ตามรัฐธรรมนูญปี 40 กำหนดให้ประเทศไทยต้องมีองค์กรกำกับดูแลคลื่นความถี่ 2 องค์กรคือ กทช. และ กสช. ซึ่งสามารถตั้งสำเร็จได้แค่ กทช.
พอมาถึงรัฐธรรมนูญปี 50 ได้แก้ปัญหานี้โดยระบุว่ามีเพียงองค์กรเดียวคือ กสทช. ซึ่งจำเป็นต้องมี พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูและวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ... ซึ่งปัจจุบันผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้ว และอยู่ในชั้นของวุฒิสภา โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้กำหนดให้หน่วยงานที่เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ (เช่น ทหาร หรือรัฐวิสาหกิจ) ต้องคืนสิทธิ์ความเป็นเจ้าของคลื่นมาให้ กสทช. เพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ด้วยการประมูล
แต่ล่าสุด ทาง TOT ได้ออกมาค้านบางมาตราใน พ.ร.บ. นี้แล้ว โดยให้เหตุผลว่าการคืนความถี่ให้กับ กสทช. จะทำให้สัญญาสัมปทานของ TOT ที่ให้สัมปทานแก่ AIS มีปัญหา และจะส่งผลให้ TOT ขาดรายได้จาก AIS รวม 1.5 แสนล้านบาท
นายมนชัย หนูสงค์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารการลงทุนของ TOT กล่าวว่า "ไม่ควรยึดคลื่นคืนจากรัฐวิสาหกิจ เพราะรัฐวิสาหกิจยังมีเครือข่ายที่รับโอนจากเอกชนมาบริหารจัดการต่อหากไม่มีคลื่นความถี่โครงข่ายก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้"
ส่วนความเห็นจากฝั่ง CAT Telecom โดยนายวิโรจน์ โตเจริญวาณิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจร่วมการงาน บอกว่าผลจาก พ.ร.บ. นี้จะทำให้ CAT เสียรายได้จากสัมปทาน และทำให้ผลประกอบการเปลี่ยนมาเป็นขาดทุนในทันที ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตของ CAT
ที่มา - Post Today, ไทยรัฐ 1, ไทยรัฐ 2
Comments
หมายความว่า ไอ้สัญญาสัมปทานนี่เป็น SPOF ของ TOT & CAT งั้นเรอะ
โอ้วววววววว รัฐวิสาหกิจอันดับต้นๆ ของประเทศ
3G HSPA ทั่วประเทศปีนี้... สิ้นหวังแล้วสินะ
กลัว Cฏ?ฤ ขาดทุน....งามมั๊ยล่ะ
เป็นเอกชนแล้วนิ
สัญญาสัมปทานเป็นของเก่า ตั้งแต่สมัยเป็นรัฐวิสาหกิจน่ะครับ ถ้าผมจำไม่ผิด มันจะหมด 2558-2563 ขึ้นกับค่าย
เอกชนเฉพาะในชื่อครับ รัฐ'บาล'ถือหุ้น 100% อยู่เหมือนเดิม พูดง่ายๆมันก็รัฐวิสาหกิจดีๆนี่แหละ - -
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เหนื่อยใจ
เป็นเอกชนแล้ว อะไรที่เป็นของประเทศก็คืนสู่รัฐบาลไม่ไช่ยึดไปด้วย
ตัวถ่วงประเทศชาติของจริง ตัวพ่อ ออกมาแล้วนั่นไง
ผลของการมั่วนิ่มว่าภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมทำให้รัฐเสียประโยชน์(แค่เพื่อทำลายล้างกันทางการเมือง) พอจะต้องขยายเป็น 3G ก็เดือดร้อนกันเป็นแถบ หอกหักสิ้นดี
แล้วไอ้คำว่ารัฐเสียประโยชน์ มันคือ "รัฐ" หรือ "รัฐบาล" กันแน่ที่เสียผลประโยชน์
ปากมันเลยทีเดียว
ช่วยอธิบายส่วนที่บอกว่ามั่วนิ่มด้วยครับ
ก็ตรงที่ว่า "รัฐเสียประโยชน์ไงครับ"
เพราะว่าเงินที่ได้จากภาษีส่วนนี้ ไม่ได้เข้า TOT แต่เข้าคลังโดยตรง แต่สำนวนตะแบงไปตะแบงมา ว่า TOT เสียรายได้
ประกอบกับตอนนั้น 3G ยังไม่เริ่ม(แต่กำลังจะเริ่ม) ทำให้ภาษีส่วนนี้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
ก็ถูลู่ถูกังจะให้ยกเลิกให้ได้ เพื่อที่ให้เงินจ่ายแบบเดิม ตัวเองก็ทำตัวเป็นเอกชนกึ่งรัฐวิสาหกิจ เป็นเสือนอนกินต่อไป
เรื่องทีโอทีมันจะห่วยยังไงเป็นเรื่องที่รู้กันเองโดยทั่วไปผมคงไม่พูดถึงนะครับ
แต่ถ้าเรื่องเสียประโยชน์จากการแปลงค่าสัญญาสัมปทานเค้าคิดโดยหลักนี้ครับว่าเอาเข้าสรรพสามิตรหรือเข้าทีโทีก็ได้เท่ากันเค้าไม่ได้สนตรงนี้ครับแต่พอไปเป็นสรรพสามิตรเงินที่จ่ายมันเอาไปทำส่วนลดในการขอคืนหรือหักกับภาษีส่วนอื่นบวกลบแล้วเท่ากับแทบไม่ได้จ่ายเทคนิคนี้มีใช้กับบริษัทเอกชนทั่วไปครับแต่ตรงนี้ครับถึงทำให้รัฐเสียประโยชน์เพราะบริษัทสัมปทานซึ่งประมูลมาแปลว่ายินดีจ่ายเป็นเรื่องของสัญญาหลักสากลครับสัญญาต้องเป็นสัญญา แล้วมาแก้กันแบบนี้จะให้คิดยังไงครับ
โดยส่วนตัวผมไม่เห็นว่ามันเรื่องนี้จะทำให้ 3G ช้าหรือเร็วขึ้นนะครับเพราะมันขึ้นอยู่กับการประมูลมากกว่าทำเร็วเสร็จเร็วใช้เร็ว เรื่องทุนก็ต้องไปหากันเอาเองอยู่แล้วครับเค้าไม่ได้เอาค่าสัมปทานที่ได้มาแบบได้เปล่ามาลงทุนเพราะนั่นถือเป็นส่วนกำไรต้องส่งเข้าคลังอยู่แล้วในรูปปันผลครับ
ส่วนที่ยืนคัดค้านพ.ร.บ.ตัวใหม่ไปก็ต้องทำไปครับเพราะเค้าอยู่ในรูปของบริษัท(ถ้าไม่ค้านก็โดนด่าแล้วทำไมจะไม่ค้าน)แต่จะค้านได้ไม่ได้อยู่ที่สภาครับ ก็ต้องไปลุ้นกันครับว่าเลือกเอาอะไรเข้าไปในสภา
ปัญหาหนึ่งของ 3G คือการถ่วงกันเองของภาครัฐและเอกชนเรื่องของผลประโยชน์ ซึ่ง TOT และ CAT มีผลประโยชน์อยู่ด้วย ก็ไปร่วมด้วยช่วยถ่วงกับเอกชน
ควรหรือไ่ม่?
