ผลการศึกษาขององค์กร Carbon Disclosure Project (CDP) รายงานว่า บริษัทที่ใช้บริการกลุ่มเมฆสามารถลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 50% และจากการวิเคราะห์ข้อมูลของหน่วยงานที่ใช้บริการกลุ่มเมฆทั้งในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา มาเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ทาง CDP ทำนายว่าหากบริษัทต่างๆย้ายไปใช้บริการกลุ่มเมฆ ในปี ค.ศ. 2020 บริษัทในสหรัฐอเมริกาที่มีรายได้สูงกว่า 1 พันล้านเหรียญต่อปีจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ถึง 12.3 ล้านเหรียญต่อปีและลดปริมาณคาร์บอนได้เทียบเท่าการใช้น้ำมันถึง 200 ล้านบาร์เรล ส่วนบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหราชอาณาจักรจะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้มากกว่า 1 พันล้านปอนด์ต่อปี
ที่มา - Reuters ท่านที่สนใจสามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ Carbon Disclosure Project
Comments
บริษัทลดการปล่อยคาบอนไป 50% แต่ไปเพิ่มที่ผู้ให้บริการกลุ่มเมฆหรือเปล่าครับ
อยากรู้ว่าโดยรวมทั้งบริษัทและผู้ให้บริการ มันลดไปได้เยอะหรือเปล่า
คิดไปคิดมา ก็คล้ายๆ กับผลักมลพิษให้ไปที่อื่น เช่น รถยนต์ hybrid ที่ผลักมลพิษจากน้ำมันไปอยู่กับแบตเตอร์รี่แทน
เป็นคำถามที่ดีครับ ตอบแบบสั้นๆก่อนว่า เป็นไปได้ แต่ผู้ให้บริการเขามีวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวครับ
ผู้ให้บริการกลุ่มเมฆเองเขาก็ต้องลดต้นทุนพลังงานด้วยเช่นกัน โดยปกติแล้ว ศูนย์ข้อมูลทั่วไปๆจะมีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้พลังงานไฟฟ้าและระบบทำความเย็นไม่ต่ำกว่า 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการรันศูนย์ข้อมูลเลยก็ว่าได้ และต้นทุนของอุปกรณ์ไอทียังน้อยกว่าต้นทุนพลังงานที่ต้องรันระยะยาว (เช่น 3 - 4 ปี) ยิ่งถ้าศูนย์ข้อมูลใหญ่มากๆก็ต้องทุ่มต้นทุนพลังงานเยอะขึ้นตาม และมากไปกว่านั้น ในบางประเทศ/บางรัฐ มีการปรับค่าภาษีคาร์บอนกับพวกที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเยอะๆ อย่างที่ Colorado เคยคิดค่าภาษีคาร์บอนสูงถึง 0.49 เหรียญต่อไฟฟ้า 1 ยูนิต
จากปัญหาต้นทุนพลังงานนี่เอง ผู้ให้บริการกลุ่มเมฆก็ต้องการลดต้นทุนเองด้วย ดูได้จากกรณีของกูเกิล (ข่าวเก่า) และไมโครซอฟท์ (ข่าวเก่า) และ (ข่าวเก่า) ซึ่งต่างค้นหาวิธีลดต้นทุนพลังงาน และคิดค้นวิธีทำความเย็นแบบใหม่ๆ เช่น ใช้สมาร์ทมิเตอร์และสมาร์ทกริดเพื่อควบคุมการซื้อขายไฟฟ้า, ตั้งศูนย์ข้อมูลในทำเลที่เย็นๆ, ใช้น้ำจากแม่น้ำระบายความร้อน, ตั้งศูนย์ข้อมูลแบบไร้หลังคาบนพื้นที่หลายเอเคอร์ เป็นต้น อีกทั้งค้นหาพลังงานทางเลือกอย่างพลังงานแสงอาทิตย์และกังหนลม และยังมีการคิดค้นวิธีการเปิดปิดและปรับ clock speed ของเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงการใช้เทคโนโลยี virtualization เป็นต้น
หากคำนึงถึงค่า PUE ซึ่งเป็นค่าของอัตราส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้อุปกรณ์อย่างอื่น (เช่น ระบบทำความเย็นและแสงสว่าง) ต่อพลังงานที่ใช้กับอุปกรณ์ไอที (ยิ่งค่าสูงก็แปลว่าไม่คุ้มค่าลงทุน) โดยปกติแล้ว ศูนย์ข้อมูลทั่วไปจะมี PUE มากกว่า 2 แต่ผู้ให้บริการกลุ่มเมฆหลายเจ้าสามารถดำเนินศูนย์ข้อมูลของตนให้ได้ PUE ต่ำกว่า 2.0 อย่างกูเกิลก็ทำได้ที่ 1.15 (อ้างอิง) ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ศูนย์ข้อมูลทั่วไปจะทำได้
