานี้แล้ว
แพตช์ความปลอดภัยตัวนี้ ตั้งใจออกมาเพื่ออุดช่องโหว่ของ GRUB ระบบเลือกบูตที่ใช้งานแพร่หลายในโลกลินุกซ์ ช่องโหว่นี้เปิดทางให้แฮ็กเกอร์สามารถข้ามระบบ secure boot ได้ มันถูกค้นพบมานาน 2 ปี และมีคะแนนความรุนแรง 8.6/10
ทีมพัฒนาเคอร์เนลของ Ubuntu ประกาศนโยบายการเลือกเคอร์เนลใหม่สำหรับ Ubuntu แต่ละรุ่น เปลี่ยนมาใช้แนวทางใหม่คือเลือกเคอร์เนลเวอร์ชันใหม่ที่สุดเสมอ แม้ยังไม่ออกรุ่นเสถียร (ยังเป็น Release Candidate หรือ RC) อยู่ก็ตาม
โครงการ Ubuntu มีระยะเวลาการออกรุ่นที่ตายตัวทุก 6 เดือน ในขณะที่เคอร์เนลลินุกซ์มีธรรมเนียมออกใหม่ทุก 2-3 เดือนแต่เวลาไม่ตายตัว เมื่อบวกกับทีมเคอร์เนลของ Ubuntu ต้องการเวลาราว 1 เดือนในการนำเคอร์เนลต้นน้ำ มาปรับแต่งเพื่อใช้งานใน Ubuntu ทำให้หลายครั้ง ทีมเคอร์เนลเจอปัญหาว่าระยะเวลาออกเคอร์เนลรุ่นใหม่ มาชนกับการออกดิสโทร Ubuntu รุ่นใหม่พอดี (ดูตัวอย่างตามภาพ ที่ Ubuntu 24.10 มาออกชนกับเคอร์เนล 6.11)
Ubuntu เตรียมทดลองคอมไพล์แพ็กเกจในดิสโทร ด้วยการรีดประสิทธิภาพแบบ O3 optimization ของคอมไพเลอร์ GCC ซึ่งจะทำให้แอพรันได้เร็วขึ้นกว่า O2 optimization ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
O3 optimization เป็นตัวเลือกของ GCC ที่มีอยู่แล้ว ข้อดีคือไบนารีที่คอมไพล์จะมีประสิทธิภาพตอนรันมากขึ้น แต่ต้องแลกมาด้วยระยะเวลาการคอมไพล์ที่นานกว่าเดิม และขนาดของไบนารีที่อาจใหญ่ขึ้น
Ubuntu บอกว่าเป้าหมายของดิสโทรคือการรีดประสิทธิภาพอยู่แล้ว ดังนั้นจึงต้องการทดลองดูว่าถ้าคอมไพล์เป็น O3 จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรันงานรูปแบบต่างๆ มากน้อยแค่ไหน ก่อนนำข้อมูลไปตัดสินใจต่อไปว่าควรอยู่กับ O2 เหมือนเดิม หรือขยับไป O3
Linux Mint ออกเวอร์ชันใหญ่ 22.0 โค้ดเนม Wilma (ตัวแรกในซีรีส์ W) อิงอยู่บน Ubuntu 24.04 LTS ตามนโยบายพัฒนาอยู่บน Ubuntu รุ่น LTS ที่ออกทุกสองปี โดย Linux Mint 22 จะเป็นฐานหลักให้เวอร์ชันย่อย (22.x) ไปจนถึงปี 2026 และมีอายุซัพพอร์ตนาน 5 ปี จบปี 2029
การเปลี่ยนแปลงสำคัญเป็นการอัพเกรดเวอร์ชันซอฟต์แวร์ตาม Ubuntu 24.04 เช่น เคอร์เนล 6.8, ปรับระบบธีมเป็น GTK4, ระบบจัดการเสียงตัวใหม่ PipeWire, อัพเดตซอฟต์แวร์หลายตัวเป็น GTK4 หรือไม่ก็ถอดจากระบบ, ระบบเดสก์ท็อป Cinnamon เวอร์ชัน 6.2
หลังจากเมื่อปี 2023 Red Hat มีนโยบายปิดกั้นการเข้าถึงซอร์สโค้ดของ RHEL จากสาธารณะ ต้องเป็นลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์ถึงเข้าได้ เพื่อบีบให้ดิสโทรทางเลือกของ RHEL นำซอร์สโค้ดไปใช้งานได้ยากขึ้น (ตามสัญญาอนุญาตโอเพนซอร์ส Red Hat ต้องเปิดซอร์สโค้ดของ RHEL แต่ไม่มีระบุวิธีการว่าต้องเป็นทางใด ดังนั้น Red Hat ไม่ทำผิดสัญญา แต่ทำให้นักพัฒนารายอื่นลำบากกว่าเดิม)
จากกรณีบั๊ก CrowdStrike ทำเครื่องพีซีวินโดวส์ขึ้นจอฟ้า BSOD จำนวนมากประมาณ 8.5 ล้านเครื่อง และเกิดข้อวิจารณ์ว่าระบบปฏิบัติการวินโดวส์ไม่เสถียรพอ
ความโด่งดังของ CrowdStrike ทำให้มีคนขุดบั๊กเก่าๆ ในอดีตเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งทำให้เครื่องลินุกซ์เกิดอาการคล้ายๆ กันคือ kernel panic เช่นกัน
