มีคนถามผมว่าจะส่งคำถามถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีคนใหม่หรือเปล่า
ผมคิดว่าที่น่าสนใจกว่าคือ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทำไม?
นานๆ ทีเราจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จบ ดร. สาขานิวเคลียร์ฟิสิกส์ และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" (NECTEC) ซึ่งปัจจุบันก็เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเช่นกัน (อ่านประวัติ)
ผมคิดว่าผู้อ่าน Blognone จำนวนไม่น้อยนั้นอยู่ในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ซึ่งมีความหมายกว้างกว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงอย่างเดียว) และน่าจะ "เห็น" โอกาสและแนวทางการพัฒนาประเทศโดยใช้วิทยาศาสตร์+เทคโนโลยีในด้านต่างๆ ไม่มากก็น้อย ในเมื่อเรามีรัฐมนตรีที่น่าจะ "อ่าน" ข้อเสนอของพวกเรารู้เรื่อง (ที่พิสดารและไม่ค่อยมีใครเสนอ) ก็น่าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะรวบรวมข้อเสนอของพวกเราส่งไป
ผมไม่รับประกันว่าข้อเสนอเหล่านี้จะส่งถึงมือของคุณหญิงกัลยา (และจะได้รับคำตอบเหมือนตอนสัมภาษณ์ รมต. มั่น พัธโนทัย เพราะว่ามันไม่ใช่คำถาม) แต่จะลองพยายามติดต่อดูครับ
กติกาก็คล้ายๆ Ask Blognone ครั้งที่แล้วมา
หมายเหตุ: ถ้าคิดอะไรไม่ออก ลองดู นโยบายด้านเทคโนโลยีของโอบามา
Comments
เอาเรื่องการสื่อสารแล้วกัน
อยากให้มีจุดแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในจังหวัด เหมือนๆ NIX แต่ทำในระดับจังหวัด
โดยเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในจังหวัดเท่านั้น โดยมีช่องทางความเร็วสูงเชื่อมแต่ละหน่วยงาน เช่น การศึกษา และ หน่วยงานราชการอื่นๆ (ควรมี fiber optic เข้าจุดแลกเปลี่ยนโดยตรง)
และเปิดโอกาศ ให้ เอชชน สามารถร่วมเข้ามาเพื่อขอแลกเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้ได้ด้วย
เพราะผมไม่อยากให้อะไรๆ ก็ไปลงที่ NIX แถวเวลาแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในจังหวัด ทำไมต้องไปยัง กทม. ซึ่งค่าเช่าก็แพง แถมช้าด้วย
เห็นด้วยครับ ดูเหมือนประเทศไทยจะลงไป กทม หมดเลย เวลาทำ Speed Test อะไรก็โผล่ไปที่ กทม ตลอด แม้จะอยู่เชียงใหม่ก็ตาม ต่างกับมาเลเซียที่มี Exchange ที่ทั้ง KL, Johor, ปีนัง ฯลฯ
@TonsTweetings
ผมขอเสนอประเด็นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเกมในประเทศของเราครับ
