คำถามที่ผมเจอบ่อยมากหลังจากมาทำ Blognone ก็คือ "มีเด็กแนะนำไหม ต้องการคนทำงาน" ซึ่งภายหลังมันได้พัฒนามาเป็น Blognone Jobs ซึ่งดูจากปริมาณการโพสต์งานแล้วคิดว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง และผมเชื่อว่ามีคนได้งานทำจากพื้นที่ตรงนี้ไม่มากก็น้อย
แต่ถ้าให้จำลองตัวเป็นคนที่กำลังหางานอยู่ การอ่าน Blognone Jobs จะเจอปัญหา (ในอีกระดับหนึ่ง) ก็คือ "บริษัทนี้คือใคร (วะ)" ซึ่งเป็นปัญหาสากลของบริษัทขนาดไม่ใหญ่มาก ไม่ได้มีชื่อเสียงระดับประเทศหรือระดับโลก ต้องพบเจออยู่เสมอ หลายครั้งก็อาจทำให้เสียโอกาสในการขยายกิจการไปบ้าง
ทางแก้ของปัญหานี้ก็ตรงไปตรงมา คือการโปรโมทบริษัทให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และ Blognone ในฐานะสื่อแห่งหนึ่งก็อยากเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ ต้นแบบลักษณะเดียวกันจากต่างประเทศคือ CrunchBase เว็บไซต์ในเครือ TechCrunch ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลของบริษัท ผลิตภัณฑ์ บริการ บุคคลสำคัญ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทหรือบริการใหม่ๆ ทั้งหลาย (ตัวอย่างข้อมูลของบริษัท Twitter บน TechCrunch)
แนวทางของ Blognone Company Profile (ชื่อชั่วคราว ถ้ามีไอเดียดีกว่า เสนอมาด่วนครับ) อาจจะไม่เหมือนกันทั้งหมด เพราะกรณีของเรามีเจตนาเพื่อการเรียนรู้บริษัทหรือองค์กรก่อนสมัครงานเป็นหลัก แต่ปัญหาในระดับถัดไปคือผมไม่รู้ว่า "คนที่อยากสมัครงานอยากรู้ข้อมูลอะไรของบริษัทกันบ้าง?" จึงต้องมาถามกันในโพสต์นี้ครับ
คำถาม: "ถ้าจะสมัครงานในบริษัททางด้านไอที อยากรู้อะไรเกี่ยวกับตัวองค์กร (ไม่ใช่ตำแหน่งงาน) กันบ้าง?" ตอบกันมาได้ตามสะดวกไม่มีข้อจำกัดอะไร
ตัวอย่างคำตอบ
ข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้พิจารณาออกแบบ Blognone Company Profile ซึ่งจะมานำเสนอต่อไปเป็นระยะครับ
Comments
สลับคำถามก่อนหลัง จะช่วยให้ได้งานครับ ฮา
จริงด้วยครับ ผมกลับมาอ่านอีกที ยังคิดเลย ว่าทำไมคิดถึงแต่เรื่องตัวเองแบบนี้
แต่ที่ถามจริงๆก็เพราะว่าอยากรู้แหละครับ เรื่องพวกนี้มันต้องเคลียร์ งั้นเราจะมานั่งเสียใจทีหลัง
เรื่องอื่นๆผมคิดว่าเราปรับตัวได้นะ พวกเรื่องวิสัยทัศน์ เรื่องการทำงานเนี๊ย ถ้าระบบมันไม่ดีจริง เรายังแนะนำให้เค้าเปลี่ยนได้ ถ้าเรามีข้อมูลที่เพียงพอ
