Connectivity Scorecard เป็นผลสำรวจด้าน "การเชื่อมต่อ" กับข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ (ไม่เฉพาะว่ามีจำนวนผู้ที่ใช้ระบบไอทีเท่าไร แต่รวมไปถึงตัวชี้วัดอื่นๆ เช่น แบนด์วิธออกต่างประเทศ งบประมาณด้านไอทีของภาคเอกชน e-Government ภาครัฐ อีกด้วย) สำรวจโดยบริษัทที่ปรึกษา LECG และนักวิจัยจาก London Business School มีสปอนเซอร์คือบริษัท Nokia Siemens Network
สำหรับของปี 2009 เป็นปีที่สองที่มีการสำรวจ และเป็นปีแรกที่ประเทศไทยอยู่ในการสำรวจ วิธีการสำรวจจะแบ่งประเทศออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 ประเทศ ซึ่งสองกลุ่มนี้จะใช้ตัวชี้วัดที่ต่างกันและจัดอันดับแยกกัน กลุ่มแรกคือประเทศพัฒนาแล้ว (Innovation driven economies) และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Efficiency and resource driven economies - เป็นภาษาสวยๆ ของ World Economics Forum)
ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มหลัง และผลสรุปคืออยู่อันดับ 11 จาก 25 ประเทศ ได้คะแนน 3.75 (สูงสุดในกลุ่มนี้คือมาเลเซีย 7.07 ต่ำสุดคือไนจีเรีย 1.30) ในรายงานฉบับที่เผยแพร่ไม่ได้บอกว่าประเทศไทยได้คะแนนแต่ละส่วนเท่าไรบ้าง
ส่วนตัวชี้วัดของกลุ่มประเทศที่สองมีดังนี้ครับ
ประเทศในกลุ่มแรกนั้นจะมีตัวชี้วัดที่ต่างออกไป เช่น มีจำนวนผู้ใช้ 3G, อินเทอร์เน็ตแบบไฟเบอร์, จำนวนหมายเลข IP ฯลฯ เพิ่มเข้ามาด้วย
ประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ในการจัดอันดับ มีดังนี้
ตัวเอกสารฉบับเต็มดาวน์โหลดได้จาก Connectivity Scorecard (PDF)
ที่มา - Ars Technica
อัพเดต เนื่องจากผมอ่านแต่ตัวเปเปอร์ฉบับเต็ม เลยพลาดข้อมูลที่อยู่บนเว็บของ Connectivity Scorecard ไป
คะแนนของประเทศไทยเป็นไปตามกราฟและตาราง
เนื่องจากว่าเรามีเฉพาะข้อมูลแบบแยกเป็นหมวด ไม่มีข้อมูลละเอียดของแต่ละตัวชี้วัด แต่แค่นี้เราก็คงเห็นว่าส่วนของผู้บริโภคไทยนั้นแข่งขันกับประเทศที่เป็นผู้นำได้สบาย ในขณะที่ส่วนของภาคธุรกิจและภาครัฐบาลนั้นมีคะแนนต่ำมาก ในผลการสำรวจครั้งนี้ได้ให้น้ำหนักกับภาคธุรกิจสูงมาก (ดูตามตารางคือ 67% ในขณะที่ภาครัฐบาลรวมกันแค่ 4% เท่านั้น) ดังนั้นถ้าจะตอบคำถามว่าทำไมคะแนนของประเทศไทยในการสำรวจนี้ถึงต่ำ ก็ต้องบอกว่าเป็นปัญหาที่ภาคธุรกิจนั่นเอง
ส่วนสำคัญที่ประเทศไทยได้คะแนนน้อยที่สุดคือ "โครงสร้างพื้นฐาน (ฝั่งธุรกิจ)" ตรงนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนที่ดีว่า ภาคธุรกิจไทยต้องนำไอทีมาใช้งานให้มากกว่านี้ เพื่อความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลก
เพิ่มเติม: หน้าของประเทศไทยบน Connectivity Scorecard, เอกสารเฉพาะข้อมูลของประเทศไทย (PDF)
Comments
จากกราฟ รัฐบาลดูจะ low-tech ไม่แปลกใจนัก แต่ภาคเอกชนนี่น่าแปลกใจแฮะ ไหงได้น้อยจัง สงสัยไม่ได้เอาค่าใช้จ่ายด้าน "ซอฟต์แวร์เถื่อน" ไปคำนวณด้วย 555+
ส่วน consumer คงจะได้เยอะเพราะ "จำนวนนาทีเฉลี่ยที่ใช้ในการคุยโทรศัพท์ (ผ่านมือถือ) "
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
Government : usage & skills คะแนนน้อยมาก
แต่ก็คงไม่น่าแปลกใจ
"สำรวจโดยบริษัทที่ปรึกษา LECG และนักวิจัยจาก London School of Economics มีสปอนเซอร์คือบริษัท Nokia Siemens Network"
จาก full paper มันคือนักวิจัยจาก London Business School (LBS) ค่ะ ไม่ใช่ London School of Economics (LSE) สถาบันทั้งสองแห่งนี้ไม่ใช่ที่เดียวกันค่ะ
อืม บรรทัดนี้ผมก็อปปี้มาจาก Ars Technica ซึ่งตรวจดูอีกรอบแล้ว Ars ก็ผิดเหมือนกัน
ขอบคุณที่แจ้งมานะครับ
จากข่าว เราว่าสาเหตุที่คะแนนฝั่ง Consumer ได้เยอะนอกจากจำนวนนาทีเฉลี่ยที่ใช้ในการคุยโทรศัพท์แล้วน่าจะมาจาก จำนวนหมายเลขโทรศัพท์มือถือต่อประชากร 100 คนด้วยนะ เพราะรู้สึกได้ว่าคนใกล้ตัวส่วนใหญ่มีเบอร์มือถือมากกว่าสองเบอร์กันทั้งนั้นเลย ส่วนเรื่องฝั่งราชการก็นะ อย่างที่รู้ๆกัน
แบบนี้บริษัทด้านนี้คงยิ้มออกนะ
my blog
ไม่เป็นไรค่ะคุณ MK
ตอนนี้กำลังหัวกำลังตันๆคิดหัวข้อวิทยานิพนธ์ไม่ออก
พออ่านตัว full paper ก็ได้ไอเดียมาพอสมควรเลย
ขอบคุณสำหรับ paper ดีๆค่ะ
ประเทศไทยก็มีดีนะครับในเรื่องแบบนี้ ไม่แพ้ต่างชาติเท่าไหร่ :)
มีกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว กับกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา...
พูดให้ดูหรูขึ้นมาหน่อยก็ "ประเทศกำลังพัฒนาครับ"
:-)
กำลังพัฒนา รึว่า กำลังแย่งผลประโยชน์ กันครับ
TAXZe.com|[T]echnology [A]dvise [X]-Ray [Z]ero [E]ffect