ยิ่งไปกันใหญ่ที่ TOT และ CAT จะไปร่วมให้บริการ 3G เพราะได้สัมปทานมา 9 ปี แต่ไม่ยอมทำ ก็เลิกเหอะ
ไอ้การหักภาษีเป็นส่วนลดผมก็เข้าใจว่ามันมี แต่ไอ้ืที่บอกว่าบวกลบแล้วเท่ากับไม่ได้จ่าย ใครคำนวนให้คุณฟังครับ?
ถ้ามันมีอะไรแบบนี้ ก็ไม่มีภาษีแล้วโลกนี้น่ะ
เอาจริงๆผมถามหน่อยว่าค่าสัมปทานต่างอะไรกับภาษี ในแง่หลักการ บ้างครับ
ผมว่าเขาหมายถึงบวกลบแล้วเท่ากับไม่ได้จ่ายภาษีสรรพสามิตเลย เพราะหักเอาจากค่าสัมปทาน
อธิบายก็ยาวครับแต่ถ้าอยากศึกษาเริ่มที่ ป.แพ่ง ประมวลรัษฎากร พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต ระเบียบกฏกระทวงการคลั่งว่าด้วยการขอคืนภาษี ระเีบียบกรมบัญชีกลาง สัญญาสัมปทาน แล้วก็มูลนิธิ
หักลบแล้วไม่ได้จ่ายคำนวนจากอะไร ให้ลองหาข้อมูลแจกแจงรายรับรายจ้ายและการเสียภาษีของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์จากตลาดหลักทรัพย์ดูครับกดเครื่องคิดเลขไม่ยาก
ส่วนใครคำนวนให้ผมฟังก็ต้องบอกว่าคู่สัมปทานในกรณีดังกล่าวเป็นคนส่งบัญชีซึ่งแสดงตัวเลขที่ว่าให้เป็นหลักฐานในชั้นศาลเองผมจึงไม่คิดว่าเค้าจะโกหกเพื่อให้ตัวเองเสียประโยชน์(ที่จริงเป็นแสดงหลักฐานเพื่อค้านฝ่ายโจทก์แต่กลายเป็นว่าหลักฐานสอดคล้องกัน)และตัวเลขตรงกับที่ส่งให้ตลาดหลักทรัพย์(ตลากหลักทรัพย์มีหน้าที่ตามพรบ.ตลาดหลักทรัพย์)
ต่างกันอย่างไร
ค่าสัญญาสัมปทานเป็นเงินที่ได้โดยการเปิดให้เอกชนผู้เสนอตัวจะทำการตามสัญญานี้จ่ายให้รัฐเพื่อได้รับอนุญาติดำเนินการและจากการแข่งขันเพื่อให้ได้สัญญาเพื่อความโปร่งใสส่วนใหญ่จึงเป็นการประมูลจะมีราคากลางผู้ให้ราคาสูงสุดจะได้ไปเมื่อได้ไปแล้วต้องดำเนินการประกอบกิจการตามสัญญานั้นและจ่ายค่าสัมปทาน ส่วนภาษีแยกได้อีกเป็นอากรและสรรพสามิตร(ความแตกต่างดูในป.รัษฎากรหมวด3และพรบ.สรรพสามิตร ม.7)ง่ายๆภาษีทุกคนต้องจ่ายไม่ต้องประมูลไม่ต้องแข่งขัน
TOT และ CAT มีผลประโยชน์อยู่ด้วย ก็ไปร่วมด้วยช่วยถ่วงกับเอกชนควรหรือไ่ม่?
