เมื่อวันก่อนได้มีโอกาสจับเจ้า Kindle 3rd gen ตัวเป็น ๆ หลังจากที่ได้ยินกิตติศัพท์มาได้ระยะเวลาหนึ่งแล้วครับ
หลังจากที่ผมได้มีโอกาสจับแบบเต็ม ๆ และถ่ายรูป Kindle 3rd gen ตัวนี้ ได้ไม่กี่ชั่วโมง ก็ปรากฏรีวิวฉบับเต็ม เป็นที่เรียบร้อย entry นี้ก็เลยเป็นการจับมามองเป็นบางมุม และเปรียบเทียบกับ BeBook mini 5 ที่ผมตัดสินใจเป็นเจ้าของก่อนหน้านี้ก็แล้วกัน
Kindle 3rd gen ตัวที่ได้ทดลองนี้เป็นรุ่น WiFi + 3G (spec เต็ม ๆ จาก Amazon) ครับ
1. รูปร่าง และน้ำหนัก
หน้าจอขนาด 6 นิ้ว และคีย์บอร์ด full QWERTY ทางด้านล่าง ทำให้ตัวเครื่องมีความยาวมากขึ้น น้ำหนักเทียบได้กับหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คขนาดมาตรฐาน (ตาม spec คือ 240 g) วัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่องดูแน่นหนาสมกับที่ใช้ graphite เป็นกรอบ
ทางด้านล่างของตัวเครื่อง จากซ้ายไปขวา:
|
ด้านล่างของหน้าจอเป็นคีย์บอร์ด QWERTY |
ด้านหลังของเครื่องจะเป็นที่อยู่ของลำโพง |
เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ BeBook mini 5 จะเห็นว่ามีขนาดแตกต่างกันอยู่พอสมควร เนื่องจากหน้าจอขนาด 6 นิ้ว (BeBook mini ขนาดหน้าจอ 5 นิ้ว) และคีย์บอร์ด QWERTY
ในแง่ของน้ำหนัก หลังจากที่ได้ทำความคุ้นเคยกับ BeBook mini 5 (160 g) มาช่วงระยะเวลาหนึ่ง พอมาถือ Kindle 3rd gen ตัวนี้ (240 g) ก็รู้สึกได้ถึงความหนักกว่าอย่างชัดเจน แต่ถ้าเทียบแล้วก็พอ ๆ กับพ็อคเก็ตบุ๊คขนาดมาตรฐาน ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการถือไปไหนมาไหน
2. หน้าจอ
เป็นสิ่งที่ต้องยกขึ้นมากล่าวถึงเป็นอันดับต้น ๆ เลย สำหรับ Kindle 3rd gen ด้วยเหตุผลที่ทาง Amazon โฆษณานักหนาว่า หน้าจอ eInk รุ่นใหม่นี้ มันมี contrast ดีกว่าเดิมถึง 50% มันจะขนาดไหนกันเชียว
แล้วเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมา ก็พบกับความคมชัดน่าประทับใจสมคำล่ำลือจริง ๆ เสียด้วย จะชัดขนาดไหน เรียกได้ว่า จอของ BeBook ที่ว่าคมชัดดีแล้ว กลายเป็นมัวหมองไปเลยทีเดียว สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น ขอเอารูปเปรียบเทียบมาให้ดูเลยก็แล้วกัน
3. การใช้งาน
หน้าจอเวลาที่คีย์บอร์ดถูกล็อคอยู่ จะแสดงรูปของนักเขียนคลาสสิก สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในการล็อคหน้าจอแต่ละครั้ง การปลดล็อคคีย์บอร์ดทำได้โดยการเลื่อนปุ่ม keyboard lock/unlock ทางด้านล่างของเครื่อง
การ navigate ตัวเลือก เมนูต่าง ๆ และการพลิกหน้าหนังสือ สามารถทำได้โดยปุ่ม 5-way navigation button และปุ่มที่อยู่ด้านข้างของเครื่อง การตอบสนองบนหน้าจอยังมีหน่วงอยู่บ้างตามประสา e-Ink
การค้นหาข้อความ หรือการเปิดดิกชันนารี ทำได้สะดวกมากจาก QWERTY keyboard แต่ยังติดอยู่ที่การพิมพ์ภาษาไทย ที่ยังไม่รองรับครับ
สำหรับภาษาไทย สามารถอ่านภาษาไทยในไฟล์ PDF ได้ราบรื่นดี แต่สำหรับ format อื่น จะต้องทำการ hack เพื่อลงฟอนต์ภาษาไทยเพื่อให้สามารถอ่านไทยได้
