ฝ่ายรับสมัครงานของไมโครซอฟท์ได้เขียนบล็อกแนะนำ 3 สาขาวิชาย่อยด้านเทคโนโลยีที่นักศึกษาอาจพิจารณาเลือกเรียน เพราะจะเป็นสาขาดาวรุ่งพุ่งแรงในอนาคตอันใกล้
คำอธิบายของแต่ละสาขาดูกันเองตามลิงก์ ถ้าใครจบมาด้านนี้แล้วอยากหางาน ก็อาจเลือกสมัครกับไมโครซอฟท์ได้
ที่มา - Microsoft JobsBlog
Comments
ผมว่าถ้าจบมาจริงๆ คงมีหลายบริษัทจองตัว
ปัญหาคือ เรียนไปจะจบมั้ยนี่สิ -*-
ว่าแต่ในประเทศไทย ที่ไหนเปิดสอนหลักสูตรที่ว่าบ้างครับ เหอะๆ
เฮ้ยยย Data Mining/Analytics/Statistics สาขาที่ตูจบมาจะมีงานแล้ววววว T^T
T^T
もういい
Business Intelligence/Data Mining
สองตัวนี้ ตอนนี้ก็เริ่มแรงแล้วครับ
สาย SA สำคัญจริงๆ แต่หาที่เก่งๆ ยากมาก :3
มันคนละเรื่องกับเขียนโปรแกรมเป็นอีกต่างหาก
ผมไม่ได้จบด้าน Business Intelligence มาโดยตรงแต่มีประสบการณ์ทำงานมา 3 ปีครับ ทำกับแขกที่มาจาก บังกะลอ อิอิ และยังเคย Migrate data จาก SQL Server 2000 ที่เป็น BI เป็น SQL Server 2005 ด้วย ตอนนั้น 2005 ยังเปง Beta อยู่เลย
ผมเองถนัด SA + DBA นะ แต่ที่น่าสนใจคือ Data Mining กับ Bussiness Intelligence นี่ล่ะ
แต่ที่น่าเบื่อสำหรับตัวเองคือต้องมาขลุกกับ Application เพราะว่าต้องออกแบบ UI ให้ชวน User Friendly -*-
UI/UX เนี่ยแหละ.. งานทำเงินยุคนี้เลย
ถ้าให้ย่อย ก็เล็งสองตัวนี้ให้ดีๆ ..
- Interaction Design
- Data Visualization
ยุค mobile app บูมงี้.. app มันตัวเลกๆ logic/technic ไม่ค่อยอะไรมาก
สำคัญที่ จะทำข้างหน้ายังไงให้โดน.. app ทำนองเดียวกันมีอื้อ เบื่อ/เปลี่ยนได้ง่ายๆ
ส่วนข้างหลัง มี api/library ให้เริ่มเยอะแยะ.. ทำข้างหน้า แล้วค่อยจูนข้างหลัง
ดู flow ของ ms tool ก็ได้.. ถ้า app เลกๆ ล่าสุดก็เริ่มที่ lightswitch
หรือเริ่มจาก sketchflow ใน blend .. แล้วค่อยเอามาทำต่อใน vs ตัวใหญ่
(แต่ถ้า app เลกมากๆ ง่ายมากๆ .. ก็จบใน lightswitch/blend ได้เลย)
หรืองาน BI .. ถ้าเลกๆ ใช้ excel ได้สบาย (พ่วง sharepoint อีกอย่าง)
ที่ excel ทำไม่ได้ คือควรใช้ chart อะไรยังไง.. อย่างดีก็ขึ้น ตย มาให้เลือก
tool BI ดีๆ มีเยอะแยะ.. แต่ที่ขาดอยู่ คือคนที่ analyse/design BI ได้
ส่วนมาก มีแต่คนที่ใช้ tool เปน แค่ทำ ETL แล้วทำ report ตอบเปนโจทย์ๆ
แต่ไมโครซอฟท์ประเทศไทยนี่สิ แอบเปิดเข้าไปเจอแต่ตำแหน่งด้านการตลาด - -"
Data Mining/Machine Learning/AI/Natural Language Processing
ใช้ทำ Bot ของ Search Engine ชัดๆ เลย
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
นั่นสิ ตั้งใจจะบอกอะไรหรือปล่าว
นึกถึง semantic computing + agent-based computing มากกว่าแหะ
.. pave the way from ubiquitous to autonomous computing
Data Mining หุหุ
หุๆ กำลังจะเลือก track พอดีเลย
มีใครใช้ Pentaho บ้างครับ แล้วไม่ทราบว่าที่ไหนมีการจัดอบรม Pentaho ที่อธิบายการใช้งานจริงทั้งในแง่ธุรกิจและโปรแกรมเลยเปล่าครับ
ตอนนี้ผมกำลังศึกษาเกี่ยวกับ pentaho หาข้อมูลยากเหมือนกันครับ
ยุค CPE จะหมดไปไหมเนี่ย
เห็นแต่แห่ไปเรียน SE กันเยอะ
อืม มีที่ไหนมีให้เรียนมั่งหว่า อ่านดูบางอันก็น่าสนใจดีคับ
ตอนนี้ยังงงๆอยู่เลยว่า วิทยาการคอม, IT, CS, CE มันต่างกันไงบ้าง ต่างกันแค่ไหน
เคยอ่านแต่ของพี่บางคนซึ่งเขาก็เพิ่งเรียนปี 1-2-3 ก็เลยยังไม่เคลียร ไม่ชัวร์ว่าจริงๆต่างกันไงแน่อ่าคับ
ปล.จะจบ ม.6 แล้ววววว อีก 4-5 เดือน
ปล2.ผมถามในฟอรุ่มดีป่าวหว่า ดูเว็บนี้น่าจะมีคนในด้านนี้เยอะอ่าคับ
ถามแบบนี้ไปหาอ่านใน pantip.com ได้ครับรับรอง DRAMA !!!