เนื่องจากเมืองไทยมีผู้เล่นเกมจำนวนมาก และทางผู้ใหญ่มองว่าเป็นปัญหาของเยาวชน แต่ในหลายๆประเทศได้ใช้จุดนี้เป็นโอกาสในการเปิดตลาดใหม่ๆ สร้างฐานการผลิต รวมถึงการพัฒนาในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ผมคิดว่าทางกระทรวงวิทย์น่าจะนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาและวิจัยทางด้านเกมคอมพิวเตอร์ และส่งเสริมอาชีพทางด้านนี้ให้มากขึ้น ดังเช่นในประเทศเกาหลีใต้ รัฐส่งเสริมการพัฒนาเกม และมีหน่วยงานที่ทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นของรัฐออกมาแล้ว ซึ่งผมมองว่าสามารถสร้างงาน และรายได้จำนวนมหาศาลเข้าไปในประเทศของเค้าได้ และประเทศเรามีศักยภาพพอที่จะสู้กับต่างประเทศในด้านนี้
ปล. ไม่แน่ใจว่าเรื่องทางด้านนี้เกี่ยวข้องกับกระทรวงวิทย์โดยตรงหรือไม่ แต่ผมคิดว่า NECTEC น่าจะมีหน่วยงานวิจัยทางด้านนี้บ้างนะ
เห็นด้วยครับ
ผมว่าประเด็นที่เสนอหลายๆอันข้างบนมันน่าจะไปที่ ICT นะครับ ส่วนผมเสนอการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ครับ สร้างครูเก่งๆให้เยอะๆ และอยากให้นำไปประยุกต์ต่อไปได้ครับ
ดูจากความเห็นและความเข้าใจต่อเกมส์ ในอดีตเช่น GTA ผมว่าเค้าคงไม่ทำอะไรหรอกครับ
ผมขอเสนอให้ทำ GMOs อย่างเป็นรูปธรรมครับและศึกษาพันธุกรรม พืช สัตว์ในท้องถิ่นของเรา รวมถึงเรื่องการจดสิทธิบัตรด้วยครับ
แม้ว่าคุณหญิงจะจบ Physics ซึ่งคงจะเกลียด Bio มากๆ (คาดไว้) แต่ประเด็นนี้เป็นเรื่องน่าสนใจ และเราควรจะตื่นได้แล้วครับ
ในยุคสมัยที่ทุกคนมีความเร่งรีบ ยุคทุนนิยม ยุคที่ต้องประหยัดพลังงาน และยุคที่ต้องอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมไปด้วยกันแบบปัจจุบัน GMOs เป็นทางออกทางเดียวที่ทำให้เราไม่ต้องทำลายทรัพยากรณ์ธรรมชาติให้มากเกินความจำเป็น
ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับเรื่อง GMO เท่าไรครับ เพราะการวิจัยในเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นยังไม่มีข้อสรุป (และไม่มีทีท่าว่าจะมีข้อสรุปง่าย ๆ) และเมื่อมีการปลูกพืช GMO แล้วมารู้ทีหลังว่ามีผลกระทบด้านลบบางอย่าง มันจะเป็นปัญหาระยะยาวที่แก้ยากมาก เนื่องจากเราไม่รู้ว่ามีพืชหรือสัตว์ชนิดใดบ้างที่มีสารปนเปื้อน แล้วยีนส์จะส่งผลไปถึงรุ่นไหน
ที่แน่ ๆ หากผลิตภัณฑ์เกษตรเรามี GMO อยู่ มันจะมีผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจแน่ ๆ เพราะมีหลายประเทศที่ไม่ยอมรับสินค้า GMO หากผลิตภัณฑ์ใดปนเปื้อน GMO ก็ต้องติดป้ายโต ๆ ให้ผู้บริโภคเห็น (แล้วผู้บริโภคก็จะไม่ซื้อ) ดังจะเห็นได้จากข้าวโพด GMO (http://en.wikipedia.org/wiki/Transgenic_maize) ที่มีคนต่อต้านมากกว่าเห็นด้วย
หากดูหนังสารคดีเรื่อง We feed the world (http://www.we-feed-the-world.at/en/film.htm) ก็จะรู้ครับว่า ปัญหาอาหารในปัจจุบัน ไม่ได้เกิดจากผลิตไม่ทัน หรือผลิตไม่พอ แต่เป็นการกระจายตัวของอาหารตามระบบเศรษฐกิจมากกว่า
