สี่เรื่องในข่าวเดียว
อย่างแรก หลังจาก กทช. ออก ร่างหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาต 3G, รับฟังความเห็นสาธารณะ และปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์ สุดท้าย กทช. ได้นำร่างหลักเกณฑ์ฉบับปรับปรุงมาออกเป็น ประกาศ กทช. เรื่อง "หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz" ฉบับสมบูรณ์ และรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด คงได้เห็นการประมูลความถี่สำหรับทำ 3G ในเดือนกันยายนตามที่ประกาศไว้
ข่าวที่สอง สาม สี่ เป็นเรื่องใกล้เคียงกัน คือ กทช. ได้ออกเดินทางโรดโชว์การออกใบอนุญาต 3G ของไทยในต่างประเทศ เพื่อพบปะกับบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของโลก และชักจูงให้เข้าร่วมประมูล 3G ในครั้งนี้ โดยประเทศที่ไปเยือนช่วงนี้ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ตามลำดับ
ดร. นที ศุกลรัตน์ หนึ่งในคณะกรรมการ กทช. ซึ่งใช้ชื่อใน Twitter ว่า @DrNatee39G ได้ทวีตแสดงความคืบหน้าของการพบปะเป็นระยะ เพื่อความสะดวกของคนเขียนข่าว ผมตัดภาพหน้าจอมาแปะเลยนะครับ (อ่านย้อนศรแบบ Twitter Timeline)
จีน
เกาหลีใต้
ญี่ปุ่น
จากข้อมูลใน Twitter เราพอสรุปได้ว่า รายที่สนใจมากๆ มีสองรายคือ SKTelecom และ NTT DoCoMo ซึ่งเป็นเบอร์หนึ่งในเกาหลีใต้และญี่ปุ่นด้วยกันทั้งคู่ ลำดับรองลงมาคือ China Mobile ที่สนใจเช่นกัน และบริษัทอย่าง SoftBank ก็แสดงเจตนาชัดเจนที่จะมาร่วมทุนกับบริษัทที่ชนะการประมูล
ผมคิดว่าการที่ กทช. ได้บริษัทโทรคมนาคมจากต่างประเทศเข้ามาร่วมประมูล 3G (ถ้าได้จริงนะ) จะช่วยให้การแข่งขันเข้มข้นมากขึ้น และส่งผลดีต่อผู้บริโภคในบั้นปลาย (โอเปอเรเตอร์เดิมคงเริ่มเสียวๆ กันบ้างแล้ว)
เท่าที่ได้ข้อมูลมา หมดชุดประเทศเอเชียตะวันออกแล้ว กทช. มีแผนจะไปยุโรปและอินเดียต่อครับ
Comments
รู้สึกน่าสนใจขึ้นมาเลยแฮะ ประมูล3G คราวนี้
もういい
แล้วเกี่ยวกับเรื่องจำนวนสัดส่วนหุ้นของบริษัทข้ามชาติมันเป็นอย่างไรครับ
เห็นในข่าวเชิญชวนเขามาร่วมประมูล ยังงง ๆ อยู่ครับ
อันนี้ผมไม่ค่อยแม่นนะครับ แต่มันจะมีกฎว่าด้วยการเข้ามาลงทุนของ บ. ข้ามชาติอยู่ ซึ่งจะไม่ต่างอะไรกับกรณีของ AIS หรือ DTAC คือต่างชาติถือได้ไม่เกิน 49% ครับ ดังนั้นก็จะเข้ามาคล้ายๆ กัน เช่น อาจจะเห็น NTT + Samart อะไรแบบนี้
สงสาร ais true และ dtac จัง
dtac เค้าคงชิวๆ ส่วน ais ไม่มีนายกหนุนสิงคโปร์แล้ว ส่วน true นี้นิ จะเป็นไงต่อก็คงเครียดแทน
ผมรู้สึกตรงกันข้ามครับ
สิ่งที่ผมต้องทนมาตลอดกับคุณภาพสัญญาณห่วยๆ, Spam-Junk ที่ไม่เคยต้องการ, GPRS-EDGE การันตีความเร็วที่ไม่เกิน 10k!