แต่ถ้าเราเจอวัฒนธรรมองค์กรณ์ประเภทเจ้านายมองโลกแคบ เพื่อนร่วมงานทำตัวมาเฟีย ไม่มีใครเข้าใจว่างานที่เราทำอยู่มันยากและเจ๋งยังไง แบบนี้โอกาส Keep walking คงยากแน่นอน
ป.ล. ผมพยายามถามคำถามที่ไม่มีใครกล้าถามอะ ถ้าสัมภาษณ์จริงๆเรื่องพวกนี้ผมไม่กล้าถามหรอกนะ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นเรื่องที่เราอยากรู้ครับ
นี่คือสิ่งที่เราต้องการครับ
ที่ไม่ใช่ความเพ้อฝัน หรือเป็นเพียงลมปากของผู้บริหาร
-โบนัสกี่เดือน
-สวัสดิการ
-ประวัติบริษัท
-ขนาดขององค์กร
-เวลาทำงาน
-incentive and over time rate
กว่า 80% ของเด็กจบใหม่ จะเป็นคำถามแนวเกี่ยวกับตนเองซะส่วนใหญ่ เช่น
- โบนัส
- เบิกอะไรได้บ้าง
- เวลาทำงาน
- ยูนิฟอร์ม
- ลา/พัก
- ในที่ทำงานห้ามอะไรบ้าง
- ท่องเที่ยวประจำปี
แล้วเด็กที่จบมานาน ส่วนมากเค้าถามอะไรละครับ ไม่เหมือนกันเหรอ
คนที่พอมีประสบการณ์แล้ว จะเริ่มมองถึงพวก
- ขนาดองค์กร
- ประเภทธุรกิจองค์กร
- วิสัยทัศน์
- ลูกค้าขององค์กรคือใคร
หรือก็คือเริ่มมอง Detail ของตัวองค์กรเองมากขึ้นจากเดิมที่จะมอง Detail ของผลประโยชน์ตัวเองเป็นหลักเหมือนแต่ก่อน
ไม่จริงมั้งครับ ผมจบใหม่ยังถามคำถามเหล่านี้เลย
ผมถึงบอกไว้ไงครับว่ากว่า 80%
เพราะ เด็กจบใหม่แรกๆ ถ้าไม่มั่นใจมากๆ จะไม่ทันคิดเรื่องแนวนี้ จะมัวแต่คิดว่า
- จะหางานได้มั้ย
- จะทำที่ไหนดี
- เงินเดือนเท่าไหร่ดี
- จะโดนถามอะไรมั่งนะ
- จะตอบได้มั้ยนะ
กังวลแต่แรกๆครับ เหอๆ
ที่มองที่ตัวองค์กรมากขึ้นก็เพราะห่วงผลประโยชน์ของตัวเองเหมือนเดิมล่ะครับ เพียงแต่มองในมุมที่กว้างขึ้น
+100
คนที่ทำความดี เพราะคิดไตร่ตรอง มองการณ์ไกล แล้วรู้ว่าการทำความดีจะมีผลประโยชน์ระยะยาว มีความมั่นคง ลดความเสี่ยง
คือคนที่ปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนาครับ
+1
1 เงินเดือน สำคัญที่สุด ถ้าไม่ได้ตามต้องการ อย่าเรียกไปสัมภาษจะดีกว่า
2 โบนัส กำลังใจในการทำงานให้ครบปี
3 วันหยุด อันนี้สำคัญมาก
4 client ถ้า client เป็นองค์กรใหญ่ จะดีมาก เพราะแปลว่า user จะน่ารัก
5 สวัสดิการ ชอบพวกช่วยออกดอกเบี้ยผ่อนรถ ผ่อนบ้าน เจ็บป่วยประกันพิเศษไม่ต้อง หายาสามัญกินเองได้ ตั้งแต่ทำงานมาไม่เคยลาป่วย แต่ลาเหมือนป่วย อันนี้บ่อย
จะใช้งานหนัก ยาก ดึก เสาร์อาทิด ไม่เคยทำ ข้ามสาย ได้หมด ผมเรียนรู้เร็ว
ไม่เกี่ยงว่าขึ้นปีละกี่ % ถ้าผลงานดีแล้วไม่ขึ้นก็ตามใจ แต่ถ้าได้ที่ใหม่ดีกว่าเค้าไปนะ
เงินเดือนกับโบนัสเป็นเรื่องของตำแหน่งงานแต่ละตำแหน่งหรือเปล่าครับ? กรณีนี้ถามถึงบริษัทครับ