ดังนั้นผมเห็นว่า GMO ไม่น่าจะใช่ทางออกสำหรับการเกษตรไทย แต่เราควรจะเดินไปในทางตรงข้ามมากกว่า เพราะตอนนี้กระแสการบริโภค จะออกไปในแนวสุขภาพ อาหารจำพวก Organic (http://en.wikipedia.org/wiki/Organic_farming) จะขายดี และได้ราคามากเป็นพิเศษ ไม่ต้องผลิตมากครับ แต่คุณภาพดี ก็สามารถทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้
ปล. อาจไม่เกี่ยวกับข้อเสนอ แต่เห็นประเห็นน่าสนใจเลยอยากตอบครับ
BioLawCom.De
เพราะฉะนั้นถึงต้องศึกษาให้ลึกซึ้งจนถึงแก่นของแก่นเลยไงครับ ว่า ทำยังไงจะได้สายพันธุกรรมที่เหมาะสมที่สุดในโลกเท่าที่จะเป็นไปได้ แล้วค่อยออกมาให้ใช้จริง
งานวิจัย GMO ควรได้รับ "การยอมรับให้วิจัย" ทุกรูปแบบ แต่ออกกฏหมายห้ามไม่ให้นำไปใช้จริงเด็ดขาด
ไม่งั้นก็คงมีการวิจัยใต้ดินและแอบใช้อยู่ดี เหมือนที่เป็นมา
จะมีช่องทางวิทย์ยุคใหม่ใกล้ประชาชน นอกจากรายการ mega clever ไหม? (อันนั้นรู้สึกเป็นของสวทช อยากรู้ว่ากระทรวงวิทย์ฯ จะลดระยะห่างระหว่างราชการ[กระทรวง]กับวิทยาศาสตร์กับประชาชนทั่วไปยังไง)
ปล.น่าจะกำหนดให้คอมเม้นไม่เกิน 140 ตัวอักษร lol
140 ตัวใน charset ไหนครับ? utf8? tis620?
ผมเสนอให้ประเทศไทยมองอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากงานวิจัยมากกว่าที่เป็นอยู่ มีหลายอย่างที่ไทยน่าจะเป็นผู้นำได้เพราะเป็นประเทศผู้ผลิตวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นเวชภัณฑ์ เครื่องสำอางค์ น้ำหอม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เสื้อผ้า อาหาร หรือแม้กระทั่งพลังงาน ผมอยากเห็นภาครัฐเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการลงทุนสนับสนุนงานวิจัยที่นำมาต่อยอดทางการค้าได้อย่างจริงจัง
อยากทราบว่าทางกระทรวงคิดเห็นอย่างไรกับงาน Thesis ส่วนใหญ่ของนักศึกษามหาวิทยาลัย หรือนักวิจัย ทั้งของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนซึ่งมีจำนวน เพิ่มขึ้นมากมาย แต่ได้ต่อยอดจริงๆ ไม่กี่เปอเซนต์ จะมีหนทางที่จะต่อยอดงานเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติได้หรือเปล่าครับ เพราะที่ผ่านมาเม็ดเงินหมุนเวียนในงานวิจัยต่างๆมีมหาศาล และมีเรื่องที่ดีๆน่าจะมีอยู่จำนวนหนึ่ง แต่ยังไม่ได้รับการต่อยอดให้เกิดผลที่ใช้ได้จริง
หรือไม่ก็เช่นว่างานวิจัยจากมหาวิทยาลัยในปัจจุบันนั้นมีความทับซ้อนกันสูง ทำให้ไม่เกิดผลอะไรต่อการพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ไม่ทราบว่าท่าน รัฐมนตรี จะสามารถหาทางแก้ใขปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันได้หรือเปล่าครับ ?
ปล.อาจจะงงๆหน่อยนะครับสำหรับคำถาม
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
:: Take minimum, Give Maximum ::
+1
อีกเรื่อง(เดียวกัน)คือทำยังไงให้นักวิจัยไทยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้บ้างครับ (ระดับนักวิจัยคงต้ัองคุยกันด้วยเหตุผลแล้วนะ!)
