Google Cloud ประกาศเริ่มนำโมเดลปัญญาประดิษฐ์สร้างวิดีโอ Veo มาให้บริการ นับเป็นคลาวด์รายใหญ่รายแรกที่มีบริการสร้างวิดีโอ แต่ยังเป็นบริการวงปิดอยู่
Veo สามารถสร้างวิดีโอได้จากภาพและจากข้อความ ดังนั้นเราจึงสามารถสร้างภาพต้นแบบจากโมเดล Imagen ก่อนแล้วค่อยทำเป็นภาพเคลื่อนไหวก็ได้ ตอนนี้ยังเป็นบริการวงปิดเฉพาะผู้ได้รับอนุญาต โดยกูเกิลระบุว่า Agoda นั้นใช้เครื่องมือ AI ทั้ง Veo, Gemini, และ Imagen ช่วยทำโฆษณาเพื่อลดระยะเวลาการสร้างงานแล้ว
กูเกิลรายงานถึงผลการเปิดฟีเจอร์ของ Google Play Protect ที่บล็อคไม่ให้ติดตั้งแอปนอกสโตร์หลังจากเริ่มเปิดบริการนี้มาตั้งแต่ปลายปี 2023 และเริ่มใช้งานในไทยตั้งแต่สงกรานต์ที่ผ่านมา โดยรวมตอนนี้บล็อคการติดตั้งไปแล้ว 4.8 ล้านครั้ง บนอุปกรณ์กว่า 1 ล้านเครื่อง และยังมีการบล็อคแอปไปกว่า 41,000 รายการ
ฟีเจอร์บล็อคการติดตั้งอัตโนมัติจะบล็อคแอปพลิเคชั่นที่ขอสิทธิ์ระดับสูง 4 สิทธิ์ ได้แก่ อ่าน/ส่ง SMS, อ่านข้อมูลการแจ้งเตือน, และสิทธิ์ช่วยเหลือพิเศษ (Accessibility) เนื่องจากสิทธิ์เหล่านี้มักถูกใช้โดยแอปดูดเงินที่ต้องการควบคุมหน้าจอ หรืออ่านค่า OTP จากธนาคาร
Beeks Group ผู้ให้บริการไอทีจากสหราชอาณาจักรเปิดเผยในรายงานทางการเงินประจำปี ระบุว่าบริษัทย้ายจาก VMware ไปยัง OpenNebula ที่เป็นซอฟต์แวร์จัดการคลาวด์แบบโอเพนซอร์ส
ทางบริษัทเปิดเผยข้อมูลนี้เพื่อชี้แจงเหตุผลที่สัดส่วนกำไรของธุรกิจคลาวด์ลดลง เนื่องจากค่าไลเซนส์ซอฟต์แวร์ที่แพงขึ้น โดย Beeks ระบุว่าจะแพงขึ้นปีเดียวและหลังจากนี้จะถูกลง โดย OpenNebula เป็นระบบให้บริการคลาวด์โดยรองรับทั้ง KVM, LXC, และ vCenter อยู่เบื้องหลัง
เมื่อเดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงครบรอบ 10 ปีบริการ AWS Lambda หนึ่งในบริการ serverless ตัวหลัก โดยแนวทางของ Amazon นั้นเมื่อมีทีมงานต้องการเสนอโครงการ จะเขียน "จดหมายข่าว" (press release - PR) ขึ้นมาเพื่อแสดงให้ผู้พิจารณาเห็นภาพว่าบริการที่กำลังจะทำนั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร และลูกค้าได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง แม้แนวทางการทำงานนี้เป็นที่รับรู้โดยทั่วกัน แต่ตัวเอกสารจริงๆ ก็มักเป็นความลับทางการค้า แต่ในโอกาสครบรอบ 10 ปี AWS Lambda Dr. Werner Vogels CTO ของ AWS ก็นำเอกสารมาเปิดให้อ่านกัน
รัฐบาลญี่ปุ่นหยุดออกบัตรประกันสุขภาพเป็นครั้งแรก โดยผู้ถือบัตรเดิมสามารถใช้งานต่อไปได้ หรือใช้บัตรประชาชน My Number แทนที่
บัตรประชาชนหรือบัตร My Number ของญี่ปุ่นเพิ่งเริ่มออกมาตั้งแต่ปี 2015 พร้อมกับการระบุเลขประจำตัว 12 หลัก โดยเป็นหมายเลขจริง 11 หลัก และหลักที่ 12 เป็นค่า checksum ลดความผิดพลาด
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดตัวบริการ ChulaGENIE ผู้ช่วยแบบ LLM สำหรับบุคลากรและนิสิตรวมกว่า 50,000 คน โดยภายในเป็นการซื้อ Gemini Pro และ Gemini Flash แบบ API ผ่านทางบริการ Vertex AI บน Google Cloud มาเปิดให้ภายในใช้งาน
