ในปีนี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี วางแผนทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาบริการเทคโนโลยีสารสนเทศแบบพร้อมใช้งานด้วยการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ อย่างเช่นการให้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลออนไลน์และซอฟต์แวร์ออนไลน์ประเภท SaaS ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว
คุณพูนลาภ ชัชวาลโฆษิต ที่ปรึกษาอาวุโสของซีพีกล่าวว่า การใช้เทคโนโลยีมัลติคอร์สามารถรองรับภาระการประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการรองรับภาระการประมวลผลที่มีจำนวนมากและสามารถตอบสนองผู้ใช้ได้ทันที จัดว่าเป็นพื้นฐานของการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ นอกจากนี้ ซีพียังได้พัฒนาระบบสารสนเทศให้เป็นหน่วยของบริการด้วยสถาปัตยกรรมที่รู้จักกันในชื่อว่า SOA อันทำให้ผู้ใช้ในซีพีสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศได้อย่างยืดหยุ่นและรวดเร็ว ทั้งนี้ ซีพีศึกษามาแล้วว่า การใช้สถาปัตยกรรม SOA ให้เกิดประสิทธิภาพได้นั้น ต้องใช้วิธีจัดการกระบวนการภายในองค์กรที่เรียกว่า BPM ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการรวมบริการและประสานการทำงานของบริการได้
จากข้อมูลที่เปิดเผยในแหล่งข่าว ผมคาดว่าซีพีกำลังจะพัฒนาระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆเพื่อใช้ภายในเครือของซีพีเอง แต่ในอนาคตก็เป็นไปได้ว่า เราอาจจะได้เห็นการให้บริการการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆของซีพีแบบ Amazon EC2, Google App Engine, หรือ Salesforce ที่เปิดให้ลูกค้าของซีพีสามารถเข้ามาใช้บริการได้
ที่มา - Bangkok Post
Comments
CP นี่เมพจริืง......
เงินทุนสูงแล้วยังพัฒนาด้านงานวิจัย
จึงทำให้ครอบครุมทุกอย่าง
เห็นข่าวนี้ น่าดีใจ ที่บริษัทไทยให้ความสนใจกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และนำมาใช้จริงๆ แต่การทำ Cloud Computing ถ้าจะทำเอง คงต้องเป็นกลุ่มบริษัทใหญ่ๆ ลงทุนถึงจะคุ้ม ถ้าเล็กๆ ก็หันไปใช้ของ ที่อื่นก่อนละกัน... แต่พอไปใช้ของตปท. ก็น่าเสียดาย bandwidth ที่ต้องวิ่งออกไปนอกประเทศ เพื่อไปคำนวนแล้วส่งกลับมาเมืองไทยอีกที.....
เมื่อไรเมืองไทยจะมีเปิดให้บริการให้คนทั่วไป แบบนี้บ้างเน้อ....
Pawoot.com , หนังสือ-สัมมนา E-Business
Pawoot.com
ประเทศไทยก้าวหน้า 1 ระดับ
Suntiwong.net
iauuu.com
+1
+1 บริษัท CP จะเป็นบริษัทที่ยั่งยื่นต่อไปในอนาคต
</mOkin™>มีความสุขที่พอดี กับชีวิตที่พอเพียง</mOkin™>
เรื่องๆดีที่เราไม่ค่อยได้เห็น
onedd.net
onedd.net
เพิ่งอ่านไปเมื่อวานครับ Debate: Is "SOA" Dead? จาก infoq ชอบอันนี้
SOA fatigue has turned into SOA disillusionment. Business people no longer believe that SOA will deliver spectacular benefits. “SOA” has become a bad word. It must be removed from our vocabulary.