___________pawinpawin
+1 เรื่องการนำ Thesis ไปต่อยอด พัฒนา เพื่อนำไปใช้จริงครับ
Opensource ในวงการราชการครับ...
เริ่มที่ใช้ Open Office เป็นมาตรฐานในการรับส่งงานด้านสำนักงานกันในหน่วยงานราชการแทน MS Office
ดูแล้วแก้ยากจังตรงนี้ยกตัวอย่างเช่นเรื่องการเบิกจ่ายเงินงบบประมาณกรมบัญชีกลางมันดันเลือกใช้ MS Office EX เป็นโปรแกรมหลักในการส่งข้อมูลการเบิกจ่ายในระบบ GFMIS และเห็นใช้มาหลายปีแล้วด้วยถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสงสัยพวกไม่ยอมแหง่ ๆ อันนี้มองเพียงระบบเดียวเท่านั้นนะเนี่ยยังไม่พูดถึงระบบงานอื่น ๆ ในกรมกองอื่น ๆ อีก โดยเฉพาะพวกระบบงานที่ทำผ่านเบลาเซอร์ของส่วนราชการส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานร่วมกับ IE ทั้งนั้น ปัญหาคือผมมองว่าคนที่เข้าไปทำงานใระบบราชการส่วนใหญ่ความรู้ไม่ถึงหมายความว่ามีความรู้หรือเก่งเฉพาะด้านเท่านั้น(รู้แต่ Win$) คนเก่งจริงไม่ยอมเข้าไปทำงานในระบบหรือไม่ยอมเข้าไปช่วยงานในระบบราชการ อย่างเช่นท่านทั้งหลายในนี้ทุกคนเก่งทั้งนั้นแต่ผมว่ามีคนที่เข้าไปทำงานในระบบราชการเพียงไม่กี่คนแน่ ๆ เลย ดังนั้นหากได้คนเก่งอย่างพวกท่านเข้าไปร่วมทำงานในระบบให้มาก ๆ ไม่จำเป็นต้องเข้าไปเต็มตัวก็ได้อาจเข้าไปช่วยพัฒนา(หมายถึงโดยไม่มีค่าตอบแทน)เหมือนที่หลาย ๆ คน ช่วยในการพัฒนา Opensouce
+1 ครับ
กำหนดออกมาเป็นวาระแห่งชาติไปเลย กระตุ้นกันให้ครึกโครม ผลักดันให้จริงจัง เปลี่ยนได้ไม่หมดไม่เป็นไร แต่ขอให้ภาครัฐพยายามมากกว่าที่เป็นอยู่ ใช้สถานการณ์ที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังแย่ ผสมโรงไปเลย ลดการซื้อ Software จากต่างประเทศ สำนักงบฯ ต้องรายงานสรุปผลเลย หน่วยงานไหน ปีที่แล้วมีการจัดซื้อ Software ต่างประเทศไปเท่าไหร่ (หรือพอดูรายงาน งบที่ใช้ซื้ออาจจะน้อยก็ได้นะ เพราะไม่ซื้ออะ แต่...มีใช้ มีไรป่าว)
ผมอยากให้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์เยอะๆ เพราะรู้สึกเหมือนได้รับข่าวสารน้อยลง(หรือไม่ค่อยได้ติดตามก็ไม่รู้)
วิทยาศาสตร์ทำให้คนเลือกที่จะทดลองและพิสูจน์ก่อนเชื่อ มากกว่าเชื่อแบบเชื่อๆไปเหอะ
เว็บข่าวแนววิทยาศาสตร์ มากมาย
jusci.net และ
foosci.com
สามารถร่วมเสนอข่าวเขียนข่าวได้ครับ
</mOkin™>มีความสุขที่พอดี กับชีวิตที่พอเพียง</mOkin™>
