Amazon Mechanical Turk เป็นแพลตฟอร์มสำหรับทำ crowdsourcing ที่ค่อนข้างดังตัวหนึ่ง รูปแบบของมันจะคล้ายๆ กับตลาดนัดแรงงาน แต่เป็นงานขนาดเล็กๆ ที่ทำได้ผ่านอินเทอร์เน็ต (เช่น จ้างคนรวบรวมหรือค้นข้อมูล) และจ่ายเงินด้วยอัตราไม่เยอะนัก ประโยชน์ของมันคือช่วยให้ทำงานที่ต้องใช้แรงคนได้เร็วและสะดวกขึ้น
แต่ผลการศึกษาล่าสุดของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก พบว่างานใหม่ที่ถูกโพสต์บน Mechanical Turk ประมาณ 40% ถือว่าเป็นสแปม (ซึ่งในที่นี้หมายถึงการจ้างทำ SEO, จ้างสร้างบัญชี Twitter/Facebook เพื่อให้ตัวเลข follower มีเยอะๆ, จ้างคลิกโฆษณา และจ้างหาข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้) และจำนวนคนโพสต์ประมาณ 32% โพสต์แต่งานที่เป็นสแปมอย่างเดียว ถือได้ว่าเป็นสแปมเมอร์ที่มาใช้ Mechanical Turk ช่วยทำงาน
Amazon ยังไม่มีปฏิกริยากับเรื่องนี้ แต่ทางคณะผู้ศึกษาได้ติดต่อขอข้อมูลไปยัง Amazon ว่าสแปมเมอร์จ่ายเงินให้ผู้ที่ทำงานจริงๆ หรือเปล่า (ไม่โกง) ซึ่ง Amazon ปฏิเสธการให้ข้อมูล ทางผู้ศึกษาจึงบอกว่าเป็นไปได้ที่ Amazon จะแกล้งหลับตาข้างหนึ่ง เพราะได้ประโยชน์จากค่าธรรมเนียมการจ้างงานจากสแปมเมอร์เช่นกัน
ที่มา - Panos Ipeirotis, ReadWriteWeb
หมายเหตุ: ก่อนหน้านี้เคยมีข่าว Belkin ซื้อรีวิวปลอมผ่าน Amazon Mechanical Turk?
Comments
และ 90% ของงานใน Facebook ของคนไทยเกี่ยวข้องกับสแปม...
คิดว่าหน้าจะเป็นคนที่ทำพวก amazon affiliate ที่หาเทคนิคมากมายเพือที่จะขายของแล้วรับส่วนแบ่งค่า commision แต่คนกลุ่มนี้มักเป็นกลุ่มสแปมเมอร์ คนไทยก็ทำเยอะครับสามรถทำเงินได้ต่อเดือนก็เป็นหลักหมืนบาท
ครับ คนไทยทำเยอะครับและก็ spam กันมันฝรั่งเค้ายังยั้ง แต่คนไทย spam เข้าว่าเพราะอยากได้ตังแต่ขี้เกียจทำ