คติผมคือ ไม่เกี่ยงตำแหน่ง เกี่ยงแค่เงินอ่ะคับ ปริมาณเงินเดือน บอกถึงสถานภาพ บ. ด้วยนะ ว่ามั่นคงขนาดไหน
ผมว่า เรื่องวิสัยทัศน์มันไม่เกี่ยว ผมดูทีมงานมากกว่า ชอบแนวพูดจากันตรงๆ ด่ากันตรงๆ ไม่ใช่มีอะไรก็นินทา
ตอนนั้นปีแรกที่ทำงานเจอทีมแบบนี้ทีนึงคือ ด่ากันตรงๆ พูดตรงๆ แซวกันได้ไม่โกรธ แฮปปี้มาก องค์กรเป็นองค์กรไม่ใหญ่ พนงรวมเกือบ 20คน มีอะไรเดินไปคุยกันที่โต๊ะเลย เงินถึง client เป็น บ.ใหญ่ ใช้งานรอบด้าน + หนัก ชอบมาก ได้พัฒนาตัวเองสุดๆ
เหอๆ
โพสต์นี้ไม่ได้ถามถึงคติประจำตัวในการสมัครงานน่ะครับ ถามว่าอยากรู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทบ้าง
CEO CP เคยบอกว่า เวลาดูคนไหนเก่งไม่เก่งเค้าจะดูจากคำถามที่ถาม
คนเก่งเค้าจะถามว่า งานที่จะให้ทำเป็นยังไง องค์กรจะไปทางไหน มีทีมงานพร้อม support การทำงานเค้าไหม
คุยเรื่องพวกนี้จบ ค่อยมาคุยเรื่องเงินแค่พอให้รู้
แต่พวกไม่เก่ง เริ่มมาก็จะถามเรื่องเงินเรื่องสวัสดิการก่อนเลย
ไม่ได้บอกว่าคนเก่งไม่อยากได้เงินนะ แต่คนเก่งเค้ารู้ว่า ถ้าผลงานดี เดี่ยวเงินมันก็มาเอง ไม่มีองค์กรไหนไม่อยากให้คงเก่งอยู่กับตัวเองนานๆหรอกครับ
เลี้ยงตามความสำคัญนะครับ
ทีเหลือเป็นเรื่องปลีกย่อย หลักๆ ผมจะเน้นข้อ 1 และ 2 เพราะผมมองว่าการทำงานเงินเดือน คือการหาประสบการณ์การทำงาน และประสบการณ์ชีวิต มากกว่าจะมุ่งไปที่ผลกำไร( ตัวเงิน )
+1
ผมถามข้อ 1 กับ 4 หลังจากที่ทำงานมาปีครึ่ง!!!
อันที่จริงมันเป็นสิ่งที่เราควรได้รับรู้มากๆอย่างนึงเลย
เลี้ยงอะไรเหรอครับ
555
1.เวลางานยืดหยุ่นไหม แบบว่าเข้ากี่โมงก็ได้แต่ให้อยู่ครบชั่วโมงทำงาน
2.วัฒนธรรมองค์กร : เราสามารถท้วงติงผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่าได้ไหม.
3.ถ้าจะรุ่งต้องเลียไหม (ส่วนตัวผมเกลียดการเลียเข้ากระดูกดำ อยากจะตื๊บซะด้วยซ้ำ)
มีชมรมดนตรีมั้ย (ฮา)
บริษัทผมมีนะคับ ซ้อมกันไว้เล่นตอนเลี้ยงประจำปี
ผมนึกถึงตีฉิ่งนะเนี่ย
เหมือนกันเลย
ผมไม่ได้หมายความว่าแบบนี้นะ - -'
เพราะรู้อยู่แล้วว่ามันมีทุกที่ (ยกเว้นบ.ชายล้วน 555)
ข้างบนตอบเกือบหมดแล้วครับ สำหรับผม
นี่กะสมัครไปเป็นลูกจ้างหรือไปเป็นผู้บริหารครับ = ="
ปล.แต่ส่วนใหญ่จริงๆก็ต้องมองไว้อยู่บ้างนะหล่ะ เพราะอย่างน้อยเราก็ควรเลือกที่ทำงานที่ไปทำแล้วดูจะมีอนาคต (กับตัวเรา)
(แต่ถ้าหากมันเข้ายากจริงๆก็ลดสเกลลงมาหน่อยก็ได้ อย่างน้อยก็ให้เหลือสโคปงานที่เราอยากทำ เก่งแล้วก็ค่อยขยับขยายขึ้นไปทีหลัง..)