ให้หมด เปลี่ยนไสยศาสตร์ไปเป็นศาสนศาสตร์ให้หมด
เอาแค่ข้อเีดียวแล้วกัน
ควรเริ่มพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ของประเทศ อย่างมีเป้าหมายเสียที
1. มองหาเป้าหมายที่ชัดเจน ต้องการใช้ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ช่วยเหลือด้านใดบ้าง
2. มองสิ่งที่มี ทุกกรมกอง ทุกสถาบันวิจัย ทุกวิทยา มหาวิทยาลัย เรามีอะไรอยู่บ้าง
ช่วยบอกที ว่าประเทศนี้ (ซึ่งมีคนเก่งๆ อยู่มากมายขนาดนี้) ควรทำอะไร .. ควรศึกษาอะไร อย่างจริงจัง .. โดยดูจากทรัำพยากรบุคคล
ช่วยสร้างระบบ ที่ช่วยสร้างคน มาทำงานทางด้านนี้ที .. แบบยั่งยืน .. ให้มีคุณค่า
ทำไมเราไม่ได้ไปบอลโลก .. ทำไมเราได้แชมป์มวยโลก ?!? .. ทำไมเรามีนักเทนนิสระดับโลก .. เรื่องเดียวกันหรือเปล่าครับ :)
เฮ้อ.. อยากมีงานอดิเรก เป็นการแข่งหุ่นยนต์ .. เสาร์ อาทิตย์ อยากเปิดทีวีดู แล้วเจอรายการแบบช่อง 9 เยอะๆ หรือมี duocore ก็ไ.ด้ .. .
สุดท้าย ช่วยบอกข้าราชการ หน่วยงานรัฐที มีอะไรก็รู้จักที่จะศึกษาเองบ้าง .. อย่าพึ่งแต่ซื้อของนอก
อย่าพึ่งเคลียดกันนะครับ แค่ผ่านมาบ่น :)
+1 ครับ
อยากให้มีเป้าหมายที่ชัดเจน นักวิจัยบ้านเรามีไ่ม่มาก (เมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากร) แต่ถ้ามุ่งไปเฉพาะทาง น่าจะพอไหวอยู่
ที่เห็นกลุ่มใหญ่สุดในมหาวิทยาลัยต่างๆ น่าจะเป็นกลุ่ม center of excellence มีงานวิจัยที่หลากหลายพอสมควร ประเทศน่าจะดึงทรัพยากรจากตรงนี้ได้มากทีเีดียว
จะมีการส่งเสริมนักวิจัยให้เดินทางไปร่วมวิจัยในโครงการระดับโลกเช่น LHC หรือ ISS หรือไม่ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะมีความร่วมมือจากงานวิจัยโครงการระดับโลกหรือไม่ เพราะโครงการหลัง ๆ มาไทยไม่มีส่วนร่วมและอนาคตหากมีการแบ่งสรรปันส่วนกันไทยอาจไม่ได้อะไรเลย
ปล. อยากรู้ว่าคิดไงกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และการใช้ Embryonic Stem cell
molecularck โม-เล-กุล่า-ซี-เค
sci news on foosci.com
http://www.digimolek.com
ที่ LHC มีสองสามคนนี่ครับ ที่นั่นในบทสัมภาษณ์เขาบอกว่าจะทำอะไรในทีมต้องคิดเองหมด
และรู้สึกนักศึกษากับด็อกเตอร์ที่นั่นเขาต้องคิดเองแบบตัวคนเดียว