ประสบการณ์ในการอ่านตามปกติแบบที่เนื้อหาเป็นข้อความอย่างเดียวนั้น จะไม่รู้สึกแตกต่างกับ BeBook มากนัก แต่จุดที่แตกต่างออกไปสำหรับ Kindle ตัวนี้ก็คือ การอ่านไฟล์ pdf ในโหมดขยาย (zoom) นั้น จะยังคง page layout ของเดิมเอาไว้อย่างครบถ้วน การ scroll เพื่ออ่านข้อความจึงต้องทำทั้งในแนวราบ (ซ้ายขวา) และแนวตั้ง ซึ่งแตกต่างจาก Adobe PDF ใน BeBook ซึ่งจะทำการ reflow ข้อความให้ ทำให้เสีย page layout ไป การคง page layout เอาไว้นี้ มีข้อดีก็คือ สามารถอ่านแผนภูมิ รูปภาพขนาดใหญ่ ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่งง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการเลื่อนหน้าจอในแนวราบ ดีหรือไม่ดี จึงขึ้นอยู่กับแนวทางการใช้งานของแต่ละคนครับ
PDF page layout แบบเต็มหน้าจอ |
PDF zoom 150% |
4. Web browser
แม้ว่าจะยังเป็น experimental feature แต่จากการทดลองใช้งานก็พบว่า สามารถแสดงผลเวบต่าง ๆ ได้ราบรื่นดี เข้าใช้ GMail ได้อย่างไม่มีปัญหา (เครื่องที่ทดสอบได้ทำการลงฟอนต์ไทยเรียบร้อยแล้ว) จะอึดอัดอยู่บ้างก็ตรงที่มันไม่ใช่ touch screen เผลอเอานิ้วจิ้มที่หน้าจออยู่หลายครั้งระหว่างเล่นเนต
และสิ่งที่ดูจะคุ้มค่ามากก็คือ การใช้เครือข่าย EDGE/3G แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทำให้ความฝันของใครหลายคนเป็นจริงชนิดที่เมินสารพัด tablet ไปได้เลยทีเดียว
ทดลองเปิดเวบ bbc.co.uk |
GMail ผ่านเวบ |
นอกจากนี้ QWERTY keyboard ถือเป็นส่วนเติมเต็มของความสามารถ web browsing นี้เลยทีเดียว เพราะทำให้การพิมพ์ URL, login, password สะดวกมาก
5. ความสามารถ/ข้อจำกัดอื่น ๆ
ความสามารถที่น่าสนใจ ที่ยังผมไม่ได้ลองก็คือ Text-to-speech และการเล่นไฟล์เสียง แต่เท่าที่ถามเจ้าของเครื่อง สามารถทำได้เป็นที่น่าพอใจทั้งการเล่นผ่านลำโพง และหูฟัง
ส่วนข้อจำกัดที่ทำให้ผู้ใช้หลายคนยังขัดใจก็คือ ชนิดของไฟล์ ที่สนับสนุนนั้นมีไม่มาก และขาดฟอร์แมตที่สำคัญอย่าง epub ไป ทำให้ต้องอาศัยเครื่องมือเข้ามาช่วยแปลงไฟล์อีกทอดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นปัญหาเชิงเทคนิคสำหรับผู้ใช้จำนวนหนึ่งได้ (ณ จุดนี้ ฟรีแวร์ Calibre ช่วยได้มาก แถมยัง cross platform อีกด้วย)
สรุป
Amazon ได้สร้างมาตรฐานของ eReader ยุคต่อไป ทั้งทางด้านคุณภาพหน้าจอที่ดีขึ้น ความสามารถที่เริ่มขยายออกไปนอกเหนือจากการอ่าน การเพิ่มความสามารถทางด้าน wireless connectivity แบบไม่จำกัด และที่สำคัญที่สุดคือ ราคา ที่ไม่ได้สูงจนเกินเอื้อมอีกต่อไป การขยับของ Amazon คราวนี้คงจะทำให้ผู้ผลิต eReader รายใหญ่เจ้าอื่น ๆ ต้องทำการบ้านอย่างหนัก ในส่วนของรายเล็ก อาจจะถึงขนาดถอดใจกันเลยก็เป็นได้
หมายเหตุ:
Comments
ง่ะ ขึ้นหน้าแรกไม่มีเบรคหน่อยเหรอครับ ยาวเฟื้อย + มีรูปด้วย รบกวนแก้ด่วนด้วยครับ
แก้ไขแล้วครับ
ขออภัยอย่างมากครับ
รูปมันเบี้ยวๆ หรือเปล่าครับ? เหมือนอันแรกสุดเป็นรูปแต่ภาพไม่ขึ้น?
