เมื่อคืนที่ผ่านมาได้มีการเปิดตัว The Daily หนังสือพิมพ์ดิจิทัลตัวใหม่ ที่ว่ากันว่าเป็น Game Changer ของหนังสือพิมพ์ในโลกยุค 2.0 กันเลยทีเดียว ใช้เวลาพัฒนากว่า 6 เดือนเริ่มสร้างทุกอย่างจากศูนย์ ลงทุนลงแรงไปมาก The Daily หนังสือพิมพ์ที่เกิดมาเพื่อ Tablet โดยเฉพาะนั้นจะมีหน้าตา รูปแบบการใช้งาน รวมทั้งความน่าสนใจแค่ไหน เราลองมาดูกัน
ในงานเปิดตัวเมื่อคืนนี้ ถ้าดูจากจำนวนสื่อที่มาทำข่าวก็จะพบว่าสื่อในกระแสหลักให้ความสนใจกับ The Daily มาก นักข่าวทุกสำนักยิงคำถามแทบตอบไม่ทันเลยทีเดียว ถามว่างานนี้สำคัญแค่ไหน ?
- ก็สำคัญขนาดรูเพิร์ต เมอร์ด็อกมาเปิดตัวและตอบคำถามสื่อด้วยตัวเอง
- ทีมงานระดับผู้บริหารของแอปเปิลมาเปิดตัวด้วย
- ลงทุนไปแล้วกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ
- มีค่าใช้จ่าย ทีมงานที่ต้องจ่ายอีก 500,000 เหรียญสหรัฐต่อสัปดาห์
โจทย์สำคัญที่ The Daily ต้องผ่านให้ได้คือทำยังไงให้คนอยากเปิดอ่านบน iPad มากกว่าไปเปิดเว็บ อย่าลืมว่า The Daily ไม่ได้แจกฟรี และจะต้องสู้กับข่าวฟรีๆ ที่มีอยู่จำนวนมหาศาลบนเว็บ
สำหรับการอ่านข่าวโดยทั่วไป ก็ไม่ต่างจากนิตยสารออนไลน์ โดยใช้การเปิดเลื่อนด้านข้างซ้ายขวา และบางหน้าอาจจะมีให้เลื่อนลงได้ โดยจะมีไอคอนบอก
ภาพและเนื้อหาจัดว่ามีคุณภาพดี สมกับที่ใช้ทีมงานของ News Corporation
สามารถดูภาพใหญ่ ดูวิดีโอ ดูภาพ 360 องศาได้ อันนี้ธรรมดามาก
ส่วนที่ผมชอบคือการพยายามเชื่อมกับโลก Social Network อย่างเช่นพูดถึงดารานักร้อง ก็จะมีแถบ Twitter ที่นักร้องคนนี้ Tweet ไปล่าสุด
ในหัวข้อข่าวที่เป็นงานวิจารณ์ จะมีส่วนของข้อความที่ Tweet เกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมาให้อ่านได้
ส่วนที่น่าสนใจคือเราสามารถแชร์ วิจารณ์ และออกความเห็นต่อเนื้อข่าวได้ทุกหน้า เราสามารถเลือกที่จะพิมพ์ข้อความหรือใช้เสียงก็ได้
หน้า Poll มีให้ผู้อ่านโหวตตามหัวข้อ และจะแสดงผลการโหวตมาทันที
หน้าจอพยากรณ์อากาศ คำพยากรณ์ตามราศี ก็ดูสวยดี
มีเกมส์ให้เล่น อย่าง Sudoku, Crossword จับเวลาในการเล่นเกมส์ของเรา และแสดง Leader Board ทางขวา
ส่วนที่ชอบมากคือหน้า Dashboard ของข่าวกีฬา ที่เราสามารถเลือกทีมโปรด ไม่ว่าจะเป็น NBA, NFL, NHL, MLB โดยจะแสดงผลการแข่งขันสดๆ อันดับคะแนน ตารางการแข่งขัน ซึ่งก็ดูดีมีประโยชน์มาก
ลองนึกภาพว่าถ้าเพิ่มรายการฟุตบอลพรีเมียร์ลีก หรือรายการกีฬาอื่นๆ เข้ามาในอนาคต จะน่าใช้งานมาก
สิ่งที่น่าปวดหัวที่สุดของทุกโปรแกรมข่าวบน Tablet คือส่วนของ Navigator ซึ่ง The Daily เลือกใช้วิธีย่อหน้าออกมาเป็น Cover Flow
