เว็บที่เราเห็นทุกวันนี้นั้นมีจุดเริ่มต้นมาจาก CERN ในยุโรป (หน่วยงานเดียวกับทางสร้าง LHC) และออกแบบโดยนักฟิสิกส์ที่ชื่อว่า Tim Berners-Lee ล่าสุดเขาเขียนบทความลงนิตยสาร Scientific American เรียกร้องให้เว็บต่างๆ คงความ "เปิด" ของเว็บเอาไว้ เพื่อไม่ให้เกิดการแยกส่วนของข้อมูลในเว็บ
Tim ระบุถึงภัยของการสร้างเนื้อหาในสภาพแวดล้อมปิด ที่เนื้อที่ถูกสร้างในบริการใดบริการหนึ่งแล้ว ไม่สามารถถูกอ้างถึง หรือโยกย้ายไปยังบริการอื่นๆ ได้โดยง่าย นับตั้งแต่ Facebook, LinkedIn, Friendster, รวมไปถึง iTunes ที่ใช้ itunes: แทนที่ http: อีกด้วย
เขาระบุว่าโลกของ iTunes นั้นเป็นโลกที่รวมอยู่กับศูนย์กลางและปิดกั้นจากคนอื่นๆ และการพัฒนาการถูกจำกัดอยู่เพียงสิ่งที่บริษัทคิดออกมาได้เท่านั้น
ในสมัยที่สร้างมาตรฐาน www นั้น Tim Berners-Lee ได้พยายามศึกษามาตรฐานซึ่งมีอยู่มากมายในยุคนั้น และพบว่ามาตรฐานเหล่านั้นล้วนเข้ากันไม่ได้ หรือมีค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้ฟอร์แมตที่แพงมาก มาตรฐานเว็บจึงตั้งอยู่บนฐานว่าทุกคนต้องเข้าใช้งานได้ฟรี และสามารถทำงานร่วมกันได้
ที่มา - The Guardian, Scientific American
Comments
สายไปละครับท่าน
ศึกศามาตรฐาน > ศึกษามาตรฐาน
ขอรอดูต่อไปว่าอะไรมันจะล่มสลายลงไปก่อน
ถ้านับกันจริงๆ คงไม่เฉพาะ Facebook กระมัง ขนาด Web browser มันยังมีหลากหลายจนปวดหัวเลย เข้าเว็บนี้ต้องใช้อันนี้ เข้าเว็บนั้นใช้อันนั้น
รับตั้งแต่ เป็น นับตั้งแต่ หรือเปล่าครับ
และสามารรถทำงานร่วมกันได้ > ร.เรือเกินมาตัวนึง
แก้อีกอันครับ Tim Berner-Lee <- Tim Berners-Lee
ถูกของท่าน
เหอๆ....เดี๋ยวนี้อะไรๆก็เฟสบุค
เดี๋ยวมันก็มีขึ้นมีลงมั้งครับ บริษัทใหญ่ๆมันตอบสนองได้ในระดับหนึ่งของเทคโนโลยีแล้วก็ล่มสลายลงไปตามกาลเวลาครับ แล้วก็จะมีการ Migrate ข้อมูลกันใหม่ไปยังที่ใหม่ๆอีกครับ Facebook น่าจะอำนวยความสะดวกให้กับคนที่ไม่สามารถทำอะไรได้มากกับ www มั้งครับ เดี๋ยวพอถึงจุดอิ่มตัวก็จะมีอะไรใหม่ๆมาให้ Migrate ข้อมูลตัวเองอีกเรื่อยๆครับ ถ้าคิดแบบ Anarchist แล้วก็คงต้องปล่อยไปตามยถากรรมของมันล่ะมั้งครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
อีกอันที่ไม่ค่อยชอบคือ market: ของ android
ใครช่วยสรุปให้ผมฟังหน่อยครับ ตกลงว่า "เปิด" มันดีหรือไม่ดี แล้ว Facebook เป็นแบบไหน
งงครับ
อ่านแล้วจับใจความไม่ได้อ่ะ ใครเข้าใจสรุปที