รูปเบี้ยว สงสัยตาผมเบี้ยวตอนถ่ายครับ :D
รูปแรกเป็นซาก html ครับ ไม่ได้ตั้งใจให้ขึ้น ลบ code ทิ้งแล้วครับ
เบี้ยวนี่หมายถึงว่า position ของรูปมันแปลกๆ น่ะครับ มีทั้งชิดกลาง ชิดซ้าย และแบบ float
รอไม่ไหวแล้ว T.T
@TonsTweetings
ตกลงเน็ตฟรีตลอดหรอครับ นึกว่าฟรีตอนซื้อหนังสืออย่างเดียวซะอีก
สงสัยเหมือนกันเลย ^^
สงสัยด้วยครับ อยากได้แล้ว ถ้าฟรีตลอดเนี้ยยยยย
คอนเฟริมครับ บางทีผมก็ใช้มันอัพเดทสถานะบน Twitter, Facebook ครับ ที่ไทย ที่สิงค์โปร์ ก็ฟรีครับผม
อันนี้สำหรับฟังชั่น TTS ก็จบเห่ เหมือนกัน :(
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
Jailbreak Kindle ได้?
ใช่แล้วครับ Kindle ก็มีคุกครับ
โดยปกติตัว Kindle นั้นซอฟท์แวร์ก่อนจะถูกติดตั้ง จะมีการตรวจสอบว่ามีการถูกลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยคีย์ของ ว่าเป็นของแท้มาจาก Amazon หรือเปล่า ถ้าการตรวจสอบไม่ผ่าน ซอฟท์แวร์นั้นจะไม่สามารถติดตั้งได้
ในแง่ดี ก็ป้องกันไม่ให้ใครมายุ่งย่ามกับระบบ DRM ของ Amazon หรือป้องกันการป่วนระบบจนทำให้ Kindle เป็นที่ทับกระดาษไป อารมณ์เดียวกับ Apple แหล่ะครับ
มันก็เป็นปัญหาเดียวกับ Apple ที่ว่า Kindle นั้นไม่ยืดหยุ่นหรือไม่ตอบสนองความต้องการผู้ใช้ไปเสียทั้งหมด เช่น ถ้าผู้ใช้ไม่ชอบฟอนต์ที่ให้มากับเครื่อง หรือเพราะว่าฟอนต์เดิมแสดงภาษาตัวเองไม่ได้ ต้องการเปลี่ยนแปลง ก็ทำไม่ได้ หรือ ไม่ชอบสกรีนเซฟเวอร์ที่มาด้วยกัน อยากได้เป็นรูปแฟนตัวเอง รูปป่าเขา ต้นไม้ สิงสาราสัตว์ อันนี้ทำไม่ได้
แต่การทำ Jailbreak นั้นทำให้ เราสามารถรันซอฟท์แวร์ตัวติดตั้งที่มาจากแหล่งอื่นได้นอกเหนือจาก Amazon เอง ดังนั้นจึงเปิดโอกาสให้มือดี สามารถแก้ความสามารถบางอย่างของ Kindle ได้ เช่น
ผมแอบรู้สึกตลกกับการต้องมี screen saver นิดนึงครับ เพราะเท่าที่ผมเข้าใจ จอแบบนี้ใช้การวาดครั้งเดียว ดังนั้นการที่ต้องมี screen saver มันน่าจะไปลดอายุแบตฯ ลงนะ
หรือว่าจอนี้ใช้เทคโนโลยีลึกๆ เหมือน CRT ที่เกิด hot pixel ได้นะ?