ทั้งสองได้ไปอยู่ในรูปของบริษัทแล้วฉะนั้นเอาเข้าจริงๆอยู่ที่ความเด็ดขาดของกทช.เองมากว่าเพราะเป็นองค์กรอิสระมีอำนาจในการวางกฏระเบียบและกระจายคลื่นความถี่(จัดประมูล)และเป็นผู้รับรองในด้านความถี่ซึ่งมีอำนาจเต็มในด้านนี้ ก็เล่นไม่กำหนดเวลารับคำร้องพ่อก็ร้องกันไปมาผมจึงไม่แน่ใจว่าตกลงใครถ่วงใคร ควรหรือไม่ถ้าถ่วงจริงผมว่าไม่ควรแต่ถ้าเล่นเกมกันแบบนี้ผมมองเป็นเรื่องเทคนิคที่ทำได้แล้วถ้าคำร้องฟังขึ้นก็มองได้ว่าไม่ใช่การถ่วง
สัมปทานมา 9 ปี แต่ไม่ยอมทำ
ก็ดูกันว่าสัญญาสัมปทานเขียนว่าอย่างไรถ้าผิดสัญญาก็ยกเลิกกันได้
มันไม่ได้ผิดสัญญาล่ะครับ แต่ในฐานะประชาชนผู้เสียภาษี การที่หน่วยงานนึง เอาสัมปทาน 3G ไปดองไว้ 9 ปี แล้วไม่ทำ พอมันเริ่มบูม มีเอกชนอยากทำ แล้วหวงก้าง มันน่าทุเรศมากเลย
และมันส่งผลต่อการตัดสินใจสนับสนุนองค์กรณ์ดังกล่าวด้วย ว่าไม่ได้ทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ข้ออ้างในการยึดสัมปทานฟังไม่ขึ้น และทันทีที่หมดสัญญาก็ไม่ควรได้รับการต่อสัญญาอีกต่อไป
การกระทำที่จัดว่าเป็นการถ่วงไม่ใช่แค่เรื่องนี้ครับ ไอ้การที่เอกชนมายื่นค้านกันเองก็เรื่องนึง แต่ก่อนหน้านั้นการกระทำถ่วงนี่มีมาจากพวกนี้ก่อนแต่แรกแล้ว
เอกชนทำเพื่อกำไรของตัวเองเป็นสำคัญมันไม่แปลก แต่ TOT CAT พวกนี้ มันเป็นตัวอะไร?
ดังที่กล่าวไป ข้ออ้างที่ว่า "เพื่อให้่ TOT และ CAT เข้มแข็ง" สำหรับผมแล้วฟังไม่ขึ้น และหน่วยงานกึ่งราชการเช่นนี้ไม่ควรมีสิทธิ์ทำธุรกิจเพื่อกำไรอีก
ในทางตรงกันข้าม เมื่อตั้งภาษีสรรพสามิต แล้วรวม TOT และ CAT กลับเป็นหน่วยงานราชการ เพื่อดูแลสัมปทานและเรียกเก็บภาษี น่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า
ผมไปลองหาข้อมูลเพิ่มมาแล้ว สรุปว่าปัญหาของเรื่องนี้ มันไม่เกียวกับภาษีสรรพสามิตครับ!
ไอ้การที่พูดว่า "เท่ากับไม่ได้จ่ายอะไรเลย" ของคุณ จากข้อมูลที่ผมหามา
ผมเข้าใจว่าเกิดจาก พรก. ฉบับหนึ่ง ซึงออกหลังจากกฏหมายภาษีสรรพสามิต ที่ให้นำเอาภาษีสรรพสามิต ไปหักค่าสัมปทานได้
ซึ่งถ้ายกเลิก พรก. นี้ซะ ก็จะทำให้กลับไปจ่ายค่าสัมปทานเหมือนเดิม
ย้ำว่ามันคือ พรก. เป็นกฏหมายที่ออกเพื่อให้ผลบังคับใช้ในระยะสั้น เหมือน พรก.สถาณการณ์ฉุกเฉิน คือเอามาใช้เพื่อเป็นพิเศษในเรื่องอะไรบางอย่าง ไม่นานก็จะยกเลิก เพราะมันไม่ใช่ พรบ.
สรุปแล้วคือไม่เกี่ยวกัน และผมยังคงสามารถยืนยันได้ว่า ภาษีสรรพสามิตเป็นนโยบายที่ถูกต้องแล้ว
ถูกครับเรื่องพรก. แต่เท่ากับไม่ได้จ่ายอะไรเลย ผมยังยืนยันตามนี้ครับ เพราะเอาสรรพสามิตรไปหักจากสัมปทาน(มันเหมือนแค่เปลี่ยนชื่อมากกว่า)แล้วยังได้สิทธิ์อื่นจากการเสียสรรพสามิตรเพิ่มตามจำนวนที่จ่ายเพิ่มเพราะคิดตามสรรพสามิตร(ตรงนี้ครับที่จะทำให้บวกลบแล้วเสีย) แล้วโดยปกติสรรพสามิตรก็ต้องจ่ายอยู่แ้ล้วจากการนำเข้าอุปกรณ์ แล้วถ้าเป็นตามพรก.นี้แล้วอีกหน่อยกทช.(กสทช.)จะเอาอะไรกินครับเพราะเป็นผู้บริหารคลื่นความถี่และต้องใช้เงินในการทั้งหลายแหล่จากค่าสัญญาสัมปทาน(เช่น ประมูล 3G) องค์กรอิสระนี้หากินเองนะครับ(จัดตั่งตามรัฐธรรมนูญซึ่งขัดไม่ได้ซึ่งจะทำให้พรก.ตกไปแล้วแบบนี้จะออกมาทำไม) ฉะนั้นที่ว่าไม่เกี่ยวกันออกจะไม่ใช่ซะทีเดียวนะครับ
พรก.ออกอย่างถูกกฏหมายครับตอนที่ออกเพราะออกตามระเบียบถูกทุกอย่างเพราะฉะนั้นปัญหาเลยไม่ได้อยู่ี่ที่กฏ แต่เป็นตอนที่ออกคนออกไปมีเอี่ยวด้วยครับถึงมีปัญหา เพราะค่ายอื่นก็เปลี่ยน(และกำลังจะเปลี่ยน)มาใช้รูปแบบนี้เหมือนกันแต่ตอนนี้คงต้องวิ่งกันใหม่
ทั้งยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องที่ในรูปความแตกต่างระหว่างพรก. พรบ.ซึ่งที่จริงไม่มีการบัญญัติไว้ว่าแบบใดมีศักดิ์สูงกว่าแต่จากรูปแบบการออกจึงให้ความสำคัญต่อพรบ.มีน้ำหนักมากกว่าครับ เพราะสัมปทานจะไปเข้ากับป.แพ่งหรือพรบ.จัดตั่งอื่นๆ
