ข่าว Chrome ยกเลิกการรองรับ H.264 แล้ว ยังสะเทือนวงการเว็บต่อเนื่องอีกหลายวัน เราเห็นปฏิกริยาตอบโต้จากไมโครซอฟท์กันแล้ว คราวนี้มาดูปฏิกริยาจากค่ายอื่นๆ กันบ้าง
ค่าย Mozilla ไม่มีอะไรซับซ้อน เพราะไม่เอา H.264 ตั้งแต่แรก บุคคลากรของ Mozilla ออกมาสนับสนุนการตัดสินใจของกูเกิลกันสั้นๆ โดยให้ข้อมูลว่าพันธมิตร WebM ทั้งสามเบราว์เซอร์มีส่วนแบ่งตลาดโลกรวมกัน 40% จะช่วยดันให้ WebM เกิดได้ไม่ยาก - Aza Dotzler
ที่เหลือเป็นสงครามตัวหนังสือระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้าน ถ้าไม่นับกรณีของไมโครซอฟท์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ศึกครับ
ศึกแรก เริ่มโดย John Gruber บล็อกเกอร์ชื่อดังที่เปรียบเสมือน "โฆษกอย่างไม่เป็นทางการ" ของแอปเปิล Gruber เริ่มโดยตั้งคำถาม 5 ข้อถึงกูเกิล ดังนี้
- ถ้ากูเกิลเอา H.264 ออกโดยให้เหตุผลว่าไม่เป็นมาตรฐานเปิด ทำไมถึงรวม Flash เข้ามาใน Chrome
- ตอนนี้ Android รองรับ H.264 ในอนาคตจะเอาออกด้วยหรือไม่
- YouTube จะเอาวิดีโอเวอร์ชัน H.264 ออกด้วยหรือไม่
- คิดว่าเว็บใหญ่ๆ ที่เล่นวิดีโอด้วย H.264 จะเปลี่ยนมาใช้ WebM แทนหรือไม่ ถ้าไม่ ผู้ใช้ Chrome จะทำอย่างไร
- ใครได้ประโยชน์จากการตัดสินใจครั้งนี้บ้าง?
มีคนพยายามตอบคำถามนี้หลายคน เช่น เว็บไซต์ FlashComGuru (ซึ่ง Gruber เขียนบล็อกตอบอีกครั้ง) แต่ที่ผมคิดว่าน่าสนใจคือเว็บไซต์ OSNews ตั้งคำถามกลับต่อ Gruber อีก 10 ข้อ คัดมาบางข้อนะครับ
- Gruber พยายามแสดงตัวว่าสนับสนุนมาตรฐานเปิด แต่ในมาตรฐานของ W3C ระบุไม่ให้เก็บค่าใช้งาน (ซึ่ง H.264 เก็บ) ทำไม Gruber ถึงสนับสนุน H.264
- Gruber จะยอมให้องค์กรอย่าง MPEG-LA ที่หากินจากการฟ้องสิทธิบัตร มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเว็บงั้นหรือ
- Gruber สนับสนุนให้แอปเปิลใช้อิทธิพลกด Flash ไม่ให้เกิดบน iOS แต่พอกูเกิลจะใช้อิทธิพลของตัวเองกด H.264 บ้าง Gruber ถึงไม่เห็นด้วย
- เหตุผลที่ Gruber ไม่สนับสนุน WebM เป็นเพราะว่า WebM ไม่ได้รับการสนับสนุนจากแอปเปิล แค่นั้นหรือเปล่า?