เราสามารถมองเนื้อหาคร่าวๆ ของหน้าอื่นได้ เลือกให้โปรแกรมอ่านเนื้อหาย่อๆ แต่ละหน้าได้ หรือแม้แต่เลือกวิดีโอที่มีพิธีกรออกมาแนะนำข่าวประจำวันอย่างย่อให้เราดู
ฟังดูดี แต่ Navigator ของ The Daily กลับทำงานช้ามาก มีบั๊กเยอะ และคนบ่นกันมากจนไม่น่าเชื่อว่าจะหลุดออกมาได้ในวันเปิดตัว จนกลายเป็นจุดอ่อนของโปรแกรมนี้ไปแล้ว
สำหรับเรื่องของราคานั้นอยู่ที่ $0.99 ต่อสัปดาห์ ถ้าถามว่าถูกไหม ก็ต้องบอกว่าถูก แต่ถ้าถามว่าคุ้มไหม อันนี้ก็คงต้องคิดหนักพอสมควร
สรุป (สำหรับโปรแกรม)
- เนื้อหาดี ภาพสวย วิดีโอคมชัด
- มีลูกเล่นเยอะ ที่น่าประทับใจคือส่วนของข่าวกีฬา, เกมส์, พยากรณ์อากาศและการแชร์ความเห็นในข่าว
- บั๊กเยอะมาก โปรแกรมค้างบ่อย
- อ่าน Offline ได้ แต่เนื้อหาบางส่วนจะมาไม่ครบ
- เนื้อหาเวลาเปิดแนวนอนกับแนวตั้งไม่เหมือนกัน บางครั้งก็น่ารำคาญที่ต้องพลิกไปมา
- ยังมีส่วนที่ต้องพัฒนา ลองผิดลองถูกอีกเยอะ เราคงยังไม่สามารถตัดสินอะไรได้จากฉบับเปิดตัว
- ราคาไม่แพง และเปิดให้อ่านฟรี 2 อาทิตย์แรก
วิกฤติสื่อสิ่งพิมพ์ในสหรัฐ
ประเด็นเรื่องรายได้ของ The Daily นี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ในยุคที่สื่อสิ่งพิมพ์กำลังอยู่ในช่วงตกต่ำสุดขีด เข้าขั้นวิกฤติอย่างนี้ ในเมืองไทยเราอาจจะมองภาพไม่ชัด แต่ในประเทศที่เจริญแล้วอย่างสหรัฐ สื่อสิ่งพิมพ์อย่างหนังสือพิมพ์ นิตยสาร เคยเป็นแหล่งสร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้กับบริษัท
- ทุกวันนี้จำนวนยอดขายนสพ. และนิตยสารตกต่ำลงอย่างมากทั่วโลก เพราะทุกอย่างหาได้จากโลกออนไลน์ สะดวก รวดเร็วขนาดอ่านได้บนโทรศัพท์มือถือ
- หลายคนคิดว่าก็แค่ย้ายนสพ.จากกระดาษมาอยู่บนเว็บ แล้วก็ขายค่าโฆษณาแทนก็จบ แต่ผลกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น
- โมเดลรายได้หลักของนสพ. มาจาก การวางขาย, ค่าสมาชิก, ค่าโฆษณา แต่โมเดล นสพ.ออนไลน์ จะทำให้รายได้หลัก 2 อย่างแรกหดหายไป
- ยกตัวอย่างง่ายๆ ค่าโฆษณาจุดที่แพงที่สุดในนสพ.เมืองไทย คือปกหลังของไทยรัฐ คิดค่าโฆษณา 7 แสน - 1 ล้านบาท ต่อวัน ซึ่งไม่มีทางเลยที่ไทยรัฐจะหาเงินจากค่าโฆษณาออนไลน์จำนวนขนาดนั้นได้ ต่อให้เป็น Sanook.com ก็ไม่ได้ค่าโฆษณามากขนาดนั้น
- เราได้เห็น Ars Technica ออกมาขอร้องให้ผู้อ่านเลิกใช้โปรแกรม Ad Block, Time ออกมาเขียนบทความ How to save your newspaper, New York Times คิดเงินกับบทความบางอย่าง
- สตีฟ จ๊อปส์พูดออกมาหลายครั้งในงาน D8 ว่าตอนนี้เป็นวิกฤติของสื่อสิ่งพิมพ์ และถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรซักอย่าง เราจะสูยเสีย Journalist ดีๆ ไปอีกมาก