จากงานวิจัยของยักษ์ใหญ่การ์ทเนอร์เขาเคยวิเคราะห์ไว้เช่นกันครับ ว่ายังไม่ถึงเวลาของ SOA ในเร็วๆนี้ ดูได้จาก Hype Cycle
เทคโนโลยีบางตัวมันต้องการระยะเวลาในการเติบโต บางตัวเกิดมาใหม่ๆก็มีคนเอ็นดูและไปได้รุ่งเลย บางตัวมาแล้วก็ดับ และบางตัวมาต้องการการศึกษาวิัจัย การกำเนิดของเทคโนโลยีอื่นๆที่จะมาช่วยสนับสนุนด้วย ดูอย่าง Parallel Computing สำหรับธุรกิจก็ได้ มันต้องการเทคโนโลยี เช่น multicore หรือ Kill App หรือกุญแจอะไรสักอย่างที่ทำให้มันเป็นที่ยอมรับในภาคธุรกิจได้ ซึ่งตอนนี้ วงการเกมก็ยอมรับ Parallel Computing ไปเรียบร้อยแล้วครับ
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
จะรอดูต่อไปเรื่อยๆครับ
ผมเข้าใจว่าต่อไป SOA จะไม่มาในคำว่า SOA แต่จะมาในฐานะ mash-up แทน
onedd.net
onedd.net
ข่าวต่อไป CP เล็งสร้าง Grid Computing ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ เตรียมวางระบบผ่านเครือข่าย 7-eleven คาดว่า สามารถเข้าถึงชุมชนอย่างแน่นอน!!!
ใครจะ Service หละเนี่ย
ระวังเก็บตังค์ไม่ได้นะครับ เสี่ยเค้าเขี้ยว ^^
Oakyman.com
อิอิ ^_^ ใช่ครับ โครงการใหญ่ๆเช่นนี้ก็ต้องควบคุมกันหน่อย
เท่าที่เสนอในข่าวนะครับ เริ่มต้นซีพีใช้ภายในเครือบริษัทของซีพีเองครับ เรียกว่า Private Cloud การทำ Private Cloud สำหรับองค์กรขนาดใหญ่อย่างซีพี สามารถช่วยรวมศูนย์ระบบไอทีมาไว้ที่เดียวกันได้ ด้วยการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆจะทำให้องค์กรมีระบบการประมวลผลที่ยืดขยายได้ ในภาพรวมขององค์กรแล้ว องค์กรสามารถควบคุมต้นทุน ค่าใช้จ่าย รวมถึงการบริหารจัดการระบบได้มีประสิทธิภาพ
จริงๆ Amazon ก็เริ่มใช้ Private Cloud กับบริษัทในเครือและสมาชิก ก่อนที่จะเปิดตัว EC2 ให้เป็น Public Cloud ซะอีกครับ รายละเอียดอธิบายไว้ในหนังสือชื่อ Big Switch ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า Amazon พิสูจน์ความสำเร็จของเทคโนโลยีดังกล่าวให้บริษัทไอทีได้เห็นมาแล้ว อีกตัวอย่างที่ใช้ Private Cloud ก็คือ DoD (ข่าวเก่า)
อย่างที่คุณ Pawoot กล่าวไว้ด้านบนครับ บริษัทที่จะทำ Private Cloud ต้องมีกำลังเงินหรือกำลังคน และผู้เชี่ยวชาญพอสมควร หากเป็นบริษัท SME หรือบุคคลทั่วไป หากต้องการใช้บริการ Cloud คงต้องพึ่งพา Public Cloud หรือ Commercial Cloud ครับ
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
service ระบบงานราชการครับ ส่งคนไปรอเซ็นเรียบร้อยแล้ว ^ ^
คอนเฟริมอีกรายครับ CP นี่สุดเหนียวเลยครับ
พอดีอยู่ในเหตุการณ์ของการให้สัมภาษณ์นี้ วันนั้นเป็นงานสัมมนาที่ Software Park จัดให้กับ CEO ของสมาชิกของ Software Park และูผู้สนใจทั่วไป โดยคุณพูนลาภ เป็นวิทยากร
ดูเหมือนวิทยากรจะมาจากทีมศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรของ CP เห็นว่าทางทีมนี้ของ CP ได้ศึกษาค้นคว้าวัจัยพัฒนาใช้งานแล้วมาหลายปีแล้ว มีข้อมูลจากนักวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องมาให้ผู้ร่วมสัมมนาดูหลายตัว
