ถึง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี, และนาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
จากเหตุการณ์ซึ่งมีผู้ส่ง SMS ไปที่โทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข แล้วมีการบุกจับนายอำพล [สงวนนามสกุล] ดำเนินคดี จนกระทั่งศาลอาญามีคำพิพากษาในสัปดาห์ที่ผ่านมา
คดีนี้อาศัยหลักฐานสำคัญคือ บันทึกการใช้งาน (log) หมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ (IMEI) จากผู้ให้บริการคือ DTAC และ Truemove เพื่อลงโทษนายอำพล ทีมงาน Blognone เห็นว่า คดีนี้ มีปัญหาว่า พยานหลักฐานดังกล่าว เพียงพอในการพิสูจน์ว่า นายอำพลเป็นผู้ส่ง SMS 4 ข้อความที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ เนื่องจากหมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ (IMEI) นั้น น่าจะไม่ใช่หลักฐานที่แน่ชัดในการระบุถึงเครื่องโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในการกระทำความผิดหรือระบุถึงตัวผู้กระทำความผิด เพราะ หมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ (IMEI) สามารถปลอมแปลงได้โดยง่าย
การปลอมแปลงตัวบุคคลเพื่อทำความผิดเป็นเรื่องปกติในวงการอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ตัวอาชญากรมักปลอมแปลงตัวเองเพื่อใช้งานเครือข่ายของเหยื่อ ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อปกปิดตัวเองก่อนการเข้ากระทำความผิดจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการแอบเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ผู้อื่นเพื่อโจมตีเครือข่าย หรือคอมพิวเตอร์ปลายทาง การแฮกจำนวนมากก็อาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการรักษาความปลอดภัยหละหลวม บางครั้งอาจจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ หลายๆ เครื่องเพื่อนัดโจมตีพร้อมกันเพื่อสร้างความเสียหายให้มากขึ้น โดยที่เครื่องของผู้กระทำผิดไม่ได้ส่งข้อมูลโดยตรงไปยังเครื่องที่ถูกโจมตีเลย
แม้บันทึกการใช้งาน (log) หมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ (IMEI) จากผู้ให้บริการจะเป็นหลักฐานสำคัญในการนำสืบเพื่อหาตัวคนร้าย แต่ในทางวิชาการคอมพิวเตอร์ หลักฐานนี้ไม่แน่ชัดและไม่เพียงพอในการระบุตัวผู้กระทำความผิดได้จริง เจ้าหน้าที่ควรต้องหาหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อให้ระบุตัวคนร้ายได้อย่างแน่ชัด แต่จากคดีของนายอำพล เจ้าหน้าที่กลับอาศัยหลักฐานเพียง บันทึกการใช้งาน (log) หมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ (IMEI) ของผู้ให้บริการ เพื่อจับกุมและดำเนินคดี
หมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ (IMEI) นั้น ไม่อาจป้องกันการปลอมแปลง และมันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อยืนยันตัวบุคคล เราสามารถหาหมายเลข IMEI จากข้างกล่องโทรศัพท์มือถือที่วางขายตามร้านค้า สามารถหาได้จากสติกเกอร์ที่แปะอยู่บนกล่องเครื่องโทรศัพท์มือถือ สามารถตรวจสอบจากหมายเลขพิเศษที่ใช้ขอดูหมายเลข IMEI โทรศัพท์จำนวนมากมีหมายเลข IMEI แปะเป็นสติกเกอร์ไว้ในช่องแบตเตอรี่ ผู้ร้ายสามารถหาหมายเลข IMEI ของผู้อื่นในแบบที่เจาะจงหรือไม่เจาะจงเพื่อเปลี่ยนหมายเลขให้ตรงกับเครื่องที่มีการใช้งานจริงได้โดยง่าย หรือแม้กระทั่งเคยมีรายงานว่า ผู้ผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานบางรายผลิตเครื่องโทรศัพท์มือถือโดยใส่หมายเลข IMEI ซ้ำซ้อนกัน
เพราะความน่าสงสัยมากมายเช่นนี้ เฉพาะหมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ จึงไม่น่าจะเป็นหลักฐานที่แน่ชัดเพียงพอในการพิสูจน์ความผิดผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยได้ ทีมงาน Blognone มองว่าเจ้าพนักงานสอบสวนไม่ควรใช้แค่ข้อมูลหมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือเป็นหลักฐานในการจับกุม, ฟ้องร้อง, ตลอดจนคัดค้านการประกันตัวจนกระทั่งผู้ต้องหาถูกกุมขัง ไม่เช่นนั้นแล้วมาตรฐานเช่นนี้อาจทำให้เกิดการใส่ความไปมาได้เป็นวงกว้าง ทั้งอาจทำให้มีผู้ถูกกุมขังระหว่างการสอบสวนโดยเป็นเหยื่อของผู้ร้ายอีกทีหนึ่ง
เราไม่ทราบว่า มีคดีอีกกี่คดีที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดี ด้วยหลักฐานที่ไม่แน่ชัดไม่เพียงพอในระดับเดียวกัน และมีผู้ต้องหาและผู้ถูกคุมขังจากคดีดังกล่าวกี่คน ทีมงาน Blognone เสนอให้รัฐบาลเยียวยาผู้ต้องหาและผู้ถูกกุมขังดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ด้วยมาตรการต่อไปนี้
การใช้อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต รัฐบาลต้องดูแลไม่ให้เกิดความหวาดกลัวในการใช้งาน คุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้งาน ทั้งจากการถูกโจมตี และจากการตกเป็นจำเลยเสียเองโดยไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด
วสันต์ ลิ่วลมไพศาล
อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์
ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์ Blognone.com
Comments
ศ - เมื่อวันที่xxx มีคนเห็นรถคุณขับไปชนคน คุณจะยอมรับผิดมั้ย
ตาแก่ - โอ้ยวันที่xxx ผมเอารถผมอยู่ที่อู่แล้วมันจะไปชนได้ยังไง
ศ - อู่ไหน เดี๋ยวผมไปตรวจให้
ตาแก่ - เออ.... จำไม่ได้ครับ
ศ- แถมเลขทะเบียนรถที่ชนนี่ก็ตรงกับรถที่คุณเป็นเจ้าของอีก
ตาแก่ - เลขทะเบียนมันปลอมกันได้นะครับ อาจจะเป็นคนอื่นใส่ร้ายก็ได้
พอเอามาเทียบดูอย่างนี้ ผมว่าไอ้ที่ว่าอีมี่หลักฐานอ่อนมันงี่เง่าน่ะ.
ให้ลองคิดดูว่าถ้าคุณเป็นผู้บริสุทธิ์จริง แล้วเกิดกรณีที่คุณยกตัวอย่างมา
คุณคิดว่ามันงี่เง่ามั้ยครับ?
ผมว่าที่งี่เง่ามากกว่า คือการอ้างอิงว่าหลักฐานอ่อน เพราะอ้างอิงจากแหล่งที่ไม่เหมาะสม เชื่อถือไม่ได้มากกว่าครับ
คดีนี้ทนายจำเลย (เคยขึ้นเวที No.112) ต่อสู้เรื่อง อีมี่ปลอมกันได้ ซึ่งผมก็ยอมรับว่าปลอมได้
แต่เอาข้อมูลจาก wiki ที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะใครก็แก้ไขได้
แทนที่จะเอาข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือกว่านี้ หรือจากผู้เชี่ยวชาญ
หรือคิดอีกแง่ ทนายจำเลย วางยา เพื่อชงประเด็นเปิดทางแก้ ม.112 ???