ศึกที่สอง เริ่มจากบทความ Google's dropping H.264 from Chrome a step backward for openness ของเว็บไซต์ Ars Technica
บทความนี้ยาวหน่อยแต่น่าอ่านครับ ประเด็นสำคัญมีดังนี้
- กูเกิลอ้างว่า "WebM เป็นมาตรฐานเปิด" ซึ่งในความจริงแล้วตรงข้าม เพราะ H.264 เป็นมาตรฐานที่ออกโดยองค์กรอย่าง ISO และ ITU ในขณะที่ WebM อยู่ใต้การดูแลของกูเกิลฝ่ายเดียว
- กูเกิลใช้คำผิด จริงๆ ต้องบอกว่า WebM ไม่เสียค่าใช้งาน (royalty-free) ในขณะที่ H.264 ต้องเสีย
- ค่าใช้งาน H.264 สำหรับผู้ผลิตเบราว์เซอร์ (ฝั่ง decode) จะอยู่ที่ปีละไม่เกิน 6.5 ล้านดอลลาร์ เงื่อนไขนี้ใช้ได้ถึงปี 2015 ส่วนฝั่งผู้ผลิตวิดีโอ (ฝั่ง encode) ฟรีตลอดไป (อ่านข่าวเก่า MPEG LA ประกาศให้ใช้ H.264 สำหรับวีดีโอบนอินเทอร์เน็ตฟรีตลอดไป)
- Ars เทียบกรณีของ GIF vs PNG ซึ่งคล้ายๆ กัน โดยบอกว่าเหตุผลที่คนเปลี่ยนมาใช้ PNG เป็นเพราะ PNG มีคุณสมบัติเหนือกว่า ไม่ใช่เพราะ PNG ไร้สิทธิบัตร
- ประเด็นเรื่อง "Chrome 2 มาตรฐาน" แบบเดียวกับที่ Gruber ยกขึ้นมา คือ ถ้าเอา H.264 ออก ทำไมยังสนับสนุน Flash, AAC, MP3 อยู่อีก
- ตอนนี้ H.264 ถูกใช้ในวงกว้างมาก โดยเฉพาะวิดีโอที่ไม่ได้อยู่บนเว็บ เช่น บนแผ่น Blu-ray, บนมือถือ ฯลฯ กูเกิลจะรองรับผู้ใช้กลุ่มนี้ได้อย่างไร
- H.264 ใช้ได้กับทั้ง Flash และ HTML5 video ช่วยให้ย้ายจาก Flash ได้ง่ายขึ้น (เพราะไม่ต้องแปลงไฟล์วิดีโอใหม่)
- การที่ฝ่าย HTML5 video แยกเป็นสองค่ายคือ WebM กับ H.264 จะทำให้คนที่ได้ประโยชน์คือ Flash video (ตัวเดียวใช้ได้ทุกกรณี) แทนหรือเปล่า จะทำให้วิดีโอบนเว็บถูกผูกขาดโดย Flash ต่อไปหรือเปล่า
คนที่ออกมาโต้ Ars คือ Opera ครับ โดยพนักงานฝ่าย Desktop QA ชื่อ Haavard เขียนบล็อกตอบโต้ดังนี้
- H.264 ถูกออกโดยองค์กรมาตรฐานอย่าง ISO แต่เป็นคนละมาตรฐานกับ W3C ซึ่งระบุว่าห้ามเก็บค่าใช้งาน
- แม้ VP8 ไม่ได้ออกโดยองค์กรมาตรฐาน แต่ระบุว่าให้ใครก็ใช้ได้ และไม่เก็บค่าใช้งาน
- มาตรฐานเว็บไม่ได้กำหนดให้ใช้ H.264 และการเลือกใช้ codec ตามความนิยม ก็จะซ้ำรอย IE6
- การเทียบ Flash กับ H.264 เป็นคนละเรื่องกัน เพราะ Flash เป็นปลั๊กอิน ในขณะที่ H.264 ฝังมาในตัวเบราว์เซอร์เลย
- H.264 มีใช้เยอะจริง แต่ไม่ได้แปลว่ามันเหมาะสำหรับเว็บ และการเล่นวิดีโอบนเว็บต้องแปลงฟอร์แมตอยู่แล้ว แม้จะอัพโหลดมาเป็น H.264 ก็ตาม
