เมื่อวานนี้ทาง VMware ได้เปิดตัว vSphere 5 ออกมาก็มีคนพบว่าทาง VMware ได้่ปรับโมเดลการขายไลเซนส์ไปพร้อมๆ กัน และดูจะเป็นปัญหาสำคัญสำหรับลูกค้าที่ต้องการอัพเกรด
โดยโมเดลราคาใหม่นั้นจะจำกัดแรมสำหรับแต่ละไลเซนส์ โดยรุ่น Standard จะจำกัดแรม "รวม" ของเครื่องเสมือนทุกเครื่องไว้ที่ 24GB, รุ่น Enterprise จะจำกัดไว้ที่ 32GB, และรุ่น Enterprise Plus จะจำกัดไว้ที่ 48GB
โมเดลราคาเดิมนั้นปล่อยให้ใช้แรมต่อไลเซนส์ได้ถึง 256GB สำหรับรุ่น Standard, Advanced, และ Enterprise ส่วนรุ่น Enterprise Plus นั้นไม่จำกัดแรมเลย แต่จำกัดจำนวนคอร์ต่อไลเซนส์ไว้ที่ 6 คอร์สำหรับรุ่น Standard และ 12 คอร์สำหรับรุ่น Enterprise Plus
แนวทางนี้ทำให้ลูกค้าเดิมของ VMware ที่เคยลงทุนกับเครื่องขนาดใหญ่มากๆ เช่น Dell R910 ที่มี 4 ซีพียูและแรมรวม 1TB ซึ่งเคยใช้ไลเซนส์รุ่น Standard เพียง 4 ไลเซนส์ก็เพียงพอที่จะใช้ความสามารถของเครื่องอย่างเต็มที่กลายเป็นกลายเป็นต้องใช้ 42 ไลเซนส์แทน (ในความเป็นจริงการอัพเกรดไปใช้รุ่นใหญ่อาจจะคุ้มกว่า แต่ก็แพงขึ้นอยู่ดี)
ผลกระทบจากเรื่องนี้คือบอร์ดของ VMware นั้น "ไฟลุก" จากการที่ลูกค้าเข้าไปบ่นเรื่องค่าไลเซนส์ที่กำลังแพงขึ้นอย่างน้อยสองถึงสามเท่าตัว ลูกค้าหลายรายระบุว่าโมเดลไลเซนส์เช่นนี้ทำให้ไมโครซอฟท์น่าใช้ขึ้นทันทีเพราะ Hyper-V ของไมโครซอฟท์นั้นราคาถูกกว่ามาก
ที่มา - ArsTechnica, VMware Community
Comments
ก็เปลี่ยนไปใช้ Hyper-V บ้าง เป็นการกระจายรายได้
ปกติเครื่องนึงใส่เกิน 40GB อยู่แล้ว เฮ่อ!
ตรงที่มีแสง
อย่างนี้ไมโครซอฟท์จะได้ผลประโยชน์เต็มๆเลยมั้ยเี่นี่ย?
โมเดลไซเซนส์ -> โมเดลไลเซนส์ (บรรทัดที่สอง จากบรรทัดสุดท้ายครับ)
ก่อนหน้านี้ Hyper-V ราคาถูกกว่ามาตลอดครับ ลดแลกแจกแถม อย่าง Windows Server นี่เวลาสร้าง VM ก็สามารถนำไลเซนส์เครื่องหลักไปใส่ใน VM ได้อีก 5 เครื่องอะไรอย่างนั้น แต่ไม่รู้ทำไม VMware ก็ยังขายดีอยู่จนทุกวันนี้
แต่หลังจากนี้คงต้องคิดกันหนัก
lewcpe.com, @wasonliw
ที่สิงคโปร์ เซลส์ของ vmware นำเสนอข้อมูลเทคนิคได้ครบถ้วนตรงใจ มีเอกสารผลิตภัณฑ์และกรณีศึกษาให้อ่านเยอะมาก ตอบปัญหาถึงข้อจำกัดของสินค้าได้อย่างมั่นใจ (บางเจ้าไม่มั่นใจ แถมยังบอกว่า เวอร์ชันหน้ามีแน่นอน) สาธิตวิธีใช้งานให้ดูเป็นขั้นเป็นตอน ที่สำคัญคือ เซลส์สวยและมีเสน่ห์ พูดเก่ง ชม(ลูกค้า)เก่ง แต่ชมได้ไม่น่าเกลียด เพราะบางเจ้าชมจนเหมือนประจบ ท้ายที่สุดก็เลือก vmware