หลักฐาน เพื่อมีคนถามหาหลักฐาน
ทนาย อานนท์ นำภา สดุดีวีระชน 19 7 2011
http://www.youtube.com/watch?v=e_v3Rr3o0dk
http://www.youtube.com/watch?v=WahklkCLYIs
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322659438&grpid=01&catid=&subcatid=
ถ้าผมเป็นผู้บริสุทธ์
ผมจะไม่โกหกแต่แรกว่าเอารถไปเข้าอู่.
นั่งอ่านตั้งแต่ต้นจนจบตีความได้ว่า (ในความเข้าใจผมถ้ามีอะไรผิดก็แย้งได้นะครับ)
สิ่งที่เรียกร้องคือ IMEI สามารถปลอมแปลงได้ ไม่ควรเอา IMEI มาระบุเพราะอ่อนเกินไป
ต่อให้ IMEI ไม่ได้ปลอมแปลง เครื่องของอากงเป็นคนส่งออกเอง ก็ไม่สามารถระบุได้ว่า อากง เป็นคนส่ง SMS
สิ่งที่ผมสงสัยและขอถามมีดังนี้ครับ
ถ้าผมมีรถ 1 คัน มีทะเบียนแปะอยู่ วันนึงมีคนแจ้งตำรวจว่าถ่ายรูปรถยี่ห้อรุ่นและทะเบียน เดียวกับรถผมได้ โดยชนคนตายแล้วหนีไป
กรณีนี้ผมจะสามารถอ้างได้มั้ยว่า เฮ้ย ทะเบียนน่ะมันปลอมแปลงง่ายจะตาย รถรุ่นผมมันก็มีคนขับเยอะแยะเต็มไปหมด
ผมเดาว่า ผมคงไม่สามารถเอาเหตุผลนี้มาอ้างเพื่อให้หลุดจากข้อกล่าวหาได้
สิ่งที่ผมจะต้องทำคือ ผมต้องยืนยันตัวตนให้ได้ว่า ในวันและเวลาที่เกิดเหตุนั้น รถของผมอยู่ที่ไหน และตัวผมเองอยู่ที่ไหนใช่หรือไม่ครับ
แล้วถ้าในรูปถ่ายหลักฐานมีเพียงแค่ รถของผมทะเบียนรถของผม แต่ไม่ได้เห็นว่าใครเป็นคนขับ ผมซึ่งเป็นเจ้าของรถจะต้องรับโทษหรือไม่ครับ
ลองมองรถเป็นมือถือ IMEI สามารถปลอมแปลงได้ = ทะเบียนสามารถปลอมแปลงได้ แล้วจะบอกว่าเอาหลักฐานนี้มาอ้างไม่ได้ ผมว่าไม่ถูกครับ
ถ้าสามารถพิสูจน์ได้จริงว่า IMEI และเบอร์ที่ส่ง sms เป็นมือถือของอากง เพราะทั้ง รุ่นและทะเบียนตรงกัน เจ้าของเครื่องควรจะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ออกไปจากเครื่องนั้นหรือไม่ครับ
สุดท้ายนี้ขอเพิ่มอีก 1 คำถามว่า หลักฐานอะไรถึงคิดว่าจะเพียงพอที่จะบอกว่า อากงเป็นคนทำผิดครับ ต้อง Video ถ่ายชัดเจนให้เห็นว่า อากงยืนพิมพ์ SMS โดยใน video เห็นชัดทั้งใบหน้า และตัวหนังสือบนโทรศัพท์ และมีเวลากำกับที่แน่นอน เท่านั้นเหรอครับถึงจะเอาผิดได้
ในความคิดผม เจ้าของเครื่องก็ต้องรับผิดชอบในข้อความที่ออกไปจากเครื่องนั้นๆ และถ้ามันสามารถปลอมแปลงข้อมูล IMEI ได้จริงและมีคนทำได้จริง เจ้าของเครื่องก็ต้องสามารถหาหลักฐานมายืนยันแก้ต่างได้ว่า ตนเองไม่ได้ทำ
ประเด็นมันอยู่ตรงนี้ใช่มั้ยครับที่ถกเถียงกัน
กาหัวไว้ว่า ผิด ไปก่อน ต้องหาหลักฐานมาแก้ต่างว่าตัวเองบริสุทธิ์
กับ
กาหัวไว้ว่า ถูก ไปก่อน จนกว่าจะหาหลักฐานมาได้ว่าผิดจริง
ซึ่งผมมองว่า หลักฐานก็มีแล้วเรื่อง IMEI และ Log ถึงแม้ว่าหลักฐานนี้จะมีคนบอกว่าปลอมแปลงได้ แต่ถ้ามันปลอมแปลงจริง ก็จะต้องมีหลักฐานจาก IMEI และ Log ของจริงที่ไม่ได้ปลอมแปลง เพื่อยืนยันได้ว่า อากงบริสุทธิ์ไม่ใช่เหรอครับ
ผมก็เห็นตามนี้ครับ
อีมี่ปลอมได้ ทนายจำเลย (ที่เคยขึ้นเวที No 112) หากไม่ได้ตั้งใจวางยา เพื่อให้ประเด็นนี้เปิดทางแก้ ม.112
ควรจะนำหลักฐานอื่น ไปยืนยัน เป็นหลักฐาน มากกว่า ข้อมูลจาก wikipedia ที่ใครๆก็แก้ไขได้ ซึ่งมันไม่น่าเชื่อถือในชั้นศาล
แทนที่จะหา paper / reference / ผู้เชี่ยวชาญ มา
IMEI เป็นได้แค่ทะเบียน นะครับ
ไม่สามารถบอกได้แม้แต่ชื่อรุ่นหรือชนิดของรถเลยด้วยซ้ำ อย่าว่าแต่มีคนเห็น เพราะคนไม่มีทางเห็น
กระบวนการทั้งหมดที่ทำได้กับป้ายทะเบียนคือนำสืบครับ มันไม่ใช่ว่าป้ายทะเบียนเป็นหลักฐานไม่ได้ แต่มันเป็นหลักฐานที่ใช้สืบได้เท่านั้นว่าใครน่าจะเป็น ก่อนที่จะหาพยานหลักฐานอื่นๆมาเสริมจนแน่ใจว่าเป็นคนๆนั้นจริงๆ
การที่คุณต้องไปยืนยันถึงศาลว่า ณ วันว.เวลาน. คุณใช้รถของคุณอยู่ ไม่ได้รู้เรื่อง ก็ต่อเมื่อหลักฐานของฝ่ายโจทก์พร้อมมูลแล้วว่าเป็นคุณ แล้วส่งฟ้อง รับคำฟ้องเรียบร้อย ไม่งั้นคุณไม่น่าจะต้องขึ้นศาลด้วยซ้ำ
