ตลาดบริการ cloud computing ในไต้หวันกำลังเติบโตเป็นอย่างมาก โดยทาง Market Intelligence & Consulting Institute หรือ MIC ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยตลาดที่มีชื่อเสียงได้วิเคราะห์ว่า ปีนี้ตลาด cloud computing ในไต้หวันจะโตขึ้น 12.8 เปอร์เซ็นหรือคิดเป็นรายได้ประมาณ 5.56 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน โดยแบ่งเป็นรายได้จากบริการประเภท Infrastructure-as-a-Service (IaaS) จำนวน 5.07 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน และรายได้จากบริการประเภท Software-as-a-Service (SaaS) จำนวน 487 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน
ทั้งนี้ MIC ยังได้วิเคราะห์ต่อไปว่าในปี 2010 ตลาดนี้จะสามารถทำรายได้สูงถึง 6.21 พันล้านดอลลาร์ไต้หวันหรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 6.4 พันล้านบาท
ปัจจุบันนี้ บริษัทที่ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในไต้หวันเกือบ 35 เปอร์เซ็นกำลังใช้บริการ cloud computing โดย MIC ได้ทำการสำรวจเหตุผลของการใช้บริการ cloud computing แล้วพบว่า ส่วนใหญ่แล้วธุรกิจ SME ใช้ cloud computing เพราะว่ามีความยืดหยุ่นต่อการติดตั้งและการดำเนินงานของระบบสารสนเทศ อีกทั้งเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ
ที่มา - Taiwan News
cloud computing ในไต้หวันกำลังมาแรงมากครับ นอกจากข่าวนี้ ยังมีข่าวเก่าที่รายงานว่า ไมโครซอฟท์ได้เซ็นสัญญากับรัฐบาลไต้หวันในการก่อตั้งศูนย์ cloud computing เพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมของไต้หวันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อทำงานกับบริการ cloud computing ของไมโครซอฟท์
Comments
Cloud Computing เป้นเทคโนโลยีที่ผมอยากจะ implement มาใช้งานในองค์กร
แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดีเลย อ่านจากในหลายเว็บแล้วก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ
cloud computing สำหรับใช้ในองค์กรหรือที่เรียกว่า private cloud จริงๆแล้ว เราสามารถพูดได้ว่า องค์กรหลายแห่งในปัจจุบันมี private cloud ของตนอยู่แล้ว แต่มีประสิทธิภาพแบบ cloud computing ที่มันควรจะเป็นหรือเปล่าก็อีกเรื่องหนึ่งครับ
ถ้าจะเริ่ม implement เองแบบง่ายๆโดยไม่ต้องพึ่งคำปรึกษาจากบริษัทไอทีก็สามารถทำได้ครับ ลองหา virtual machine manager (VMM) สักตัว เช่น XenServer express edition เป็นต้น แล้วเตรียมเซิร์ฟเวอร์กลุ่มหนึ่ง โดยเซิร์ฟเวอร์สเปคดีๆก็สามารถสร้าง virtual machine หรือ virtual server ได้ประมาณ 20 เครื่องขึ้นไป ถ้ารุ่นไฮเอ็นด์มากๆก็สร้าง virtual machine ได้กว่า 50 เครื่องเลยแหละครับ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า จะสร้างกี่ virtual machine บนเซิร์ฟเวอร์ อันนี้ตัว VMM หลายตัวมันสามารถบอกได้ครับว่า มันรองรับได้เท่าไหร่ และมีตัว monitor ไว้ให้เราดูโหลด อีักทั้งมี live migration สำหรับย้าย virtual machine ไปรันเซิร์ฟเวอร์เครื่องอื่น ถ้าเป็น VMM เวอร์ชันขายรุ่นสูงๆมันจะมี load balancing ในตัวครับ
จากนั้นก็ต้องมี admin ที่คอยทำหน้าที่สร้าง virtual machine หรือเรียกว่า provisioning โดยเมื่อไหร่ก็ตาม แผนกต่างๆมีความต้องการเซิร์ฟเวอร์พร้อมกับโปรแกรมสักกลุ่มเพื่อใช้กับโครงการหนึ่ง ให้ติดต่อมาที่ admin เพื่อเตรียม virtual machine ให้ จากนั้น admin อาจจะให้ root password แก่แผนกนั้นเพื่อให้เขาดูแลเองต่อไป เมื่อไหร่ก็ตามที่ปิดโครงการ admin อาจจะทำลาย virtual machine เพื่อประหยัดพื้นที่เซิร์ฟเวอร์และเอาไปใช้ในงานอื่นๆต่อไป ... เป็นการสรุปคร่าวๆนะครับ
ป.ล. ผมได้ไอเดียเขียน blog ชิ้นถัดไปแล้ว ขอบคุณครับ :)
My Blog
อ่านดูแล้วน่าสนใจมากเลยครับ ผมจะรออ่านบทความต่อไปนะครับ ^^
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ผมใช้ Proxmox PVE อยู่ที่ทำงานครับ ตอนนี้
มันคลุมการทำงานของ OpenVZ(Contrainer) และ KVM(Virtualize) อีกที
ข้อดีคือ ตอนนี้มันทำ Cluster ได้ และรองรับ remote storage ได้แล้ว
สามารถทำ live migrate จาก server เครื่องหนึ่ง ไปอีกเครื่องหนึ่งใน cluster เดียวกันได้
และผมคิดว่า อยากให้มันฉลาดย้าย vm ข้ามเครื่องเอง การเขียน script monitor แล้วสั่งย้าย คงไม่น่ายาก
กำลังลองอยู่เลยครับ เดิมใช้ OpenVZ อย่างเดียว
ผมเข้าใจแบบนี้ถูกไหม จะคล้ายกับ VPS เพียงแต่ไม่ได้รันบน server เพียงเครื่องเดียว
จะกระจายอยู่ในหลาย ๆ เครื่อง โดย cloud จะมองกลุ่ม server เราเป็น server เครื่องเดียว
แบบจำลองการให้บริการของ cloud computing มีอยู่ 3 แบบใหญ่ คือ IaaS, PaaS, และ SaaS
IaaS ก็เหมือนกับ VPS เลยครับ ซึ่งเซิร์ฟเวอร์เสมือนกลุ่มหนึ่งสามารถรันอยู่บนเซิร์ฟเวอร์จริงเครื่องใดเครื่องหนึ่ง แต่ว่าลูกค้าจะเอากลุ่มเซิร์ฟเวอร์เสมือนที่รันอยู่บนเซิร์ฟเวอร์จริงเครื่องเดียว และ/หรือ กระจายบนหลายๆที่มาผนวกเป็น cluster เพื่อให้ถูกมองเป็นกลุ่มเดียว อันนี้ก็แล้วแต่ลูกค้า เรื่องการทำ cluster เป็นเทคนิคที่ทำได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็น cloud computing ครับ
ส่วน PaaS กับ SaaS มันจะทำงานอยู่บนคอมพิวเตอร์กี่เครื่องนั้น ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบ แต่เบื้องหลังของ PaaS กับ SaaS แล้วเขาต้องการทำให้ผู้ใช้มองระบบเสมือนกำลังใช้งานเซิร์ฟเวอร์สมรรถนะสูงเครื่องเดียว
My Blog