อยากให้มีการสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเรื่องการใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงในยานพาหนะเพราะเห็นว่าต่างประเทศเขาศึกษาเรื่องนี้ไปไกลมากแล้วแต่เรายังไม่ได้ไปไหนเลยกลัวว่าสักวันเราจะต้องซื้อเทคโนโลยีของต่างประเทศมาใช้อีก
อยากให้ประสานกับกระทรวงศึกษาธิการ ในเรื่องของการ "ปฏิรูป" ระบบการศึกษา ตามนโยบายที่รัฐบาลตั้งใจจะทำ ไม่ใช่แค่ในมิติของ "เงินค่าเทอม" แต่อยากจะให้ปรับปรุงการเรียนเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ทันสมัยมากกว่าที่เป็นอยู่ ยุคที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้มันน่าจะมีอะไรที่มากกว่า กพอ. สลน. หรือ สปช. นะครับ (เอ๊ะ หรือว่าเดี๋ยวนี้มันไม่มีแล้ว)
สามวิชานี่หันไปเห็นแต่วิทยาศาสตร์ประถม สังคม บลาๆๆ กันหมดแล้วฮะ
อยากให้เพิ่มทุนสนับสนุนงานวิจัยครับ
ได้ข่าวว่านักวิจัยอิสระ มีทุนวิจัยให้เฉพาะค่าวิจัย แต่ไม่มีทุนสำหรับใช้ชีวิตในระหว่างวิจัย
ซัพพอร์ทซักหน่อยเถอะครับ
เคยเจอคนจากกระทรวงวิทย์ ฯ เขาบ่นว่า ทุนวิจัยเพียบ แต่ไม่มีคนไปขอ โดยเฉพาะบริษัทสามารถเอางานวิจัยไปขอลดภาษีได้ 200% (นอกจากจะไม่ต้องเสียภาษีในส่วนดังกล่าวแล้ว ยังได้เงินกลับมาอีกต่างหาก) ไม่รู้ว่าโครงการนี้ยังอยู่หรือเปล่า แต่เพิ่งคุยไปเมื่อปลายปี 2007 เอง
BioLawCom.De
แต่ก็ไม่มีทุน ค่าครองชีพ ให้นักวิจัยอิสระ อยู่ดีน่ะครับ
พูดถึงน่าจะหักงบที่เหลือๆนั่นแหละ มาบวกเป็นค่าครองชีพนักวิจัยอิสระซักหน่อยนิ
+1 กับคุณ Thaina
อยากให้ประเทศเราก้าวหน้าแซงประเทศอื่น ต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ไม่ซ้ำใคร จึงต้องสนับสนุนนักวิชาการ+นักวิจัยมากๆ แต่กลับให้ทุนวิจัยที่ครอบคลุมแค่ค่าวิจัย แล้วใครเขาอยากจะมาทำงานวิจัยให้คุณ (นี่สินะ สาเหตุสมองไหลของประเทศเรา)
ในฐานะ ที่คุณหญิงจบ ดร.สาขานิวเคลียร์ฟิสิกส์ และเคยเป็นคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมของกระทรวงวิทย์ฯ คุณหญิงคิดว่าควรสนับสนุน การสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ในประเทศไทยหรือไม่ ?
Nectec เป็นหน่วยงานที่ดี แต่ในสายตาของคนทั่วไป หรือแม้แต่เด็กจบใหม่ คนที่เก่วจริงๆ เลือกที่จำมาทำงานเอกชน มากกว่ามาช่วยงานวิจัยของ Nectec ไม่เหมือนสถาบันวิจัยในต่างประเทศอย่าง สิงคโปร์,จีน,อเมริกา ที่เด็กจบวิทยาศาสตร์มาจะฝันเข้าไปร่วมงานวิจัยของชาติ
ถาม : ทำอย่างไรจะแก้ปัญหานี้ได้ ?
