บริษัทฮาร์ดแวร์รวมตัวกันตั้ง SSD Form Factor Working Group เพื่อสร้างมาตรฐานของ SSD ที่ใช้แทนฮาร์ดดิสก์
มาตรฐานนี้จะใช้ไดร์ฟขนาด 2.5 นิ้ว, การเชื่อมต่อแบบ PCIe, ฟีเจอร์ hot plug และข้อกำหนดด้านการประหยัดพลังงาน ฯลฯ ร่างมาตรฐานแรกจะออกในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2011
สปอนเซอร์รายใหญ่ได้แก่ Dell, EMC, Fujitsu, IBM, Intel รายเล็กอีก 11 บริษัท เช่น Marvell, Micron เป็นต้น
ที่มา - eWeek
Comments
seagate western ไม่ร่วมด้วยเหรอ
Oracle (Sun) ไม่แคร์งั้นรึ
ขาดแอปเปิ้ลไปได้ไงนี่
ไม่มี Apple แน่นอน เพราะศาสดาคิดไม่เหมือนเจ้าอื่นๆ
ดูีรายชื่อแล้ว เหมือนเป็นกลุ่มลูกค้ารา่ยใหญ่ทั้งหลายจะรวมตัวกันกำหนด spec แล้วให้ผู้ผลิตทำมาขายให้ได้ตาม spec เองนั่นแล
WD ซื้อบ.ทำ solid state มาราวๆสองปีแล้ว คงอยู่ในช่วงกำลังเตรียมตัว ก็ต้องรอดูว่าต้นทุนต่อเทคโนโลยีพร้อมแล้วหรือยัง
ตอนนี้ HDD 3.5" 1TB ราคาแค่พันเจ็ดถึงสองพันต้นๆกำลังจะกลายเป็น mainstream แทนตัว 500GB ในขณะที่ HDD ความจุสูงๆ2-3TBแทบไม่มีขยับ(มีแต่ 1.5, 2 และ 3 TBแทบไม่ซอยรุ่น) คาดว่า ผู้ผลิตกำลังอยู่ในช่วงเตรียมตัวช่วงเปลี่ยนผ่านนี่แหละ ความจุและราคาอาจจะไม่ลดลงมากๆอีกแล้ว น่าจะขยับช้าๆ แล้วรอเทคโนโลยีของ Solid state ให้นิ่งๆแทนเพื่อย้ายฐานการผลิตไปส่วนนั้น แต่ดูแนวโน้มแล้วน่าจะเริ่มหนักๆที่ 2.5" ก่อน เพราะตลาด notebook ต้องการสูงสุด
นึกถึงคำพูดของผู้บริหารของบ.ผู้ผลิต HDD รายใหญ่เจ้านึงเคยพูดไว้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ว่าเทคโนโลยีของ magnetic disk storage มีไว้เผื่ออนาคตแค่ 5 ปี(พูดเมื่อ 5ปีที่แล้วนะ) แต่หลังจากนั้น ก็ต้องมาประเมินอนาคตกันใหม่! และตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีงานวิจัยกับ magnetic disk ใหม่ๆออกมาสักเท่าไร(ถ้าผมไม่ตกข่าวนะ) ไม่เหมือนช่วงสามสี่ปีก่อนที่ perpendicular ออกมาทำตลาดให้ฮือฮากันเพราะความจุที่ก้าวกระโดดขึ้นมาก
กรรมมาตกที่โรงงานในประเทศไทย
เลิกใช้แบบจานหมุนกันเมือไหร่ โดน layoff บานนน
ทั้งซีเกท และเวสเทิร์น
แต่ทั้งสองเจ้าอาจจะเอาเทคโนใหม่เข้ามาผลิตก็ได้นะครับ ค่อยทะยอยมาแล้วเฟดจานหมุนออกไป
โดยปกติแล้วโรงงานผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเขาจะไม่ผลิตที่เดียว