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือมีแต่ล็อก EMEI และ CellSite (ไม่รู้ด้วยซ้ำเก็บล็อกละเอียดแค่ไหน และศาลก็อุตส่าห์ช่วยยืนยันว่า "ไม่จำเป็นต้องไปสงสัยระบบเก็บล็อก เพราะถ้าเก็บล็อกไม่ดี คนก็ย่อมไม่เชื่อถือ" อันนี้ผมก็อยากบ่นว่ามันคือ Cicular Logic, แต่มันนอกประเด็น) ซึ่งตอนนี้ก็มีคนไอทีที่อยากจะบอกว่ามันมีช่องโหว่ซะยิ่งกว่าทะเบียนรถซะอีก
และที่สำคัญก็คือ ตัวอากงเอง ก็มีเหตุผลแก้ต่างอีกหลายข้อ ทำให้ศาลเองก็ยอมรับว่าไม่มีข้อยืนยันแน่ชัด แต่กลับอ้างถึง "เจตนาที่อยู่ภายใน" ซึ่งคิดเองเออเอง แบบนี้มันหมายความว่าอะไร? บางทีถ้าศาลไม่อ้างแบบนี้อาจจะยอมรับได้มากกว่า
และ ใช่ครับ ถ้าไม่มีวิธียืนยันที่เป็นแบบแผนยอมรับได้ระดับเดียวกับมีวิดีโอยืนยันว่าอากงกำลังกด SMS ต่อให้อากงทำจริง ก็ควรปล่อยไปครับ จุดสำคัญที่หลายคนกำลังพูดถึงคือ มาตรฐาน ที่เขาเรียกว่า ปล่อยโจร 10 คน ยังดีกว่าจับคนบริสุทธิ์คนเดียว
ถ้าเห็นว่านี่คือปัญหา จากนี้ไปเราก็ควรรีบพัฒนาวิธีการที่ยืนยันที่ชัดเจนกว่านี้ เพื่อที่จะได้ตามจับได้อย่างแน่นอนไม่มีผิดตัว
ข้างบนมีคนยกเอากฏหมายข้อนึงเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ในกฏหมายไทยระบุชัดว่า คดีอาญา มันต้องทำอย่างหลังเท่านั้นครับ
งั้นผมเข้าใจว่า
IMEI เป็นตัวช่วยนำสืบไปถึงอากง ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องได้
แต่ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานว่า อากง เป็นคนส่ง sms เองจริงหรือไม่ใช่หรือเปล่าครับ
ถ้าเป็นรถก็คือเค้าจะตามหาเจ้าของทะเบียนให้ได้ก่อนว่า เจ้าของรถเป็นใครอยู่ที่ไหน
ถึงแม้เจ้าของรถไม่สามารถระบุได้ว่า ช่วงเวลาเกิดเหตุ เจ้าของรถทำอะไรอยู่ที่ไหน
กรณีเดียวกับ อากง คือไม่สามารถบอกได้ว่า ตอนส่ง sms อากง ทำอะไรอยู่ที่ไหน
จากที่บอกมา อ้างอิง "กาหัวไว้ว่า ถูก ไปก่อน" เท่ากับว่า หลักฐานไม่เพียงพอที่จะบอกว่า อากงเป็นคนผิด ใช่หรือเปล่าครับ
พอดีไม่ค่อยเข้าใจกฎหมาย งั้นขอถามต่ออีกซักหน่อย การที่ตัดสินว่าตัวอากงผิด เค้าใช้หลักฐานและอ้างว่ายังไงครับ ขอย่อๆคร่าวๆก็ได้ครับ
(ความเห็นส่วนตัว กฎหมายพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่จับคนที่ไม่ได้ทำผิด แต่มันกลายเป็นช่องให้คนที่ทำผิดหาทางทำให้ตัวเองพ้นข้อกล่าวหาได้ด้วยเหมือนกันสินะ)
เท่าที่ผมเห็นคำยืนยันของหลายๆคนในนี้ ผมก็มั่นใจว่า ใช่ครับ ตามหลักการควรจะเป็นอย่างที่คุณว่า
เอาจริงๆปัญหาตอนนี้คือ คดีเกี่ยวกับ IT มันยังเป็นของใหม่ ยังไม่มีมาตรฐานแน่ชัด และ คดีอากงกำลังจะกลายเป็นบรรทัดฐานให้คดีแนวเดียวกันที่จะเกิดขึ้นต่อๆไป
จากที่หลายๆคนในข่าวนี้อธิบายมา ผมก็เห็นว่า ประเด็นสำคัญจริงๆคือ เราอาจจะต้องหาทางสร้างวิธีการใหม่เพื่อเป็นบรรทัดฐาน อาจจะต้องมีการใช้เครื่องมือตัวใหม่หรืออะไรก็ตามแต่ แต่ที่น่าจะเห็นพ้องต้องกันจนต้องเขียนจดหมายเปิดผนึกคือวิธีการเท่าที่เปิดเผยออกมาครั้งนี้มันก็ใช้ไม่ได้
มันเรื่องธรรมดาครับที่คนผิดจริงก็พยายามซิกแซ็กหาช่องโหว่ในกฏหมาย ซึ่งปรากฏว่าจริงๆแล้ว กฏหมายแรงไป ครอบคลุมไป เหวี่ยงแหไป ก็เท่านั้น ยังไงมันก็มีช่องโหว่ แล้วกลายเป็นว่ามันไปจับคนบริสุทธิ์ซะมากกว่า เพราะโจรจริงๆมันเตรียมแผนให้หลักฐานชี้ไปที่คนบริสุทธิ์ได้ด้วย และถ้าตำรวจตามไม่ทัน คนบริสุทธิ์ก็ต้องเข้าคุก กลายเป็นแนวร่วมมุมกลับว่า กฏหมายปกป้องคนบริสุทธิ์ไม่ได้ กลับทำร้ายคนบริสุทธิ์ซะอีก
คดีอาญาถึงได้ออกกฏข้อนี้ไว้ว่า ถ้าไม่สามารถมัดตัวจนดิ้นไม่หลุด ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
กฏหมาย มีไว้รักษาความสงบเรียบร้อย หรือมีไว้ปกป้องคนในสังคม?
ฟังดูเหมือนจะใกล้เคียงกัน แต่จริงๆมันก็ต่างกันครับ บางทีมันก็ไม่ได้ไปด้วยกัน แล้วเราอยากจะเลือกทางไหน?