ส่วนจะเป็นนโยบายที่ถูกหรือเปล่าถ้ามันไม่มีปัญหาถ้าทำแล้วดีขึ้นทำไม่จะไม่ทำครับ
ที่จริงยังมีเรื่องเทคนิคด้านความต่างของค่าสัมปทานกันสรรพสามิตรตามพรก.ที่คิดเป็นเปอร์เซ็นที่แตกต่างซึ่งและสิทธิ์ต่างๆอีกเยอะแต่เหนื่อยครับ
พรก. มีความแตกต่างตรงที่ใช้กำหนดทำอะไรบางอย่างในระยะสั้น ออกมาเพื่อแก้ไขสถาณการณ์เฉะพาะหน้า และผมจำไม่ผิด จะมีกำหนดเวลาครับว่าสิ้นสุดเมื่อไหร่
เข้าใจว่าในตอนนั้น ออก พรก. นั้นมา เพื่อชะลอการบังคับจ่ายเงิน เพื่อให้กลุ่มธุรกิจเดิม(AIS DTAC ฯลฯ) ไม่โวยวายกับการที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมกะทันหัน
เมื่อมีการยกเลิก พรก. นี้เมื่อไหร่ ก็เก็บตามเป้าหมายเดิม คือจ่ายค่าสัมปทาน + ภาษีสรรพสามิต ไม่มีการเอาไปหัก
ส่วนเรื่องการจ่ายภาษีแล้วจะมีการเอาค่าภาษีไปลดหย่อนอะไรต่อไป ก็เป็นส่วนปลีกย่อย ซึ่งผมไม่เชื่อเลยว่าจะสามารถหักลบจนรัฐเสียประโยชน์ได้จริง
การเป็นนโยบายที่ดีอาจทำให้ผู้มีอำนาจบางส่วนเสียประโยชน์จึงถูกยกเลิกก็มีความเป็นไปได้
ในเมื่อคุณเชื่อว่าทักษิณออกเพื่อเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง ผมจะเชื่อว่าสุรยุทธิ์ยกเลิกเพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้พวกพ้องบ้างได้มั้ยล่ะ?
ฉะนั้นว่ากันตามผลประโยชน์ที่รัฐชาติจะได้รับจริงดีกว่าครับ อย่าอ้างเลยว่าเอื้อผลประโยชน์รึเปล่ายังไง
อย่าให้ผมพูดถึงเลยว่าศาลก็ตัดสินใจพลาดได้ หรือบางทีมันก็ผิดตั้งแต่กฏหมายแล้ว
ผมอธิบายตามหลักกฏกมายครับ ไม่มีความเชื่อส่วนตัว(ยังไม่ได้อธิบายว่าทำไมมันพูดถึงแต่ทางแพ่งแต่คดีมันเป็นอาญา) แต่ถ้าจะคิดแบบนั้นก็ตามสบายครับเพราะมันไม่ได้ส่งผลใด
อธิบายส่วนของศาลครับ
ศาลไม่มีความผิดพลาดไม่ว่าในกรณีใดๆ เพราะตัดสินโดยการพิสูจน์หลักฐานแล้วหลักฐานใดกล่าวหาให้แย้งมาหักล้างกันไป ไม่ว่าจะระบบกล่าวหาหรือระบบไต่สวนแต่การพิสูจน์หลักฐานเป็นในบริบทเดียวกัน(เพราะป.วิ อาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยังไม่ออก)หากไม่สามารถพิสูจน์ความผิดได้ย่อมบริสุทธิ์ หากไม่สามารถหักล้างข้อกล่าวหาได้ยก็ย่อมมีความผิด ศาลเป็นเพียงผู้พิจารณา(ถึงกรณีนี้จะเป็นระบบไต่สวนแต่ศาลก็ไม่ได้ร่วมในการหาหลักฐาน) คดีเทียบเคียงคำอธิบายได้เช่น คดีฆาตกรรมนส.เชอรี่ แอน(อาญาระบบระบบกล่าวหา) จำเลยมีความผิดเพราะไม่อาจยืนยันความบริสุทธได้(ก็หลักฐานว่างั้น)เมื่อมีหลักฐานใหม่ว่าพยานปากสำคัญให้การเท็จ(พยานเดิมแต่กลายเป็นหลักฐานใหม่)ศาลก็ให้พ้นผิดเรื่องนี้ศาลไม่ต้องรับผิดชอบใดครับเพราะหลักฐานเป็นเรื่องที่หากันมาเอง ก็ไปฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาจากโจทก์ ส่วนจะว่ามันทำให้ใครแกล้งใครใส่ความใครหรือใครเป็นแพะขึ้นอยู่กับความสุจริตของประชาชนบนพื้นฐานกฏหมายเองครับสอนกันมายังไงทำงานกันมาอย่างไรก็ได้แบบนั้นครับ ถ้าไม่เชื่อมั่นในระบบก็ตัดสินผิดทุกคดีละครับ
คุณพูดอย่างกับหลายปีที่ผ่านมา ไม่มีวลี "เชื่อได้ว่า" ให้ประชาชนแตกแยกกันหนักหนาสาหัส
เรื่องที่ใช้พจนานุกรมก็อีก
เราต้องยอมรับก่อนครับว่าศาลทุกวันนี้ยังไม่ถึงขั้น ไม่มีวันตัดสินผิด 100%
เพราะศาลเป็นคนอยู่
เราอาจเชื่อได้ว่าศาลมักจะถูก แต่มันไม่เสมอไปหรอก
ในคดียึดทรัพย์ คนส่วนหนึ่งก็ยังเห็นว่าศาลตัดสินเคลือบแคลง แม้แต่คนที่ไม่พอใจจำเลยมาก่อนบางคน
การที่ศาลจะตัดสินว่า หลักฐานเท่าที่มี นับเป็นมูลความผิดได้หรือยัง พอจะชี้ให้ผิดได้อย่างแน่นอนหรือไม่
สุดท้ายเคาะออกมาว่า ผิดจริง
คือความรับผิดชอบของศาล ไม่ใช่หรือครับ?