หลังจากที่เปิดตัวบน iPad ไปแล้ว The Daily ก็ประกาศว่าจะทำลงใน Tablet ทุกตัวหลังจากนี้ ต้องคอยดูกันต่อไปว่าแนวทางการทำหนังสือพิมพ์ในรูปแบบของ The Daily นั้นจะรุ่งจนเป็นต้นแบบให้กับสื่อรายอื่น หรือร่วงจนเป็นกรณีศึกษากันต่อไป
ที่มา - Khajochi Blog
Comments
นี้มัน Daily Prophet เป็นจริงแล้ว แค่ไม่ได้อยู่บนกระดาษ
นกฮูกไม่ได้มาส่งด้วย
ผมกำลังคิดอยู่ว่าที่ส่วนcover flow ช้า น่าจะเป็นเพราะ ipad แรงไม่พอมากกว่ามั้ง ก็เล่นมี video Hd ภาพคมใหญ่ เต็มจอ และมีหลายหน้าขนาดนั้น แรมแค่256 กะcpu 1gz คงไม่พอแน่ เพราะเ่ท่าที่ลองดูในคลิป เปิดแบบหน้าต่อหน้าแล้วหมุนเป็นจอเป็นแนวนอนยังมีหน่วงเลย
บ้านเราก็วิกฤติครับ มานานละ ยอดขายมีแต่ดีมานด์หลอกๆ
ปากบอกยอดขายหนังสือ1-200000 เล่ม งิ จริงๆ ขายได้ไม่ถึง 2-3000 เล่ม
แต่ตัวเลขยอดพวกนี้ เค้าไม่เปิดเผยความจริงกัน แม้แต่ผู้ซื้อโฆษณาในนิตยสารก็ไม่มีทางได้รู้ยอดที่เป้นจริง
ใช่เลย
หนังสือมันก็ก๊อบปี้มาจากเน็ตแล้วผมจะไปซื้อมาอ่านทำไมข่าวก็ไม่ทันสถานการณ์ พอซื้อมาลองอ่านทีก็มีแต่หน้าโฆษณาเสีย 70% ราคาหนังสือก็แพง อ่านทางหน้าเวบแล้วคลิกโฆษณาบ้างยังดีกว่า
จริงหรอเนี่ย ไม่เคยรู้เลย
เคยทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับการลงโฆษณาในนิตยสารเหมือนกัน พอได้ยินอย่างงี้แล้วตกใจแฮะ ตัวเลขที่ sale บอกมันจริงไม่ไม่จริงเนี่ย
จริงครับ .... พวกขายโฆษณาออนไลน์พอไปเจอลูกค้าที่ชอบลงนิตยสารนี่ตายทุกทีครับ ... พวกนิตยสารโกหก Circulation เกือบจะ 100% (ทุกหัว ทุกเล่ม) เลยทีเดียวครับ พิมพ์ 1500 แต่ต้องบอก 20,000 (ไม่เคยมีนิตยสารเล่มไหนบอกต่ำกว่า 20,000 เสียทีครับ) ดังนั้นมันออกจะฟองสบู่มากๆครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
ไทยรัฐก็ใกล้ตายแล้ว สังเกตได้จากโฆษณาหลายส่วน โดยเฉพาะหน้าหลัง เป็นโฆษณาของเค้าเองไปซะเยอะแล้ว
ยุคสมัยกำลังเปลี่ยนไป
คงต้องประเมินมูลค่าสื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์กันใหม่ โมเดลธุรกิจใหม่ ๆ คงเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้
ผมเองชอบอ่านข่าวจากเว็บมากกว่า มันสะดวก เร็ว ส่วนบทความต่าง ๆ นั้นก็หาได้ง่ายกว่าการหาในหนังสือ อีกอย่างมันพกง่าย เพราะมันตามเราไปทุกที่ที่มีอินเตอร์เน็ต
mp3 ก็ำทำตลาดเพลงย่อยยับไปแล้ว
นี่ web กำลังจะฆ่า หนังสือพิมพ์อีก
อนาคตต่อไปคงเป็น ธุรกิจล้างอัดรูป / สิ่งพิมพ์ / ป้ายโฆษณา /การศึกษา ฯลฯ
ตกลงว่าเทคโนโลยีมัยดีจริงหรือป่าวนะ
ของเก่าๆ ที่ไม่อาจต่อกรกับของใหม่ๆ ได้ก็ต้องตายไปครับ
I need healing.