ตามลิงค์เลย http://ilaw.or.th/node/1229
IMEI คงปลอมกันง่ายจริงๆนะ + Log จาก Operator คงไม่น่าเชื่อถือ ก็เลยนึกสงสัย ทำไม พวกจ้องล้มสถาบัน ไม่ใช้วิธีนี้ในการโจมตีสถาบันมาตั้งนานแล้วล่ะ หรือ เขาทำ แต่ไม่มีใครไปแจ้งความ เพราะ คิดว่า SMS ของพวกโรคจิต วิปลาส เลยทำให้ คดีอากงเป็นคดีแรกที่เป็นการหมิ่นสถาบันผ่าน SMS ได้ยินว่า รมต.ICT บอก พวกหมิ่นสถาบัน อยู่เมืองนอก เมืองนา กัน ตามจับยาก และ ต่อไปคงใช้วิธีนี้กันมากขึ้นแน่ๆ หึหึ เพราะมันง่ายดี ปลอม IMEI
ไม่ทราบว่าไม่ได้ตามข่าวหรือไงครับเรื่องจ้องล้ม เขาก็กระทุ้งๆเรื่อยๆแหละครับ ถ้ากระแสไม่เอาด้วยมันก็มุดลงรูไปแล้วออกมากระทุ้งๆใหม่ เหมือนไอ้คดีนี้นี่แหละ คือการกระทุ้งครั้งล่าสุดซึ่งเริ่มจะหนักข้อขึ้น
ขอแตกประเด็นหน่อยนะครับ
internetสมัยนี้เริ่มมีอิทธิพลกับโลกจริงๆมากขึ้น
ทั้งอำนวยประโยชน์และเป็นปัญหามากขึ้น
ในกรณีปัญหาที่เกิดจากเทคโนโลยี่ใาเกี่ยวข้องแล้วไปกระทบความผิดของกฏหมาย
ว่า จะให้หลักฐานมีเท่าไรจึงจะเพียงพอ, หลังฐานที่ปลอมแปลงได้จะทำอย่างไร, การระบุตัวตนควรมีมากในระดับใด
เช่น"สมมติ"ให้เสนอกว่า
แน่นอนอุปกรณ์ต้องรองรับตรงนี้
( แต่เรื่องซื้อSMSต้องใช้บัตรเครดิตนี่เห็นประกาศแล้วแต่ไม่ปฏิบัติหรือยังไง เพราะผมก็ซื้อได้โดยไม่โชว์บัตรประชาชน ไม่งั้นกรณีคดีข้างบนคงมีหลักฐานการซื้อsmsยืนยันแก้ต่างได้)
2.operatorต้องเก็บพิกัดมือถือแต่ละคน ด้วยความระเอียดที่เรารับได้ เช่นผิดพลาดไม่เกิน 10เมตรหรือ100เมตร ทางเทคนิคทำได้อยู่แล้ว
3.ผู้ใช้netต้องมีIPประจำตัว ไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่ากรณีใดๆ ไม่ว่าอุปกรณ์ไหน ตรงนี้อาจจะปลอมแปลงได้อยู่ดี แต่ก็ตีกรอบการสืบสวน
4 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานต้องบันทึกกิจกรรมการใช้งานระเอียดระดับใด เวลาใช้ก็ต้องเสียบบัตรประชาชนหรือลายนิ้วมือหรือมีกล้องถ่ายหน้าตอนเข้าใช้หรือไม่ และพร้อมที่จะให้เจ้าหน้าที่ตรวจถ้ามีศาลตลอดเวลา และเพื่อการปลอมแปลงและบังคับใช้กฏเป็นไปได้จริง ก็ต้องบังคับspecคอมพ์บางอย่าง หรือลงทะเบียนคอพิวเตอร์ รวมถึงบังคับใช้OSที่รัฐกำหนด (ได้เห็น OSแห่งชาติ computerแห่งชาติก็คราวนี้แหละ)
5 คนที่ครอบครองอุปกรณ์ปลอมแปลงIMEI ให้ออกกฏถือมีความผิดเหมือนคนทำบัตรประชาชน/ทะเบียนรถปลอม
ลองช่วยกันคิดดูครับ
ถึงเราไม่คิด พอมีปัญหาบ่อยๆจะมีคนอื่นเช่นนักกฏหมายราชการที่ไม่รู้เรื่องคิดกฏแทนเราจะโวยวายยาก
หลายๆข้อ อาจจะมีใครมีความคิดดีๆออกมา อย่าเพิ่งโวยวายว่าข้อนั้นข้อนี้ไม่ดี ไม่งั้นจะไม่มีใครกล้าโพส
เพราะกฏใหม่ทุกอย่างต้องมีผลกระทบ แน่นอนกระทบเสรีภาพการใช้internet ที่หลายคนหวงแหนมากกว่าไข่ในหิน
ผมใช้internetมา20กว่าปี ก็ชอบและเสพเสรีภาพเหมือนๆกัน
แต่เพราะมันมีอิทธิพลที่จะกระทบสังคม เราก็ต้องหาวิธีออกกฏที่จะรับผิดชอบสังคมได้
ขอพลีชีพโพสอีกแง่มุมหนึ่ง แม้จะอาจะตรงข้ามกับความคิดเราๆท่านๆยามปรกติ
ตรงนี้แหละครับที่เป็นปัญหาในต่างประเทศ เรื่องของความเป็นส่วนตัว = ="
ทุกอย่างล้วนเป็นดาบสองคมครับ รัดกุมมากไปก็ไม่มีใครอยากได้ ปล่อยมากไป ก็ใช้ไม่ได้
อยากให้มองในเรื่องของน้ำหนักของหลักฐานนะครับ ผมเชื่อว่า Blognone ไม่ได้เข้าข้างใครทั้งสิ้น อย่างที่เห็นแหละครับ มันต้องมีคนไม่ชอบบ้างอยู่แล้ว แต่ต้องเข้าใจมุมมองนะครับว่าอีกฝ่ายหรือคนที่เราคุยด้วยเค้ามองตรงไหน อย่างตรงนี้ Blognone มองแต่ตัวหลักฐานอย่างเดียว ไม่ได้บอกหรือแสดงเจตนาเรื่องของความไม่จงรักภักดีนะครับ ออก Grand-line กันไปใหญ่เลย เลิกอ่าน One Piece กันซักพักมั้ย (เกี่ยวตรงไหนฟระ)
ผมเห็นด้วยกับความคิดนี้ครับ
ถ้าเครื่องมือมันไม่พอ บางทีก็ต้องยอมรับความจริง แล้วสร้างเครื่องมือใหม่ ไม่ใช่ฝืนยัดเยียดว่ามันใช้ได้
เราต้องคิดถึงอนาคต เราใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาได้ถ้าเรารู้จักคิด
วิธีที่คุณแนะนำผมก็เห็นด้วยหลายอย่างนะ และปัญหาความเป็นส่วนตัวจะแก้ง่าย ถ้าเราสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่โปร่งใสและเป็นกลาง เก็บข้อมูลทั้งหมด แต่มีระบบรองรับที่จะยืนยันได้ว่า ถ้าไม่มีคำสั่งศาล จะไม่มีใครเปิดมันมาดูได้ และสามารถเปิดดูได้เฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
+1 เห็นด้วยครับ
คดีนี้และขบวนการยุติธรรมบ้านเรา ยังคงตัดสินด้วย หลักฐานแวดล้อม อันนำสืบไปสู่การกระทำความผิด ในคดีนี้ อีมี่เป็นเพียงหลักฐานแวดล้อมตัวหนึงเท่านั้น แต่เป็นหลักฐานที่มัดตัวผู้กระทำผิดโดยชัดเจน สืบเนื่องจากผู้กระทำผิดได้ใช้โทรศัพท์ที่มีอีมี่ดังกล่าวบริเวณ Cell Site ใกล้บ้านตัวเองแล้วถอด SIM ออกเพื่อใส่ SIM ใหม่ แล้วส่งข้อความที่กระทำผิดแล้วเปลี่ยน SIM กลับมาเป็น SIM เดิม ทั้งหมดเกิดขึ้นใน Cell Site ที่อยู่บริเวณใกล้บ้านตัวเองทั้งสิ้น และบ้านที่ผู้กระทำผิดมีแต่คนในบ้านเท่านั้น จึงสามารถตัดกรณีที่ผู้กระทำผิดอ้างว่านำโทรศัพท์ไปซ่อม หรือการปลอมแปลงอีมี่ออกไปได้ โดยสิ้นเชิง เรื่องนี้เป็นความจริงที่ปรากฏได้โดยชัดเจนอยู่แล้ว ปัญหามีอยู่อย่างเดียวว่า น่าจะมีผู้สนับสนุนและบงการ แต่จากหลักฐานที่ปรากฏสามารถเอาผิดได้แค่คนเดียว นี่ต่างหากที่เป็นปัญหา แต่เรื่องอื่นผมว่า หลักฐานชัดเจนอยู่แล้ว ศาลได้ตัดสินถูกต้องตามหลักการและขบวนการความยุติธรรมอยู่แล้ว
+1
ผมก็เห็นด้วยตามนี้นะครับ ในกรณีถึงแม้ว่าไม่มีหลักฐานตรงๆว่า อากง เป็นคนส่ง sms จริงหรือเปล่า
แต่มีหลักฐานแวดล้อมที่บ่งชี้ได้ว่าเป็นคนทำ ก็น่าจะตัดสินว่าผิดจริงได้นะครับ
การที่คุณอ้างแบบนี้ มีที่อ้างอิงไหมครับ เพราะถ้าอ้างแบบนี้ ผมอาจจะตีความได้ว่าหากเกิดหลักฐานแวดล้อมตัวผม เช่นปืน, มีด, รถ ฯลฯ มีผมเป็นเจ้าของ และ "น่าจะ" มีผมเพียงผู้เดียวที่ใช้งาน หากมีการนำของเหล่านั้นไปทำความผิด ภาระการพิสูจน์ว่าผมไม่ได้ทำจะตกเป็นของผมเสมออย่างนั้นหรือในกระบวนการยุติธรรมไทย
หรือคุณคิดเอาเองจากคดีนี้?