อยู่ที่ไหน เงินเดือน คำหลังนี้ บางคนอาจจะคิดว่าเห็นแก่เงิน แนะนำว่าอย่าใช้ความคิดของตัวเองปิดการรับรู้จากผู้สมัครงาน สองคำนี้มีความนัยแฝงคือ เงินเดือนกับสถานที่ เมื่อไปทำงานแล้วจะคุ้มกันไหม ซึ่งสถานที่มีส่วนสำคัญในการพิจารณาด้วย ค่าหอพัก ค่าเดินทาง ค่าครองชีพ
นอกนั้นจะเป็นลักษณะงาน วันหยุด สวัสดิการ
สำหรับผมคงเหมือนๆกันคนอื่นๆข้างบน
แต่จะมีเพิ่มในเรื่องคนที่เราจะทำงานด้วย
ซึ่งจะหลอกถามเรื่องการทำงาน บรรยากาศในการทำงานขององค์กร(โดยเฉพาะในแผนกที่จะทำ)
หรือ กินเหล้ากันบ่อยป่าว หรือหลีหญิงกันแถวไหน กินข้าวแถวไหน ฯลฯ
เพื่อประเมินตัวเราว่าจะเข้ากับเขาได้ป่าว เพราะมันจะดีมากหากเราทำงานกันคนที่นิสัยคล้ายๆกับเรา
ผมอยากรู้เรื่องการเทรนนิ่งของบริษัทครับ
โดยเฉพาะด้านเทคนิคการทำงาน(เทคโนโลยีใหม่ๆ เทคนิคการเขียนโปรแกรม)
แล้วก็เรื่องภาษาต่างประเทศ
อีกเรื่องก็การสนับสนุนให้เรียนต่อ
ชอบประเด็นนี้ การ Training อย่างทั่วถึงคือ สวัสดิการ ที่สำคัญมาก
การเรียนต่อ แค่ให้หยุดเสาร์อาทิตย์ก็เพียงพอแล้ว
หึหึ
หึหึ ทำให้ได้ด้วยล่ะ แจ้งเพื่อทราบ
career path และเงินเดือน เป็นเรื่องของแต่ละตำแหน่งงานมากกว่าครับ กรณีนี้คงไม่นำมาใช้ครับ เน้นเรื่องข้อมูลของบริษัทมากกว่า
ตอนนี้มีบริษัทไหนบ้างรับตำแหน่งประธานบริษัท
Mung Ltd, Co.
เงินเดือน เป็นหลัก
วิสัยทัศน์ไม่ดี สวัสดิการแย่ บริษัทไม่โต เงินเดือนสูงก็เอาอ่ะ
ระวังโดนหลอกนะครับ
เข้าไป 3 ปีเงินเดือนไม่ขึ้นเลย มีคนเคยเจอมาแล้วนะครับ
ก็เข้าไปเกี่ยวเงินเดือน Start กับประสบการณ์แล้วค่อยหาทางออกทีหลังไงครับ
รูปครับ รูปสถานที่ทำงานและบรรยากาศในการทำงาน ผมว่างานไอทีบรรยากาศทำงานก็สำคัญไม่แพ้งานโฆษณา
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
+1
ทำให้ได้แบบนี้เลยจะเลิฟมาก
http://www.officesnapshots.com/
บรรยากาศการทำงาน
บริษัททำเกี่ยวกับอะไร
ใช้ tool ตัวไหนในการทำงานบ้าง ภาษาอะไร เฟรมเวิคอะไร
ผลงานบริษัทที่เคยทำมาก่อนหน้านี้
จะได้ไม่เจอปัญหาคือ อยากทำงานอย่างนึง แล้วพอเข้าไปบริษัทก็เจองานอีกอย่างนึง
ในฐานะ HR ขอแสดงความคิดเห็นเรื่อง;
ฯลฯ
ว่า... มันเป็นเรื่องที่ sensitive และคงไม่มีใครอยากจะแชร์หรือประกาศปาวๆ ออกมาหรอกครับ
โดยส่วนมากเรื่องพวกนี้ เราจะอาศัยช่องทางของ Third Party Consultant อย่างสมาคม PMAT, TMA หรือ บ.วิจัยอย่าง Kelly มากกว่า เพราะว่าสิ่งเหล่านี้จะถูกนำไปสรุปเป็นภาพรวมของตลาดแรงงาน ว่า segment ไหน มีอะไรอย่่างไรเท่าไหร่ เป็น % กว้างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อนายจ้างในการปรับปรุงสวัสดิการต่อไป
ที่ยังพอเปิดเผยได้คงมีแค่ Starting Salary อย่างเดียวกระมัง? แต่บางบริษัทก็ไม่ได้ทำ Structure แน่นกันขนาดนั้นเสมอไปครับ
อีกอย่าง Ask Blognone อันนี้ก็มีวัตถุประสงค์ชัดเจนในการถามเกี่ยวกับบ. IT ผมจึงเห็นว่าถ้าเป็นผม ผมอยากได้ข้อมูลดังนี้ครับ
ประมาณนี้ครับ ที่เหลือผมดูจาก CrunchBase แล้ว ของเค้าแน่นจริงๆ
ผมอยากทราบมุมมองของ HR หน่อยครับ ว่าผมควรเขียนเงินเดือนปัจจุบันและ expect salary ใน cv หรือเปล่าครับ?