วัตถุประสงค์ของงานก็คือ เพื่อกระตุ้นให้องค์กรและซอฟต์แวร์เฮ้าส์ในบ้านเรา หันมาศึกษาเรื่องของ BPM, SOA, SaaS, Web2.0 และ Cloud กันอย่างจริงๆ จังๆ เพื่อจะได้สามารถใช้ประโยชน์กับเทคโนโลยีพวกนี้ได้
็
และดูเหมือนว่า ทางทีมนี้ของ CP ลงมาร่วมผลักดันให้ข้อมูล และความรู้ ร่วมกับทาง Software Park เพื่อผลักดันประเด็นพวกนี้กับบ้านเรา เป็นเรื่องเป็นราว กว่า 2 ปีแล้ว ในเรื่องของ Software Process Improvement, Architect, Web Application Security และปี 2552 จะเริ่มผลักดันเรื่อง ฺBPM, SOA, SaaS, Web 2.0 กับ Cloud ้ด้วย
โดยแกพูดถึงกลุ่ม ThailandSPIN กับกลุ่ม Architect ที่ทำร่วมกับ Software Park
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนี้มากเลยครับ อ่านแล้วรู้สึกตื่นเต้นเหมือนกับได้เข้าไปฟังด้วยเลย คือ ถ้ามีบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ บวกกับมีความรู้ความสามารถที่ลงมือและพร้อมลงมือ มีกำลังของทีมงานที่มีความมุ่งมั่น เมื่อเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยก็เป็นที่หนึ่งได้ครับ
จริงๆเรื่องอันดับหนึ่งหรืออันดับต้นๆไม่ได้มีนัยใดๆต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ หากแต่คำว่า "พัฒนา" นั้นเป็นสิ่งที่เราต้องบรรลุให้ได้ แม้ว่าจะได้ลำดับที่เท่าไหร่ก็ตาม ถ้าพัฒนาขึ้นด้วยการก้าวสั้นก้าวยาว ก็ถือว่าเป็นการพัฒนา
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ผมว่าตอนนี้คงได้ในระดับ Service ส่วน Service-Oriented Architecture คงต้องรออีกหน่อย อย่างน้อยการ implement ระดับภายในองค์กรคงทำได้ไม่ยาก (อย่าง CP นี่ก็สุดยอดแล้ว) แต่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรในอุดมคติอย่าง e-Government คงต้องรอ service-based infrastructure ให้ครบสมบูรณ์ก่อน (ภาคธุรกิจคงพร้อมกว่าภาครัฐ) และอีกอย่างการบูรณาการข้อมูลภาครัฐ(บาลไทย) คงต้องศึกษากันอีกยาว อันนี้ต้องอาศัย motivation กันทั้งประเทศครับ โดยมากปัจจุบันจะเน้นพัฒนา platform ของใครของมันพัฒนากันต่อยอดไปเรื่อย ในทางกลับกันเรื่อง interface กลางยังไม่ค่อยมีคนพูดถึงและทำอย่างจริงจัง โดยส่วนตัวคิดว่าจะพัฒนาแบบ centralized คงทำได้อยาก แต่หาก decentralized ก่อนแล้วค่อยทำ service/data centralization น่าจะเหมาะสมกว่า (คิดว่านะ) สำคัญคือควรคำนึง platform + interface (ดีๆ) แค่นี้ก็น่าปลื้มใจแล้ว กพร. คงจะรู้ข่าว CP แล้วมั้ง ^^
ไม่แปลกใจ เพราะมันคือเทรนด์อยู่แล้ว
บังเอิญผมได้มีโอกาสไปร่วมงานสัมนาที่ Symantec จัดให้กับทางภาครัฐ และ สัมนา SOA ที่ NECTEC จัด เหมือนกับว่าทางภาครัฐมีการประสานความร่วมมือกับทาง CP ทีมนี้อยู่นะครับ เพราะผมเจอว่า คุณพูนลาภ ถูกเชิญไปพูดด้วย โดยแกพูดสนับสนุนให้เกิดการนำ Open Source และ Open Standard มาใช้ในการประยุกต์เกี่ยวกับ SOA เช่นเดียวกับทีทาง CP ดำเนินการแล้ว เห็นว่าดำเนินการมาแล้วหลายปีแล้วด้วย นอกจากนี้ยังเน้นประเด็นที่เกี่ยวกับ Community ของ Software Process Improvement และ Architect ของ Software Park ด้วยครับ