"เชื่อได้ว่า" พูดกันมาแทบจะตลอดประวัติศาตร์ไทยซึ่งนิยมชมชอบข่าวลือคำอ้าง ไม่ว่าจะใครพูด "เชื่อได้ว่า" ที่ผมจะเชื่อต้องพิสูจน์ได้ครับ
ถ้าความชื่นชมส่วนตัวผมมีแน่แต่จะไม่เอาไปร่วมกันและแยกความผิดกับความชอบออกจากกันเพราะแม้แต่ในทางศาสนา(พุทธ)ยังไม่เอาไปหักล้างกัน ฉะนั้นถ้าใครจะใส่อะไรลงไปแล้วคนๆเอามาบอกผมก็คงต้องถามก่อนว่ามันมาไง ส่วนใครจะอคติเคลือบแคลงยังไงก็เป็นเรื่องส่วนตัว (จริงๆถ้าสังสัยอะไรให้ถามคนรู้ครับอย่าถามกันเองในหมู่เพราะไม่ทำให้รู้อะไรมากขึ้นส่วนผู้รู้จะอคติรึเปล่าอันนี้ต้องดูกันเองครับ)
การใช้พจนานุกรมเคยมีเกิดขึ้นแล้วหลายครั้งครับ ใช้ในกรณีที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดปฏิเสธหรือยอมรับโดยการอ้างคำหรือลักษณะแห่งการใดการหนึ่งโดยใช้คำใส่ไว้ในสำนวน เช่นกรณีดัง ลูกจ้าง-รับจ้าง (ถ้าจะหาส่วนใหญ่อยู่ในคำพิพากษาศาลฏีกาเก่าๆหน่อย) ไม่ใช่ครั้งแรกครับ
หลักฐานที่มีหากไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดให้ยกประโยชน์ให้จำเลย ส่วนเท่าไหร่จึงเพียงพอให้ดูในประมวลวิธีพิจารณาความในระบบคดีนั้น
แล้วก็อย่างที่บอกครับถ้าบริสุทธิ์ต้องพิสูจน์ได้ ถ้าทำผิดต้องพิสูจน์ได้ ออกมารูปไหนก็ตามนั้นครับหลักฐานหากันมาเอง ตัดสินตามกฏหมายซึ่งออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ แล้วจะให้ศาลรับผิดชอบส่วนไหนครับ
ส่วนเรื่องเต็มร้อยหรือไม่ผมเชื่อว่าเต็มร้อยตราบเท่าที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าเค้าไม่เต็มร้อยครับ เพราะหลักทุกคนมาศาลโดนสุจริตครับ
ถ้าจะอาศัยความเชื่อกฏหมายคงกลายเป็นการขอหวยละครับถูกมั่งไม่ถูกมั่งตามดวง ผมยืนยันและปฏิบัติตามหลักการนี้ตั่งแต่ตอนนี้ ก่อนหน้านี้ ก่อนหน้านั้น ก่อนหน้าโน้น และตลอดครับ(บ้านผมสอนกันมาอย่างนี้ครับผมถึงเรียนกฏหมาย) แนะนำคำนึงครับ "พิสูจน์" เป็นคำที่ดูจะไร้ค่าในสมัยนี้เหลือเกิน
ส่วนที่เหลือจะยังไงก็สุดแล้วแต่ครับ
กรณีลูกจ้าง-รับจ้าง มีนักกฏหมายมากมายครับ ที่ออกมาพูดว่า
มันมีบัญญัติอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเปิดพจนานุกรม
จริงหรือไม่ครับ? ช่วยตอบด้วย
มันเป็นเรื่องปกติในประวัติศาสตร์ครับ ที่ เมื่อการเมืองในประเทศย่ำแย่ หลักนิติรัฐตกต่ำ ความยุติธรรมก็จะบิดเบือนไปด้วยทั้งระบบ
ไม่งั้นหลายปีก่อนคงไม่มีคนบางกลุ่มออกมาประท้วง แต่ไม่ยอมฟ้องศาล เพราะเชื่อว่า "ศาลถูกซื้อ ถูกแทรกแซง"
แปลว่าจริงๆแล้วศาลบิดได้
ถ้าศาลเป็นโปรเซสคอมพิวเตอร์ กฏหมายมีอย่างนี้ ตีความตรงเป๊ะๆ ตัดสินไม่ผิดพลาด คงไม่มีใครยกย่องเปาบุ้นจิ้น
คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่าคุณเองไม่ได้อคติเข้าข้างศาล?
สุดท้าย ถามว่า ให้ศาลรับผิดชอบส่วนไหน
ก็ส่วนที่พูดว่า "เชื่อได้ว่า" ไงครับ
ไม่ว่าจะมีมูลความผิดมากแค่ไหน ถ้าต้องใช้คำว่า "เชื่อได้ว่า" แปลว่ามันไม่สามารถชี้ขาดได้ จริงหรือไม่ (ไม่อย่างนั้นคงไม่ต้องใช้คำนี้)
ถ้าในวันหน้าพิสูจน์ได้ว่า ที่ศาล "เชื่อ" มันผิด จะให้ใครรับผิดชอบความเสียหายต่อจำเลยครับ?