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเข้ามาของบริษัทอื่น จะทำให้ 3 เจ้านี้เกิดสำนึกมโนธรรมมั่ง
+1000
เห็นด้วยอย่างแท้จริง
ชอบประโยคนี้ครับ "ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเข้ามาของบริษัทอื่น จะทำให้ 3 เจ้านี้เกิดสำนึกมโนธรรมมั่ง"
+10,000 เลยเอ้า !
ผมอยู่เชียงใหม่แท้ๆ... บางที ต่อไม่ได้เลย (แค่ EDGE เองนะ)
TRUE กับ DTAC ลอยลมบนคลื่น 850 ได้อยู่แล้วครับสบายไปก่อนแล้ว แต่ AIS นี่สิน่าสงสัยว่าจะมีลุ้นกับเขาบ้างไหม ยังไงก็คาดว่าสู้เต็มที่
ปกติผมก็คิดว่าก็คงเลื่อนเรื่อยๆ แต่เที่ยวนี้ผมกะว่ามาแน่แล้วนะเนี่ย
ผมด้วย หวังกับ กทช ชุดนี้มากมาย
ผมว่ารัฐบาลนี้ ทีบ เอาให้ได้ง่ะ
ถ้าทำได้ในารัฐบาลชุดนี้ อาจจะได้เสียงคะแนนจากคนกลุ่มหนึ่ง สนับสนุนเยอะขึ้น
โอ้ เจ๋ง :)
ทำไมไม่ไปฮ่องกงด้วยละครับ มีผู้ลงทุนที่มีความพร้อมหลายรายรวมถึงอาจจะได้คุยกับระดับที่สูงกว่า GM ของ China Mobile ด้วยก็ได้ (เป็นบริษัทมือถือใหญ่ที่สุดในโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ฮ่องกง)
แล้วฝั่งยุโรปละ? มีหลายค่ายอยู่นะ ออกเครื่องมาคู่กับโครงข่ายเองก็ยังไหว
โรดโชว์นี่แปลว่าไปท่องเที่ยว(โดยใช้เงินภาษี)รึเปล่าหว่า
อย่างน้อยก็ได้งานละครับ :-)
กะแล้วว่าจะต้องมีคนคิดแบบนี้ ไป 3 วัน 3 ประเทศแล้วคุยเรื่องงานทั้งเช้าบ่าย จะเอาเวลาที่ไหนไปเที่ยวครับแค่เดินทางก็หมดแล้ว
ผมว่าดีกว่านำเงินไปโฆษณา กทช. ที่ BTS แบบที่เคยผ่านมา
+ล้าน
ผมว่าในข่าว ก็แจกแจงชัดเจนดีนะครับว่าตอนไหนทำอะไร
ถ้าเวลาเหลือแล้วจะมีไปเดินเที่ยวบ้าง ผมว่าก็เป็นสิทธิ์ของเค้านะ
lewcpe.com, @wasonliw
ผเป็นห่วงเรื่องของราคาการประมูลขั้นต่ำมากที่สุด(12800ล้านบาท)ซึ่งถือว่าสูงมาก เมื่อการประูลเสร็จสิ้น อาจจะทำให้ผู้ให้บริการมีเงินไม่พอในการขยายสัญญาณ ซึ่งสุดท้ายแล้วผลเสียจะขึ้นอยู่กับผู้บริโภค
ค่ายไหนประมูลได้ไม่ว่ากัน แต่ราคาและคุณภาพต้องมาก่อน
ปล.ผมอยากใช้ 3g ได้ทั่วประเทศไทย ไม่ใช่ใช้ได้แค่ตามเมืองใหญ่
Blog: https://medium.com/@tanakritsai
รู้สึกว่าเงินส่วนนี้จะทยอยจ่ายได้นะครับ แล้วถ้าใครขยายได้เร็ว จะมีโบนัสคือเลื่อนการชำระได้อีก
ผมว่าถ้ามีเจ้าใหม่ประมูลได้ เขาคงต้องขยายทั่วประเทศเลยครับ แต่ถ้าเจ้าเดิมๆได้ แล้วต่อสัญญาสัมปทานเดิมได้ คงขยายแค่บางจุดแล้วโรมมิ่งกับของเดิมเอา