lewcpe.com, @wasonliw
คำตันสินคดี บ่อยครั้งจะมีคำว่า "มีเหตุอันควรเชื่อได้" "มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า" ฯลฯ
ถ้าไม่ได้จับได้ซึ่งหน้าขณะกระทำ เกือบทั้งหมดก็ใช้ความ"น่าจะ" จากหลักฐานสภาพแวดล้อมและเหตูจูงใจ
หรือคุณมีอ้างอิงอื่นว่าไม่ได้ใช้? (ผลักภาระกลับในการหาข้ออ้างอิง ฮา)
ถามีคดีที่ผ่านมา ความเป็นเจ้าของทำให้ต้องรับผิดจริง ผมก็มองว่าเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินคดีเหล่านั้นควรต้องปรับปรุงกระบวนการสอบสวนเช่นกันครับ
ความเป็นเจ้าของอย่างเดียวไม่ควรใช้อ้างอิงการกระทำความผิดได้ (ไม่ต้องพูดถึงว่าการพิสูจน์อุปกรณ์ที่ใช้ทำความผิดว่ายังมีข้อสงสัย)
พอดีคดีเหล่านั้นไม่ใช่คดีคอมพิวเตอร์ ผมจึงไม่ได้ตามข่าว และการหาเอกสารคำพิพากษาก็นับว่ายากกว่าที่ผมคิดมาก กรณีคำถามคุณ ผมพยายามหาแล้วครับ อาจจะไม่พยายามพอหรือผมหาแหล่งไม่เจอ จึงหาคำพิพากษาในอินเทอร์เน็ตมาอ้างอิงไม่ได้เลย ไว้จะหาแหล่งอ้างอิงมาพูดคุยกันต่อไปครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ควรจะเขียนว่า
ทั้งหมดเกิดขึ้นใน Cell Site ที่อยู่บริเวณตั้งแต่ ซอย 14 ถึง ซอย 36 ครับ
และหากมองว่าเลข IMEI สามารถปลอมแปลงได้ ประชาชนทุกคนในบริเวณนั้นจะตกเป็นผู้ต้องสงสัยได้
และอากงอาจจะเป็นแค่ 1 ในผู้ต้องสงสัยที่มีโทรศัพท์ที่มี IMEI ตรงกับผู้กระทำผิดอยู่เท่านั้น
ส่วนเรื่องถอดซิมเปลี่ยนซิม ผมไม่แน่ใจ log เก็บข้อมูลการปิดเปิดเครื่องด้วยหรือเปล่า หรือแค่เก็บข้อมูลการใช้งานทั่วไปเท่านั้น
ต่อให้เป็นพยานแวดล้อมมันก็แวดล้อมด้วยรัศมีที่กว้างมาก
ไม่ว่าผมคุณหรือใคร ก็คงไม่อยากติดคุกด้วยเหตุผลว่า มันเกิดเหตุแถวๆบ้านตัวเอง
อย่างที่บอกมันอาจจะกลายเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินคดีในอนาคตครับ
อันนี้ก๊อบปี้มาจาก http://ilaw.or.th/node/1229 ครับ เป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาครับ
"เนื่องจากหมายเลขอีมี่ในคดีนี้ตรงกับหมายเลขอีมี่ของโทรศัพท์ยี่ห้อโมโตโรล่าที่นายอำพลใช้ และรับว่าใช้อยู่ผู้เดียว จึงยากที่จะมีผู้อื่นนำไปใช้ได้ และพบว่ามีการใช้โทรศัพท์เครื่องนี้กับซิมการ์ดสองเลขหมาย ซึ่งจากหลักฐานชี้ชัดว่า ซิมการ์ดทั้งสองหมายเลขถูกใช้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่ไม่เคยถูกใช้งานในเวลาที่ซ้ำกัน จึงเชื่อได้ว่าผู้กระทำความผิดได้นำซิมการ์ดมาสลับใช้อย่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งสมมติฐานไว้ นอกจากนี้ข้อมูลการจราจรยังระบุว่าข้อความถูกส่งโดยเซลไซต์ จากย่านที่จำเลยพักอาศัยอยู่ด้วย"
ลองอ่านและพิจารณาดูครับ
เรารู้กันแล้วว่า เลข IMEI ไม่ใช่สิ่งที่จะระบุถึงโทรศัพท์เครื่องเดียวเสมอไป
"พบว่าโทรศัพท์เครื่องนี้ใช้กับ ซิม 2 หมายเลข" หรือ "IMEI สัมพันธ์กับซิม 2หมายเลขครับ" ลองพิจารณาดูดีๆ
หากหมายถึง "พบว่าโทรศัพท์เครื่องนี้ใช้กับ ซิม 2 หมายเลข"
เขามีวิธีตรวจสอบแบบไหนครับว่า โทรศัพท์เครื่องนั้นเคยถูกใช้กับซิมที่หมิ่นจริง
เพราะตอนนี้ข้อมูลที่สัมพันธ์กับซิม เป็นเลข IMEI เท่านั้นครับ
ต่อให้พิสูจน์ได้ว่าเครื่องนั้นถูกใส่ซิมหมิ่นจริง ก็ไม่มีอะไรพิสูจน์ได้ว่า อากง เป็นคนส่งข้อความเอง
ถ้าตีความจากข้อความนี้ แปลว่าเขาเก็บ log เฉพาะเวลาใช้งานเช่นโทร หรือ sms หรือเปล่าครับ(อันนี้ผมไม่รู้ ผมคิดว่าคุณก็คงไม่รู้ แต่ถ้ารู้บอกผมด้วย) ถ้าเป็นแบบนั้น มันก็ไม่แปลกไม่ใช่หรือครับ หากมีเครื่องที่ปลอม IMEI ได้จริงอีกเครื่องนึง การใช้งานให้พร้อมกันได้ มันแปลกกว่าซะอีก แต่ประเด็นนี้ผมอาจจะผิดก็ได้ครับ เพราะผมไม่รู้วิธีเก็บ log ของเขา
อากงผิดหรือไม่ผิดไม่รู้นะครับ แต่ถ้าหลักฐานมันยังชี้ชัดไม่ได้ ผมว่ามันก็ไม่พอที่จะส่งใครเข้าคุกหรอกครับ
ผมว่าวิธีเก็บlog ไม่ใช้แบบที่คุณคิดน่ะคับ
บอกวิธีมาได้เลยครับ
เพราะอะไรหากมีเครื่องอีกเครื่องปลอมอีมี่แล้วจึงไม่สามารถใช้พร้อมกันกับเครื่องเจ้าของอีมี่ที่แท้จริงได้หละครับ
ไม่ได้บอกว่าใช้พร้อมกันไม่ได้ครับ
ผมหมายถึงว่าหากมี 2 เครื่อง การที่ทั้ง 2 คนจะใช้โทร หรือ sms เวลาเดียวกันได้มันมีโอกาสน้อยกว่า
การที่ทั้ง 2 เครื่องจะถูกใช้ในเวลาที่ต่างกันครับ
ข้อยืนยันในกรณีที่เครื่องนั้นใส่ซิมหมิ่นจริง แล้วคนส่งข้อความคืออากง คือคำให้การของอากงเองนิ ที่อากงยืนยันว่าใช้เครื่องนี้เพียงคนเดียว แต่ก็ได้กลับคำให้การหลังจากนั้น อย่างเอาไปส่งซ้อม หรือลืมทิ้งไว้ในบ้าน ในกรณีส่งซ้อมที่ต้องไปถึง 2ครั้ง แต่ไม่สามารถจำร้านได้ และในกรณีที่อ้างว่าลืมมือถือไว้ที่บ้านบ่อย ในกรณีเมื่อพิจรณากับการเปลี่ยนซิมเพื่อส่งข้อความหมิ่นยิ่งฟังไม่ขึ้น เพราะถ้าคนบุกรุกเข้าบ้านไปเพื่อส่งข้อความหมิ่นอย่างเดียว คงไม่มีความจำเป้นต้องเปลี่ยนซิม
