หลังจากกรณี PSN โดนแฮ็กครั้งใหญ่เมื่อต้นปีนี้ โซนี่ก็โดนลูกค้ารวมตัวกันฟ้องแบบกลุ่ม (class action lawsuit คือลูกค้าหลายๆ คนที่มีปัญหาแบบเดียวกัน รวมตัวกันฟ้องในคดีเดียวกัน) ข้อหาไม่ดูแลระบบของตัวเองให้ดี
เพื่อป้องกันการโดนฟ้องลักษณะนี้ในอนาคต โซนี่จึงปรับเงื่อนไขใน Term of Service and User Agreement ของ PSN เสียใหม่ (PDF) ใจความสำคัญคือ ลูกค้าของ PSN ที่มีปัญหาเรื่องข้อกฎหมายกับโซนี่ จะต้องเจรจาตกลงกับ "อนุญาโตตุลาการ" (arbitrary) ที่โซนี่แต่งตั้งมาก่อน ถึงจะมีสิทธิฟ้องศาลได้
นอกจากนี้ในเงื่อนไขของโซนี่ยังระบุว่า ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาในชั้นอนุญาโตตุลาการหรือฟ้องศาลก็ตาม ลูกค้าจะต้องยื่นในนามตัวบุคคลเองเท่านั้น ห้ามรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อฟ้องแบบ class action ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจากโซนี่เสียก่อน
ลูกค้า PSN จะต้องยอมรับเงื่อนไขนี้ ซึ่งจะแสดงให้เห็นเมื่อล็อกอิน PSN ครั้งต่อไป มิฉะนั้นจะไม่สามารถใช้งาน PSN ได้
อย่างไรก็ตาม ถ้าลูกค้าไม่ยอมรับเงื่อนไขที่เพิ่มเข้ามาทั้งสองประเด็น โซนี่ก็ยอมให้ แต่ลูกค้าจะต้องส่งจดหมาย (กระดาษ) แสดงเจตจำนงไปยังสำนักงานของโซนี่ที่ลอสแองเจลิสด้วยตัวเอง (แต่ก็ต้องตกลงเงื่อนไขใน PSN ก่อนอยู่ดี ถึงจะล็อกอินได้)
ที่มา - The Register, BBC
Comments
มีงี้ด้วย O_o
ทุเรศจัง คิดได้ไงเนี้ย!
้แพ้แล้วพาล
อย่างงี้ระบุบไปเลยว่าห้ามฟ้องไม่ว่ากรณีใดใด
เกรียนมาก
=____= กลัวขนาดดดดดด
ในเมื่อกฏหมายอนุญาตให้ทำได้แล้วโซนี่มีสิทธิ์อะไร
จะมองแค่นั้นมันก็ไม่ถูกเพราะกฏหมายก็อนุญาตให้ตกลงเป็นอย่างอื่นได้เหมือนกัน ซึ่งก็เป็นสิทธิของ Sony เค้านะครับ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
+1 มันก็เป็นสิทธิของโซนี่นี่กฎหมายให้เหมือนกัน
May the Force Close be with you. || @nuttyi
-2 โซนี่อาจมีสิทธิ์กำหนดเงื่อนไข แต่ไม่สามารถปฏิบัติใช้จริงได้ ถ้าศาลรับฟ้องโซนี่ก็โดนอยู่วันยันค่ำ
ถ้าพูดอย่างงั้นแล้วจะเดือดร้อนกันทำไม โซนี่ไม่มีสิทธินิ?
