หลังจากนโยบาย network neutrality ของ FCC เป็นประเด็นร้อนให้ถกกันมาหลายยก ในสัปดาห์ที่แล้ว FCC ภายใต้การนำของรัฐบาลพรรคเดโมแครตก็ประกาศกฎ network neutrality ตามที่เคยให้ข่าวเอาไว้ก่อนหน้านี้
ต้องย้อนความก่อนว่า ในปี 2005 FCC เคยออกหลักการ 4 ข้อที่ช่วยการันตีว่าอินเทอร์เน็ตแบบบรอดแบนด์จะเป็นระบบเปิดที่คนทั่วไปสามารถเข้าใช้งานได้ หลักการ 4 ข้อนี้เรียกว่า Broadband Policy Statement หรือ Internet Policy Statement (PDF ต้นฉบับ) ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
ต้นฉบับ
- Consumers are entitled to access the lawful Internet content of their choice.
- Consumers are entitled to run applications and use services of their choice, subject to the needs of law enforcement.
- Consumers are entitled to connect their choice of legal devices that do not harm the network.
- Consumers are entitled to competition among network providers, application and service providers, and content providers.
แปลแบบย่อๆ
ข้ามเวลามาปี 2009 แนวทางของ FCC ในการสนับสนุน net neutrality คือออกหลักการข้อที่ 5 และ 6 เพิ่มอีกสองข้อ ดังนี้
- A provider of broadband Internet access service must treat lawful content, applications, and services in a nondiscriminatory manner
- A provider of broadband Internet access service must disclose such information concerning network management and other practices as is reasonably required for users and content, application, and service providers to enjoy the protections specified in this rulemaking
แปลแบบย่อๆ
ประเด็นที่ยังมีความกำกวมอยู่คือคำว่า "จัดการเครือข่าย" หรือที่ต้นฉบับใช้ว่า "network management" ซึ่งทาง FCC ได้ออกคำอธิบายเสริมมา (ยังกำกวมอยู่ดี ดูข้อสุดท้าย)
- To manage congestion on networks
- To address harmful traffic (viruses, spam)
- To block unlawful content (child porn)
- To block unlawful transfers of content (copyright infringement)
- For "other reasonable network management practices"
ประเด็นนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันต่อไป FCC จะรับฟังความคิดเห็นของหลักการข้อที่ 5 และ 6 ไปจนถึงเดือนมกราคม 2010 ครับ
ที่มา - Ars Technica, GigaOm
Comments
ผมกำลังคิดแบบเห็นแก่ตัว... ว่าไอ้ส่วน "ถูกกฏหมาย" นี่ตัดออกได้มั้ย?
โดยหลักกฏหมายทุกอย่างจะยังเป็นเรื่องที่ถูกอยู่จนกว่าจะมีคำพิพากษานะครับ
และเราไม่ใช่คนที่จะตัดสิน
ผมว่าตามหลักการนี้มันไม่มีข้อเสียอะไรอย่างที่ออกมาโจมตีกันเลย
อยากรู้ว่ากลุ่มผู้คัดค้านจะค้านยังไงต่อ
/me นึกถึงคดีเพลงชาติฉบับพี่เบิร์ดขึ้นมาเลย
ผมว่าเหตุผลก็เหมือนที่ถกกันในข่าวก่อนๆ อยู่ดี
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
(แค่เฉพาะที่ถูกกฎหมาย) เขียนไว้อย่างคลุมเครือมาก จะทำจริืงด้วยวิธีการใดไม่ได้บอกและไม่ได้เสนอแนะไว้เลย
ยิ่งไปกว่านั้นหลาย ๆ คนตรงนี้คงไม่ค่อยสนใจข้อบังคับตรงนี้สักเท่าไร อยากรู้เหมือนกันว่าถ้า Bit ได้เฉพาะของที่ถูกกฎหมาย จะเหลือของที่ Download ได้สักกี่ GB
That is the way things are.
ถูกกฎหมายหรือไม่ ก็ไปดูกฎหมายอื่นของสหรัฐไงครับ การเขียนกฎแบบนี้จะได้ไม่ต้องมานั่งนิยามทุกครั้งว่าอะไรถูกกฎหมายบ้าง
เหมือนกฏหมาย ซื้อ อาวุธ และ เครื่องกระสุน
ระบุแค่ว่า บรรลุนิติภาวะ แต่ไม่ได้บอกว่า บรรลุนิติภาวะคืออะไร
ก็ต้องขึ้นไปดูกฏหมายที่สูงกว่า (หรืออื่นๆ) ว่าระบุไว้ว่าอะไร
จริงๆ FCC น่าจะยอมให้ทำ QoS ลักษณะ Priority(ไม่ shaper) ได้ เช่น VoIP จะได้รับบริการที่ดีกว่า FTP ในกรณีที่ Link ได้ถูกใช้งานเต็ม 100% ไปแล้ว
ยัง Qos ใด้ครับ แต่ต้องเปิดเผิยว่า Qos ยังไง block อะไรบ้าง และเหตุผลในการทำเช่นนั้น
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
จะยังไงก็ได้ ขอให้ผม ssh + dns + im ไม่อืดก็โอเคละ
นึกถึงตอนอยู่มหาลัยแล้วมีคนใช้ไวเลสโหลดไฟล์ทำให้คนอื่นๆเข้าเว็บกันไม่ได้เลย -*-