ต้องถือว่าอากงโชคดีที่ไม่โดน มาตรา ๑๗๗ ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ไปด้วย
ส่วนเรื่อง log นี้ผมว่า มันสามารถเป็นทั้งด้านบวกและด้านลบให้กับอากงได้ การลงทะเบียนตัวมือถือกับเสาส่งนั้นจะลงทะเบียนตั้งแต่เมื่อมีการเชื่อมต่อสัญญาณ เพื่อให้เสาส่งรู้ว่าเบอร์นี้จะต่อกับ imei เครื่องไหน ซึ่งหมายความว่าทันทีที่เปลี่ยนซิมกลับ และเครื่องรับสัญญาณได้ ก็จะมีการลงทะเบียน Imei ทันที และคิดว่าการจะทำแบบนี้ทั้งหมด 4 ครั้ง มีโอกาศมากน้อยแค่ไหน ไม่ให้เกิดเลข imei ซ้อนทับกัน หรือมีเลข imei ไปโผลใน cell side อื่นในกรณีอากงไปใช้นอก cell side นั้น
+1 ครับ หลักฐานยังชี้ชัดไม่ได้
ตอนนี้ยังไม่ทราบว่า log ของทางเครือข่าย เก็บการเข้าใช้งานระดับ millisecond หรือเปล่า เพราะถ้าเก็บตลอดเวลาของการที่เครื่องเรามีสัญญาณขณะนั้นจริงตลอดเวลา(real-time) ก็จะสามารถบอกได้แค่เรามีสัญญาณอยู่ที่ cell-site นี้จริงแค่นั้นครับ (แค่มีข้อมูลเก็บไว้ว่าเวลาที่มีคนโทรหาจะส่งสัญญาณไปดังที่เครื่องใหนเฉยๆ) ส่วนการเปิดปิดเครื่องไม่น่าจะมีการเก็บ log นะครับ ซึ่ง log แบบนี้ก็บอกได้แค่ว่าเรามีสัญญาณของโทรศัพท์อยู่หรือเปล่าหรือไม่มีสัญญาณ และมีความแรงของสัญญาญจาก cell แต่ละ cell เท่าไรแค่นั้นครับ
ระบบ cellular เสา 1 ต้นก็นับเป็น 1 cell เสาหลายๆต้นรวมกันจะเรียกว่า cell-site ซึ่ง cell แต่ละ cell ก็สามารถปรับรัศมีของ cell ได้ตามการปรับมุมองศาของจานบนเสาเพื่อใช้ในการรับจำนวนผู้ใช้ที่แต่ละพื้นที่มีความต้องการใช้งานไม่เท่ากัน ซึ่งอย่างน้อยก็อยู่ในหลักร้อยเมตร แถม cell-site ก็ไม่ต้องมีขนาด(จำนวน cell)เท่ากันด้วย ขึ้นอยู่กับคลื่นความถี่ของแต่ละเจ้าที่ได้รับคลื่นความถี่มา
สรุปก็คือต่อให้เอา cell 3 cell มาตั้งขึ้นวาด 3 เหลี่ยมแล้วบอกไปเลยว่าอยู่ตรงใหน ก็บอกได้แค่บริเวณที่ใกล้เคียงครับ
แล้วเจ้าของสัญญาแต่ละเจ้าไม่ได้ตั้งเสาข้างกันตลอด(เป็นไปไม่ได้) ซึ่งถ้าบอกออกมาก็จะสามารถรู้ได้แค่บริเวณที่ใกล้เคียงอีกเช่นกันครับ
และก็อย่างว่าครับ รู้ทะบียนรถก็ต้องตามให้ได้ครับว่าใครเป็นคนขับ ไม่ว่าจะเป็น "รถ[จริง|ปลอม]ทะเบียน[จริง|ปลอม]"
นอกเรื่องครับ "ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น" ^^
ผมขอเอาชื่อปู่เป็นเดิมพัน!!!!!
/me กระโดดหลบอย่างรวดเร็ว
อากงเค้าเป็นคนรักครอบครัวรักลูกรักหลาน ตอนนี้ก็เป็นมะเร็งที่คออีก .. พรุ่งนี้ไหนๆก็จะวันพ่อแล้วให้กำลังใจอากงเค้าหน่อยครับ
รู้สึกว่าข้อครามมันขึ้นผิดตำแหน่งลบก่อนดีกว่า - -'
ไม่ค่อยรู้เรื่องครับเลยออกความเห็นไม่ถูก อิๆ
ผมเป็นแฟนblognone ที่เชื่อในความเชี่ยวชาญด้านIT เรื่องIMEIที่ปลอมได้ก็เชื่อตามนั้นครับ แต่การแสดงความเห็นเรื่องคำตัดสินไม่ค่อยเหมาะ เท่าที่อ่านบทความท่านก็คงยังไม่อ่านเนื้อหาคำพิพากษาอย่างละเอียด ที่ใช้หลักฐานแวดล้อม(มากกว่าที่ท่านอธิบายเรื่องIMEI)และพฤติกรรม อากงคงโดนหลอกเป็นแพะบูชายัน เพื่อแสดงให้เห็นว่า 112 เลวร้าย เข้าแผนพวกมัน
112 แพะ
ในเรื่อง IMEI นี้ มีเรื่องหนึ่งที่ติดใจผมอยู่ครับ คือ เรื่องที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์ ไม่ทำการเก็บตัวเลขหลักที่ 15 ของ IMEI
ซึ่งจากการอ่านหลายๆข้อความที่ได้แบ่งปันกันมานี้ พบว่า ตัวเลขหลักที่ 15 เป็นตัวเลข checksum สำหรับยืนยันว่า ตัวเลข 14 ตัวด้านหน้ามีความถูกต้อง และก็มีสมาชิกท่านหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่า การที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์ไม่เก็บตัวเลขหลักที่ 15 ก็เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดขึ้นแล้ว
ความสงสัยของผมอยู่ที่ว่า เมื่อตัวเลข IMEI สามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้โดยองค์ความรู้ที่เผยแพร่โดยทั่วไป ตัวเลขทั้ง 15 หลักสามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้ คำถามของผมก็คือ หากทำการเปลี่ยนแปลงตัวเลข IMEI ของโทรศัพท์มือถือโดยที่ตัวเลขตัวที่ 15 เป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง คือเป็นตัวเลขที่ไม่ใช่ผลลัพธ์ในการคำนวณตามสูตรจากตัวเลข 14 หลักด้านหน้า โทรศัพท์มือถือที่ถูกเปลี่ยนแปลงตัวเลขอย่างไม่ถูกต้องนี้จะยังสามารถใช้การได้หรือไม่ครับ?