แต่ผมว่าทำแบบ ญี่ปุ่นหรือฟินแลนด์น่าจะดีกว่านะครับเพราะสองประเทศนี้ใช้แนวคิดเดียวกันแล้วผลที่ได้ก็คือประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด
Blog: https://medium.com/@tanakritsai
เทียบกับสัมปทานที่บริษัทมือถือต้องจ่ายในปัจจุบัน (ต่อปี) นี่ถือว่าต่ำมากเลยนะครับ
ราคา 12,800 ล้านบาทนี้ดูเผินๆ แล้วเหมือนแพง แต่ก็มีฝ่ายที่เห็นว่ายังถูกเกินไปและยังสามารถอ้างด้วยว่า กทช. ตั้งราคานี้ขึ้นมาในลักษณะสมยอมหรือฮั้วกับผู้เข้าร่วมประมูล ทำให้ผู้เข้าประมูลซึ่งอาจจะมีแค่ 3 รายเท่ากับจำนวนใบอนุญาต 3 ใบ ได้ใบอนุญาตไปในราคาถูก จากเอกสารประเมินผลกระทบฯ ที่จัดทำโดย กทช. ก็มีข้อมูบชี้ให้ว่าในปี 2008 ผู้ประกอบการรายหนึ่งต้องจ่ายค่าสัมปทานเป็นเงินถึง 20,000 ล้านบาท (ต่อปี) ดังนั้นถ้าตอนจบใบอนุญาตออกมาในราคา 12,800 ล้านบาท (ต่อ 15 ปี) นั้นก็ดูจะถูกเกินไปจริงๆ (เฉลี่ยปีละ 853 ล้านบาทเท่านั้น) กทช. จึงต้องออกกฎเกณฑ์ให้มี N-1 ในการประมูลรอบแรกเพื่อเพิ่มการแข่งขันให้ราคาสุดท้ายปรับตัวไปสู่จุดที่เหมาะสม และตอนนี้ก็ทำ road show เพื่อเพิ่มการแข่งขันอีกทาง
ผลกระทบต่อผู้บริโภค: ปัจจุบันมีหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้กันอยู่เท่ากับจำนวนประชากรไทยคือราว 60 ล้านเลขหมาย ถ้าตีคร่าวๆ ว่าในระยะเวลา 15 ปีในอายุใบอนุญาตมีผู้ใช้งานเฉลี่ยต่อปีเพียงครึ่งเดียว คือ 30 ล้านเลขหมาย สมมุติให้ผู้รับใบอนุญาต 3 รายได้ส่วนแบ่งตลาดเท่าักันคือคนละ 10 ล้านเลขหมาย และสมมุติให้ราคาประมูลจบที่ 15,000 ล้านบาท นั่นหมายความว่าผู้บริโภคต้องจ่ายเงินค่าใบอนุญาต คนละ
หรือถ้าเทียบกับตัวอย่างของผู้ประกอบการที่จ่ายค่าสัมปทานปีละ 20,000 ล้านบาทข้างต้น
ของใหม่ถูกกว่ากันเกือบ 7 เท่าของปัจจุบันครับ (แม้จะคิดที่ฐานลูกค้าที่น้อยกว่า)
ขอบคุณครับ
ข้อมูลละเอียดมาก
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ตรงนี้+ ราคาค่าขยายโครงข่ายรึยังครับ
ด้วยมูลค่าใบอนุญาติที่อาจจะสูงถึง 20000ล้านบาท อาจจะทำให้การขยายโครงข่ายช้า และไม่ทั่วประเทศก็เป็นไปได้
Blog: https://medium.com/@tanakritsai
คำถามนี้มีประเด็นครับ :)
ราคาดังกล่าวคิดแต่ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและยังไม่รวมค่าลงทุนเครือข่าย
ถ้าคิดเล่นๆ นะครับว่าปัจจุบันลูกค้าต้องจ่ายค่าบริการเฉลี่ยให้ผู้ประกอบการเดือนละประมาณ 130 บาท (ตัวเลขจากเอกสารประเมินผลกระทบฯ ของ กทช.)