เสนอ : ผลงาน + เงิน + ประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะในมหาลัยทั่วประเทศ
---
Khajochi Blog : It's not a Bug ... It's a Feature
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
+1 ครับ
ประเทศไทยมีคนเก่งจริงจริงเยอะมากครับ
แต่ส่วนใหญ่ ขาดโอกาส ไม่ได้รับการสนับสนุน และสมองไหลไปที่อื่น
ถ้าทำให้คนเก่งมาทำงานให้รัฐ ให้ประเทศไทยได้มาก ประเทศไทยจะก้าวหน้าทันโลกแน่นอน
อยากเน้นการสร้างสถาบันวิจัยเทคโนโลยีให้ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อนกัน มี"สถาบันเฉพาะทาง"ที่เหมาะกับประเทศไทยให้มากมาก
ทำงาน Nectec ส่วนใหญ่ต้องจบด็อกเตอร์ไม่ใช่เหรอ เด็กจบใหม่เป็นได้แค่ผู้ช่วยวิจัย ใครจะอยากเป็นถ้าไม่มีทุนเรียนต่อต่างประเทศดึงดูดใจ
การสัปดาห์วันวิทยาศาตร์ ปีหลัง เริ่มแย่ลง มีอะไรมากระตุ้น ความน่าสนใจไหมครับ
งานวิจัย ระดับสูง น่าจะมีเวทีเปิดให้คนได้อ่านและเข้าถึงง่ายขึ้น
http://tomazzu.exteen.com
เห็นด้วยครับ
อยากทราบเกี่ยวกับ มาตรการ หรือ แผนรองรับ และป้องกันที่เป็นรูปธรรมเร่งด่วน ในไตรมาสแรกของปี 2552 ที่จะออกมาช่วย คนไอที ที่ตกงาน หรือคนจบใหม่ (ปล. รวมถึงแผนระยะยาว)
เข้ามาดู
แต่เหมือนว่าคำถามจะมากกว่าไอเดียหรือปล่าว
อยากทราบนโยบายเกี่ยวกับเซลล์สุริยะ (Solar Cell) ครับ
ว่าจะผลักดันต่อ ไปในเชิงอุตสาหกรรมมากขึ้น
หรือว่าอย่างไรครับ?
เพราะโดยส่วนตัว ผมเห็นรุ่นพี่จาก MTEC ที่ไปเรียนต่อปริญญาเอกที่ Tokyo Institute of Technology
และมีพี่ๆ น้องๆ ตามไปอีกเห็นว่าเป็นสิบๆ คนเลยครับ
(คือจริงๆ ผมอยากใช้ Solar Cell ในบ้านนะครับ แต่ยังแพงเหลือเกิน
บ้านผมตอนนี้เครื่องทำน้ำร้อนใช้พลังแสงอาทิตย์ แต่รู้สึกว่าจะไม่ได้แปลงจากพลังงานไฟฟ้าโดยใช้ Solar Cell แต่อย่างใด)
Oakyman.com
เป็นพวกที่มีัถังกลมๆ อยู่เหนือ ถาดรึเปล่าครับ..
พวกนั้นเป็น ระบบให้น้ำที่ร้อน ลอยตัวขึ้น
น้ำที่เย็นก็เวียนลงมาที่ตำกว่าไม่ได้ใช้ Solar Cell เลย
http://tomazzu.exteen.com
ผมได้ไปเมืองเชียงรุ่งที่ประเทศจีนมาครับ และได้ถ่ายรูปถังที่ว่าพร้อมกับแผงรับความร้อนดวงอาทิตย์มาด้วย ซึ่งเกือบทุกหลังคาเรือนมีใช้ครับ แต่ไม่สามารถ attach file รูปมาให้ดูได้ครับเพราะทำไม่เป็น ผมขอความรู้ในการ attach file ด้วยครับ ขอบคุณครับ
ที่นี่ไม่มีระบบ attach ไฟล์ครับ ฝากรูปไว้กับเว็บอื่น แล้วค่อยมาโพสต์ลิงก์ไปนะครับ
——————————————————————
คิดๆ ขีดๆ เขียนๆ | นั่งเล่นในสวน ชวนคุยเรื่องเกม
LinkedIn
http://img387.imageshack.us/my.php?image=img02401bi2.jpg