ปล. ค่าจากโรงงานตั้ง screen saver ไว้ที่กี่นาทีครับ? แล้วปรับอะไรได้บ้าง (ตอนที่ยังไม่ jb)
ปล.2 เจลเบรกแล้วเขียนโปรแกรม sudoku ใส่ดีมั้ยเนี่ย อิอิ
Kindle 2, 3 อยู่ที่ 5 นาที ส่วน DX อยู่ที่ 10 นาทีครับ
ตอน Kindle 2 แบตเปลี่ยนได้ราวๆ ๗,๐๐๐ หน้า ตัวนี้แบตอึดขึ้นอีก เพราะงั้นเปลี่ยนหน้านึงทุกๆ หลายนาทีคงแทบไม่เดือดร้อนอ่ะครับ
ประเด็นผมคือ มันจะเกิด hot pixel หรือเปล่าถ้าค้างหน้านึงนานไป
เพราะผมอ่าน text คณิตศาสตร์ที บางหน้าค้างเติ่งเป็นชั่วโมงครับ - -"
ถ้าขึ้น screen saver เวลาไอเดียกำลังไหลมาเทมานี้ ไม่สนุกแน่ๆ
กรณีนี้ของ e-Ink น่าจะเรียกเป็น stuck pixel ครับ และน่าจะไม่เกิดขึ้นได้จากการใช้งาน เพราะหลักการไม่เหมือนจอ CRT/LCD ไม่มีการใช้ไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นตลอดเวลา (active)
ไม่เคยได้ยินกรณีของ Kindle ครับ และถ้ามีจริงก็เป็น defect ครับ น่าจะติดต่อ Customer Service ของ Amazon ได้นะครับ
ส่วนเรื่อง screen saver สามารถแฮ็กเพื่อปรับแก้ timeout ได้ครับ
vs BeBook mini 5 ที่ไหนอ่ะครับ
เปรียบเทียบน้อยมากจริงๆ ครับ แต่ชอบภาพที่เทียบหน้าจอระหว่างสองเครื่อง แม้ว่าของ BeBook จะทำให้อ่านสบายตาแต่ผมว่าคนส่วนมากก็จะแสวงหาจอภาพแบบ Kindle 3 มากกว่านะ (ผมด้วย!)
ซ้ำครับ กดหลังครั้งแรกไปเกินหนึ่งนาทีนะครับเนี่ย O_O เลยทำให้นึกว่ากดไม่ติดจริงๆ ไปแล้ว
นอกจากประสบการณ์ "อ่าน" ของ BeBook mini 5 แล้ว มันแทบทำอย่างอื่นไม่ได้เลยครับ :D ก็เลยเปรียบเทียบได้ในส่วนที่ใช้อ่าน
เรื่อง text-to-speech และเรื่อง web browser มันเป็นเรื่องของ มีกับ ไม่มีไปเลยน่ะครับ
ถ้าเทียบกับ eReader ตัวอื่นๆในตลาดแล้ว เฉพาะในด้านการอ่านแล้ว Kindle ได้เปรียบกว่าเครื่องอื่นๆ
Kindle มีพจนานุกรมในตัว และสามารถใช้หาคำที่อยู่ในหนังสือได้ทันที การใช้งานง่ายมาก โดยกด 5-way navigation ตรงๆ ไม่ซับซ้อน คำอธิบายสั้นๆสองบรรทัดจะปรากฎขึ้นที่ส่วนล่างของจอ โดยไม่ทับบริเวณที่ค้นหาอยู่ ทำให้ง่ายที่จะอ่านความหมายพร้อมกับอ่านบริบทของคำนั้นๆ ถ้าต้องการอ่านยาวกว่านั้นก็สามารถกดปุ่มอีกปุ่มเพื่อเข้าไปดูเนื้อหาในพจนานุกรม ส่วนพจนานุกรมที่ให้มาพร้อมกับเครื่องก็ไม่ขี้เหร่ เพราะมันคือ New Oxford American Dictionary ซึ่งมีรายการกว่าสองแสนห้าหมื่นคำ ทำให้การอ่านหนังสือภาษาอังกฤษสะดวกยิ่งขึ้น
Kindle รองรับการทำ Text Annotation ด้วยวิธีที่ไม่ซับซ้อน ใช้เพียง 5-way navigation ในการไฮไลท์ แล้วพิมพ์ note ได้เลย รวมถึงสามารถแชร์ขึ้น Facebook หรือ Twitter ได้ทันที