- Ars อ้างว่า Firefox เล่น H.264 ได้ผ่านปลั๊กอินของไมโครซอฟท์ (ข่าวเก่า) แค่แนวทาง "ปลั๊กอิน" ก็ไม่ใช่ HTML5 video แล้ว
เดี๋ยวคงมีต่อกันอีกหลายยกครับ ประเด็นนี้ยาวแน่นอน
Comments
ผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้เสียประโยชน์-ได้ประโยชน์ ดราม่าแน่นอนเรื่องนี้
ดราม่าระดับยักษ์ใหญ่ของวงการ Browser เลยครับ นี่น่าจะเป็นศึกรอบแรกๆ เลยที่คู่วิวาท(ะ)นั้นล้วนแล้วแต่มีพลังอำนาจในมือ เรามาดูว่าเค้า(ทั้งหลาย)จะใช้อำนาจและฐานพลังที่มีอยู่อย่างไร
จะฟัดกันจนเละเป็นขรี้ และเรื่องนี้ทำเพื่อผลประโยชน์ของผู้ใช้จริงหรือไม่ โปรดติดตามยกต่อไป
แป้ก แป้ก แป้ก(เสียงสัญญาณก่อนหมดยกในอีก 10 วินาที)
เหมือนกับ 3G ในไทยไง :P
ส่วนตัวไม่ว่าทางไหนก็โอเค แต่ขอให้มีมาตรฐานของ HTML5 Videos เถอะ จะได้บอกลา Flash ซะที
แต่ถ้าให้เชียร์ขอเชียร์ H.264 แล้วกันเพราะความคุ้นเคยล้วนๆ อุปกรณ์ในบ้านที่ซื้อมาก็รองรับ H.264 หมดล่ะ เป็น WebM ขึ้นมาทีไม่รู้ต้องซื้ออุปกรณ์ใหม่หรือเปล่า MPEG LA น่าจะใจดียกให้ถึงปี 2055 ไปเลยนะ...
ผมก็เชียร์ฝั่งนี้นะ แต่ผลสุดท้ายผมว่ามันก็คงลงอะไรเพิ่มให้ดูอันที่กลายเป็นมาตรฐานได้อยู่ดี
Google vs Microsoft
เรื่องราวคล้ายๆ HD DVD vs. Blu-ray เลยแฮะ
สุดท้ายคนก็เลือกสิ่งที่ดีที่สุดแม้จะแพงกว่าก็ตาม
ถ้าย้อนไปไกลกว่านั้น VHS vs Betamax ผลมันคนละแบบนะครับ
RDRAM ??
สั้นๆ AV
แค่ไม่ฟรีก็เปนเหตุผลที่เกินพอแล้วที่มันไม่ควรเปนมาตรฐาน
"มาตรฐาน" ที่ต้องจ่ายเงิน ก็ปล้นกันดีๆนี่เอง
นึกถึง iso9000, GMP, เบอร์ 5
ผลประโยชน์ทั้งนั้น...
ยกแรกก็มันส์ล่ะ ปูเสื่อรอยกต่อไป
ยังไงก็ได้ แต่ผู้บริโภคต้องได้ความสุขเท่าเดิม
ระหว่างนี้ หรือระหว่าง transition ผู้ใช้ปวดหัวแน่นอน พวกอุปกรณ์หลายอย่าง อายุการเปลี่ยนมันนาน เช่นพวก media box, tv, เครื่องเล่นเพลง/ดูหนังพกพา ฯลฯ น้อยคนจะเปลี่ยนบ่อยๆ ไม่เหมือนคอม/มือถือ อีก 3-5 ปีข้างหน้า แม้จะสรุปได้ว่าเป็น WebM ก็วุ่นวายแน่นอน เพราะคนยังไม่เปลี่ยนอุปกรณ์ ถ้าไม่ได้ดีกว่าชัดเจนยากที่คนจะยอมเสียเงินเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่เพื่อแค่เล่นอีก format ที่ทำได้แค่เหมือนกัน
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ช้างชนกัน กระเทือนถึง dev อย่างพ้ม T^T
เห็นด้วยกับความเห็นของ Opera เต็มๆ เลย
โดยเฉพาะ
"มาตรฐานเว็บไม่ได้กำหนดให้ใช้ H.264 และการเลือกใช้ codec ตามความนิยม ก็จะซ้ำรอย IE6"