ถ้ากฏหมายผิด มีการแก้ไข คนที่ควรรับผิดชอบก็คือคนออกกฏหมาย ใช่ครับ
แต่ถ้ากฏหมายเหมือนเดิม แต่ตอนนั้น สิ่งที่ศาลเชื่อมันผิด
ผมไม่คิดว่าควรเป็นใครอื่นนอกจากศาลเอง
กรณีลูกจ้าง-รับจ้าง มีอยู่ในกฏหมายอื่นนะมีครับ(แพ่ง-อาญา)แต่ในรัฐธรรมนูญปี'50นี่เป็นคดีแรกแล้วคิดว่ามันจะเคยเกิดรึเปล่าครับ(คดีทางปกครอง)
ส่วนจะกลุ่มไหนออกมาพูดนั่นพูดนี่อะไรผมไม่ได้ให้ราคาเท่าไหร่เพราะเป็นแค่พูดลอยๆ ใครก็พูดได้ตอนนี้ก็ดูเหมือนคนเหล่านั้นก็รอวันเข้าคุกอยู่
ส่วนเรื่องผมจะอคติเข้าข้างศาลผมว่าคงไม่ แล้วก็ต้องถามว่าทำไมผมต้องเข้าข้างศาล ที่สำคัญศาลไม่มีข้างเพราะมีอำนาจสูงสุดในทางตุลาการ
ส่วนศาลต้องรับผิดชอบส่วนไหนหรื่อที่ศาลเชื่อหรือไม่เชื่อ จะให้ผิดหรือถูกอย่างไรให้ อ่านในความเห็นอันก่อนของผมชัดเจนอยู่แล้วครับ
+1 ล้าน (เชียร์ครับ)
ต้องใช้คำของโน๊ตอุดม "Thailand Only"
ไม่ต้องมีละ 3G
ผมว่า ปี 2011 โน้นแน่ ถึงผ่าน และ 2012 ได้ใช้จริงๆจังๆทั่วประเทศ
(2012 ถ้าเชื่อในคำพยากรณ์ ก็โลกแตกพอดี ไม่ได้ใช้กันละ)
ส่วนต่างประเทศ 4G หมดละ
ใช้ EDGE/GPRS ต่อไป
+1
ในเมื่อรู้ว่าจะเสียประโยชน์ ก่อนนี้ทำไมไม่เคยพัฒนาตัวเองให้ทันคู่แข่ง ต้องให้เอกชนมาดำผุดดำว่ายด้วยกันถึงจะพอใจ?? ทั้งที่จริงๆแล้วสององค์กรนี้น่าจะมีทรัพยากรอยู่ในมือมากกว่าเอกชนด้วยซ้ำ ผมเองก็อยากเห็นรัฐวิสาหกิจของไทยแข่งขันได้ แต่การเตะถ่วงดึงเสื้อชาวบ้านเนี่ย มันสมควรแล้วเหรอ? ควรโทษการบริหารงานของตัวเองก่อนที่จะโทษผู้อื่นมากกว่าไหม?
ปกติมันก็ขาดทุนกันอยู่แล้วไม่ใช่เหรองาย
I need healing.
แล้วเมื่อไหร่จะได้ใช้สักที
สิ้นหวังแล้วสินะประเทศไทย -*-
พูดไอ้คำเดียวไอ้ หอก
blognone เราจัดตั้งหน้าใหม่สำหรับอัพเดทข่าวพวกนี้ดีไหมครับ ถ้ามีอะไรที่ไม่ถูกต้องพวกเราจะได้ร่วมลงชื่อกัน แล้วก็ด่ามัน
อยากใช้ 3g โว้ย
Blog: https://medium.com/@tanakritsai
cdma ไง เปิดบริการมาหลายปีแล้ว แต่....
เหมือนเปิดร้านนั่งตากแอร์ แต่ไม่อยากขายของ
ถ้ามันมีเครื่องที่น่าใช้แบบพวก Verizon หรือ Sprint
ก็คงดี คนแห่ใช้มาแน่ แต่ก็คงไม่มีหวัง
5 55
สมัยก่อนมันก็มีนะ แต่มันมีแค่แป๊ปเดียว...
ปัญหามันน่าจะอยู่ที่ถ้าหมดอายุสัมปทานแล้วต้องคืนคลื่นความถี่ไม่สามารถเอามาต่อสัญญาได้อันนี้ผู้ให้บริการทุกเจ้า (ไม่ได้นับแต่ CAT/TOT) ต้องวางแผนการดำเนินงานกันใหม่เลย นับมูลค่าเครือข่ายที่อาจจะเอาไปใช้ต่อไม่ได้หลังหมดสัมปทานเข้าไปอีก ค่าโทรศัพท์เมืองไทยจะต้นทุนสูงขึ้นทันทีครับ ตอนนี้ใครจะประมูล 3G หรือคลื่นความถี่อื่นคงต้องไปคำนวนตัวเลขกันใหม่แล้ว
ส่วนเรื่อง 3G ไม่ได้ประมูลสักทีต้องโทษสารพัดบริษัทที่ช่วยกันร้องเรียนนะครับ จับจุดโน้นนี่เยอะไปหมดจน กทช ก็ต้องแก้เงื่อนไขไปมาตลอดเพื่อนให้พอใจทุกฝ่าย (เลยไม่เสร็จสักที) ล่าสุดทรูก็ออกมาบอกว่าควรจะให้เป็นของบริษัทไทยซะงั้น แบบนี้คู่แข่งรายอื่นก็ร้องเรียนอีกเมื่อไหร่จะได้ทำสักทีถ่วงเวลาไปเรื่อย
ว่าแล้วทรูก็ลักไก่แอบติดตั้งเครือข่ายไว้ล่วงหน้า(โดยไม่ขออนุญาต) หวังว่าพอประมูล 3G ได้จะได้สวิสต์อุปกรณ์ไปใช้คลื่น 2100 ได้เลย ได้เปรียบตั้งแต่ตอนเริ่มก่อนใครมีพื้นที่ครอบคลุมทั่วไปหมด
ผมสนับสนุนความคิดที่ว่าบริษัทไทยก่อนนะครับ ยังไงก็ควรให้ได้เปรียบต่างชาติไว้นิดหน่อยไม่งั้นยังไงก็สู้ต่างชาติไม่ได้ นิยมนอกถึงจะทำให้ในประเทศมีอะไนๆ ได้เร็วกว่าพัฒนาเองแต่อนาคตจะลำบากนะครับ ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปดีกว่า แต่ที่ทำอยู่ก็ช้าเกิน
แต่จะว่าไปบริษัทไทยมันก็พัฒนาช้าไปหน่อยมั้ง สู้แบบเต็มที่หน่อยสิ
ในกรณีนี้ บ.ไทย ก็โดนกีดกันไปด้วยน่ะครับ ??