เมื่อวันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน ได้มีโอกาสไปร่วมงานของ CIO ภาครัฐ เกี่ยวกับ Cloud โดยทาง Salesforce.com เป็นคนจัด ก็มีผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานไอทีของภาครัฐเข้าร่วมมากมาย ในงานก็มี ดร.โกเมน จาก ThaiCERT, ผู้อำนวยการของ Software Park, CSO ของปตท., อ.ปริญญา (ACIS) ซึ่งคุณพูนลาภ ก็ได้รับเชิญอีกเช่นกัน
ทาง SalesForce.com พยายามนำเสนอว่าพร้อมให้บริการกับภาครัฐเต็มที่ โดยยัง challenge คนฟังด้วยว่า SalesForce.com เป็นแนวทางที่ดีกว่า Microsoft เลยโดยทางคนจาก Microsoft ชวนว่าลงมาทำโครงการพร้อมกันดีกว่า ลูกค้าจะได้เห็นภาพ และเข้าใจ
ส่วนผู้บริหารไอทีของภาครัฐส่วนใหญ่ก็ถามในหลายประเด็น โดยเฉพาะด้าน IT Security ส่วนประเด็นอื่นๆ ก็ได้แก่ BCP, การย้ายข้อมูลหากเลิกใช้บริการ ฯลฯ ซึ่ง SalesForce.com ก็ไม่ได้มีคำตอบที่ชัดเจนแต่ประการใด ทำให้เกิดบรรยากาศที่ค่อนข้างเครียดๆ ไป เพราะตอบเลี่ยงไปมา และเหมือนไม่มี่คำตอบ
ตอนท้ายคุณพูนลาภ เลยขึ้นมาอธิบายจาก floor ถึงกลุ่มเป้าหมายของ Saleforce.com ว่าคือ SaaS แบบหนึ่ง และที่เติบโตก็เกิดจากการที่ ให้บริการกับ ผู้ที่ค้าขายบน Internet เพราะธุรกิจออนไลน์เหล่านี้ไม่มีสำนักงาน หรือไม่ต้องการให้เชื่อมต่อกับระบบของสำนักงาน หรือเชื่อมให้น้อยที่สุด เลยทำให้เป็นโอกาสทางการตลาดของ Salesforce.com ไป องค์กรที่มาอยู่ในวันนั้นไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของ Salesforce.com เลย อาจจะมีก็ในกรณีว่า ต้องการเปิดให้บริการประชาชนบน Internet และต้องการให้มีระบบรองรับสมบูรณ์ขึ้น
คุณพูนลาภ ยังอธิบายเสริมว่า Cloud เกิดจากความต้องการขยายระบบรองรับการใช้งานที่ไม่จำกัด ทั้งในด้านของระบบพื้นฐาน ระบบเครือข่าย Security Storage ฯลฯ
คุณพูนลาภ ยังยกตัวอย่างรายงาน SaaS จาก Gartner สรุปไตรมาสแรก ที่ว่า CRM เป้นอันดับ 1 ตามมาโดย Web Conferencing
ซึ่ง Salesforce.com ไม่ได้ตอบแก้แต่ประการใด เพราะการอธิบายของคุณพูนลาภ เท่ากับบอกว่าที่ Salesforce.com นำเสนอมานั้นค่อนข้างจะผิดเพี้ยนไปจากความจริงมาก ออกแนวขายของอย่างเดียว
ยิ่งหลังจากนั้นคุณไชยกร CSO จาก ปตท. ก็อธิบายจาก Floor อีกว่า ต้องพิจารณาให้ละเอียดด้วย เพราะ SalesForce.com ไม่มี Local Cloud ซึ่งทำให้ไม่รู้ว่า ระหว่างประมวลผลข้อมูล ระบบประมวลผลที่ประเทศไหน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาทางกฏหมายที่เกี่ยวข้องตามมาได้ ซึ่งกรณีของญี่ปุ่นที่ยกมา Saleforce.com ตั้ง Local Cloud
บรรยากาศในห้องก็ดูว่าทุกคนสบายใจขึ้น เหมือนกับว่า เข้าใจแล้ว
อ้อ ตอนเลิก เหมือนคุณพูนลาภ จะคุยกับ ผอ.ของ Software Park เกี่ยวกับว่า Software Park น่าจะตั้ง Cloud สำหรับ SME โดยอาศัย Software House ของไทย และมี อ.ปริญญา สนับสนุนด้วย ได้ยินว่า หากตั้งคุณพูนลาภ รับจะไปช่วย Architect ให้ด้วย ซึ่งทาง ผอ.Software Park คุณสุวิภา ก็รับว่าจะลองไปพิจารณาหาแนวทางในการจัดตัั้ง Cloud นี้ดู
