ความล่าช้าในการขนส่งข้อมูลขนาดใหญ่ถือว่าเป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ทำให้ผู้ใช้ส่วนหนึ่งไม่อยากฝากระบบไอทีไว้กับ cloud computing ซึ่งสาเหตุหนึ่งของปัญหานี้เกิดจากกระบวนการที่ฟุ่มเฟือยของโปรโตคอล TCP และเพื่อจัดการกับปัญหานี้ บริษัท Aspera จึงได้พัฒนาโปรโตคอลชื่อ Fast and Secure Protocol หรือมีชื่อย่อว่า FASP เพื่อตัดขั้นตอนบางขั้นตอนของ TCP ออกไป ทั้งนี้ ข้อมูลจากแหล่งข่าวได้ยกตัวอย่างการขนส่งข้อมูลข้ามสหรัฐอเมริกาผ่านแบนด์วิธขนาด 100 Mbps ว่า ถ้าหากใช้โปรโตคอล TCP แล้ว ความเร็วที่ได้จริงอาจเหลือเพียง 10 Mbps หรือน้อยกว่านั้น แต่ทาง Aspera อ้างว่าถ้าใช้โปรโตคอล FASP แล้วจะได้ความเร็วถึง 95 Mbps หรือมากกว่านั้น
เมื่อเร็วๆนี้ อเมซอนได้ประกาศว่าจะใช้โปรโตคอล FASP เพื่อเพิ่มความเร็วในการขนส่งข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ของลูกค้ากับบริการกลุ่มเมฆ* ที่อยู่ภายใต้บริการ Amazon Web Services เช่น บริการ Amazon EC2, บริการ Amazon S3, และบริการ Amazon SimpleDB เป็นต้น โดยบริการขนส่งข้อมูลด้วยโปรโตคอล FASP ได้ถูกเพิ่มเข้าไปในบริการเสริมที่ชื่อ Aspera On-demand
* บริการกลุ่มเมฆ (cloud service) หมายถึง บริการออนไลน์ที่อาศัย cloud computing เป็นพื้นฐานในการให้บริการ
ที่มา - Technology Review
Comments
รอทดสอบ ถ้าได้เร็วกว่าก็คงมาทดแทน TCP ได้
ดูท่าจะยากที่จะทดแทน TCP ได้นะ
ThinkPad drivers and applications for Windows 7 RTM are available. Check out from this page.
TCP/IP มาแทน IPX/SPX เมื่อไหร่นะ
ทำไมไม่ใช้นกพิราบ?
http://www.seasandsong.com/
+1 :)
My Blog / Follow me
My Blog
ฮ่าๆ
Priesdelly Blog
ยังไม่จบ จะฮาได้อีกกี่ข่าวเนีย
555+
มันบินสูงไม่พอครับ (ไม่ถึงกลุ่มเมฆ)
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
เพิ่มเติม
ต่อเนื่องจากข่าวนะครับ ผมขอเสริมเนื้อหาเกี่ยวกับอุปสรรคต่อการปรับตัวไปใช้ cloud computing ที่เกิดจากความล่าช้าของเครือข่าย
มีตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจอยู่ในรายงานของ Berkeley ชื่อ Above the Clouds: A Berkeley View of Cloud Computing (อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมหน้าที่ 13)
เนื้อหามีอยู่ว่า ถ้าลูกค้ารายหนึ่งต้องการประมวลผลข้อมูลขนาด 500GB ซึ่งถ้าใช้คอมพิวเตอร์ของลูกค้าเองต้องใช้เวลา 50 ชั่วโมง แต่ลูกค้าสามารถประมวลผลข้อมูลดังกล่าวให้แล้วเสร็จได้ภายใน 1 ชั่วโมงผ่านทางบริการของ Amazon EC2 อย่างไรก็ดี การขนส่งข้อมูลขนาด 500GB ไปยัง Amazon EC2 ต้องใช้เวลามากกว่า 55 ชั่วโมงเลยทีเดียว ซึ่งเวลาที่ใช้ในการขนส่งข้อมูลไม่คุ้มค่ากับการประมวลผล อีกทั้งระยะเวลารวม (56 ชั่วโมง) ยังมากกว่าเวลาสำหรับประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ของลูกค้าเอง ... ปัญหาอย่างนี้จึงไม่เหมาะกับ cloud computing
ในหน้าที่ 16 ของรายงานได้เสนอการใช้บริการ FedEx disk เพื่อต่อกรกับปัญหาดังกล่าว (เหมือนกับข่าวขนส่งข้อมูลด้วยนกพิราบโดยคุณ suphkorn) โดยลูกค้าบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่ (เช่น 500GB) ลงฮาร์ดดิสก์แล้วให้ FedEx ขนส่งฮาร์ดดิสก์ไปให้อเมซอน
บริการ FedEx disk อาจจะใช้เวลาขนส่งน้อยกว่า แต่ราคาถูกมากกว่ากันหรือเปล่า? ... ผมไม่ทราบเพราะไม่เคยใช้ FedEx และมันคงต้องคิดค่าส่งฮาร์ดดิสก์ไป-กลับด้วยหรือเปล่า? (และผมนึกไม่ออกว่านกพิราบจะขนฮาร์ดดิสก์ไปถึงหรือเปล่า?)
แต่ถ้าเป็นการส่งข้อมูลเข้าออก Amazon S3 หรือ EC2 ก็ตาม ค่าบริการมันเริ่มต้นที่ 0.10 เหรียญต่อเดือนต่อ GB ดังนั้น ถ้า 500GB ก็คิดเป็น 50 เหรียญ แล้วถ้าคิดค่าใช้จ่ายในการบันทึกข้อมูลลง Amazon S3 หรือ Amazon EBS ด้วยแล้วล่ะก็ ราคามันคิดเริ่มที่ 0.15 เหรียญต่อ GB ต่อเดือน ถ้า 500GB ก็คิดเป็น 75 เหรียญ รวมกับค่าขนส่งด้วยก็จะเป็น 125 เหรียญ
My Blog / Follow me
My Blog
The Data Scooter อาจจะดีกว่านกพิราบ
การออกแบบนี้คงน่าจะเป็นการลดพวก header ต่างๆ ที่ค่อนข้างซ้ำซ้อนมากเกินไป เมื่อใช้กับ data จำนวนขนาดใหญ่มากๆ มันอาจกลายเป็นมาตรฐานสำหรับ DATA Center มากกว่านะครับ แต่ยังคงไม่สามารถแทน TCP/IP ได้ง่ายๆ เพราะยังไงซะ End User กับการท่องเวปจะมี header ที่ซ้ำซ้อนกันน้อยมาก
ต่อไปอาจเป็น E-TCP/IP ก็ได้นะครับ เป็น Extended ของ TCP/IP อีกที (การร้องขอ Priority พิเศษในการเชื่อมต่อ) ผมว่าเทคโนโลยีนี้อาจเป็นที่ยอมรับอย่างรวดเร็ว เพราะช่วงนี้ data transfer ระหว่างประเทศนั้นค่อนข้างแออัดมาก