บริการนี้เตรียมเปิดตัวเป็นเฟส โดยช่วงแรกมกราคม 2025 จะเปิดให้เฉพาะคณาจารย์และบุคลากรก่อน จากนนั้นจึงเปิดให้นิสิตทุกคนใช้งานในเดือนมีนาคม ช่วงแรกจะใช้ Gemini 1.5 Flash และ Gemini 1.5 Pro โดยมีแผนจะเพิ่มตัวเลือก Claude และ Llama ต่อไป
หน้าจอ ChulaGENIE ที่เปิดเผยออกมานั้นเหมือนกับโครงการ OpenWebUI ที่เป็นโครงการโอเพนซอร์สที่ได้รับความนิยมสูง ภายในมีการสร้างตัวช่วยเฉพาะเรื่อง เช่น ผู้ช่วยงานวิจัย, ผู้ช่วยการศึกษา, และผู้ช่วยด้านการบริหารและธุรการ
Freysa เกมแข่งแฮกปัญญาประดิษฐ์ LLM ได้ผู้ชนะหลังเปิดแข่งขันเพียงหนึ่งสัปดาห์ หลังจากผู้เข้าแข่งยิง prompt injection จนตัวเกมตัดสินใจยอมโอนเงินได้สำเร็จ
ผู้สร้าง Freysa เปิดเผย prompt ที่ใช้สร้างแชตบอต พร้อมกับโค้ดของตัวแอปพลิเคชั่น โดยภายในเป็น GPT-4 ที่เปิดให้เรียกฟังก์ชั่นสองตัวคือ approveTransfer
และ rejectTransfer
แต่ system prompt กลับกำหนดชัดเจนว่าห้ามเรียก approveTransfer
ไม่ว่ากรณีใดๆ
Alibaba International Digital Commerce บริษัทฝั่งเว็บอีคอมเมิร์ชของ Alibaba ปล่อยโมเดลปัญญาประดิษฐ์ LLM ในชื่อ Marco-o1 เป็นโมเดลที่ทำผลทดสอบปัญหาคณิตศาสตร์ MGSM ได้สูงขึ้นถึงระดับ 90% แม้จะเป็นโมเดลขนาดเล็ก โดยอาศัยการคิดแบบค่อยเป็นค่อยไป
Marco-o1 สร้างจาก Qwen2-7B แต่อาศัย 4 เทคนิคทำให้โมเดลเก่งขึ้น ได้แก่
ทีม Qwen ของ Alibaba Cloud เปิดโตัวโมเดลปัญญาประดิษฐ์ QwQ (อ่านว่า ควิว/quil) เป็นโมเดลเพื่อการทดลองที่จะไม่มุ่งตอบคำถามทันที แต่พยายามคิดทบทวนก่อน ทำให้คำตอบที่ได้แม่นยำขึ้น
ความโดดเด่นของ QwQ-32B คือคะแนนทดสอบหลายชุดทดสอบ เช่น GPQA, AIME, MATH-500, หรือ LiveCodeBench นั้นสูงขึ้นมาก เทียบชั้นกับ OpenAI o1-preview เลยทีเดียว อย่างไรก็ดีทีมงานพบปัญหาการคิดของโมเดลมักสลับภาษาไปมา (ผมทดลองถามภาษาไทยก็คิดเป็นภาษาจีน) บางครั้งคิดวนไปวนมาไม่ได้คำตอบ นอกจากนี้ยังต้องเพิ่มความระมัดระวังความปลอดภัยในการใช้งาน และคะแนนทดสอบก็อาจจะมีข้อจำกัดไม่สามารถทดสอบความสามารถบางด้าน
Raspberry Pi เปิดตัว Compute Module 5 ล้อตามมาจาก Raspberry Pi 5 ที่เปิดตัวปีที่แล้ว สเปคหลักๆ ใกล้เคียงกัน
รูปร่างโดยรวมนั้นตรงกับ Compute Module 4 แต่มีพอร์ตบางส่วนเปลี่ยนไป โดยถอด MIPI ออกสองชุด และเพิ่ม USB 3.0 เข้ามาแทน แรมมีให้เลือกสี่ขนาด ได้แก่ 2GB, 4GB, 8GB, และ 16GB โดยรุ่น 16GB คาดว่าจะเริ่มวางขายปี 2025
ราคาเริ่มต้น 2,119 บาท สำหรับรุ่นแรม 2GB และไม่มีสตอเรจ
ที่มา - Raspberry Pi
Amazon Cognito บริการล็อกอินผู้ใช้ (customer identity and access management - CIAM) ประกาศอัพเดตความสามารถของบริการครั้งใหญ่หลังเปิดให้บริการมาแล้วสิบปี พร้อมกับปรับราคาแพ็กเกจการคิดราคาใหม่โดยแบ่งแพ็กเกจเป็นสามระดับ Essential, Lite, และ Plus