CentOS 7 หมดอายุซัพพอร์ตไปตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2024 (CentOS 8 โดนตัดจบ หมดอายุไปก่อนแล้วในปี 2021 ตามนโยบายของ Red Hat) ทำให้ตอนนี้ไม่เหลือดิสโทร CentOS ใดๆ ที่อยู่ในระยะซัพพอร์ตอีกแล้ว (กลายร่างมาเป็น CentOS Stream ที่เป็นดิสโทรต้นน้ำของ RHEL แทน)
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2022 NVIDIA เปิดซอร์สไดรเวอร์ GPU ฝั่งเคอร์เนลบนลินุกซ์ โดยใช้สัญญาอนุญาตแบบเปิดกว้าง GPL/MIT ตามนโยบายใหม่ที่จะใช้ไดรเวอร์แบบโอเพนซอร์ส มาทดแทนไดรเวอร์เชิงพาณิชย์ตัวเก่า
เวลาผ่านมา 2 ปีกว่า NVIDIA ประกาศว่าไดรเวอร์ตัวใหม่ที่เป็นโอเพนซอร์ส มีประสิทธิภาพและความสามารถเหนือกว่าไดรเวอร์เชิงพาณิชย์ตัวเก่าเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไดรเวอร์ตัวใหม่ถูกเขียนขึ้นมาในยุคหลังๆ เพื่อใช้กับจีพียูที่มีชิป GPU System Processor (GSP) ทำให้มันไม่ได้เหมาะกับจีพียูทุกตัวของ NVIDIA โดยบริษัทมีคำแนะนำให้ดังนี้
ทุกคนทราบดีว่าระบบปฏิบัติการ Android อิงอยู่บนลินุกซ์ โดยกูเกิลนำเคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชันซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) มาดัดแปลงเพิ่มเติมเอง
เมื่อปี 2017 เคอร์เนลลินุกซ์ขยายระยะเวลาซัพพอร์ตรุ่น LTS จาก 2 ปีเป็น 6 ปี เพื่อช่วยให้ Android มีระยะซัพพอร์ตยาวนานขึ้น แต่เมื่อปี 2023 ทีมพัฒนาเคอร์เนลปรับเวลาซัพพอร์ตกลับมาเป็น 2 ปีเหมือนเดิม เพราะมองว่าระยะเวลา 6 ปียาวนานเกินไป เคอร์เนลเก่าไม่ค่อยมีใครใช้ และกลายเป็นภาระของผู้ดูแลเคอร์เนลที่ต้องทำงานมากขึ้น
การเปลี่ยนนโยบายเคอร์เนลทำให้เกิดคำถามตามมาว่า Android จะรับมืออย่างไร ล่าสุดกูเกิลประกาศแล้วว่าจะเข้ามาซัพพอร์ตเคอร์เนล Android ให้อีก 2 ปี รวมระยะเวลาทั้งหมดเป็น 4 ปี
Jason Donenfeld จากโครงการ Wireguard ซอฟต์แวร์ VPN ประสิทธิภาพสูง ส่งแพตช์เพิ่มฟังก์ชั่น getrandom()
เพื่อให้โปรแกรมระดับ userspace สามารถขอค่าสุ่มความเร็วสูง
ฟังก์ชั่น getrandom()
เร็วกว่าฟังก์ชั่นขอค่าสุ่มเดิมๆ ประมาณ 15 เท่า โดยฟังก์ชั่นขอค่าสุ่มนี้มีความจำเป็นสำหรับซอฟต์แวร์เข้ารหัสต่างๆ เช่น VPN อย่าง Wireguard เอง
Windows Subsystem for Linux หรือ WSL ให้บริการมาหลายปีแล้ว แต่ข้อจำกัดสำคัญของมันคือใช้เคอร์เนลเวอร์ชันเก่า 5.15 (ออกในปี 2021) ติดต่อกันมาหลายปี จึงขาดฟีเจอร์ของเคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชันใหม่ๆ ที่ออกในช่วงหลัง
ล่าสุดไมโครซอฟท์ปรับเวอร์ชันเคอร์เนลที่ใช้ใน WSL เป็นเคอร์เนล 6.6 ซึ่งเป็นเคอร์เนลระยะยาว (LTS) เวอร์ชันล่าสุด (ตัวเสถียรล่าสุดจริงๆ ตอนนี้คือ 6.9.7) ถือเป็นสัญญาณอันดีของผู้ใช้งาน แม้ตอนนี้ยังปรับเฉพาะ WSL เวอร์ชันใน GitHub ก็ตาม ส่วนผู้ใช้ทั่วไปคงต้องรอไมโครซอฟท์ออกอัพเดต WSL กันให้อีกที
ของใหม่อีกอย่างใน WSL อัพเดตล่าสุดการรองรับ kernel module support สามารถโหลดโมดูลของเคอร์เนลเพิ่มได้ด้วย ช่วยขยายการใช้งาน WSL ให้ใกล้เคียงกับลินุกซ์ตัวเต็มมากขึ้นนั่นเอง