การดูแลศูนย์ข้อมูลที่คำนึงถึงการลดต้นทุนพลังงานดังที่กล่าวมานั้น จำเป็นต้องลงทุนมหาศาลและใช้ผู้เชี่ยวชาญ เช่น ซื้อพื้นที่ตั้งศูนย์ข้อมูล ลงทุนระบบทำความเย็นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ ลงทุนกับพลังงานทางเลือก เป็นต้น เป็นไปได้ที่ลูกค้าจะลงทุนพัฒนาศูนย์ข้อมูลให้ได้อย่างผู้ให้บริการก็จริง แต่ปัญหามันจะย้อนกลับมาในเรื่องของ total cost of ownership (TCO) ที่ลูกค้าเองต้องการจะลดเช่นกัน หากแต่ผู้ให้บริการกลุ่มเมฆเขาทุนหนาพอและเหตุผลเพียงพอที่จะลดต้นทุนด้วย economies of scale
My Blog
ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูล ผมก็ลืมคิดถึงข้อนี้ไป คือการที่ใช้บริการกลุ่มก้อนเมฆนั้น ผู้ให้บริการจะเป็นผู้พัฒนาระบบมาเพื่อลดต้นทุนพลังงาน
วิศกรเค้าคิดหัวแถบผุ ก็ว่ายังไปจะว่าเค้าอีกนั้น
ผมว่าเค้าถามออกแนวอยากรู้มากกว่านะครับ
ผมหมายถึงรถ hybrid นะ55
อ่าวเหรอครับ 555
แบตเตอร์รี่รถยนต์ Hybrid รีไซเคิลได้ % สูงมากเลยนะครับ ผมอยากลองขับ prius อยู่เหมือนกันเคยแต่ลอง camry hybrid เครื่อง 2400 ผลวิ่งระยะ 7X กิโลฯ ขึ้นทางด่วนถึงบ้านผมผลออกมา 19.8 km/l ซึ่งผมว่ามันคุ้มนะ honda city เครื่อง 1500 (หรือ 1600 นี่แหละผมไม่แน่ใจ) ส่วนมากผมยังขับได้ 17.X km/l เอง
ขอบคุณมากครับ แต่ที่ผมโพสไปนั้นคือการย้ายมลพิษไปอยู่ที่อื่นเฉยๆ ครับ อาจมีวิธีการจัดการกัลมลพิษก้อนใหม่ง่ายกว่าเดิม ไม่ใช่ว่าไม่ช่วยลดมลพิษเลยครับ
ปล. ผมเองก็อยากขับ prius อยู่เหมือนกันครับ เพียงแต่ยังไม่มีงบ (ฮ่า)
ผมเข้าใจว่าเขาคำนวนไปแล้วว่ามันลดลงนั่นแหละครับ เพราะการที่มันไปอยู่ที่เดียวกัน ใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกันกันได้ มีการบริหารอย่างเป็นระบบ มันมีจุดได้เปรียบที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ลดการใช้พลังงานทั้งหมดลง
ผมไม่เข้าใจเลยว่าทำไมถึงชอบมีคนที่อยู่ๆก็คิดขึ้นมาว่า "มันไม่ได้ลดจริงมั้ง พวกนี้มันแต่งตัวเลขหลอกเราให้ดีใจ"
ถ้าไม่เชื่อก็ช่วยไปอ่านดีๆก่อนค่อยมาสงสัยก็ยังทันนะครับ ไม่ใช่อยู่ๆก็อยากสวนกระแสให้เด่นเล่นแบบนี้
รถยนตร์ไฮบริดมันผลักมลพิษไปอยู่กับน้ำมัน ก็จริง แต่เขาออกมาพูดโดยคำนวนแล้วว่ามันลดหมดแล้วครับ เพราะมันบริหารการใช้พลังงานให้เหมาะสมระหว่างน้ำมันกับไฟฟ้า ทำให้มันลดการใช้พลังงานโดยรวมได้ แม้จะคิดไปถึงว่ามันไปปล่อยมลพิษที่โรงไฟฟ้า แต่ถ้าคำนวนแล้วมันก็ยังลด เขาถึงได้โฆษณากัน (และโรงไฟฟ้าก็มีหลายแบบอีกต่างหาก นิวเคลียร์ก็ไม่ได้ปล่อยมลพิษ)
ผมว่าความคิดนี้แหละมักง่ายยิ่งกว่าตัวนิวเคลียร์เองซะอีก
และคุณไม่คิดมั่งเหรอว่าพลังงานอย่าอื่นที่ปล่อยมลพิษจริงๆจังนี่แหละมักง่ายยิ่งกว่านิวเคลียร์อีก
พลังงานแสงอาทิตย์ยิ่งมักง่ายสุดๆ เพราะเห็นสะอาดนักสะอาดหนา แต่โรงงานผลิตโซล่าร์เซลล์นี่แหละมลพิษตัวพ่อ
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdNVEl6TVRJMU13PT0=§ionid=TURNeU5nPT0=&day=TWpBeE1DMHhNaTB5TXc9PQ==
พลังงานทางเลือก ที่มันเป็นแค่ทางเลือก เพราะให้ตายมันก็ไม่พอครับ
พลังงานแสงอาทิตย์แบบใช้ความร้อน บำรุงรักษายากนะครับทำเล่นไป ทำแล้วได้พลังงานไม่คุ้มทุน แถมไม่เสถียรด้วย(ฟ้ามืดก็เน่า) เขาถึงไม่ทำกัน
ถ้าเกิดวิกฤติขึ้นมา รอบบ้านเขาเลิกขายเพราะคิดแบบเรา ไปปิดโรงไฟฟ้าให้ใช้เท่าที่จำเป็น ใครเน่าครับ? ก็เรานี่แหละ
ในขณะที่ต่อต้านกันจะเป็นจะตาย รอบบ้านเขาก็สร้าง ถ้าเกิดระเบิดก็โดนบ้านเราอยู่ดี
ผมว่าผมคิดถึงโรงไฟฟ้าที่มักง่ายแล้วนะ เจอความคิดที่ว่า ไม่ต้องสร้าง ซื้ออย่างเดียว มักง่ายยิ่งกว่าอีกแฮะ
network บ้านเราไม่เร็วพอ และเวลา down ก็หายไปนาน