สมมุติว่าธุรกิจนี้กำไรดีมากได้กำไรสูงถึง 20% ของรายรับ (กำไร 26 บาท / ต้นทุน 104 บาท)
ในต้นทุน 104 บาทนั้นเป็น ต้นทุน "ค่าคลื่น" เพียง 8.33 บาท แสดงว่าที่เหลือเป็นต้นทุนค่าโครงข่ายและอื่นๆ (104 - 8.33 = 95.67 บาท ซึ่งคิดเป็น 10.5 เท่าของต้นทุน "ค่าคลื่น")
ผมกำลังจะบอกว่า เมื่อแตกต้นทุนออกมาแล้วค่าคลื่นเป็นแค่ "เศษเสี้ยว" ของต้นทุนทั้งหมด ฉะนั้นถ้าบ่นว่าค่าคลื่นที่เป็นเศษเสี้ยวของต้นทุนแพง ก็คงยากที่จะสามารถหาเงินมาลงทุนเครือข่ายและอื่นๆ ได้... ก็สมควรที่จะต้องออกจากอุตสาหกรรมนี้ไปครับ
DTAC ยังจะนอนเฉยกอด 2G อยู่มั้ยเนี่ย
{$user} was not an Imposter
คงไม่ครับ
แต่เค้าไปทำสัญญากับคนประมูลได้ก็ได้นี่ครับ
ไม่เสียของตัวเอง
หรือไม่ก็ทำที่ 850 ไปเลย
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ปีหน้า ถ้าผมได้ใช้ DoCoMo ละ ว๊าววววววว
twitter.com/djnoly
ในบทสรุป เขียนถึง KDDI ซึ่งจริงๆ แล้วต้องเป็น SKTelecom หรือเปล่าครับ
KDDI เป็นบริษัทญี่ปุ่นนะ แถมดูๆแล้ว ความพร้อมยังไม่ค่อยมี น่าจะหมายถึง SKTelecom ของเกาหลีมากกว่า
+1
โอ้ ใช่ครับ แก้ไขแล้ว
ไม่ว่าจะยังไง TRUE มีหนาวแน่ๆเลย
แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทต่างชาติจะเห็นโอกาสเพียงไร
กทชสู้ๆนะครับ อย่าให้รัฐบาลมาตบผลงานไปซึ่งหน้าด้วยล่ะ :P
เดี๋ยวต้องมีคนมาบอกว่าขายชาติ!!
@TonsTweetings
เด้งดึ๋งดั๋งดีครับ กทช. ชุดนี้ หวังว่าคงไม่เลื่อนอีก
ผมนับถือ @DrNatee39G ที่สามารถอธิบายคำในประโยคสั้นๆ แล้วทำให้เข้าใจได้ง่าย ไม่ต้องอ่านอะไรมากมาย
+1 ให้คำอธิบายและประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าตลอด ลบภาพ กทช อืดอาดชุดก่อน ๆ ไปได้หมดเลย
มีสาระกว่าโฆษณาในรถไฟฟ้ามากมาย คงจะได้มี 3G กันจริงๆ ซักที
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
อันนี้ไม่ต้องรอประกาศลงราชกิจจาฯ แล้วนะครับเพราะประกาศนี้คือประกาศราชกิจจาฯ และมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 23 กรกฏาคม 2553 และวันนี้ 29 ก.ค. 2553 กทช. ก็ประกาศสรุปข้อสนเทศ IM ออกมาแล้ว นั่นหมายความว่า
(วันที่ทั้งหมดติดวันเสาร์-อาทิตย์หมดเลย ดังนั้นวันที่ที่แน่นอนอาจเลื่อนได้เพื่อความเหมาะสมครับ)
ข่าวมาแล้วครับ
ยื่นซองประมูลได้ถึงวันจันทร์ที่ 30 ส.ค. 2553
เริ่มประมูลวันอังคารที่ 28 ก.ย. 2553
ที่มา - กรุงเทพธุรกิจ
กทช ชุดนี้สุดยอดจริงๆ ข่าวดีมาตลอด นับถือๆ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!