เคยมีคนบอกไว้ว่า จิตใจมนุษย์ยังไม่สูงพอที่จะใช้เทคโนโลยี
agreed.
โปรเฟสเซอร์ที่เคยเรียนด้วยเคยพูดไว้ว่า "though we are living in the age of advance technology, our minds are still way back in the middle age. we need to advance our minds to catch up with these things or we don't good enough to use them."
โปรเฟสเซอร์คนนี้เป็นครูสอนภาษาที่แอล.เอ.เป็นอเมริกัน แต่จบปริญญาที่รัสเซีย พูดรัสเซียปร๋อ และชีวิตแกน่าสนใจและน่าตื่นเต้นมากๆ
ixohoxi's
ทำให้อะไรๆกระจายตัวไปเยอะเลยครับ เพลงก็เริ่มหว่านลงไปที่คนตัวเล็กๆมากขึ้น คนก็มาเขียนอะไรบนอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ที่สงสัยสุดคงเป็นเรื่อง ความเร่งรีบ ทันด่วน พวกนี้ที่ทำให้คุณภาพบางอย่างลดลงหรือเปล่า?
คำว่าคุณภาพในแต่ละกลุ่มเป้าหมายไม่เท่ากันครับ การมาของเว็บทำให้ Scale ของกลุ่มเป้าหมายที่เคยกว้างมันแคบลง กลุ่มคนเริ่มจับกลุ่มที่มีหัวข้อเจาะจงมากขึ้น ดังนั้นสื่อที่กินวงกว้างจึงต้องปรับตัวครับ
แน่นอนว่าสื่อที่มีหัวข้อกว้างขวางจับกลุ่มเป้าหมายได้มาก แต่เสียเปรียบเรื่องความสด กลุ่มที่มีข่าวเฉพาะทางของเขา ข่าวจะออกมาได้เร็วมากเพราะมีโฟกัสที่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น blognone เราจะไม่ค่อยได้เห็นข่าวกีฬา (แน่นอน) แต่ข่าวไอทีจะเร็ว ซึ่งเราก็เลือกเว็บซึ่งมีหัวข้อที่เราสนใจได้เองครับ
จะเรียกว่า Web เป็น community-based on demand media ก็ได้ ซึ่งระบบกลุ่มสังคมมีข้อดีตรงต้นทุนที่ต่ำลงไปด้วย :)
ส่วนคุณภาพของสังคมก็จะมี QA ของแต่ละกลุ่ม และเป้าหมายที่ต่างกันทำให้คุณภาพในมุมมองของผู้ที่ติดตามชมแตกต่างกันไป ระบบเว็บเอื้อให้เรามีทางเลือก เลือกจะอ่านที่ไหน หรือจะเลือกสร้างเองก็ได้เช่นกัน ซึ่งแนวคิด "อยากได้อะไรก็สร้างขึ้นด้วยตนเอง" ของที่นี่ผมก็เห็นด้วยส่วนหนึ่ง (ไม่นับความไม่พร้อมหรือขาดปัจจัยบางอย่างที่ผลักให้มันออกมาจับต้องได้)
ส่วนความเร่งรีบ ความเห็นส่วนตัวคือคน active กันมากขึ้นมากกว่านะ
อยากให้หนังสือพิมพ์บ้านเราทำแบบนี้มั่ง ;)
บ้านเราน่าจะยังไม่ทำเพราะประเทศเราพวกที่อ่านแบบดิจิตอลก็มีแต่พวกใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนตเท่านั้น ชาวบ้านเขาก็ยังอ่านหนังสือพิมพ์ดูละครหลังข่าวเหมือนเดิม ผมให้เวลาเลย ประมาณอีก 20 - 30 ปีครับ สื่อหนังสือพิมพ์ในบ้านเราถึงจะเจ๊งถ้าไม่ปรับตัว
20-30 ปี เลยเหรอครับ ^ ^ นานไปหรือเปล่าครับ ฮ่ะๆ แต่ก็อาจจะใช่เหรือไม่ใช่ก็ได้ ^ ^
ผมประมาณว่ามันเป็นช่วงผลัดใบจากคนรุ่นเก่ามายังคนรุ่นใหม่น่ะครับ
มันก็มีบ้างแล้วนะครับ แต่แม่ม....ตอนท้ายมันบอก ให้ติดตามอ่านต่อในหนังสือ.....ฉบับเดือน......