ฟีเจอร์ใหม่ของ Cognito เริ่มตั้งแต่กระบวนการเซ็ตอัพแอปพลิเคชั่นที่ง่ายขึ้น รองรับเฟรมเวิร์คหลักๆ ทั้งหมด, หน้าจอล็อกอินแบบโฮสต์บน AWS เองแต่ปรับแต่งได้มากขึ้น, และการรองรับล็อกอินแบบไม่ใช้รหัสผ่าน ทั้ง Passkey, SMS, และอีเมล
Andrew Ng หนึ่งในผู้บุกเบิกวงการ deep learning ออกไลบรารี aisuite ไลบรารีที่ไม่ซับซ้อนนัก สำหรับการเชื่อมต่อ LLM จากผู้ให้บริการหลากหลายเจ้า โดยโค้ดเปลี่ยนเฉพาะชื่อโมเดลเท่านั้น
ปัญหาการเชื่อมต่อ LLM จากผู้ผลิตหลายรายนั้นมีมานาน แต่ช่วงหลังๆ ปัญหาก็น้อยลงมากเนื่องจากผู้ให้บริการรายใหม่ๆ ยอมแพ้หันไปทำ API ของตัวเองให้เข้ากันได้กับ OpenAI แทน แม้แต่คู่แข่งหลักอย่างกูเกิลก็ต้องทำตามแนวทางนี้
Anthropic บริษัทคู่แข่งสำคัญของ OpenAI เปิดตัว Model Context Protocol (MCP) โปรโตคอลมาตรฐานสำหรับการดึงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ให้ปัญญาประดิษฐ์แบบ LLM นำไปใช้ตอบคำถาม ไม่ว่าจะเป็นแชตในองค์กร, ซอร์สโค้ด, ฐานข้อมูลต่างๆ, หรือไฟล์สตอเรจ
ทุกวันนี้กระบวนการเชื่อมต่อข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เข้าหน้าจอแชตใช้แนวทางต่างๆ กันไป ทำให้ต้องอิมพลีเมนต์แอปพลิเคชั่นเฉพาะ หรือเขียนฟังก์ชั่นครอบให้ LLM ไปใช้งานเพื่อดึงข้อมูลมาตอบคำถาม MCP หวังว่าจะทำให้การเชื่อมต่อแหล่งข้อมูลต่างๆ เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้เราสามารถเพิ่มแหล่งข้อมูลใหม่ๆ ได้ทันที
Raspberry Pi เปิดตัวบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi Pico 2 W ที่ประกอบด้วยชิป RP2350 และชิปเชื่อมต่อไร้สาย Infineon CYW43439 รองรับคลื่น 2.4GHz เป็น Wi-Fi แบบ 802.11n และ Bluetooth 5.2
ตัวบอร์ด Pico 2 W นี้ขนาดเท่าๆ กับบอร์ด Pico 2 เพราะเว้นที่เผื่อไว้สำหรับชิปไร้สายไว้แล้ว ตัวชิป CYW43439 ตามสเปคนั้นรองรับ Wi-Fi ที่แบนวิดท์สูงสุด 96Mbps สามารถทำ SoftAP เพื่อให้อุปกรณ์อื่นเข้ามาเชื่อมต่อได้ 4 ตัว เข้ารหัสการเชื่อมต่อได้ตามมาตรฐาน WPA3 และเชื่อมต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ผ่านอินเทอร์เฟซ SDIO v2.0
เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Dale และ Jennifer Harris ผู้ปกครองของ RNH ชื่อย่อของนักเรียนโรงเรียน Hingham High School ยื่นฟ้องครูและกรรมการโรงเรียน หลังจาก RNH ถูกตัดคะแนนในวิชา AP U.S. History จนเกรดตก และทำให้อาจจะเสียโอกาสเข้ามหาวิทยาลัย ล่าสุดศาลชั้นต้นรัฐบาลกลาง (U.S. District Court) ก็ตัดสินไม่สั่งคุ้มครองชั่วคราวให้แก้คะแนนให้ RNH
คำตัดสินระบุว่าหลักฐานแสดงให้เห็นว่าโรงเรียนไม่ได้รีบเร่งตัดสินโทษ และโทษก็ไม่ได้รุนแรงเป็นพิเศษหรือต่างจากคนอื่น
โครงการ Tailwind เฟรมเวิร์ค CSS ยอดนิยมออกรุ่น 4.0 Beta 1 เบต้าแรกที่น่าจะแสดงให้เห็นว่าตัวจริงมีฟีเจอร์อะไรบ้าง โดยความเปลี่ยนแปลงมี 4 ด้านหลัก ได้แก่