Kindle รองรับการค้นหาใน Google หรือ Wikipedia เพราะหลายครั้งการค้นหาความหมายในพจนานุกรมไม่เพียงพอ เราสามารถค้นหาคำที่อยู่ในหนังสือได้ง่ายๆ ไม่ต้องจดคำแล้วไปเปิดเว็บเบราเซอร์ เพียงแค่ไฮไลท์คำหรือกลุ่มคำที่ต้องการและกดปุ่มเว้นวรรค ก็พร้อมจะหาคำที่เราเลือกด้วย Google หรือ Wikipedia ได้ทันที
ยิ่งด้วย Firmware 3 ที่มากับ Kindle รุ่นนี้ สนับสนุนการใช้ PDF ได้ดีขึ้น เราสามารถใช้พจนานุกรม, ไฮไลท์ ข้อความในไฟล์ PDF ได้อีกด้วย
ผมว่าคุณ tekkasit น่าจะเขียนหนังสือสอนใช้ Kindle นะครับ รู้ลึกรู้จริง
ไม่หรอกครับ ข้อมูลพวกนี้ผมก็ Google เอาบนเน็ตเอาเท่านั้นเอง
จริงๆเป็นนิสัยเสียผมน่ะครับ บังเอิญอยู่ในสายพัฒนาซอฟท์แวร์ ก็แบบว่า 'ซน' พอซื้อ Gadget อะไรมา ต้องพยายามรู้จักมัน รู้จักข้อดีข้อเสียของอุปกรณ์ อุปกรณ์ใกล้เคียงหรือรุ่นใกล้ๆกันมีอะไร แล้วต่างกับชาวบ้านอย่างไร รู้ว่ามันใช้ทำอะไรได้ และพยายามใช้งานให้คุ้มค่าให้มากที่สุด
นี่ยังว่า K3 นี่เกือบจะเอามาทำ presentation controller ได้เลยน่ะเนี่ย เสียแต่ว่ามันไม่มี bluetooth เห็นคนใช้ iPad มาประกอบการนำเสนอแล้วรู้สึกเท่มาก แต่จริงๆเพิ่งมารู้ภายหลังว่า iPad เวลาถือ มันหนักมากเหมือนกัน ฮ่าๆๆๆ
ผ่าน Wi-Fi เลยครับ ^^
ผมทำงานนอกสถานที่ ไปหาลูกค้าบ่อยๆ หลายที่ไม่มี WiFi หรือใช้ WiFi เค้ายากมากครับ แต่ถ้าในที่ทำงานตัวเองก็พอไหว
+1 ถือในงาน 3.9G วันสุดท้ายไม่ถือเลย เอามันไปเก็บ ฮ๋าๆๆ
มีทั้งมุมมองผู้ใช้ และมุมมองผู้พัฒนา ผมว่า ถ้าทำหนังสือภาษาไทยน่าจะขายได้นะครับ ผมไม่ทราบว่าคนไทยใช้ Kindle กันมากน้อยเท่าไหร่ แต่ถ้ามีมากพอ ค่ายหนังสืออาจสนใจ และกำลังหาผู้เขียนก็ได้นะครับ รับทรัพย์ รับทรัพย์ และอาจได้เป็น I'm Kindle ประจำประเทศไทยก็เป็นได้ ;P
จริง Amazon เปิด Digital Text Platform ขึ้นมา เปิดโอกาสให้พวกนักเขียนอิสระเข้ามาขายได้โดยไม่ต้องพึ่ง agency ครับ โดยได้ส่วนแบ่งที่ 30% หรือ 70% ครับ ขึ้นกับเงื่อนไข
ข้อเสียสำคัญ แม้ว่า K3 จะรองรับภาษาไทยจากโรงงาน ตอนนี้ DTP ตอนนี้ รองรับแต่ตัวอักษร Latin-1 อย่างเดียว ซึ่งภาษาไทยไม่อยู่ในกลุ่มรองรับครับ T_T
ไม่นับว่า eBook reader ที่อยู่ในตลาดเกือบทั้งหมด รวมถึง Kindle ไม่รองรับการตัดคำภาษาไทย รวมถึงการที่ Kindle ไม่รองรับการแทรก soft word breaking อีกต่างหาก
ผมหมายถึงหนังสือเป็นเล่มๆ เลยน่ะครับ เท่าที่ซาวเสียงดู กลุ่มผู้บริหารและนักวิชาการไทยสนใจ Kindle กันมาก แต่ know-how เกี่ยวกับตัวอุปกรณ์ยังมีน้อยอยู่ เป็นโอกาสที่น่าสนใจไม่น้อย
ถ้าสนใจจริงๆ ผมช่วยแนะนำสำนักพิมพ์ให้ได้ครับ
แล้วพวกนี้ส่วนมากเขาสนหนังสือแนวไหนครับ?