ผมว่าข่าวยังไงอ่านจากเน็ตก็เร็วกว่ารอซื้อจากนิตยสารนะครับ ส่วนพวกนิตยสารหรือสิ่งพิมพ์ คงต้องหันมาขายพวกบทวิเคราะห์หรือบทความแทน แบบนี้ก็ดีนะครับถ้ามันสำเร็จตามสิ่งพิมพ์ต่างๆ ก็จะมีแต่บทความที่เข้าท่า เข้าทางพอที่คนจะเสียเงินซื้ออ่าน ส่วนพวกคอลัมนิสห่วยๆ จะได้ไปทำอาชีพอื่นแทน
ซื้อนสพ. อ่านเองครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่หว่า? จำไม่ได้แฮะ อ่านแต่บนเว็บอย่างเดียว
ว่าด้วยเรื่องหนังสือพิมพ์ตาย
ผมว่ามันก็ควรตายแหละ
ในเมื่อเวลาซื้อมาอ่าน
ผมอ่านไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำ ที่เหลือขยะ..
แบบนี้คนเขียนคอลลั่มคนไหนเขียนดีแล้วมาเขียนบล็อกเอง
หรือเขียนบทความขาย
เวลาซื้อเงินผมจะได้ตกไปถึงมือเค้าจริงๆ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
อ่าน the daily บางเนื้อหา ฟรีที่ thedailyindexed.tumblr.com
อยากให้ทำลง Android มากๆ
ถ้า E-ink แบบมีสี มาเมื่อไร หนังสือทั้งหลายตายแน่นอน
ของบ้านเราผมว่ามันน่าจะต้องมีเรื่องของ ตัวเลขสัดส่วนของทั้งหมดของประชากรที่มีและใช้งาน Internet ในประเทศเรา มาคิดด้วย เพราะมันจะมีสักกี่ % ครับ สำหรับคนที่อ่านสื่อต่าง ๆ ทาง Internet หรือ Computer เองนั้น มีแต่คนที่มีหรือสามารถใช้ อุปกรณ์พวกนี้เท่านั้น จึงจะสามารถรับสื่อต่าง ๆ เหล่านี้ได้
ยังคงอีกนานมาก ๆ สำหรับบ้านเราที่จะมีสิ่งเหล่านี้มาทดแทน และต่อให้มีสัดส่วนตัวเลขของคนที่มี Internet มากขึ้น ในตัวเลขดังกล่าว จะมีสักกี่คนที่ยอมทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน Internet เพื่อจะซื้อหรือจ่ายเงิน ขนาดพวกเราบางครั้งยังไม่ไว้ใจเรื่องของ Internet Security เลย
ถ้าสำหรับผมมันก็ไม่ได้แพงมากถ้าต้องการสัมผัสของใหม่ ๆ แต่ถามหาความคุ้มค่าสำหรับตัวผมแล้ว ยังตอบได้เลยว่าไม่คุ้ม อาจจะเห่ออ่านแค่ 4-5 ฉบับแล้วก็จากมันไป :p
ดิฉันว่าไทยรัฐก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ไม่งั้นคงไม่เปิดบริษัท trendvg3 ขึ้นมาดูแลเรื่องออนไลน์ทั้งหมด รวมถึงการที่มี apps เก๋ๆ ซึ่งดิฉันลบออกไปแล้ว เพราะมันเสียเงินเพื่ออ่าน ดูสิคะ นิสัยเสีย อิอิ
สำหรับหน้าเว็บไทยรัฐเองก็เป็นที่ทราบกันดีว่ามีการตั้งราคาไว้สูงกว่าเว็บข่าวอื่นๆ และไม่มีการลดราคาพร่ำเพรื่อ แค่ banner จิ๋วๆ ก็เดือนละ 100,000 up^^ เค้าวางมาตรฐานราคาไว้สูงมากค่ะ