บทความที่แล้วเราได้ทำความรู้จักกับบริการ TOT e-Conference ไปแล้ว มาถึงตอนนี้เราจะมาดูกันว่าบริการนี้มีการทำงานภายในกันอย่างไรบ้าง โดยบริการนี้เมื่อเราสมัครเข้ามาแล้วจะได้รับ username/password จากทาง TOT มาก็เริ่มใช้งานกันได้ทันที
เริ่มจากหน้าจอแรก เราจะพบกับหน้าจอ Conference Room List เป็นรายการห้องประชุมของระบบที่เข้าร่วมประชุมได้ ถ้าคลิกที่ชื่อห้องประชุมก็จะเป็นการเข้าร่วมประชุม
ในห้องประชุมนั้นจะประกอบไปด้วยเมนูต่างๆ ได้แก่ วีดีโอ, แชท, รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม, การนำเสนอ, วาระการประชุม, การตั้งค่า, ความช่วยเหลือ, และการจัดการห้องประชุม นอกจากนี้ยังมีปุ่มจัดเรียงหน้าจอ ในกรณีที่เราเปิดหน้าต่างขึ้นมาหลายหน้าและเริ่มซ้่อนทับกัน อีกปุ่มหนึ่งที่จำเป็นสำหรับอินเทอร์เน็ตที่ไม่เสถียรคือการ reload กรณีที่การเชื่อมต่อขาดตอนลง
เมื่อเริ่มต้นนั้นหากเรามีกล้องวีดีโออยู่แล้ว เราก็จะเห็นภาพของเราเองที่ส่งไปยังคนอื่นๆ ที่เข้าร่วมประชุม โดยปรกติแล้วประธานการประชุมจะเห็นวีดีโอของทุกคนตลอดเวลา แต่เราจะเห็นเฉพาะคนที่ประธานเลือกให้พูดและแสดงภาพเท่านั้น เพื่อลดการใช้แบนวิดท์
เมื่อกดเมนู Text Chat ขึ้นมาแล้ว เราสามารถพูดคุยกับคนอื่นๆ แบบตัวอักษรได้ทันที และล็อกของการพูดคุยนี้สามารถดาวน์โหลดกลับมาเก็บไว้ได้
กลับมาส่วนการจัดการไฟล์ เริ่มจากการอัพโหลดไฟล์ เราสามารถอัพโหลดไฟล์เตรียมไว้สำหรับห้องประชุมแต่ละห้องได้ พร้อมกับเลือกว่าไฟล์นั้นจะเข้าถึงจากทุกคนได้หรือไม่
เมื่ออัพโหลดแล้วก็สามารถเข้าไปจัดการ ปรับสถานะ และลบไฟล์ออกจากระบบได้
สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม สามารถดูรายการไฟล์ที่มีการแชร์ไว้ เพื่อดาวน์โหลดมาดูบนเครื่องได้โดยรายการแชน์นี้จะแบ่งตามห้องประชุม
ในเรื่องของค่าใช้จ่ายนั้นอาจจะต้องสอบถามไปยังทาง TOT สำหรับรูปแบบที่ต้องการจะใช้งาน เนื่องจากสามารถสมัครได้ 3 รูปแบบคือแบบ Lite ที่จะประชุมได้ครั้งละ 5 คน, แบบ Standard ประชุมได้ 15 คน, และแบบ Voice ประชุมได้เฉพาะเสียง แต่ร่วมได้ถึง 50 คน โดยแต่ละแบบนั้นสามารถสมัครใช้งานได้ตั้งแต่รายครั้ง, รายเดือน, และรายปี ตามความต้องการของหน่วยงาน
ในแง่ของความปลอดภัยนั้น ผมได้สอบถามไปยัง TOT แล้วได้รับการยืนยันว่าการส่งข้อมูลทั้งหมดจะถูกเข้ารหัสไว้เพื่อความปลอดภัย ในส่วนนี้เข้าใจว่าเป็นความสามารถของแฟลชที่สามารถส่งข้อมูลแบบ Real Time Messaging Protocol Encrypted (RTMPe) เพื่อรักษาความลับของข้อมูลที่จะมีการส่งไปมาระหว่างการประชุม
การใช้งานของ TOT e-Conference คงไม่ใช่การใช้งานการส่วนตัวเท่าใด กลุ่มที่เหมาะกับบริการเช่นนี้อาจจะเป็นหน่วยงานขนาดเล็กไปจนถึงกลางที่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเป็นของตัวเอง การใช้บริการ e-Conference จะเพิ่มความสะดวกจากการใช้งานได้ง่าย ขณะที่หน่วยงานไม่จำเป็นต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอง
Advertorial Content
Comments
น่าลองดู อยากรู้จะ delay นานแค่ไหน
หน้าล็อบบี้ เหมาะจะเปิดบน IE6 มาก
ส่วนหน้าวิดีโอมาแนวแมคเลยทีเดียว
อยากทราบราคาค่าบริการครับ
WE ARE THE 99%
เจ้าอื่นที่ยังทำไม่ได้ เพราะยังไม่มี 3G สินะ
อีกปุ่มหนึ่งที่จำเป็นสำหรับอินเทอร์เน็ตที่ไม่เสถียรคือการ reload กรณีที่การเชื่อมต่อขาดตอนลง
hahaha!!
TOT internet
CAT ก็ใช่ย่อย ผมใช้ 5 เส้นยังล่มพร้อมกันทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง
ก็มันมาจาก Node เดียวกัน - -'