แต่จะผลิตเป็นส่วนๆ แล้วไปประกอบคนละที่ เช่น หัวอ่านจากประเทศหนึ่ง อาร์มจากประเทศสอง จานจากประเทศสาม เคสจากประเทศสี่ แล้วทั้งหมดนี่ส่งมาประกอบที่ไทย โดยใช้คำว่า Assembly in Thailand อาจจะมีบางรุ่นที่มีคำว่า Made in Thailand แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ผลิตทั้งหมด โดยส่วนมากชิ้นส่วนใหนที่ใช้เทคนิคขั้นสูงจะผลิตจากประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เมกา ส่วนประเทศที่ชอบใช้แรงจะเป็นโรงงานประกอบเพราะค่าแรงถูกด้วย ดูจากโรงงานผลิตรถยนต์ก็ได้ครับ
เหตุผลที่ทำแบบนี้คือ ป้องกันการลักลอบเทคโนโลยีครับ
บ้านเราขาดเทคโนโลยีต้นน้ำ ขาดโรงงาน Wafer Fabrication อย่างเดียว ก็เลยไม่มีต้นสายเลยล่ะครับ มีแต่ส่วน post process ทั้งหมด
เพราะอย่าง WD เท่าที่รู้ Head นั้นส่งแผ่น wafer จากเมกา มาตัด และติดตั้งหัวอ่านที่เมืองไทย และส่งไปประกอบเป็นตัว HDD ที่โรงงานข้างๆกันนั่นแหละ ส่วนแผ่น media(จาน) ก็มาจากสิงคโปร์บ้าง ไต้หวันบ้าง แล้วแต่ supplier เพราะพวกนี้เขามีโรงงานทำพวกนี้โดยตรงอยู่แล้ว ส่วนประกอบอื่นๆก็มาจากโรงงานในไทยก็เยอะอยู่
ส่วนเรื่องกลัวเทคโนโลยีรั่วไหลคงไม่เกี่ยวโดยตรงสักเท่าไร เพราะคนไทยที่อยู่ระดับหัวหน้าฝ่ายวิจัยที่บ.แม่ก็มีไม่น้อย หรือเป็นผู้บริหารระดับสูง(Vice president)ก็ยังมี แต่เป็นเรื่องของcost management+logistic มากกว่า ถ้าเป็นไปได้เขาก็อยากให้ทุกโรงงานอยู่ใกล้ๆกันหมดนั่นแหละ (พวกนี้เคยตั้งฐานที่สิงคโปร์ หรือมาเลย์ มีครบหมดทุกอย่าง แต่ต้องย้ายฐานไปที่อื่นเพราะเรื่องค่าแรง)
สิ่งที่น่ากลัวกับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม น่าจะเป็นเรื่องของแรงงานไร้ทักษะ ที่จะโดนทดแทนด้วยหุ่นยนต์ 100%มากกว่า เพราะเคยไปดูเขาพัฒนามาเมื่อหลายปีที่แล้วน่าทึ่ง หุ่นราคาตัวละ 1 ล้านUSD กว่าสองร้อยตัวติดตั้งในโรงงานแห่งหนึ่ง ใช้เทคโนโลยี image processing เต็มตัวในการเลือกจับชิ้นงาน(แต่ตอนนี้คงเรียกว่าเก่าไปแล้ว -_-")รวดเร็ว และโอกาสพลาดต่ำกว่าใช้คนจริงๆเยอะ แรงงานส่วนนี้ในอนาคตตกงานกันแน่นอน
แต่ส่วนที่เรายังสู้ได้และน่าส่งเสริม คือแรงงานมีทักษะครับ(แรงงานที่ต้องใช้skill ในการควบคุมเครื่องจักรอีกที) เท่าที่เคยผ่ีานตามา กล้าพูดเลยว่าแรงงานส่วนนี้ของไทย ดีที่สุดในAsian เลย ทั้งคุณภาพการทำงาน และวินัย ถ้ามีหัวหน้างาน(ซุปฯ)ดีๆล่ะก็ผลงานออกมาดีสุดๆ ไปดูโรงงานอื่นที่ใช้แรงงานอินโดฯ(โรงงานในมาเลย์เกือบทั้งหมดใช้แรงงานอินโดฯนะ) หรือเวียดนามแล้วผลงานออกมาด้อยกว่าเราเยอะ แต่ของเราขาดที่เรื่องภาษาอังกฤษเท่านั้นแหละ ไม่งั้นส่งไปทำงานได้ทั่วโลกเลยทีเดียว