ประโยคสุดท้ายที่ว่า "ถ้าสนใจจริงๆ ผมช่วยแนะนำสำนักพิมพ์ให้ได้ครับ" ผมโง่ครับ อ่านแล้วงง/ปนไม่แน่ใจ ช่วยอธิบายหน่อยสิครับ ว่าหมายถึงอะไร
หมายถึงว่าผมพอมี contact กับสำนักพิมพ์หนังสือคอมพิวเตอร์อยู่บ้างครับ ถ้าคุณ tekkasit จะเขียนจริงๆ แล้วตอนยื่นต้นฉบับผมช่วยได้ครับ
มันต้องกล้าลงทุนก่อนครับ คนซื้อเค้าไม่ซื้อมารอของจะขาย แต่ต้องมีของขายถึงจะซื้อครับ
ผมว่าเริ่มจากพวกการ์ตูนก่อนก็ดีนะครับ มันกินที่เก็บ 555
ผมว่านิยายจีนเก่าๆก็ดีนะครับเปลื้องตู้ไม่ใช้น้อยเหมือนกัน
พวกนี้มันจะมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์ไทยครับ ส่วนมากซื้อมาสำหรับแปลเป็นไทยแล้วพิมพ์กระดาษเท่านั้น ถ้าเป็น digital copy ต้องขอลิขสิทธิ์แยกต่างหาก
พวกนวนิยายวิทยาศาสตร์เก่าๆในตำนานด้วยก็ดีนะครับ หาซื้อยากเหลือเกิน รุ่นหลังๆจะไม่ได้อ่านแล้ว
เห้ย เริ่มอยากได้ = =
twitter.com/djnoly
สงสัยเรื่องการทำ Annotation ในไฟล์ PDF ครับ
ผมรู้อย่างเดียว เรื่องรูปภาพน่ะครับ จะออกมาเป็น GrayScale ครับ เหมือนเอาสแกนเนอร์ถ่ายแบบไล่โทนสีเทาเลย ประมาณภาพแรกสุดที่เป็นภาพของอากาธา คริสตี้น่ะครับ
ปล. ผมใช้ K2 อยู่สองเดือนแล้ว ตอนนี้ผมถือ K3 ของแฟนนานๆนี่อิฉฉาอ่ะ ส่วนสีดำมันดีกว่ามาก พอกลับมาดู K2 ตัวเองแล้ว เฮ้อ....อารมณ์คล้ายๆคนที่ไปดู Retina Display แล้วมาถือ iPad, iPhone รุ่นเก่านั่นแหล่ะ
โอ้ ขอบคุณครับ
เอารีวิว DX มาลงจะเชยไหมเนี่ยเพราะ Firmware 3 มันยังไม่มี....
Kindle DX รุ่นไหนครับ DX หรือ DX Graphite ครับ
DX Graphite ครับ
ดีครับ สนับสนุน
แอบเห็นว่าอ่าน neuroscience อยู่หนะครับ
postsynaptic sympathetic fibre !
twitter.com/exfictz
ผมขอเดาว่าเป็น Harrison's :)
ฮาาาา เป๊ะ !
twitter.com/exfictz
เริ่มอยากได้ตรง dic นี่แหละ
จะได้พัฒนาภาษาอังกฤษตัวเอง
ยิ่งอ่านยิ่งอยากได้
Jusci - Google Plus - Twitter
กลุ่มลูกค้าโดยตรงของเครื่อง Kindle นั่นคือพวกที่รักการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะพวก paperback ถ้าคุณอ่านประมาณ 5-10 เล่มต่อปี ขึ้นไป และมีบัตรเครดิต (ไว้ซื้อหนังสือ eBook หรือเกมส์ผ่าน Amazon) นั่นแหล่ะใช่เลย
ส่วนเรื่อง Kindle 3G ที่ใช้เว็บได้ฟรี โดยไม่ต้องง้อสัญญาณไวไฟ นอกเหนือจากช่วยผมหาความหมายบน Wikipedia และ Google ได้แล้ว การที่มันใช้ท่องเว็บอื่นๆได้ด้วย ผมถือเป็นของแถมที่น่าประทับใจ แม้ประสบการณ์การใช้งานเว็บไม่ดีเท่าบน PC (K3 มันช้ากว่า จอก็เล็กกว่า) หรือแม้แต่บน iPhone (K3 ช้ากว่า แถมไม่มีทัชสกรีน) แต่ดีกว่าบนใช้บนมือถือ Windows Mobile, Symbian โดยรวมๆก็พอถูไถ (เดี๋ยวจะหาว่าเอาแต่ติ K3 อันที่จริงเรื่องเว็บ มันก็ดีขึ้นกว่า K2, DX เยอะแล้ว :จากใจคนใช้ K2 T_T)