การเขียน Current Salary ใน CV เป็นเรื่องปรกติครับ
ส่วน Expected Salary นั้นเสมือนดาบสองคมครับ
คือ HR อาจใช้เป็น Filter แรกๆ ในการกรองออกไป เพราะว่าไม่มี ability to pay
แต่ถ้ามองอีกแง่ถือเป็น win-win เพราะถ้าเค้าเรียกเราไปแล้ว ไม่มีปัญญาจ่าย ก็จะได้ไม่ค้องเสียเวลาไปลางานไปสัมภาษณ์ คือ รู้ทั้งรู้ว่าจ้างไม่ไหวแต่ยังดึงดันจะเอา อันนี้ก็แล้วแต่เราแล้วล่ะครับ
ส่วนตัวผมคิดว่าเขียนไปก็ดีนะครับ แต่อย่าเอาไปโชว์หราใน application อย่าง jobsdb ให้เอาใส่ cv ที่เป็น soft file ของตัวเอง แล้วส่งตรงไปที่ email ของ HR บ.นั้นๆ เลยดีกว่าครับ :)
ในฐานะบริษัทที่ไม่ใหญ่มาก Feature นี้ของ blognone น่าสนใจมาก ๆ ครับ
blog.semicolon.in.th
รูปถ่าย สถานที่ทำงาน บรรยากาศต่างๆ ผมว่าก็สำคัญนะ
สวัสดิการ ที่ตั้ง การเปลี่ยนสายงาน(ทำได้มั้ย?)
May the Force Close be with you. || @nuttyi
รายละเอียดตำแหน่งงานหรือภาระงานต่างๆที่ได้รับ เช่นจ้างไอทีไป แต่ให้ไปทำบัญชีก็ไม่ไหวนะครับ
อยากทราบภาระงานในตำแหน่งนั้น ส่วนข้ออื่นๆก็มีแล้วในคำตอบ
อันนั้นควรถามตอนสัมภาษณ์นะครับ
ส่วนมากเด็กจบใหม่จะมีปัญหาว่า ชอบถามเรื่องเงิน สวัสดิการอย่างเดียว ดีมาหน่อยจะถามว่าใช้ tool อะไร เป็นหลัก
คือมองแค่ start up น่ะครับ ไม่ได้มองว่า 2-3 ปี จะเป็นยังไง
แต่ก่อนเพื่อนผม ย้ายงานได้เงินเพิ่ม 500 บาทก็ไป ไปได้ ปีเดียวก็ออก เพราะงาน routine เงินเดือนขึ้นนิดเดียว แถมโอกาสโตไม่มีอีก จบข่าว
ผลประกอบการเป็นยังไง ?
มีจดทะเบียนในตลาดหุ้นหรือไม่ ?
มีแนวโน้มไปในทิศทางใด ?
ให้ความสำคัญกับระบบทางด้านไอทีแค่ไหน ?
ปัจจุบันมี %พนักงานไอที กับ พนักงานทั้งหมด เท่ากับ?