เอาจริงจังเลยน่ะ ผมตอบได้คำเดียวเลยครับ ไม่ต่าง
วิชาหลัก ๆ ก็เรียนเหมือนเหมือนกัน textbook ก็ไม่ค่อยต่างกันมากหรอก
แต่สิ่งที่ต่างคือ สังคม การแข่งขัน การยอมรับ ความเชื่อ เงินเดือนขั้นต่ำเมื่อจบไป
คอนเน็กชั่น เลยครับ เหมือน คนเรียนเตรียม,มหิดล กับ โรงเรียนบ้าน ๆ เรียนก็คล้ายกันครับ
ที่มีทั้งคนที่ประสบความสำเร็จก็มี คนที่ไม่ประสบความสำเร็จก็มี
ถ้าถามมาแบบนี้คงตอบได้แค่คำตอบที่คาดเดาได้อยู่แล้วครับ
เช่น วิศวะคอมได้จับฮาร์ดแวร์
แต่เอาจริงๆ คงต้องไปดูหลักสูตรเลยแหละครับ
เพราะแต่ละสถาบันก็เรียนไม่เหมือนกัน
อย่างวิทยาการคอมจุฬาฯ ก็ไม่ใช่ Com-Sci แต่เป็น Math-Com
คือเรียนคณิตเยอะมากๆ ครับ= ='
แล้วที่คล้ายๆ กันนี้ก็จะมีเยอะมากครับ
เฉพาะในจุฬาฯ ภาคไทย เท่าที่นึกออกก็จะมี
SE(ถูกยุบไปแล้ว) CP MC(Math-Com) stat(ของบัญชี)
ของทางนิเทศก็น่าจะมีเน้นไปด้านงานมีเดียแต่ไม่รู้จัก
May the Force Close be with you. || @nuttyi
CS กับ CE (CP :) ไม่ค่อยต่างกันครับ แต่ CP จะได้เรียนวิชาด้าน hardware ด้วย (เช่นการออกแบบวงจร ต่อบอร์ด) ก็จะได้ความรู้ด้านการสร้างจากไม่มีอะไรมากกว่า แต่ถ้าเอาด้าน algorithm ล้วนๆ ผมว่าไปทาง CS จะดีกว่า
ส่วน IT นี่ผมว่าต่างจากสองอย่างข้างบนเยอะนะครับ เท่าที่เคยรู้มาก็จะเรียนแนวการนำมาใช้งานในองค์กร
สรุปว่า ถ้าอยากถึงขั้นสร้างเครื่องใหม่ก็ CE ถ้าอยากแก้ปัญหาก็ CS ส่วนถ้าอยากเอาไปใช้ในองค์กรเฉยๆ ก็ IT
ทั้ง 3 สาขา ดังกล่าวหาเรียนในเมืองไทย แบบลึกซึ้งแทบไม่ได้เลยครับ ส่วนใหญ่จะมีแค่กล่าวถึงบ้างแต่ไม่ลงรายละเอียดเยอะ ในรายวิชาอื่นๆ แทนครับ
มีครับต้องต่อโทเอาถึงจะได้ศึกษาจริงๆ เช่นตัวอย่างการศึกษา
Machine Learning - การใช้ SOM (Self Organizing Map) ในการหา DNA ที่ผิดปกติ
Data Mining - การปรับปรุง Index Selection ด้วยอัลกอริทึมใหม่ๆ
NLP - การใข้ SVM (Support Vector Machine) ในการหาคำในเว็บต่าง
AI - การใช้ Neural Network ในงานต่างๆ
(นี่เขียนอย่างคร่าวๆครับ)
แต่สรุปทั้งหมดของรายวิชาพวกนี้คือ สถิติ + คณิตศาสตร์ ดีๆนี่เองครับ
ดังนั้นใครไม่สันทัดก็หลบฉากไป
UIUC ดีที่สุดครับในสาขานี้
Machine Learning/AI ผมไ้ด้เรียนได้ทำ แต่ไม่ได้ใช้....(เป็นพวกจบมาทำงานไม่ตรงสาย)
มาแอบดีใจว่าเรานี้ก็เลือกเรียนถูกนะ 555+
You're a Ghost, driving a meat coated skeleton made from stardust,
what do you have to be scared of ?