ตามความเข้าใจของผม คือ ประมาณว่า ก่อนจะมี www เนี้ย ระบบหลายอย่างมันปิด เลยต้องมี www ขึ้นมาเพื่อเปิดและเชื่อต่อทุกอย่างเข้าด้วยกัน แต่เว็บเดี้ยวนี้ กำลังจะทำให้มัน "ปิด" อีกแล้วครับ (ต้อง login เข้าไปเพื่ออยู่ในโลกนั้นๆ เช่น facebook,iTunes,ฯลฯ)ไม่ได้เปิดอ้าซ่าเข้าใช้ได้ง่ายเพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปิดกั้นในการเข้าถึงและนำออกข้อมูลอย่างที่ผู้สร้างหรือผู้ออกแบบเคยคาดหวังและต้องการ สเหมือนเป็นโลกที่แยกออกไป ประมาณนี้
ตามความเข้าใจของผมนะ กลัวเข้าใจผิดเหมือนกัน ;P
โอเคเข้าใจ
...thanks ครับ
ท่าน Sir Tim คงอยากให้ข้อมูลสามารถอ้างถึง เข้าถึงได้โดยทั่วไป เพื่อการใช้ประโยชน์ข้อมูลได้สูงสุดมั้งคะ
กรณี FB คือ เราใส่ข้อมูลของเราเข้าไปมากมาย แต่ไม่สามารถอ้างถึงหรือนำมาใช้ได้ เว้นแต่จะถูกเรียกจากระบบใน FB เอง (จากบทความต้นฉบับ ท่านบอกว่ามันไม่มี URI) ประมาณนี้มั้ง
ดู Sir Time พูดถึง ประโยชน์ ในการเผยแพร่ข้อมูลส่งผลให้ มีการใช้ข้อมูลในแง่มุมต่าง ๆ โดยผู้อื่นที่ TED
http://www.ted.com/talks/tim_berners_lee_the_year_open_data_went_worldwide.html?awesm=on.ted.com_8Bdn
+100
+1 เข้าไปอ่าน source
ผมว่าแต่ละบริษัทที่พัฒนาเว็บขึ้นมา ก็คงไม่อยากให้มีใครขโมยข้อมูลจากเว็บเค้าไปง่ายๆหรอกครับ อย่างเช่น facebook เค้ามีต้นทุนพัฒนาเว็บ มีการโปรโมทต่างๆ จนเกิด application มากมายบนเว็บ ดังนั้น การที่เค้าจะใช้ประโยชน์จากเว็บ เช่นการโฆษณาต่างๆ หรือทำการ research เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้งานในเว็บ ก็ควรเป็นสิทธิ์ของ facebook ไม่ควรจะเปิดให้ทุกคนมีสิทธิ์ใช้เท่าเทียมกัน
ถ้าอยากให้เว็บเปิดจริงๆ ผมว่าทางออกนึงที่ช่วยได้คือ เปิดให้มี API สำหรับเว็บครับ ช่วยให้เจ้าของเว็บสามารถกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลภายในเว็บของตัวเองได้ สมัยนี้การให้ข้อมูลผ่าน web service ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ทำกันไม่ยากนะ
แต่อย่าลืมนะครับว่า Tim Berners-Lee พูดในฐานะที่'สร้าง'อินเตอร์เน็ตและเปิดให้ทุกคนใช้ฟรีๆโดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ แต่กลับต้องเห็นคนอื่นนำสิ่งที่ตัวเองสร้างไปแก้ไขในทางที่แย่ลงเพื่อหาผลประโยชน์
ก็เหมือน Einstein ที่ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ แต่ถูกนำไปใช้สร้างระเบิดนิวเคลียร์นั่นแหละครับ
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
อาจจะแปลกๆ .. แต่โดยสรุปคือ ไม่สนว่าคนสร้างตอนสร้างคิดยังไง เปนคนไม่ค่อยสน "ที่มา" น่ะ.. สน "ที่ไป" มากกว่า