ส่วน Hyper-V คนที่เข้ามาประกบเป็นเซลส์ผู้ชาย นำเสนองานก็ใช้ได้ แต่เป็นไรไม่รู้ ไม่ดึงดูดเหมือนเซลส์ vmware นอกจากนี้ ณ เวลานั้น ยังหาจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของ Hyper-V ได้ยาก ซึ่ง vmware และ Citrix ทำตลาดมาได้ดีและยาวนานกว่า และส่วนตัวของผม ผมไม่ค่อยชอบอะไรที่ติดกับ active directory และ windows services อีกมากมาย และส่วนตัวผมขัดใจกับชื่อผลิตภัณฑ์ที่ยาวอย่าง MSSCVMM
My Blog
ถ้าเป็นแต่ก่อนก็เรื่อง vmotion กับ os ที่ support แหละครับที่เด่น แต่ตอนนี้ไม่รู้ว่า hyper v ปรับปรุงไปแค่ไหนแล้ว
ตรงที่มีแสง
สมัยหน่วยงานผมเริ่มใช้ vmware เพราะประสิทธิภาพมันดีกว่าครับ Hyper-V ครับ
ผมว่าสุดท้าย VMware อาจจะต้องยอมถอยนะเนี่ย เพราะคนใช้ VM ปกติเน้นแรมกันมากกว่า CPU อยู่แล้ว ถ้ามาทำแบบนี้ สงสัยเวลาทำ Compare Project อาจจะตายเพราะค่าไลเซนส์ได้ -*-
โลภมากลาภหาย
ตั้งใจกั๊ก แบบไม่ใช่ข้อจำกัดจริงแบบนี้ไม่ชอบเลย
วิธีแบบนี้เบื่อมาตั้งแต่ Windows Vista, 7 Edtion ต่างๆ(แต่จัดการลักษณะการจำหน่ายกับแบ่งกลุ่มผู้ใช้ได้ดีกว่า consumer ตัวฮาร์ดแวร์ถูกจำกัดอยู่ที่ 4, 8, 16 GB ขยับขึ้นตามช่วงเวลา ถ้าเป็น enterprise ส่วนตัวคิดว่าถ้าจะทำจริงๆตัวฮาร์ดแวร์เลยร้อย GB ไปนานละ ถ้าแบ่งเป็น 128, 256 GB ขึ้นไป หรือต่ำสุดๆ 64 GB คงไม่โดนแรงสะท้อนกลับขนาดนี้) ส่วนแบบ Microsoft Office แล้วตอน Windows XP ก็พอไหว(ระหว่าง Home กับ Professional) ไม่ได้มากเิกินไป
ผมอ่านจากลิงค์นี้ครับ http://www.vmware.com/files/pdf/vsphere_pricing.pdf
เท่าที่อ่านดูจากหน้าสี่ vRAM ไม่ใช่ RAM ที่สามารถใช้งานได้ทั้งหมด
vRAM คือ RAM ที่สามารถแชร์กันใช้งานได้ระหว่าง esxi host แต่ละตัว จากหน้าสี่
ถ้ามี esxi host 2 เครื่อง ใช้ Enterprise+ เราใส่แรมไป 96 GB เราก็ทำการ สร้าง vRAM pool ได้ 96 GB
ส่วน RAM อีกเครื่องละ 48 GB เราก็ยังสามารถ Assign ให้ guest ใช้งานได้ แต่ถ้ามี guest เครื่องหนึ่งดันทะลึ่งต้องการใช้ RAM เยอะ
มันก็สามารถดึง RAM จาก Pool ขนาด 96 GB มาใช้ได้ โดยสามารถดึงจาก host อีกตัวนึงมาใช้ได้ครับ
เกิดการเข้าใจผิดนิดหน่อยครับ Guest ที่ถูก Assign ให้ใช้ RAM จาก vRAM Pool เท่านั้นที่จะสามารถใช้งาน vRAM ได้ครับ
ซึ่งก็ยังสามารถดึง RAM จากเครื่องอื่นมาใช้ได้
ผมงงที่คุณเขียนครับ
กรณีที่เป็นปัญหาและโวยกันคือมีเครื่องเดียวโดดๆ อาจจะมี CPU แค่ซ๊อกเก็ตเดียว แต่แรมจำนวนมากๆ เช่น 256GB ซึ่งแต่เดิมซื้อ vSphere 4 ก็ใช้แรมได้หมด แต่ vSphere 5 ต้องซื้อไลเซนส์ Enterprise จำนวน 8 ไลเซนส์ อ่านในลิงก์ที่คุณอ้างถึงในหน้า 5 หัวข้อ "Creating vRAM Pool" ครับ
lewcpe.com, @wasonliw
vRAM pool is a pool shared among multiple esxi host.