+1 ในการพัฒนาด้านการวิจัยและ thesis รวมทั้งการต่อยอดไปใช้ในเชิงการค้าและเพื่อประโยชน์ต่อไป
อยากให้เพิ่มงบประมาณของ R&D ให้มากกว่านี้ (เทียบตาม GDP แล้วยังน้อยกว่าชาติอื่นๆอยู่มาก) แต่ความเป็นจริงคงทำได้ยากในระยะเวลาอันสั้น ผมขอเสนอให้ปฏิรูปการให้ทุนวิจัยใหม่โดย
1.มีเป้าหมายชัดเจน เจียดเงินทุนทำโครงการใหญ่ (megaproject) มีความเสี่ยงสูงบ้าง (เพื่อหวัง impact สูง ปัจจุบันให้ทุนที่ละนิดที่ละหน่อย แต่ละคนก็จะ play safe เลือกทำงานที่มีผลออก แต่นำไปใช้ได้น้อย) โดยเลือกหัวข้อที่ประเทศชาติต้องการและเรามีศักยภาพที่จะทำได้ แล้วให้ทุนสนับสนุนก้อนใหญ่ ยกตัวอย่างญี่ปุ่นมีโครงการสำรวจทะเลลึก โครงการโปรตีน 3000 (ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ) โครงการนิวเคลียร์ฟิวชัน ยุโรปมี European Biobank และ AURORA BOREALIS อย่างน้อยไทยน่าจะมีโครงการยาโลกเขตร้อนอย่าง T2 ที่เคยทำ
2.สร้างเครือข่ายนักวิจัยไทยที่ทำงานเรื่องเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ไทยสื่อสารกันน้อยมาก ส่วนใหญ่จะได้ connection จากต่างประเทศโดยเฉพาะที่ๆแต่ละคนไปเรียนมา จะมีประโยชน์อะไรหากเราส่งคนไปเรียนที่อเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น เพื่อหวังว่าเค้าจะเอาสิ่งดีๆแต่ละที่มาแชร์ประสบการณ์กันเพื่อพัฒนาเมืองไทยแต่กลับมาแล้วเค้า(นักวิจัย)ไม่ค่อยได้คุยกัน ผมเสนอให้จัดสรรทุนวิจัยในรูปแบบกลุ่มนักวิจัยให้มากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มที่ฟอร์มจากหลากหลายสถาบัน สนับสนุนงานประชุมระดับชาติเป็นประจำในทุกๆสาขา(ไม่ต้องใหญ่แต่ขอให้ต่อเนื่อง) ให้มีเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดงานประชุมระดับภูมิภาค (SE Asia) โดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง
จริงๆอยากเสนออีกแต่แค่นี้ก็เกินไปหลายบรรทัดแล้ว
ที่เขียนมาก็น่าสนใจหลายอย่าง ลองตั้งกระทู้ใน forum ดูสิครับ
+10 ในข้อ 2 ครับ
และขอเสริมว่าการจัดงานประชุมควรทำให้มันเป็น Elite หน่อยนึง ไม่ใช่กลัวคนไม่มา เลยรับหมดทุก Paper สุดท้ายมันก็จะกลายเป็นการประชุมที่ไร้คุณค่าไป ไม่มีประโยชน์
BioLawCom.De
เห็นชอบด้วยครับ
แต่ผมว่าก็มีเยอะน่ะงานวิจัยในไทยแต่ไม่ได้เพยแพร่หรือมีศูนย์รวมข้อมูลที่มันมีประสิทธิภาพ อยากแบบนี้มากกว่า
ทำแล้วสานต่อ ทำแล้วไม่ห่วงรู้จักแบ่งปั่นและเผยแพร่ผุ้อื่นบ้างครับ
---- มีความสุขที่พอดี กับชีวิตที่พอเพียง
อยากให้โปรโมทการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการมากกว่านี้ครับ อย่างน้อยตอนแข่งก็รายงานผลทุกวัน
ตอนนี้ส่วนใหญ่ออกข่าวแค่ตอนได้เหรียญกลับบ้าน