และเหมือนได้ยินว่า ผอ.ของ Software Park ก็คุยกับทาง Salesforce.com ว่า อาจจะเชิญมาพูดในประเด็นว่า หากจะพัฒนาบริการบน Salesforce.com ด้วยครับ
ก็พอดีเป็นการถามตอบที่นานมาก น่าจะเริ่มสักเกือบ 3 ทุ่ม จบ 5 ทุ่ม และคุยกันแบบเปิดให้คนอื่นได้มีส่วนร่วม เลยเก็บมาฝากได้เยอะครับ
เคย post ไปก่อนหน้านี้ว่า เจอว่า คุณพูนลาภแกคุยกับ ผอ.ซอฟต์แวร์พาร์คเรื่องโครงการพัฒนา Cloud ในประเทศไทยในงานสัมมางานหนึ่ง เมื่อหลายเดือนก่อน แล้วก็เพิ่งอ่านเจอข่าว ซอฟต์แวร์พาร์คจับมือทรูไอดีซีพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยบนเทคโนโลยี Cloud Computing จาก bangkokbiznews.com เมื่อวันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา ผู้เกี่ยวข้องมีทั้ง สวทช.เนคเทค ซอฟต์แวร์ พาร์ด ทรูไอดีซี มีการระบุถึงซีพีด้วย สงสัยจะเป็นเรื่องเดียวกัน(พอดี copy link มาแล้วมันยาว ใครสนใจลองไปค้นดูนะครับ)ในข่าวบอกว่า True IDC ให้บริการ Cloud แบบ IaaS แล้วด้วยครับ ทั้งแบบ Public และ Private Cloud
พอกลับมาอ่านกระทู้ที่ตอบตอนต้นอีกที เจอที่บอกว่าสงสัยว่า ซีพีจะทำแบบ Private Cloud เลยจำได้ว่า ผมจะไปได้ฟังคุณพูนลาภ เป็นวิทยากรให้กับทาง สมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ช่วงปลายปีที่แล้ว แก share ว่า Cloud ที่แกและทีมออกแบบให้กับซีพีเป็นแบบ Hybrid Model โดยมี True IDC สนับสนุนไม่ใช่แค่ Private Cloud และก็ไม่ใช่ SaaS ด้วย เป็น Busines Process as a Service แกบอกว่า ออกแบบและพัฒนาเป็น Servic Oriented Architecture ร่วมกับแนวทางของ Web 2.0 และ Social Software ทำให้ทั้งหมดกลายเป็น service component ที่ผู้ใช้งานสร้างและจัดการระบบได้เอง และเห็นว่าใช้งานจริงมาตั้งแต่ปี 2003 2004 แล้ว แกว่าช่วงนั้น ทีมแกลงไปสนับสนุนเทคโนโลยีให้เว็บ www.rainthailand.net ซึ่งเป็นเว็บแฟนคลับของเรน นักร้องเกาหลี แบบเป็นโครงการวิจัยเกี่ยวกับตอบรับจากผู้ใช้ที่เป็นคนธรรมดาสำหรับการสร้างเว็บด้วยแนวทางของเว็บเทคโนโลยีแบบ Web 2.0 และ Social Software ด้วย
และก็เจอคุณพูนลาภอีกทีในงาน ICT Excellence Award ของสมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย เมื่อเดือนก่อนอีก เห็นแกยืนคุยกับ รักษาการ ผอ.ของซิป้า ดร.วุฒิพงษ์ กับผู้บริหารของ ซอฟต์แวร์ พาร์ค ท่านหนึ่ง ตรงโซนที่จัดบูธ เกี่ยวกับการจัดตั้ง Thailand Cloud community ขึ้น ฟังแล้วน่าสนใจมาก แต่สักพักเขาเดินเข้าห้องไปร่วมงาน เลยไม่ได้ถาม
รู้สึกว่า คุณพูนลาภ จะทำอะไรเกี่ยวกับ Cloud เยอะมาก ไหนจะมีเรื่อง SOA, Web 2.0, Social Software ฟังดูเหมือนแกจะทำมาแล้ว และก็เห็นแกเป็นวิทยากรพูดเรื่อง Gartner Top Ten Strategy 2010 หลายงานแล้ว ออกงานก็จะเกริ่นด้วยประเด็นนี้ประจำ และเห็นแกออกงานสัมมนาในฐานะคณะทำงานของกลุ่ม Thailand SPIN กับ IT Architect (IASA)ด้วยนะ
ฝาก BN ติดต่อทางซอฟต์แวร์ พาร์ค ขอสัมภาษณ์แกกับทีมเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ให้หน่อยสิครับ เพราะผมเองก็ได้แค่ยืนฟังๆ หรือไปร่วมสัมมนา เก็บมาได้ คงไม่ได้ครบถ้วน บางอย่างก็อาจจะเข้าใจผิดได้ครับ