กูเกิลและ OpenAI ผลัดกันชิงอันดับหนึ่งบนการจัดอันดับ Chatbot Arena ของ LMSys โดยสัปดาห์ที่ผ่านมานับเป็นช่วงที่แข่งกันดุเดือดเป็นพิเศษเพราะเอาชนะสลับกันหลายรอบในสัปดาห์เดียว
การแข่งขันรอบนี้เริ่มจากกูเกิลปล่อย API เวอร์ชั่นพิเศษ Gemini-Exp-1114 ที่เปิดให้ใช้งานเฉพาะใน AI Studio เท่านั้น โมเดลเวอร์ชั่นนี้เอาชนะโมเดลราคาแพงของ OpenAI อย่าง o1-preview และ o1-mini ไปได้ แต่หลังจากนั้น OpenAI ก็ปล่อยโมเดล ChatGPT-4o-latest เวอร์ชั่น 20 พฤศจิกายนออกมา เอาชนะ Gemini กลับไปได้อีกครั้ง แต่ชนะได้เพียงวันเดียวกูเกิลก็ปล่อย Gemini-Exp-1121 ออกมาอีกรอบ และทำคะแนนเอาชนะ ChatGPT-4o ตัวล่าสุดไปได้อีกครั้ง
กูเกิลประกาศนโยบายการจัดอันดับการค้นหาใหม่ ภายใต้แนวทางการจัดการเว็บที่ใช้ความน่าเชื่อถือของตัวเองในทางที่ผิด (site reputation abuse) โดยมักเป็นการขายพื้นที่บนเว็บให้บุคคลภายนอกมาซื้อพื้นที่วางบทความโฆษณาหรือสแปม SEO
การพิจารณาว่าเว็บใดใช้ความน่าเชื่อถือของตัวเองในทางที่ผิดหรือไม่จะพิจารณาหลายอย่าง เช่น เว็บมีข้อตกลงนำบทความภายนอกมาโพสโดยระบุว่าเขียนเอง หรือการครอบครองบริษัทตลอดจนการทำข้อตกลงทางธุรกิจเพื่อนำความน่าเชื่อถือของเว็บมาใช้ โดยรวมเงื่อนไขมีความซับซ้อน และทางกูเกิลได้ชี้แจงไว้ใน Google Search Central
Niantic ผู้สร้างเกม Pokemon Go อันโด่งดัง ประกาศพัฒนาปัญญาประดิษฐ์เข้าใจโลกขนาดใหญ่ Large Geospatial Model (LGM) ที่สามารถเข้าใจและคาดเดาคุณลักษณะของพื้นที่ต่างๆ โดยอาศัยข้อมูลพื้นที่อื่นๆ ที่เคยเห็นมาก่อน
ก่อนหน้านี้ Niantic ให้บริการ Visual Positioning System (VPS) ระบุพิกัดโทรศัพท์ในระดับเซนติเมตรโดยอาศัยภาพถ่ายเพียงภาพเดียวมาก่อนแล้ว แต่กระบวนการนี้ต้องอาศัยฐานข้อมูลภาพถ่ายเดิมที่เคยมีอยู่แล้ว แม้ว่าทาง Niantic จะมีภาพถ่ายพื้นที่ต่างๆ จำนวนมากแต่ในความเป็นจริงก็มีข้อมูลจำกัด ไม่สามารถเก็บภาพถ่ายทุกมุมในโลกได้
GitHub ออกรายงานสำรวจประสิทธิภาพของโปรแกรมเมอร์เมื่อใช้ GitHub Copilot ช่วยทำงาน พบว่าโดยรวมแล้วการมี Copilot ทำให้โปรแกรมเมอร์เขียนโค้ดถูกต้องมากขึ้น โค้ดมีคุณภาพสูงขึ้น บั๊กน้อยลง
การวิจัยนี้นำโปรแกรมเมอร์ที่มีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปีจำนวน 202 คนมาแบ่งกลุ่มแบบสุ่ม มีกลุ่มได้ใช้ Copilot 104 คน และกลุ่มไม่ได้ใช้ 98 คน ให้เขียน Web API ตามคำสั่ง จากนั้นสำรวจโค้ดทั้งความถูกต้องด้วยการรันชุดทดสอบ, และสำรวจคุณภาพโต้ด
อัตราการเขียนโค้ดให้ผ่านชุดทดสอบโดยไม่ใช้ Copilot มีเพียง 39.2% แต่กลุ่มที่ใช้ Copilot เขียนผ่านถึง 60.8% แสดงให้เห็นว่า Copilot ช่วยให้โค้ดทำงานตามสเปคได้ดีขึ้นมาก
องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ประกาศรับรองวัคซีน LC16m8 สำหรับโรค mpox หรือฝีดาษลิง หลังจากมีรายงานแพร่กระจายไป 80 ประเทศ รวมผู้ป่วย 39,000 โดยเป็นกระบวนการรับรองฉุกเฉิน (Emergency Use Listing - EUL) ที่เคยใช้ตอนอนุมัติวัคซีน COVID-19