ถ้านอกเหนือจากเรื่องเงินเดือนผมจะสนใจเรื่อง
ที่เหลือก็ทั่วๆ ไปครับ สวัสดิการ โบนัส แต่ไม่สำคัญเท่าข้างบน เพราะถ้าเงินเดือนให้อยู่ในระดับที่พอใจอยู่แล้ว สวัสดิการกับโบนัสก็ไม่ค่อยสนใจมากแล้วครับ
เรื่องพวกนี้ผมว่ายากที่แต่ละบริษัทจะเปิดเผยออกมาตรงๆครับ ยังไงก็ต้องรักษาภาพลักษณ์ไว้ก่อนอยู่แล้ว
สำหรับผมนะ หลังจากทำงานมา 3 ปีถ้าจะหางานใหม่สิ่งที่ผมจะมองคือ
เรียงตามลำดับความสำคัญ
1.ความมั่นคง+เป้าหมายขององค์กร - แสวงหาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการขยายตลาด สามารถเป็นหลักประกันได้ว่าถ้าเราไม่ทำอะไรผิดเราจะอยู่กับองค์กรได้นานไม่เจ๊งไปซะก่อนและิเติบโตไปพร้อม ๆ กัน
2.บรรยากาศการทำงาน - ไม่การเมือง เป็นทีมเดียวกันไม่เลียก็โตได้ถ้ามีฝีมือ มีการจัดการโปรเจ็คที่ดี ไม่ใช่จ่ายแต่
OT ทำงานดึก ๆ แบบไม่จำเป็น
3.โอกาสในการพัฒนาตัวเอง - มีโอกาสให้พนักงานได้พัฒนาฝีมือหรือทักษะในด้านต่าง ๆ ไม่ใช่งมอยู่กับที่มาแค่ไหน
ทำงานไปได้แค่นั่น
4.เงินเดือน+โบนัส+สวัสดิการ - จะบอกว่าไม่สนใจเลยก็ไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องสูงลิบ แต่ขอให้มั่นคงแน่นอน สมเหตุสมผลก็ ok แล้วครับ
และข้อสุดท้ายคือ
ถ้าพนักงานบอกว่า ที่นี่ไม่ดี แล้วจะทำงานที่นี่ทำไม?
Coder | Designer | Thinker | Blogger
+1 ชอบข้อสุดท้าย แต่จะคัดกรองยังไงว่าเป็นคนที่เคยทำงาน หรือทำงานอยู่ที่นี่จริงๆ
อันแรก ผมก็คงถามเงินเดือนที่จะได้ สวัสดิการต่างๆ
อันสองก็คงไม่พ้นเกี่ยวกับ ลักษณะงานที่ต้องรับผิดชอบ กฎของที่ทำงาน ห้าม/ระวังอะไรบ้าง
ส่วนเรื่องเงินเดือน ก็ตามเหมาะสมที่เราควรจะได้รับจริงๆ และมันพอเพียงต่อชีวิตประจำวันของเรา
บางคนผมเห็นเรียกเป็นสองสามหมื่น ทำงานไม่ได้เรื่องก็ยังมีนะ ^^
ทั้งนี้อยู่ที่หัวหน้า/ผู้บริหารจะตัดสินใจตามดุลยพินิจ
อยากรู้เกี่ยวกับบริษัทคือ
ลักษณะงานของบริษัท ทำอะไร ไม่ทำอะไร เกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือไม่(เอาแบบชัดๆ)
ลักษณะลูกค้า เลือกลูกค้าแบบไหน ปฏิบัติต่อลูกค้าแต่ละประเทศเท่าเทียมกันมั้ย ชาตินิยม(จัด)หรือไม่
Turnover Rate ของแผนกที่ผมจะเข้าทำงาน คนเข้า/ออกบ่อยมั้ย ถ้าใช่แสดงว่ามันต้องมีปัญหาอะไรสักอย่าง
นโยบายที่มีต่อแผนกที่ผมจะทำงาน บริษัทให้ความสำคัญกับระบบสารสนเทศขนาดไหน พร้อมจะจัดซื้อสินค้าถูกลิขสิทธิ์พร้อมสนับสนุนงบประมาณมั้ย
มีที่จอดรถมั้ย ไม่มีที่จอดรถให้ ให้ออกเงินเอง หรือให้ต่อสู้ตบตีแย่งชิงเอาเอง พอดีว่าบ้านอยู่ในหลืบครับ การคมนาคมเข้าไม่ถึง
มีที่ออกกำลังกายมั้ย ถ้ามีจะเก๋กู๊ดมากๆ ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่ถ้ามีก็ดี
ใกล้แหล่งหาอาหารการกินมั้ย บางทีต้องเดินเป็นกิโลฯเพื่อหาของกินก็ไม่ไหว เดินเป็นกิโลไม่พอ แถมอาหารยังห่วย แถมแพงอีก (แพงนี่สำคัญ)
มีนโยบายสนับสนุนคนที่มีความสามารถทางภาษา(ที่ 2, 3 ... N) หรือไม่ เช่นคะแนน TOEIC เกิน 700 จะได้เงินเพิ่ม 3,000 บาท
ส่วนเรื่องสาวๆ ผมไม่สนใจหรอกครับ ผมรักครอบครัวครับ(เหรอ?)