ถ้าจะกีดกัน บ. ต่างชาติ ก็ระบุไปในตอนประมูลว่า ต้องมีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือ มีคนไทยถือหุ้นมากกว่า 51% หรืออะไรก็ว่าไป ก็ทำได้
แต่มันจะแย้งกับเรื่อง Free Trade หรือเปล่า อันนี้ไม่รู้
ผมว่า สัญญาสัมปทานที่เคยเป็นของ กสท. ทศท. ควรจะย้ายไปเป็นของ กสทช. หรือเข้ากระทรวงการคลังโดยตรง ให้หมดนะ
ไม่ต้องเอาเงินค่าสัมปทานไปรวมเป็นกำไรของรัฐวิสาหกิจ เพราะมันไม่ได้ทำอะไรเลย ได้เงินเปล่าๆ
บริหารงานขาดทุน พอรวมค่าสัมปทานเข้าไปก็กลายเป็นว่าได้กำไร แจกโบนัสพนักงาน ทั้งๆ ที่ผลประกอบการจริงๆ ไม่ดี
ต้องประเมินผลงานจากการทำงานจริงๆ ถึงจะถูก
+1
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
แนวคิดนี้เรียก "แปรรูปสัญญาสัมปทาน" ครับ เป็นแนวทางที่ผมเห็นด้วย แต่ในทางปฏิบัติมันยากมากตรงที่ต้องตีราคาสัญญาสัมปทานที่เหลืออยู่ เพราะตามสัญญาสัมปทาน เอกชนต้องส่งเข้ารัฐเป็น % ของรายได้ (ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าจะเป็นเท่าไร) คิดมากไป บริษัทก็ไม่มีปัญญาจ่าย คิดน้อยไปก็โดนข้อหาเอื้อประโยชน์ให้เอกชน
แล้วทำไม ประชาชน ผู้เป็นผู้ที่เสียผลประโยชน์ อีกฝ่าย ไม่ออกไปเรียกร้องมั่งอะครับ ให้รัฐรีบๆ จัดการกับ การจัดสรรคลื่นความถี่นี่ ให้เสร็จ เร็วๆ สักที จะได้มี 3G ใช้กับเขาอย่างเต็มรูปแบบสักที ไม่ต้องมานั่ง ทดลองใช้กันอยู่อย่างนี้
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
ไม่เคยหวังครับ ทั้ง 3G (หรือใหม่กว่า) และ HD Broadcasting
ถ้ายังมีรัฐวิสาหกิจอยู่ประเทศคงไม่ก้าวหน้าต่อไป แปรรูปได้แล้ว กลัวไม่ได้สบาย ไม่ได้สวัสดิการแบบเก่า ที่มันให้เยอะจน วันๆไม่ต้องทำอะไรเลย นั่งกินเงินเดือนไปเรื่อยๆ แปรรูปแล้วให้เป็นบริษัทเข้าตลาดหุ้นแล้วปล่อยให้ประชาชนถือหุ้นไปวะจำกัดจำนวนหุ้นที่ถือ จะได้ไม่ผูกขาด
การทำอย่างนั้นสักวันหนึ่งมันจะตกไปอยู่ในมือต่างชาติหรือใครคนใดคนหนึ่งเป็นส่วนใหญ่ครับ ถึงวันนึงบอกว่าจะไม่ขายให้แต่สุดท้ายมันก็หาทางเพื่อกอบโกยเงินอยู่ดี
ถึงได้มีการคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไงครับ
ไม่จำเป็นต้องขายหุ้นหมดนี่ครับ ลองดูตัวอย่างของ INET ซึ่งเดิมเป็นรัฐวิสาหกิจ ตอนนี้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ก็ขายหุ้นเพียงบางส่วน
แต่หุ้นหลักยังเป็น
หุ้นใหญ่อันดับสี่มีแค่ 5.5%
ผมก็ไม่เห็นจะเป็นอะไรนี่ครับ อยู่มาตั้งเป็นสิบปีละ
อ้างอิงจาก SETTRADE
รู้จักกฏหมาย "ให้กระทรวงการคลังถือหุ้น 75%" (หรือ 51%) มั้ยครับ?
ปตท.ตอนนี้เป็นไงครับ? เป็นของต่างชาติหมดรึยัง?
กฏหมายมีให้ใช่ครับ และ TOT ก็ควรกลับไปเป็นราชการ
แล้วให้ราชการไปกุมบังเหียนไว้ ไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง
รัฐวิสาหกิจกำเนิดมาตอนที่โลกยังไม่มีการระดมทุนในตลาดทุน และการถือหุ้นครับ
ซึ่งหลายประเทศพิสูจน์แล้วว่า โมเดลนี้ใช้ได้ผลมากกว่า
มันจะกอบโกยเงินมันเรื่องของมันครับ ตลาดโปร่งใสตรวจสอบได้ ระดมทุนไปซื้อหุ้นคืนก็ได้ รัฐบาลไหนไม่ทำก็ไปบีบให้ยุบสภาซะ วิธีมีเยอะแยะ
สภาพรัฐวิสาหกิจทุกวันนี้ บอร์ดผู้บริหาร มันไม่โกงกินกอบโกยรึไงครับ
พูดอะไรแปลกๆนะ
สุดท้ายก็แปลสภาพองค์กรของรัฐเพื่อมาโกยไง เดิมๆของนักการเมืองไทย
คุ้นๆ เหมือนที่เป็นอยู่รึป่าวครับ?
จบที่นี่อย่าต่อนะครับ
อ่านข้อความคุณแล้วรู้สึกทุเรศนิด ๆ อ่ะครับ ...แบบว่าแขวะคนอื่นแล้วห้ามเขาแขวะคืน
ประมาณว่าไปตีหัวคนอื่นแล้วบอกว่าห้ามตีตูคืนนะ แนวนี้เลย
@TonsTweetings
นั่นไง!! ว่าและ บอกว่าให้จบมันก็ไม่จบจนได้ โรคจิตหรอครับ?