แต่ถ้าคุณไม่อ่านหนังสือภาษาอังกฤษ พิมพ์ภาษาอังกฤษไม่คล่อง/ไม่ได้ อ่านน้อยมากกว่าเล่มสองเล่มต่อปี ถ้าเล็งแต่ใช้เว็บฟรี เช็คเมล์ อัพเดทสถานะ Twitter, Facebook โดยความคิดเห็นของผมส่วนตัว ผมว่ามันก็ไม่คุ้มเท่าไรนะ
ผมว่าแค่ twitter facebook ก็ยังคุ้มอยู่นะ ถูกกว่าซื้อมือถือแล้วมาต่อ edge อีก :P
สำหรับผมก็ยังมองว่าเจ้าเครื่อง K3 3G ที่ราคาเกือบหมื่น (รวมค่าหิ้ว <=9700) ด้วยความรู้สึกส่วนตัว ก็รู้สึกราคามันสูงไปนิดหนึ่งครับ ถ้าเอามาใช้เพียงแค่อัพเดทสถานะ Twitter, Facebook ในแง่ลบ มันใช้อัพโหลดรูปไม่ได้, เล่นเกมส์ปลูกผัก เลี้ยงปลาก็ไม่ได้ แถมปัญหาใหญ่ของคนไทยคือ ต้องโพสตอบเป็นภาษาอังกฤษได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเอง เพราะไม่สามารถพิมพ์ข้อความภาษาไทยได้
ดังนั้น ถ้าคุณคล่องภาษาอังกฤษหน่อย ก็จะไม่รู้สึกอึดอัดกับการอัพเดทสถานะหรือคอมเมนต์คนอื่นๆเป็นภาษาอังกฤษ ก็จะไม่รู้สึกว่าเป็นข้อจำกัดเท่าไร
ด้วยราคา 9700 ถ้ากลับมาซื้อ data plan ที่ท็อปอัพขึ้นไปจากที่ใช้อยู่ น่าจะใช้ได้อย่างน้อยๆก็ 20 เดือนขึ้นไปน่ะครับ
ผมแค่อยากให้ฟังทุกด้าน เพราะเราๆท่านๆที่อยู่เมืองไทยซื้อแล้วต้องซื้อเลย เกิดไม่ถูกจริต ไม่ตรง lifestyle สิ่งที่ทำได้คือ บริจาคให้ชาวบ้าน หรือ ต้องขายต่อสถานเดียวน่ะครับ
ปล. ยินดีรับซื้อ K3 3G มือสอง ราคาย่อมเยาว์ ครับ ฮิๆ (เฮ้ย....เผ่น)
ปกติอ่านหนังสือรวมกันทั้งหมด (web, pdf, หนังสือเล่ม) ก็เยอะกว่า 5 เล่ม แต่ว่าส่วนมากเป็นภาษาไทย และฟรี (web, pdf) ถ้ามีหนังสือภาษาไทยบ้างก็ดีนะ
แต่สำหรับผมมองว่า แค่อ่านเว็บนิยาย หรือว่าข้อมูลอะไรจากอินเทอร์เน็ตที่เป็น text เยอะ ๆ ก็น่าจะคุ้มแล้ว แทนที่ต้องมานั่งหน้าคอมพ์ และ/หรือเพ่งกับมันอยู่ตลอดเวลานะ
Jusci - Google Plus - Twitter
พออ่านรีวิวนี้แล้วรู้สึกคิดผิดที่ซื้อแค่รุ่น WiFi ฮือๆ cancel ไม่ได้แล้วด้วย
ราคาก็ห่างกัน 50 เหรียญครับ หรือราว 1600 (อาจจะถึง 2000 ถ้ารวมภาษีนำเข้าและค่าจัดการ) ราคาสูงไหมก็ไม่มาก ขาดไวไฟก็ไม่ตายสำหรับคนอ่านหนังสือ แต่ว่าจะหาข้อมูลออนไลน์ก็ลำบากกว่า เข้าร้าน Amazon ออนไลน์ก็ยากกว่า รวมถึงไม่สามารถอัพเดท Twitter, Facebook ได้ทุกๆที่ก็เท่านั้นเอง T_T
แต่ยังอ่านหนังสือได้ครับ :D
คิดเสียว่าเอาส่วนต่างมาซื้อปกที่มีไฟละกัน
รุ่น 3G นี้ถ้าตีเป็นราคาไทย ส่งมากรุงเทพฯ เบ็ดเสร็จรวมเท่าไหร่หรอครับ?
ผมรู้แต่ราคารุ่น wifi ที่คนเคยรีวิวไว้อันนั้นประมาณ 6พัน อันนี้จะถึง 10k ไหมครับ?