อย่าได้ซ้ำรอยประวัติศาสตร์เลย
ส่วนเรื่องที่บอกว่า WebM ยังมีอุปกรณ์สนับสนุนน้อยนี่ ผมว่าถ้ามันออกมาเป็นมาตรฐาน ยังไงผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ก็ต้องผลิตอุปกรณ์ให้มันสนับสนุนมาตรฐานอยู่ดี
แล้วคนที่ซื้อ แล้วหละครับ
เหมือนตอน DTS กับ AC3 เลย
ไม่เข้าใจ GG กำลังจะทำอะไร
เห้นแก่ GG เองหละครับ ไม่นึกถึงผู้บริโภคเลย
Google ต้องมองถึงระยะยาวครับ หลายๆ คนอาจจะคิดถึงแค่ผลิตภัณฑ์ที่ Google มีอยู่ตอนนี้
แต่ทาง Google เองต้องมองไประยะยาวกว่านั้น เพราะเค้าคิดที่จะต่อยอดทางธุรกิจไปอีกหลายสาขาแน่นอน
และก็เป็นไปได้ที่จะทำทาตรฐาน WebM ไปใช้กับผลิตภัณฑ์พวกนั้น ซึ่งถ้าคิดเป็นมูลค่าโดยรวมแล้ว Google อาจจะต้องจ่ายอานเลยทีเดียวถ้าต้องหันไปใช้ H.264
ถ้า MPEG-LA ออกมาบอกว่า ให้ใช้ H.264 ฟรี จะจบไหม?
จบ (สำหรับ Firefox, Opera)
ผม แฟนพันธ์แท้ มั่ง GG FF TB แต่คงพอละถ้าทำนินิสัยแบบนี้กัน
support มันทั้ง สองเลย มันจะตายกันหรือไง
มันต้องเสียตังไงครับ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
น่าจะจบ
เอาไงก็เอากันสิครับ
พูดอีก ก็ถูกอีก
มันว่ะ
โอ้วฝ่ายdecodeจ่าย 6.5ล้านดอลลาร์
เมื่อถึงยุค html5 เมื่อไหร หากH.264ชนะขึ้นมา เราคงไม่ได้เห็นบราวเซอร์ใหม่ๆ จากผู้ผลิตรายเล็กๆเป็นแน่แท้
ไม่สนใจดราม่าครับ สนใจว่ากูเกิลจะทำให้ WebM เหนือกว่า H.264 อย่างไร :P
แต่ผมเชื่อว่ากูเกิลทำได้
น่าจะมี Poll ใน blognone เนอะ ผมก็อยากรู้ว่าบ้านเราคิดกันยังไง
+1
+1
ลองดู ครับ
blognone อย่า block ละกัน รู้ฝั่งกันอยู่ แฟร์ๆ pls
ถ้าเทียบกับการกัดจากไมโครซอฟท์ ผมว่านี่คือวิวาทะที่มีเหตุมีผลชวนให้น่าติดตาม และก็ต้องขอบคุณการเรียบเรียงข่าวนี้ ให้เข้าใจได้ง่าย
คิดไปเริ่มห็นด้วยกับกูเกิลแล้วสิ เพียงแต่ฝ่ายที่สนับสนุน H.264 นี่ก็ใหญ่เอาเรื่อง
แต่คงยากถ้าผ่านไปอีกปีนึงให้กูเกิลออกมาบอกว่าเราขอกลับไปสนับสนุน H.264
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
mkv(H.264) เขาไม่ได้เก็ยเงินผู้บริโภค สักนิดนา
mkv มันก็แค่ชนิดของไฟล์เฉยๆครับ แต่การเข้ารหัสยังคงใช้ของ H.264 ซึ่งแปลว่าเค้าทรงสิทธิ์ที่จะเรียกเก็บเงินจากการใช้สิทธิ์บัตรฝั่งเล่นกลับ, เข้ารหัส
เมื่อไรก็ได้
การที่โค้ดเผยแพร่ไม่ได้แปลว่าฟรีนะครับ
หนังชมพูที่โหลดมาส่วนใหญ่เป็น H.264 อ่ะ
เห็นการตั้งคำถามของ Gruber แล้วขำในใจ ..ไอ่แบบนี้เป็นกันทั่วโลกจริงๆ ฮา :P