LC16m8 เป็นวัคซีนเชื้อตายพัฒนาโดย Chiba Serum Institute มาตั้งแต่ปี 1975 เป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองสำหรับไข้ทรพิษ (smallpox) มาก่อน จากนั้นจึงส่งต่อ KM Biologics โดยกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นมีการสต็อก LC16m8 เพื่อความมั่นคงตลอดมา การอนุมัติครั้งนี้ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นสามารถบริจาควัคซีนได้ถึง 3.05 ล้านโดส
ไมโครซอฟท์ประกาศแนวทาง Windows Resiliency Initiative เพื่อเพิ่มความทนทานให้วินโดวส์ไม่ให้เกิดเหตุล่มเป็นวงกว้างแบบเดียวกับเหตุการณ์ CrowdStrike เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยวาง 4 แนวทาง ได้แก่
ไมโครซอฟท์อัพเดต Azure Stack HCI เดิมเป็นชื่อใหม่ว่า Azure Local ระบบจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับทั้ง virtual machine, เน็ตเวิร์ค, สตอเรจ, และ Kubernetes โดยเชื่อมกับ Azure แล้วสั่งงานผ่านคลาวด์ จัดการอัพเดตตามรอบรายเดือนได้อัตโนมัติโดยเวิร์คโหลดยังทำงานต่อไปไม่ต้องปิดการทำงาน
ความเปลี่ยนแปลงของ Azure Local ในรอบนี้คือมันรองรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กมากๆ ด้วย เริ่มต้นต้องการดิสก์เพียงสองลูก (ดิสก์บูต และดิสก์ข้อมูลแบบ SSD) หากต้องการทำ high availability ก็ต้องการการเชื่อมต่อ 1Gbps เท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งแบบไม่ใช้ Active Directory แต่ยังได้ฟีเจอร์ Live Migration อยู่
Azure Container Apps บริการรันคอนเทนเนอร์แบบ serverless จ่ายตามเวลาที่ใช้งานจริง เพิ่มตัวเลือกชิปกราฟิกสำหรับการรัน AI เฉพาะทาง โดยมีชิป NVIDIA T4 และ A100 ให้เลือกใช้งาน
แม้จะเปิดใช้งานแล้ว แต่ลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ทำข้อตกลง Microsoft Enterprise Agreement จะต้องติดต่อไมโครซอฟท์ขอโควต้า serverless GPU ก่อนใช้งาน โดยตอนนี้มีให้ใช้งานสองศูนย์ข้อมูล คือ West US 3 และ Australia East
Azure เปิดบริการ Azure AI Content Understanding สามารถดึงข้อมูลตาม schema ที่ต้องการ จากข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร, ภาพ, ไฟล์เสียง, และวิดีโอ
รูปแบบการใช้งานมีตั้งแต่การดึงข้อมูลฟิลด์ต่างๆ ออกจากเอกสาร, การขอสรุปจากวิดีโอพร้อมกับการประเมินอารมณ์ลูกค้า, หรือการดึงทรานสคริปต์ออกจากวิดีโอ
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์มีบริการ Azure AI Document Intelligence ที่ให้บริการคล้ายกันอยู่ก่อนแล้วแต่ใช้กับงานเอกสารเท่านั้น บริการใหม่นี้ดูจะรวมเอา Document Intelligence เข้ามาทำงานร่วมกับการทำความเข้าใจภาพ, เสียง, และวิดีโอ ทำให้สามรถใช้งานได้หลากหลายขึ้น
ที่มา - Microsoft