จาก http://www.gsmworld.com/documents/DG06_v5.pdf หน้า 30 หัวข้อ D.1.6 ครับ มือถือไม่ส่งหลักที่ 15 ไปให้เครือข่ายอยู่แล้วครับ (ส่งเป็นค่า "0" เสมอ)
ไอ้คนที่บอกว่า imei ปลอมได้ ไม่เถึยง แต่ช่วยตอนหน่อยว่า ทำไม มันถึงไปตรงกับอากง ได้คนเดียว
แล้วไอ้อีมี่ ที่บอกซ้ากันเยอะแยะล่ะ หายไปไหนหมด
ตำรวจตรวจจากซิมไม่ได้ก็หาอีมี่ แล้วทั้งประเทศก็มีอากงคนเดียวที่มีอีมี่เลขนี้ ถึงแม้จะอ้างว่าปลอมได้ก็เถอะ
อากงถ้าไม่ได้ทำนี่คงซวยโคตรเลยนะ คนปลอมอิมี่ดันปลอมเลขเหมือนอากงแค่คนเดียวในประเทศ แถมยังใช้ใน cell site เดียวกับอากงด้วย เรียกว่าโคตรบังเอิญเลยทีเดียว
อ้อ ถามอีกอย่าง อายุ 61 ต้องเรียกอากงแล้วเหรอ อย่าดราม่ากันมาก
360862 +1
ถ้าใช้ sim AIS อากงคงไม่ติดคุก เพราะหาหลักฐานไม่ได้
-1 ไม่เห็นด้วยกับจม.นี้ ระบบต่างๆก็ไม่ได้มีปัญหาตรงไหน
ระบบศาลดีอยู่แล้ว แต่ทนายจำเลยไม่ยอมแก้ต่างเรื่อง อีมี่ปลอมได้
ศาลให้โอกาสจำเลยนำหลักฐาน หรือนำวิธีการปลอมอีมี่มาให้ศาลดู แต่ทนายจำเลยกลับเอา wikipedia มาเป็นหลักฐาน
ผมก็เกือบจะเห็นด้วยกับ จม. นี้ แต่ติดที่เรื่องทนายนี่ล่ะ
คนที่เห็นด้วยกับจดหมายนี้จะแย้งคำถามเรื่องทนายว่ายังไงครับ
เรียน Blognone
ท่านคงเห็นแล้วว่าบทความในลักษณะนี้มิได้เจริญปัญญาในวิถีแห่งไอที ตามเจตนารมย์ที่ "About Blognone" ได้กล่าวอ้างไว้ การตอบโต้ลักษณะนี้มีให้เห็นทั่งไปในเว็ปสีต่างๆ ท่านกำลังทำให้ไอทีมีสีที่ต่างกัน? หรือถ้าท่านต้องการให้เตะตากรรมการ เพื่อหาที่ว่างในแวดวงการเมืองก็น่าจะประกาศให้ชัดเลยครับ
อดีตแฟนBlognone
+1
ตอบทีละประเด็นนะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
บทความนำเสนอด้านเดียว ควรปรับปรุงให้ครับทุกประเดนในการตัดสินของศาล
ไม่ใช่เอาแค่เรื่อง IMEI มาเสนอทำให้ผู้อ่านส่วนใหญ่ที่ไม่ค่อยจะคิดวิเคราะห์และหาข้อมูลเพิ่มเติมเชื่อ
เพราะจากที่อ่าน BN มาส่วนมากมักจะไม่ยอมหาข้อมูลเพิ่มเติม และมักจะเชื่อตามที่ผู้เขียนเขียนไว้
ใน COMMENT จากทางผู้ดูแลระบบก็มีข้อมูลส่วนเพิ่มเติมที่ว่าแต่ก็ไม่ได้นำไปใส่ไว้ในบทความ ไม่รู้ว่าตั้งใจมุ่งประเดนไปที IMEI เหมือนนักการเมื่องที่ชอบมุ่งไปแค่ประเดนเดียวเพื่อผลลัพธ์ที่ต้องการหรือเปล่า
เรื่องของ IMEI ถ้า LOG ของเครื่อข่ายถูกต้องเราสามารถตอบคำถามได้หรือเปล่าว่า ทำไม IMEI หมายเลยดังกล่าวจึงมีการใช้งานบนสองเครื่อข่ายในเวลาที่ติดต่อกันเหมือนกันการสลับ SIM
เพราะถ้าหากเป็นการปลอม IMEI บนโทรศัพท์อีกเครื่องก็ควรจะแสดงใน LOG ของเครื่อข่ายหลักอยู่ตลอดเวลา และแสดงใน LOG ของเครื่อข่ายที่สองเฉพาะในช่วงเวลาการส่ง SMS ใช่หรือเปล่า
ทั้งหมดที่พูดมานี้ คุณเคยเห็น log จริงๆ ไหมครับ? ประเด็น log / การสลับ SIM มีการพูดคุยในนี้เยอะมาก แต่ไม่เคยมีใครเคยเห็น log จริงๆ และมันถูกต้องคำถามไปมา ถ้าเรื่องนี้ final แล้วผมก็ยินดีจะเพิ่มเติมครับ
เรื่องต่อมาที่ผมตอบไปแล้ว (และคุณน่าจะอ่านแล้วเพราะคุณก็เห็นว่าผมตอบ) คือต่อให้เครื่องที่ใช้ส่งเป็นเครื่องของจำเลยจริง เราจะยอมรับมาตรฐานว่าเจ้าของเครื่องต้องรับผิดชอบหากเครื่องถูกนำไปใช้กระทำผิด?? ต่อไปนี้หากคอมพิวเตอร์ส่วนตัวถูกนำไปกระทำผิด เราจะถือเป็นมาตรฐานว่าเจ้าของเครื่องต้องหาหลักฐานว่าไม่ได้เป็นคนทำ? ไม่ใช่หน้าที่ของตำรวจที่ต้องหาหลักฐานมัดตัวผู้กระทำเพิ่มเติมอีก???
lewcpe.com, @wasonliw
เรียนคุณ lew
1.บทความนี้เปิดให้ถกเถียงกัน ผมก็เห็นมีการถกเถียงกันยาวเหยียด ทั้งด้านเทคนิค และสังคม มันไม่ "เจริญปัญญา" ตรงไหน?
2.ผมไม่มีปัญหาอะไรกับการเมือง หลายคนมีจุดยืนทางการเมืองของตัวเอง
3.ผมเชื่อในความแตกต่าง เราไม่ควรกดให้ทุกคนเหมือนๆ กันอย่างไม่เต็มใจ ในเว็บนี้มีความแตกต่างมากมายนอกจากเรื่องการเมือง ตั้งแต่เทคโนโลยี, เพศ, ฯลฯ การโต้เถียงครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งที่หนักที่สุดที่เราเคยเจอมา ปัญหาคืออะไร?