แต่ผมว่าถ้ากฎมันใช้งานได้จริง ก็แปลว่าโซนี่มีสิทธิที่จะทำครับ สิทธิของเราคือสิทธิที่จะไม่ซื้อครับ ไม่ใช่ซื้อแล้วมาด่า
ผมยืนตาม #334323 นะ สิทธิของใครของมัน นี่ก็สิทธิของโซ่นี่เค้า
May the Force Close be with you. || @nuttyi
+1 iStyle จริงครับ ถ้ายอมรับกับข้อตกลงไม่ได้ ก็มีเครื่องอื่นให้เล่นเยอะแยะ หรือก็เล่นแบบไม่ต้อง sign in เข้า PSN ก็ได้ ถ้ารับไม่ได้จริงๆ
ผมมองว่า มันจะมีผลเป็นโมฆียะรึเปล่า
คือโซนี่อาจจะหวังผลแค่ขู่
ในส่วนของอนุญาโตตุลาการสามารถทำได้แน่นอน 100% อันนี้ไม่มีปัญหาครับ
แต่เรื่องห้าม Class Action อันนี้พูดยากครับ เพราะระบบกฏหมายเรากับเค้าต่างกัน และในไทย วิ.แพ่งก็ห้ามการดำเนินคดีในลักษณะ Class Action เอาไว้ด้วย
แต่ถ้าจะให้วิเคราะห์ดูนั้น Class action ในอเมริกาที่ใช้ Common Law เค้าบัญญัติไว้ใน Federal Rule of Civil Procedure (เปรียบเสมือน วิ.แพ่ง ของเรา) คือทุกคดีสามารถทำเช่นนั้นได้ แต่ในระบบ Civil Law มักจะพบ Class Action ในกฏหมายเฉพาะ (เช่นบ้านเรากำลังมีการพยายามนำ Class Action มาใช้ในคดีสิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังเป็นแค่แนวคิดเท่านั้นเอง)
ซึ่งผลมันจะแตกต่างกันครับ ถ้าบัญญัติไว้เป็นกฏหมายเฉพาะที่ Civil Law ใช้กันนั้นหากตกลงยกเว้นข้อตกลงดังกล่าวมักจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและทำให้ข้อตกลงเช่นว่าเป็น โมฆะ ทั้งนี้เพราะกฏหมายพิเศษมักมีเจตนารมณ์แตกต่างกันไปและมักมีความคุ้มครองมากเป็นพิเศษยิ่งกว่ากฏหมายแพ่งทั่วไป
แต่กลับกันหากเป็น Commom Law ที่บัญญัติไว้เป็นลักษณะทั่วไปนั้น ลักษณะของกฏหมายแพ่งเป็นกฏหมายเอกชน ซึ่งมีหลักการเบื้องต้นคือสามารถทำได้ทุกอย่างตราบเท่าที่ไม่มีกฏหมายห้ามเอาไว้และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยในสังคม ซึ่งตามปกติถ้าเป็นข้อกฏหมายที่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแล้วล่ะก็เอกชนจะตกลงให้แตกต่างจากที่เขียนเอาไว้ในกฏหมายมากน้อยเพียงใดก็ได้ ทำให้กรณีนี้การทำ Class Action ที่เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในการอำนวยความสะดวกในการดำเนินคดีซึ่งผมมองว่าอาจจะตกลงสละสิทธิดังกล่าวได้ครับ
แต่อย่างไรก็ดีมันก็ยังมีกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคอยู่อีกชั้นที่คอยควบคุมขอบเขตข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค ซึ่งผมไม่ทราบรายละเอียดทางฝั่งอเมริกามากนักจึงขอละไว้ละกันครับ :D
ป.ล.ผมมีข้อสังเกตว่าในเมื่อเราต้องใช้อนุญาโตตุลาการและเจรจาก่อนที่จะไปศาลได้ มีคำถามคือเราจะทำอนุญาโตตุลาการแบบ Class Action ได้หรือไม่? ซึ่งผมมองว่าถ้าทำไม่ได้ก็เหมือนบังคับกลายๆว่าต้องแยกกันมาก่อนตั้งแต่ต้นแล้ว
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ในแง่ของกฎหมายสามารถทำได้ครับ เพราะว่าการอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) เป็นการระงับข้อพิพาทก่อนขึ้นสู่ศาล (ระบบตุลาการ) ในเกือบทุกประเทศยอมรับการอนุญาโตตุลาการครับ โดยวัตถุประสงค์หลักๆ คือ ต้องการให้คู่กรณีสามารถตกลงกันได้อย่างพึงพอใจแก่ทุกฝ่ายก่อนที่จะเข้าสู่ระบบศาลที่จะมีขั้นตอนการพิจารณา ระยะเวลา ชื่อเสียง ความลับทางการค้า และค่าใช้จ่าย* ที่แตกต่างกันในครับ
พอไปตกลงกันแล้ว หลังจากคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาด (Award) มาให้แก่คู่กรณีก็สามารถนำคำชี้ขาดเหล่านี้ไปให้ศาลบังคับตามได้ครับ ยกเว้น จะมีข้อโต้แย้งเรื่องกระบวนการอนุญาโตตุลาการไม่ชอบ ฯลฯ ซึ่งศาลมีอำนาจในการเพิกถอนหรือไม่บังคับให้ได้ครับ (ขึ้นอยู่กับกฎหมายภายในของแต่ละประเทศที่จะนำคำชี้ขาดไปใช้บังคับด้วยครับ)
ขอบคุณสำหรับรายละเอียดที่ชัดเจนครับ
+1 ให้ความเห็นที่ให้ความรู้แบบนี้ครับ
ขอเพิ่มเติมเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้...
ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในหลายๆประเทศทั่วโลกที่ลงนามในอนุสัญญาอนุญาโตตุลาการแล้ว และมี พรบ.อนุญาโตตุลาการ แล้วด้วย แต่ว่าในทางกลับกันรัฐบาลไทยกลับไม่สนับสนุนการทำสัญญาที่มีข้อกำหนดในการใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ โดยมีมติ ครม.ออกมาเป็นทางการว่าห้ามใช้อนุญาโตตุลาการในสัญญาที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐ และการที่จะมีข้อตกลงในสัญญาที่จะใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการได้นั้นจะต้องใช้เป็นกรณีพิเศษและต้องขอเป็นกรณีๆไป
ส่วนเหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ รัฐ มักจะแพ้และเสียค่าเงิน(ที่นักข่าวเรียกว่าค่าโง่)อยู่บ่อยๆในการใช้อนุญาโตตุลาการ เหตุผลช่างสุดยอด...
สร้างภาพว่าสนับสนุนระบบอนุญาโตตุลาการ แต่กลับห้ามใช้ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับรัฐซะอย่างนั้น ซึนป่ะล่ะ :D
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
เอ่อ.... พูดไม่ออก
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
คดี ITV น่าจะเป็นหนึ่งในคดีที่ถือว่า ไม่สนใจคำตัดสินของอนุญาโตฯ แต่ลัดไปหาศาลเลย เพราะการเมืองด้วยเช่นกัน
เอ่อ.... พูดไม่ออก
แบบนี้ต้องโดนไม้ตาย
มาใช้ Xbox Live กันเถอะ
ตอนนี้โอกาสดีของไมโครซอฟท์ที่จะ Churn ลูกค้า
@TonsTweetings
ขอ +1 แรงๆ
+1 ไปเล่น XBox Live ดีกว่า ก้าก แถมมี WP7 ด้วย
มีทั้ง 3 เครื่อง จาก 3 บริษัมครับ แต่เป็นแฟนบอย 360
เพลย 3 อะ เป็นได้แค่เครื่องดูบลูเรย์เท่านั้นแหละ
มัดมือชกเลยทีเดียวงานนี้
ลาก่อน SONY
ร้อยละ 90 ของคนเล่นจริงๆก็กด Agree ไปแบบไม่สนใจจะอ่านอยู่ดี
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ใช่ครับ ไม่มีใครอ่านข้อตกลงหรอก
ผมเกือบจะได้เป็นพวก 10% ทีเหลือ
คืออ่านไปได้สักครึ่งนึงแล้วรู้สึกว่า "ไม่อ่านแล้วโว้ยยยยย"
คือเป็น 9% ที่เหลือ
เพราะมีแค่ 1% ที่อ่านจนจบ :P
หนึ่งในนั้นครับ :)
ก็เป็นได้ไปเหมือนกันนะ เพราะบางเคสเนี่ยมันก็สามารถแก้ไขและชดเชยได้ง่ายๆ
และอีกอย่างพวกเคสเล็กๆ แล้วรวมตัวกันฟ้องเนี่ย ส่วนมากเริ่มจากทนายเสนอขอทำเองทั้งนั้น เพราะได้ต่อหัวถึงจะน้อยแต่ถ้ารวมกันแล้วชนะทนายก็กำไรบานเลย แทนที่จะเป็นเรื่องความถูกต้องหรือเรื่องไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง กลับกลายเป็นเรื่องหาเงินของทนายล้วนๆ
การรวมตัวกันฟ้อง ใช้ในกรณีความเสียหายน้อยจนไม่คุ้มที่จะฟ้องเดี่ยว แต่โดนหลายคนครับ อย่าง rootkit ที่จบด้วยการแจก mp3
แต่สัญญาที่ขัดกับกตหมายไม่มีผล ทำให้ใช้ไม่ได้ทุกที่
บางที่ซึ่งกติกานี้ใช้ได้ sony อาจเจ็บกว่าเดิม เพราะเมื่อแพ้อาจต้องจ่ายค่าทนายสำหรับทุกคนที่ตกลงกันไม่ได้ ส่วนทนายก็ใช้สำนวนเดิม
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