9000 ได้ครับ
ผมเพิ่งสั่งมา ประมาณ 8 พันครับเบ็ดเสร็จ ไม่รวมซองนะ ตอนแรกจะสั่งแต่บวก ๆ กันแล้วเกือบหมื่นเลยไม่เอาดีกว่า
คุณ mk ซื้อ Kindle 3 รุ่น 3G ใช่รึเปล่าครับ ราคานี้น่ะ
ปล. ยินดีด้วยนะครับ หวังว่าคุณจะถูกใจ Kindle 3 นะครับ
ใช่ครับ 3G
ขอเก็บตังอีกสัก ผมคงเอารุ้นนี้แน่ ถ้าราคามันไม่ขึ้นไปกว่านี้
ว่าแต่ไม่มีใครรีวิว nook เลยรึ?
เอิ่ม nook นี่ฟังแล้วดูดี มีจอสี มี touch screen แต่ reading experience นี่เมื่อเทียบกับ Kindle 2 แล้ว จัดว่าแย่ ปัญหาใหญ่คือ navigation ที่มีสองพื้นที่ ทำให้การสั่งงานด้วยมือข้างเดียวเพื่อเข้าถึงฟีเจอร์ต่างๆ ทำแทบไม่ได้
หน้าจอหลัก Kindle 3 คมชัดกว่า
Kindle ใช้ปุ่ม 5-way Navigation เป็นปุ่มจริงๆ สามารถกดโดยเพ่งความสนใจที่เคอร์เซอร์ที่จอเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องมองนิ้วที่ 5-way ได้ แต่ Nook ใช้ touch screen ซึ่งตอบสนองช้า/หน่วงกว่า แถมตาต้องมองทั้ง touch screen และที่เคอร์เซอร์ที่จอหลัก
เมนูใช้ touch screen ด้านล่าง ที่ช้า/หน่วง เพราะว่า Kindle 2 เวลากดปุ่มแล้วมีดีเลย์กับเคอร์เซอร์บนหน้าจออยู่บ้าง แต่สามารถกดค้าง/รัวข้ามไปรวดเดียวได้ แค่รีเฟรชเคอร์เซอร์ไม่ทันที แต่เทียบกับ Nook นี่ช้าพอตัว ผนวกกับการออกแบบเมนูที่ไม่ดี คำสั่งที่ต้องใช้บางครั้งอยู่ไปลึกหลายชั้น ประกอบกับการที่คุณต้องรอให้เมนูแต่ละชั้นบน touch screen รีเฟรชเพราะการสัมผัสแต่ละครั้งเสียก่อน ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เข้าถึงฟีเจอร์ต่างๆผ่านเมนูและการควบคุมเคอร์เซอร์บน Nook ชักช้าอย่างมาก เมื่อเทียบกับ Kindle 2
ฟีเจอร์การ Search ด้วย Google กับ Wikipedia มันอินทิเกรตกับฟีเจอร์การอ่านหนังสือ: บน Kindle ถ้าอ่านหนังสือแล้วสงสัย อยากไปหาข้อมูลเพิ่มเติมจากในเว็บ เราไม่ต้องจด เราสามารถไฮไลท์คำในหนังสือ แล้วเอาไปค้นหาใน Google หรือ Wikipedia ได้โดยกดปุ่มไม่เกินเก้าครั้ง นับทุกปุ่มรวมถึงปุ่มเคอร์เซอร์ และเมื่ออ่านเสร็จแล้วก็สามารถกดปุ่ม Back กลับมาอ่านหนังสือเล่มเดิมที่หน้าเดิมที่ค้างไว้ได้เลย แต่กับ Nook โหมดอ่านหนังสือกับโหมดเว็บแยกกัน เราต้องจดคำที่จะค้นหา เพื่อออกโหมดอ่านหนังสือ แล้วเปิดเว็บ เข้า Wikipedia พิมพ์ค้นหา กดออก กลับมาอ่านหนังสือใหม่ ฟังแล้วดูงงๆ ถ้าได้เห็นวิดีโอการใช้งาน แล้วจะประทับใจ T_T
เรื่องโน็ตบน Nook นี่ก็ลำบาก เพราะไม่สามารถแสดงรายการโน็ตหรือไฮไลท์ที่เราทำบนหนังสือเล่มนี้ พร้อมเนื้อหาใกล้ส่วนที่เราไฮไลท์/โน็ตไว้ได้
ส่วนข้อดีของ Nook ได้แก่
nook อ่านแล้วดีที่ไม่หลวมตัวซื้อจริงๆ....
นึกขึ้นได้อย่าง บอดี้ของ Kindle 3 Graphite ไม่ได้ทำจาก Graphite (รูปหนึ่งของคาร์บอน สีดำ ลื่นๆมือ ใช้ทำใส้ดินสอดำ และอื่นๆ) แต่หมายถึง สี 'ดำ' ครับ