ฟังจากคำพูดของพนักงานที่เคยทำที่บริษัทนั้นๆ ก็คงพอครับ
เรื่องสำคัญอีกเรื่องที่บางคนมองผ่านกันไปเวลาหางาน คือ
Core ของบริษัทคืออะไร?? จริงๆแล้วบริษัททำธุรกิจอะไร??
ยกตัวอย่าง.. ถ้าถามเด็กจบ วิศวะโทรคมนาคมว่าอยากทำงานบริษัทไหน ต้องมีชื่อ AIS,Dtac,True โผล่มาแน่ๆ เพราะคิดว่าบริษัทเหล่านี้ คือบริษัท Telecom ซึ่งน่าจะเป็นเส้นทางที่ดีกับคนที่จบ Telecom มา แล้วจะเจริญเติบโตได้ไว
แต่จริงๆแล้วไม่ใช่.... บริษัทเหล่านี่ทำธุรกิจ ค้าขาย หน้าที่ ที่สำคัญกับบริษัทคือ marketing, sale, customer related ทั้งหลาย, business developed ทั้งหลาย.... ไม่ใช่ engineer
ถ้าคุณจบ Telecom บริษัทที่ควรจะทำ คือ พวก sub contract ทั้งหลายของพวก ais,dtac,true อีกที ซึ่งคุณจะได้เป็นพระเอกของบริษัท
ในฐานะที่หางานอยู่ ขออยากทราบรายละเอียดของบริษัท คร่าว ๆ ดังนี้ครับ
1.ที่อยู่บริษัท และ วิธีเดินทาง จะได้คำนวณเส้นทางและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ในการไปทำงาน ออ สัมภาษณ์ด้วย
2.นโยบายการพัฒนาบุคลากรในบริษัท อบรม เทรนนิ่ง ทุนหรือโอกาส เรียนต่อ โท เอก หยุด เสาร์ อาทิตย์ ลางานไปเรียนหรือสอบ เป็นบางครั้ง
3.การเมืองภายใน ระบบอาวุโสหรือระบบ ???
4.อะไรก็ได้ที่สามารถบอกได้ว่า เราสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวจากบริษัทนี้ได้ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เลี้ยงลูกเลี้ยงเมีย ได้
ถ้าเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ อยากจะรู้ว่าผ่าน Joel's Test ข้อไหนบ้าง
ที่ผมทำงานด้วยตกตั้งแต่ข้อสองครับ - -' ไม่ว่าจะเป็น product ไหนก็ตาม
มีใครมีข้อมูลไหมครับ ว่าที่ไหนทำได้จริงๆ ส่วนตัวผมเอง(มือใหม่) ไม่คิดว่าจะมีอยู่จริงในประเทศเรานะครับ
คงไม่จำเป็นว่าจะต้องทำทุกข้อนะฮะ เหมือนกับว่าเป็นประเด็นที่ไว้ให้เรามองมากกว่าในความคิดเห็นผม อย่างหลายที่ก็มีเหตุผลที่ดีพอที่จะเลือกไม่ทำข้อที่ว่าต้องแก้บั๊กให้หมดก่อนเขียนฟีเจอร์ใหม่หน่ะฮะ แต่ก็มีบางอย่างที่พื้นฐานมากๆที่ถ้าไม่มีก็น่ากลัวจริงๆ อย่าง Version Control เนี่ย
เอาบริษัทซอฟท์แวร์ละกันนะครับ
สิ่งที่ต้องรับผิดชอบในงานที่เข้าไปทำ (เข้าไปทำอะไรบ้างแบบละเอียด และเป็นรูปธรรม)
ธุรกิจหลักที่บริษัทดำเนินการอยู่ และหรือกำลังจะมุ่งไปในอนาคต
รายการสวัสดิการทั้งหมด
ที่จอดรถ, ฟิสเนส, กองทุนสำรองเพื่อการเลี้ยงชีพ, เบิกผู้ป่วยนอก, ทำฟัน, เอ๊าท์ติ้ง, โบนัส อื่นๆ
ครับ
แล้วพวกคนที่พึ่งจบมาใหม่อะครับ จะมีโอกาสเข้าได้รึเปล่าครับ