vRAM != RAM นะครับ
แล้ว?????
lewcpe.com, @wasonliw
ขออภัยครับ ผมอ่านอย่างละเอียดดูแล้วในส่วนของ FAQ มันบอกว่า "vRAM of virtual RAM is the total memory configured to a virtual machine" ซึ่งในเอกสารหน้าแรกๆไม่มีบอกไว้ครับ ทำให้ผมเข้าใจผิดในตอนแรกว่าเราสามารถ Assign Physical RAM ที่ไม่ได้อยู่ใน vRAM pool ให้ Guest OS ใช้งานได้ แต่พออ่านจาก FAQ ด้านล่างแล้ว ผมคิดว่าผมเข้าใจผิดครับ
ที่ถูกต้องน่าจะเป็น Guest OS ใช้ RAM ได้เฉพาะใน vRAM Pool เท่านั้นครับ ถ้าต้องการใช้ RAM เพิ่มต้องซื้อ License เพิ่มครับ
แล้วมันต่างกับแรมรวมทั้งระบบยังไงล่ะครับ?
หนีเสือ ปะ ไอ้เข้ หันเหไปขี่เมฆาดีกว่า ...หนีไปใช้ Cloud โลด
อย่างที่ VMWare นี้ก็ถือว่าเป็น Cloud ชนิดหนึ่งเหมือนกัน ก็คือ private cloud ครับ (On-premises) เลือกใช้ public Cloud ไปเลยก็ใช่ว่าจะดี มีความเสี่ยงที่เป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น
availability: ถ้าเกิด service not available หากตรวจสอบแล้วไม่ใช่ปัญหาด้านเน็ตเวิร์กระหว่าง public Cloud กับองค์กรแล้ว ทีม IT ภายในองค์กรทำอะไรไม่ได้มากนัก ต้อแจ้งผู้ให้บริการดึงระบบกลับขึ้นมาให้, ช่วงเวลาที่เสียหายไป เค้าก็แค่ rebate เงินคืนให้ แต่จะไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเชิงธุรกิจ เช่น ค่าเสียโอกาส ไม่ได้ แต่ถ้าอยู่ในบริษัท ทีม IT มีอำนาจตัดสินใจอย่างเต็มที่ในการแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็มีกรณี Amazon EC2 ล่มในระดับเป็นวัน เกิดผลในวงกว้างระดับภูมิภาค เมื่อเดือนที่่ผ่านมา
migration: การที่ใช้ private cloud ทางหน่วยงานเป็นคนเลือกซอฟท์แวร์ ดังนั้นสามารถเลือกซอฟท์แวร์ที่ให้อิสระในการที่จะโยกย้าย guest VM ไปใช้เทคโนโลยีอื่นๆได้ เพื่อไม่ให้เกิด lock-in แต่กรณีของ private Cloud เนื่องจากตัว guest VM image อยู่ที่นอกบริษัท ดังนั้นขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ public Cloud ว่าสนับสนุนการให้ผู้ใช้ย้าย guest VM image หรือไม่ อย่างไร และเสียค่าใช้จ่ายอย่างไร
ความโปร่งใสในการบริหาร public cloud: ข้อมูลสถิติ service availability, ข้อมูล VM monitoring, นโยบายการ backup, ความปลอดภัยในแง่ของเนื้อข้อมูลที่เก็บอยู่ใน guest VM และที่ส่งผ่านเน็ตเวิร์ก ซึ่งแต่ละที่อาจจะเครื่องมือยืดหยุ่นไม่เท่ากัน, ระดับความโปร่งใสและการตรวจสอบได้ไม่เท่ากัน