อยู่ฝ่าย WebM ครับ ประเด็นมันไม่ได้มีอะไรมากเลย เลือกกันได้ไม่ยากอยู่แล้ว..ของฟรีย่อมดีกว่ากับทุกฝ่าย ไม่ว่าเบราเซอร์เล็กเบราเซอร์เจ้าใหญ่ก็ใช้กันได้ทั้งนั้น (ฟรีแล้วคุณสมบัติไม่ต่างกันด้วยเนี่ยสิ) และก็ยังไม่สายซะทีเดียวที่จะล้มกระดาน H.264 แล้วอันที่จริง ไม่ว่ากูเกิลจะตัดสินใจเลือกใช้อะไร ก็คงไม่ใช่ความที่ใครๆ จะออกมาดิ้นพราดๆ ซะขนาดนั้น
ถ้าไม่ใช่ว่า เพราะตนเองเสียผลประโยชน์? (หรือศาสดาเสียประโยชน์ ฮา)
+
ตีกันอย่าให้เดือดร้อนมาถึงผู้บริโภคนะ
อูวววว แนะนำให้อ่าน 10 ข้อของ OSNews ครับ เขียนได้ดราม่าดีมากๆ
ตลกบทความของ Ars มันเรื่องอะไรที่ Google จะต้องไปทำเบราเซอร์ให้ซัพพอร์ทวีดีโอที่ไม่ได้อยู่บนเว็บ
ผมชอบบทความของ ars นะครับ
ในนั้นเค้าเขียนว่า อุปกรณ์ที่บันทึกหรือเล่นวิดีโอเป็น H.264 ซะเยอะ การจะเอาขึ้นหรือลงจากเว็ปถ้าเป็น H.264 ก็จะสะดวก
ถ้ากูเกิลเอา H.264 ออกโดยให้เหตุผลว่าไม่เป็นมาตรฐานเปิด ทำไมถึงรวม Flash เข้ามาใน Chrome
ผมก็มองเหมือน ars technica ว่ากูเกิลใช้คำผิดไปหน่อย จริงๆ น่าจะเรียก WebM ว่า royalty-free
เพราะ H.264 มันไม่ฟรีกับผู้พัฒนา browser ที่ยังไงก็ต้องเสียเงินทุกรายเพื่อให้รองรับ "มาตรฐาน HTML5" ก็เลยไม่แฟร์กับทุกฝ่าย บริษัทใหญ่ๆ จะได้เปรียบ ยิ่งมีส่วนได้ส่วนเสียใน MPEG LA ด้วยยิ่งได้เปรียบเข้าไปใหญ่ ผู้พัฒนาเจ้าเล็กเจ้าน้อยจะเดือดร้อน ..WebM ที่ฟรีกับทุกฝ่ายน่าจะแฟร์กว่า
ส่วน Flash นั้นเป็นแค่ "plug in" ที่ chrome ติดเข้ามาเพื่อความสะดวกของผู้ใช้ และที่สำคัญ google ไม่ได้เสียค่าการใช้ปลั๊กอิน flash ให้ adobe ด้วย กลับกัน adobe จะชอบด้วยซ้ำไป win-win ทุกฝ่าย
ขอมองว่า ถ้า H.264 ฟรีกับผู้ใช้ไปแล้ว และทำให้ฟรีกับผู้พัฒนาเบราเซอร์ด้วย ก็จบ แต่คิดว่าคงยาก
ถ้า H.264 ฟรีมันจะจบไหม ถ้าทำให้ฟรีได้ก็น่าจะดี แต่มันคงไม่ได้
Firefox ว่ายังไง ผมก็ว่ายังงั้นแหละครับ
+1 ตามนั้นเลย
+1
OH! ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก
ขอบคุณที่แปล+สรุปมาให้อ่านครับ ติดตามๆๆ
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
พูดในฐานะคนที่ไม่ได้รู้เรื่องรู้ราว: อะไรก็ได้ ดูวีดีโอได้พอ
รู้สึกเหมือนอ่านเวบดร่ามาอยู่ 555
You're a Ghost, driving a meat coated skeleton made from stardust,
what do you have to be scared of ?
แถวนี้มีเหตุผลเยอะกว่าครับ ^^
จ่าว่ายังไงเค้าก็ว่ายังงั้นแหละครับ