อ่านดูแล้วรู้สึก "ทุเรศ" จริงๆ
มันเหมือนที่ห้าง discount store ในบ้านเราทำบัตรจอดรถเขียนบนบัตรว่า "ไม่รับผิดชอบความเสียหายใดๆ" หรือเปล่าครับ แล้วมันมีเคสนึงที่เอารถไปหายใน BigC เจ้าของต้องปีนขึ้นไปบนป้ายหน้าห้างฯ พอเป็นข่าวถึงได้รับผิดชอบ (ถ้าจำไม่ผิดศาลมีคำตัดสินให้รับผิดชอบด้วยนะ)
บริการรับฝากรถ ที่จอดรถ ถ้าคิดค่าบริการ/ค่าจอด จะต้องรับผิดชอบรถลูกค้าครับ เคยมีคำพิพากษาออกมาแล้ว ข้อความที่เขียนไว้นั้นจะเขียนอย่างไรก็ได้ แต่จะบังคับได้หรือไม่อยู่ที่ศาลพิจารณาตามข้อเท็จจริง แต่ส่วนใหญ่คนทั่วไปเห็นข้อความนี้ก็ไม่กล้าเอาคดีไปที่ศาลซะแล้ว
จะเห็นได้ว่าหลังๆห้างถ้าไม่ใช่ระดับ Shopping Mall จะไม่เก็บค่าบริการจอดรถเลยยกเว้นกลางเมืองจริงๆ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
เก็บเงินหรือไม่ ก็ต้องรับผิดชอบครับ ที่ big c นั้นก็ไม่เก็บ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ถึงบอกว่าต้องดูข้อเท็จจริงประกอบครับ กรณีที่ว่าเค้าไม่เก็บเงินแต่ใช้การให้รับบัตรและมีพนักงานรักษาความปลอดภัยในลานจอดรถก็ถือเป็นรับฝากรถเช่นกัน
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
แล้วอย่าง Lotus ที่ไม่แจกบัตรจอดรถละครับ เข้าข่ายกรณีไหนอะครับ
สรุปคร่าวๆ คือถ้ามีการแจกบัตร ถือว่าต้องรับผิดชอบรถน่ะครับ ถ้าไม่แจกก็ไม่ต้องรับ ประมาณนั้น
ต้องถามก่อนว่าคุณหมายถึงช่วงเวลาไหน
ถ้าในตอนนี้ Lotus ปัจจุบันไม่ได้เก็บเงิน ไม่ได้แจกบัตรจอดรถ ไม่มียามเฝ้าที่จอดแล้ว บนพื้นฐานข้อเท็จจริงตามที่กล่าวมาถ้าไม่มีพฤติการณ์อื่นแทรกเข้ามาก็เท่ากับว่าพ้นความรับผิดไปแล้วครับ ส่วนใหญ่ห้างในปัจจุบันที่ดำเนินการลักษณะนี้แทบจะเรียกร้องให้เขารับผิดไม่ได้แล้วเพราะเค้าป้องกันตัวเองอย่างเต็มที่ครับ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
มีแต่ได้กับได้จริงๆ ไม่ต้องแจกบัตร ไม่ต้องเสียตังจ้างพนักงาน + รปภ ไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องรถหาย
ผมมองว่านี่เป็นความผิดพลาดของกลุ่มผู้บริโภคเองนั่นแหละที่มีปัญญาโหมกระแสเอาเรื่องเค้าเป็นครั้งๆไปตามสื่อเล่นข่าว แต่ไม่มีปัญญารักษาสิทธิตนเองในระยะยาวเวลาสื่อมันหายหัว
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ถูกต้องครับ ขึ้นอยู่กับคำพิจารณาของศาล แต่บางครั้งศาลก็ตัดสินให้ไม่ต้องรับผิดชอบ (คนรู้จักเคยแพ้คดี)
@TonsTweetings
หนึ่งอย่างที่ sony กล้าเปลี่ยนเงื่อนไข policy แบบนี้ก็คือ คนส่วนมากมักกด Next ทันทีที่เห็นตัวอักษรเยอะๆ ไม่ยอมอ่านเงื่อนสัญญาก่อนลงนาม หรือ ตกลง เรียกว่าใช้ความมักง่ายของคนเป็นประโยชน์แก่ตัวเองมากกว่า
ไปเจอรูปนี้เข้า
ใช่เลย!
ปากดีจริงนะ
ถ้าของเอ็งเจ๋งจริง ทำไมต้องเขียนกฎเส็งเคร็งอย่างนี้ดักไว้ด้วยวะ
ถูกจำกัดเหลือวันละ 2 คอมเมนต์จากพฤติกรรมไม่สุภาพ
lewcpe.com, @wasonliw