อดีต.. ควรรับรู้เรียนรู้ แต่ก็ไม่อยากไปยึดติดกะมัน ดีไม่ดีก้อแค่สมมติฐาน ไม่อาจรุแน่ ว่าจะเปนไงต่อ
อดีตเปนแนวทาง แต่ต่อไปอาจมีทางที่ดีกว่าก้อได้ แต่ที่แน่ๆ ก้อคือไม่อาจย้อนไปทำไรกะอดีตได้อีก
ทุกอย่างเปลี่ยนอยู่ตลอด.. ถ้ามันดีกว่า ก้อน่ายินดี ถ้ามันแย่กว่า หากจะแก้ก้อต้องแก้อิงสภาพปัจจุบัน คงไม่เหมาะ ที่จะถือว่าอดีตคิดไง ต้องแก้ให้เปนงั้น
สมมติว่าถ้าไปเปน Einstein .. หากรุแน่ว่าทำแล้วจะเกิดปรมาณูล้างโลก คงไม่ทำ แต่หากไม่รุแน่ คงทำต่อ แล้วปล่อยตามยถากรรม อย่างมากก้อแค่แจง ว่าแรกเริ่มคาดหวังอย่างไรไว้ คิดเหนเช่นไรกับผลที่ตามมา แต่ไม่สุขทุกข์กับมัน ส่วนเรื่องปรมาณูล้างโลก ก้อหาทางกัน/แก้ต่อไป ถ้ารุแต่แรกก้อหาๆ ไว้ก่อน รุทีหลังก้อหาๆ เดวนั้น มีไรดี/เลว 100% ฤา? .. ไรไม่ดีก้อกัน/แก้/รับผล
จิงๆ แล้ว ไม่รุด้วยซ้ำว่าปรมาณูล้างโลกไม่ดีจิงมั้ย สมมติว่าดาวหางชนโลกเปนเรื่องจิง มันดีหรือไม่ดี มันแล้วแต่มุมมองรึป่าว ว่ามองผลจากมุมของใคร ไดโนเสาร์อาจคิดว่าไม่ดี เพราะทำให้มันสูญพันธุ์ แต่หากไดโนเสาร์ไม่สูญพันธุ์ มนุษย์จะได้เกิดมั้ย
นอกเรื่องไปซะไกล กลับเข้าเรื่อง.. เรื่องผลประโยชน์นี่คงห้ามไม่ได้ ไม่ควรห้ามด้วย หากไม่เกิดผลประโยชน์อันใดแล้วอะไรจะ drive
ส่วนเรื่อง "แก้ไขในทางที่แย่ลง" นี่.. ก้อพอจะเข้าใจลุง Tim มั้ง ว่าคิดยังไงรุสึกยังไง แต่โดยส่วนตัว ก้อตามที่แจงไว้ใน post อันก่อน ว่าไม่เหนว่า "มันแย่ลง" แค่ "มันเปนไปอีกทาง" หรืออย่างไร ช่วยแจงอีกทีว่า "มันแย่ลงยังไง?"
นอกเรื่องหน่อย
ใช้อะไรตัดคำครับเนี่ย?
ก็เพราะคนเราก็ต้องการความเป็นส่วนตัว ถ้าจะให้เหมาะสมคำพูดที่ว่าควรใช้กับเว็บสาธารณะเท่านั้นมากกว่า
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
เป็นผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ดีครับ และน่าสนใจจริงๆ
+1
ทุกสรรพสิ่ง ล้วนเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-แล้วดับไปทั้งสิ้น เป็นอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา ซึ่งทางพุทธเราเรียกกันว่า "ไตรลักษณ์" ไม่อาจหลีกเลี่ยง เป็นกฎธรรมชาติ
แม้แต่ WWW กระทั่ง Facebook เองก็เถอะ
ขึ้นหัวว่า fb .. แต่อ่านไปอ่านมา iTune โดนอัดเละ ??
ปล. แต่ส่วนตัวคิดว่า fb นี่แหละ ที่จะเปนที่แรก ที่ consumer จะสามารถสร้างและใช้ semantic web ที่ทั่นเซอร์ใฝ่ฝันได้ ในยุค SemWeb .. แม้ resource ทั้งหลายจะ represent ด้วย uri graph ได้ แต่ store/access ตรงๆ คงไม่ไหวแหง หาก SemWeb จะเกิด.. อีก milestone ที่ต้องผ่านไปให้ได้ ก็น่าจะเปนเรื่อง standard body ของ Web API นี่กระมั้ง