ผมไม่ได้แขวะคุณ Thaina นะครับ (ขอโทษด้วยครับ ถ้าทำให้เข้าใจผิด)
ผมแขวะพวกเสื้อสี... ที่กำลังทำอยู่
หรือ คุณอยากให้ต่อเรื่องการเมือง ยาวๆ ล่ะครับ...ผมไม่อยากคนนึงล่ะ
จบเถอะ...
***ผมกลัวโดนตีหัวจัง >_<"
ห้ามตีหัวผมน้าาา 5 55
โรคจิตหรือไม่สังคมตัดสินเองได้ครับ ผมเคารพในสิทธิคนอื่น
คือที่ต้องการสื่อคือคุณลากเข้าการเมืองเอง แล้วก็บอกว่าอย่าลากเข้าการเมืองต่อนะ ตามนั้นเลย ตอนแรกจะไม่ใช้คำว่าทุเรศแต่ "ชัง" แต่มันก็ไม่ตรงตัวจริง ๆ
เรื่องตีหัวไม่ตีหรอกครับ =)
@TonsTweetings
เว็บนี้ไม่ยอมรับการกระทำแบบ personal attack เช่นนี้นะครับ
นี่เป็นคำเตือนสุดท้าย ถ้าคุณยังไม่หยุดผมไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากปิด account คุณครับ
lewcpe.com, @wasonliw
คุณลิ่วเป็นเกย์
ปล. นี่เป็นตัวอย่างของ Personal Attack
และ account คุณถูกปิดเพราะการกระทำคุณยกตัวอย่างมาครับ
lewcpe.com, @wasonliw
+1
มีผลประโยชน์ ก็ต้องมีผู้ได้ประโยชน์ อันนี้มันเป็นเรื่องปรกติ แม้แต่การคงรูปแบบรัฐวิสาหกิจเราก็มองได้ว่าพนักงานและสหภาพของรัฐวิสาหกิจได้ประโยชน์
ผมมองว่าแทนที่จะมามัวนั่งกลัวว่าใครได้ประโยชน์ มันจะดีกว่าไหมถ้าเรามองผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ประชาชนสามารถเข้าถึงการสื่อสารได้อย่างเท่าเทียม ง่ายดาย และราคาถูก
lewcpe.com, @wasonliw
ไอ้พวกขัดขวางความเจริญของประเทศ
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
อยากใช้3Gคงต้องมีม็อบ
เขาค้านก็ถูกต้องแล้วครับ เพราะถึงกับบริษัทเจ๊งได้เลยนะ
แสดงว่าไม่มีปัญญาหาเงินจริงๆ สมควรเร่งถอนสัมปทานแล้วถอดขายออกให้หมด
lewcpe.com, @wasonliw
งานง่ายได้ตังค์เยอะแบบนี้ ตามธรรมชาติแล้วคงยอมยากล่ะครับ
วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด เลือกผมเป็นนายก!!!
วาระแห่งชาติ:
ฝันหวานไปจริง ๆ เลยเรา
@TonsTweetings
เอา Number Port มาก่อนเลย
เบื่อจะตายแล้ว
นัมเบอร์พอร์ตมาแล้วครับแต่โอเปอร์เรเตอร์รายใหญ่ทั้ง 3 เจ้าขอเลื่อนไปเรื่อย เลื่อนไปจน กทช ไม่ยอมให้เลื่อนต่อแล้วจะบังคับใช้สิงหาคมนี้ ใครไม่ทำจะโดนค่าปรับไปจนถึงห้ามประมูลคลื่นความถี่จาก กทช (รวมถึง 3G ด้วย) ตอนนี้เลยมีปัญหายื่นหนังสือขอให้พิจารณากฏเกณฑ์ใหม่อยู่ (เลยก็ทำให้ 3G เลื่อนออกไปอีกแล้ว เพราะ กทช ก็ต้องพิจารณาตามที่ร้องเรียนมาของค่ายใหญ่)
ปล. ค่าธรรมเนียมในการย้ายค่ายยังตกลงกันไม่ลงตัวเลย ไม่เห็นแววว่าจะเสร็จสิงหาคมนี้เลย
ก็ยังคงเป็นแมวนอนกินต่อไป
ผมไม่ได้ใส่ ้ นะ (เดี๋ยวอ่านผิดล่ะเป็นเรื่อง)
อ่านแล้วรู้สึกเศร้ามากครับ ทนดูคนโกงกินกันต่อไป
ทำไมผลประโยชน์ไม่ตกอยู่ที่ประชาชนสูงสุดล่ะครับ
เสียง 1 เสียงของผมจะทำอะไรได้บ้างไหมครับเนี่ยเฮ้อ....
ตั้งกลุ่มใน Facebook รวมคน แล้วยื่น Petition ก็พอได้มั้งครับ ?? ถ้าทำจริงผมลงชื่อด้วยนะ อิอิ
แต่เขาอาจจะถือว่าตัวเองเป็นเอกชน ไม่รับฟังความเห็นก็ได้ แต่ก็อีกน่ะล่ะ ถ้าใช้คำพูดนี้ก็จะกลายเป็นเอื้อประโยชน์ให้เอกชน ดังนั้นเขาไม่ทำชัวร์ อิอิ
ต้องก่อม๊อบลูกเดียว ไม่งั้นไม่มีใครสนใจ ;-p
นี่แค่ปัญหา 3g
ถ้ามองกว้าง เด่วอนาคต ถ้าเป็น digital tv เต็มตัว
จากฟรีทีวี 7 ช่องเดิม จะกลายเป็น 48 ช่อง
มูลค่าตรงนี้มหาศาลมาก มัวทำอะไรกันอยู่ ประเทศไทย
ม๊อบคนไอที :P
เลิกหวังแล้วครับ ทำสิ่งที่ทำได้ตอนนี้ดีกว่า
รอ 4G ดีกว่าไหม
tot ก็รัฐ กสทช.ก็รัฐ
สูญเสียรายได้แสนล้าน ปลายทางของเงินไม่ใช่ที่เดียวกันหรือ ???