ไม่ต้องตอบกลับก็ได้ครับ เพราะblogนี้เป็นของคุณ คุณอยากจะให้เจตนารมย์ของblog เป็นแบบไหนก็ได้ผู้อ่านคงเลือกได้เอง
ขออนุญาตแสดงความเห็นในฐานะ "ผู้ชม" หน่อยนะครับ 1.การเจริญปัญญาใน "วิถีแห่งไอที" ที่คุณกล่าวถึงในความคิดของคุณคิดว่าเป็นเรื่องอะไรบ้างหรือครับ? เพราะจากคำตอบของผู้เขียน ตัวผมเองที่อ่านทั้งเนื้อหาในจดหมาย และใน comment ก็ได้อะไรหลายอย่างเพิ่มขึ้น ได้รู้มากขึ้น หรือได้เห็นถึงความคิดเห็นในมุมมองของผู้คนที่มาตอบ/โต้แย้งกัน ถึงแม้ว่า "อะไรหลายอย่าง" ที่ว่านั้น มันจะมีทั้งเรื่องที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวกับไอทีโดยตรงอยู่ด้วยก็ตาม
แต่คุณคิดว่าข่าวอะไรล่ะที่คุณคาดหวังว่ามันจะเจริญปัญญาใน "วิถีแห่งไอที" ได้เพียงอย่างเดียว? ก็ในเมื่อไอทีมันก็อยู่กับเราในชีวิตประจำวันอยู่ทั่วไปหมดไม่ใช่หรือ?
ถ้าหากผมต้องการทราบข้อมูลด้าน IT ของเรื่องนี้ ผมต้องเข้าเว็บประเภทไหนถึงสามารถหาข้อมูลได้? ห้องราชดำเนิน? เว็บ Manager? หรือเว็บอะไรดีครับ?
2.จากที่คุณบอกว่า "การตอบโต้ลักษณะนี้มีให้เห็นทั่งไปในเว็ปสีต่างๆ ท่านกำลังทำให้ไอทีมีสีที่ต่างกัน?" ผมอ่านแล้วเหมือนคุณต้องการสื่อว่า การที่ตอนนี้เค้ามีสีต่างกันเนี่ยเกิดจากจดหมายนี้ หรือการนำข่าวที่เกี่ยวข้องกับการเมืองมาลงนี่เป็นต้นเหตุหรือครับ? ส่วนหนึ่งผมอ่านจากเนื้อหาในจดหมายไม่มีส่วนไหนมีลักษณะที่ถือข้างสีใดสีหนึ่ง แล้วต่อว่าอีกสีหนึ่ง หรือแม้แต่ทำให้คนอ่านเข้าใจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในแง่ที่ไม่ดีเหมือนกับลักษณะที่จะทำให้เกิดความแตกแยกอย่างที่คุณกังวลเลยนะครับ
ถึงแม้ในบรรดา comment ที่มาตอบอาจมีบ้างที่อาจแสดงความคิดเห็นไปทางใดทางหนึ่งมาก และอาจพาดพิงไปในเรื่องที่คุณกังวล แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเด็น (และ IT) นะ
3.ผมไม่เข้าใจว่าคุณหมายถึง ความคิดเห็นที่ต่างกันไม่เป็นการเจริญปัญญาทางไอที? ถ้าหากเป็นเช่นนั้น ผมกลับมองว่าการที่คนเรามีความคิดเช่นนี้ต่างหากที่เป็นต้นเหตุให้มีสีเกิดขึ้น?
ผมไม่เชื่อว่าการที่ไม่มีคนเอามาเขียน จะทำให้ไม่มีคนคิดนะครับ หลายครั้งที่ผมแค่ได้ดู ได้เห็น ได้ยิน จากแหล่งไหน ๆ ก็ตาม (ไม่ว่าจะทีวี หนังสือพิมพ์ เห็นเอง ฯลฯ) บางครั้งผมก็เกิดความรู้สึกขัดแย้ง หรือ รู้สึกเห็นด้วยได้เหมือนกัน (ซึ่งมาจากตัวผมเอง) แล้วแบบนั้นมันจะไม่ดีกว่าหรือ ถ้าเรามีแหล่งที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องพวกนี้ เพื่อให้ผมเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องหรือได้รับฟังเหตุผลมากขึ้นหรือครับ?
รู้สึกผมจะมีปัญหาในการ reply หน้านี้ กดผิด 2 รอบแล้ว - -' ขออภัยครับ
เข้าไปอ่านคำให้การของพยานโจทก์และจำเลยประกอบคำพิพากษาแล้ว คงบอกได้คำเดียวว่ารอดยาก
ฝากถึงอากงว่า
ถ้าหาตัวช่างซ่อมโทรศัพท์คนที่ซ่อมให้อากงไม่พบ ก็ไม่สมควรที่จะอุทธรณ์นะครับ
ร้านซ่อมมือถือเป็นธุรกิจที่มีอะไรมากกว่าที่ทนายความของอากงรู้ เขาบอกในสิ่งที่ทนายอยากรู้ แต่เขาไม่ได้บอกในสิ่งที่เขารู้และเขาทำทั้งหมด
ด้วยความหวังดี
เหมือนเห้นคนพูดถึง "การยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย"
คดีอาญามันไม่ได้บอกว่า "ให้พิสูจน์ให้ชัดเจนว่าผิดจริง 100 % ถึงจะลงโทษได้" กฎหมายมันมีบอกแค่ว่า "เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย" ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227วรรค2เท่านั้น
อ่านให้ดีๆนะครับกฎหมายใช้คำว่า "เมื่อมีความสงสัยตามสมควร" คือมันต้องเป็นข้อสงสัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดแบบฟังดูมีเหตุมีผลด้วยมันถึงจะยกฟ้องให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยได้ ไม่ใช่ว่าข้อสงสัยเล็กๆน้อยๆแค่ไหนมาก็ยกฟ้องหมด ถ้ายังงี้คงไม่มีคดีไหนที่ศาลลงโทษได้เลยล่ะครับ เพราะทุกคดีมันมีข้อให้สงสัยหมดอยู่แล้วว่าจะเชื่อใครดีระหว่างโจทก์กับจำเลย แต่เรื่องมันจบตรงที่ศาล "ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน" แล้วว่าเชื่อใครมากกว่าเลยให้ฝ่ายนั้นชนะไงครับ
จากคดีอากงนี่จริงอยู่ฝ่ายโจทก์มีข้อบกพร่องในการพิสูจน์บ้างแต่เมื่อเทียบกับพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลย(อากงกลับคำให้การณ์ว่าลืมร้านซ่อมไรงี้)แล้ว พยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์น่าเชื่อถือกว่ามากครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ไม่เห็นมีคนพูดถึงเรื่องนี้เลย
"หมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ (IMEI) สามารถปลอมแปลงได้โดยง่าย"
กับ
"ผู้ผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานบางรายผลิตเครื่องโทรศัพท์มือถือโดยใส่หมายเลข IMEI ซ้ำซ้อนกัน"
ข้อแรกคงต้องรอให้รัฐบาลขอร้องมา แต่ข้อสองการที่จะอ้างแบบนั้นอ่อนไปหน่อย ถ้าจะใช้คำนี้น่าจะมีตัวอย่างให้เห็นว่ามันเกิดขึ้นแล้วจริงๆ มีหลักฐานเป็นตัวเครื่องหรือข้อมูลการใช้
ข้อมูลควรจะมีน้ำหนักมากพอเพื่อให้นำไปเป็นเครื่องมือสืบสวนทางกฏหมายได้ ไม่งั้นจะเป็นการอ้างลอยๆ
Pages