ตอบในฐานะที่เคยสมัครจบใหม่นะครับ ผมยื่นๆไปเลยอะครับ แล้วสุดท้ายเค้าก็รับ ผมว่า 1 ปีมันไม่ได้ความรู้เพิ่มมากกว่าจบใหม่ซักเท่าไหร่(วัดจากตัวเอง)
ฝึกงานแค่ 2 เดือน ผมได้มากกว่าที่เรียนมามากๆ ครับ(แต่เทียบกับความรู้ทั้งหมดที่ต้องรู้อาจจะน้อยรึเปล่าไม่รู้)
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ถ้าไม่มีประสบการณ์เลยก็ต้องมีอย่างอื่นที่เจ๋ง สะดุดตาค่ะ
เช่น ฝึกงานที่ไหน ได้อะไรจากการฝึกงานนั้นๆ
ความสนใจพิเศษ (ที่เกี่ยวกับงานที่กำลังสมัคร)
ภาษาต่างประเทศ ก็เป็นข้อได้เปรียบเช่นกันค่ะ
ถ้าเป็นคนเรียนรู้เร็วก็ไม่ยากหรอกค่ะ
ต้องลองสมัครค่ะ ถ้าไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร ถ้าถูกเรียกไปสัมภาษณ์ก็ถือว่าดีไปเลยล่ะ
A candidate company will love:
(what company expect from the potential employee)
A position you’ll love:
(realistic job description)
Room to grow
คำถามเกี่ยวกับองค์กร
1. บริษัทนี้มีความเป็นมาอย่างไร เปิดมากี่ปี?
2. เป็นบริษัท inter หรือของคนไทย? (เพราะ policy จะไม่เหมือนกัน)
3. จำนวนพนักงานในองค์กร? (พนักงานยิ่งเยอะแปลว่าความมั่นคงสูง)
4. ฐานลูกค้าคือใครบ้าง? (แหล่งรายได้หลัก)
5. ตำแหน่งในบริษัทหรือcareer path มีอะไรบ้าง? (เผื่ออนาคตได้เลื่อนตำแหน่งหรือเปลี่ยนสายงาน)
6. ผลงานเด่นๆของบริษัท? (มีก็ได้ไม่มีก็ได้เป็น optional)
คำถามส่วนตัว
1. บริษัทนี้ทำอะไรบ้าง? (จะได้รู้ว่าจะมีงานอะไรให้เราทำบ้าง)
2. จำนวนพนักงาน (ยิ่งพนักงานเยอะปัญหาก็ยิ่งเยอะ)
3. ตำแหน่งหรือทีมที่รับสมัครมีอะไรบ้าง? (เผื่อมีตำแหน่งอื่นที่น่าสนใจกว่า)
4. เวลาเข้างาน-เลิกงาน ทำ OT แล้วได้ค่า OT หรือเปล่า?
5. เงินเดือน? (แน่นอนจำเป็นต้องถาม คำถามนี้ห้ามเกรงใจ)
6. เงินเดือนขึ้นปีละกีเปอเซ็นต์? (ถามไปงั้นแหละ จริงๆอาจจะไม่ขึ้นเลยก็ได้)
7. โบนัส? (เป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนย้ายงาน)
ุ8. สวัสดิการ? (เป็นตัวช่วยให้มีกำลังใจในการทำงาน)
9. วันลาหยุด? (ทำงานจริงๆอาจจะไม่ได้หยุดเลยก็ได้)
คิดออกแค่นี้ ผิดพลาดประการใด แนะนำได้นะครับ ^^
คำถามนึงที่เรมักจะถามคนสัมภาษณ์เลยคือ พี่ทำงานที่นี้มากี่ปีแล้วคะ
ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน
แต่ถ้าได้รับคำตอบมามากกว่า 5 ปี เรามักจะอยากทำงานที่นั่นด้วยเสมอเลย
เอาให้ได้แบบ http://www.crunchbase.com/ เลยนะครับ
ผมอยากให้เพิ่มหัวข้อ จำนวนพนักงาน ที่มีอยู่ในองค์กรครับ
น่าจะเป็นตัวช่วยบ่งชี้ได้ว่า เป็นองค์กรขนาดระดับใด บางคนอาจจะไม่ชอบทำงานกับคนเยอะๆ แบบว่าวุ่นวายเกินไป ปัญหาเยอะ การเมืองแยะ