แบบสั้นๆ คือผมมีไอเดียเรื่องแนะแนวการศึกษาต่อในสายงานด้านไอที-คอมพิวเตอร์ แต่ไม่มีข้อมูลประกอบเลย ก็เลยมาถามกันง่ายๆ แบบนี้แหละว่ามีผู้อ่าน Blognone ที่ยังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมหรือไม่ และต้องการข้อมูลอะไรกันบ้าง
คำถาม 3 ข้อ
ส่วนคนที่อายุเกิน (ซึ่งน่าจะมีเยอะ) ถ้าอยากตอบคำถามข้อ 3 ที่มีน้องๆ ถามมาก็ตามสะดวกครับ
Comments
ข้อ 3 เนื่องจากอายุเกิน(แก่)แล้ว ถามแทนน้องๆละกันนะครับ เชื่อว่ามีน้องๆ หลายคนอยากรู้คำตอบข้อนี้จาก พี่ๆ ในเว็บนี้กัน
ขอบคุณครับ
ตอบสองตัวนี้ให้
ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ จะคล้ายๆกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่เป้าหมายไปทาง "เราเอาเทคโนโลยีอะไรเพื่อแก้ปัญหานี้ และใช้ยังไง ?" วิชาที่เรียนเป็นกลุ่มแนวพวก การจัดการกับข้อมูล การเขียนโปรแกรม ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ฐานข้อมูล วิธีออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ ระบบเครื่อข่าย งานกราฟฟิค ซึ่งจะออกแนวเป็นการประยุกต์ใช้ หรือพัฒนาระบบเพื่อให้เข้ากับสภาพปัญหา และง่ายต่อการใช้ เป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชานี้เหมือนๆกันในหลายสถาบัน แต่ก็มีบางสถาบันที่แตกสาขาออกเป็นหลายแขนง แล้วเรียนเฉพาะทางแต่ละแขนงไป เช่น แขนงวิทยาการสารสนเทศ , แขนงเทคโนโลยีเครื่อข่าย เป็นต้น
ผมเรียน ม4 ช่วงนี้มีงานอะไร เหมาะบ้างครับเกี่ยวกับด้าน it
ผมชอบด้าน it หมดเลย
ลองเล่นไปเรื่อยๆ กว่าจะเจอหล่ะครับ
ตอนแรกเล่นเกมก็อยากเขียนเกม ตอนนี้ขอซื้อเล่นดีกว่า เหอๆ
{$user} was not an Imposter
งานด้าน it เป็นอะไรที่จับฉ่ายมาก ๆ ตัวเลือกมาก และเครื่องมือพื้นฐานเยอะมาก เป็นงานที่ค่อนข้างหลากหลาย ถ้าหากจะมีจินตนาการ จะพบว่า it สามารถเข้าถึงทุกๆธุรกิจได้
คนที่มีสกิลด้านอื่นๆสามารถนำไอทีเข้าไปประยุกต์แทบจะได้หมดทุกสิ่งอย่าง ลองนึกถึงคนที่มีความรู้ด้านบัญชีและสามารถเขียนโปรแกรมบัญชีได้ คนที่รู้เรื่องหมอสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อช่วยวิจัยได้ คนที่รู้เรื่องหุ้น สามารถเขียนโปรแกรม ซื้อขายหุ้นวิเคราห์หุ้นได้
และบางคนไม่จำเป็นต้องใช้ tool เทพๆ แค่มี excel + macro ก็สามารถบันเจิดสิ่งที่เหนือความคาดหมายได้
1.ผมอยู่ปีหนึ่ง เรียนวิทยาการคอมฯ ครับ
แต่ขอตอบด้วยความคิดตอนมัธยมนะครับ เพราะเพิ่งจบมา
2.ผมเก่งด้านไอที เป็นตัวแทนแข่งทักษะคอมฯ ให้โรงเรียนหลายครั้ง
แต่ผมไม่คิดจะเรียนต่อด้านนี้ เพราะผมคิดว่านั่งทำงานอยู่หน้าคอมคงจะมีเพื่อนน้อย
ไม่ได้ออกไปเจอสังคม และตัวผมคิดว่าจะเรียนต่อสายภาพยนต์
แต่สุดท้ายก็ได้เรียนวิทย์คอม เพราะเบื้องบนบังคับมา TT
3.ก็คำถามเดิมๆ ครับ จบไปจะทำงานอะไรได้บ้าง คนที่เก่งๆ Geekๆ ด้านนี้เขาทำงานอะไรกันครับ
ตอบน้องนะครับ
สายนี้ไม่จำเป็นต้องกลัวว่าจะมีเพื่อนน้อยหรอกครับ อยู่ที่เราเลือกเองครับ ว่าจะใช้ชีวิตแบบไหน
สมัยมัธยมพี่ก็เป็นตัวแทนไปแข่งเขียนโปรแกรมเหมือนกัน ชอบนั่งอยู่หน้าคอมเหมือนกัน แต่ก็ออกไปสังสรรค์กับเพื่อนได้ตลอด (ตั้งแต่มัธยมแล้ว)
พอมาสมัยมหาวิทยาลัย ยิ่งออกไปสังสรรค์บ่อยขึ้น ยิ่งจบมาแล้วไม่ต้องพูดถึง
จากประสบการณ์ และคนรอบข้าง สาย IT บุคคลากรสาย IT มีเพื่อน มากกว่า สายอื่น ๆ อีกหลายสาย เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่า
1. รายได้ดีกว่า ตอนจบใหม่ ทำให้มีเงินเยอะกว่า ออกไปสังสรรค์ เจอสังคมใหม่ ๆ บ่อยกว่า
2. ไม่จำเป็นต้องแย่งกันทำผลงาน เหมือนพวกเซล ทำให้มิตรภาพในที่ทำงาน เกิดขึ้นง่ายกว่า
3. นึกไม่ออก.. เอาเป็นว่า ไม่ต้องกลัวไม่มีเพื่อน ไม่มีสังคม คนที่เพื่อนเยอะ ๆ เจอกันบ่อย ๆ ในสถานบันเทิง หรืออะไรก็ตาม สาย IT ทั้งนั้น
สาย IT ตัวซ่าเลยครับน้อง ไม่ใช่ nerd เหมือนในหนัง
เงินเยอะไม่เยอะ ไม่รู้ รู้แต่
อิ่มจังตังอยู่ครบ บอสออกตลอด ฮาๆๆๆ
[Blog ZeroEngine] [@ZeroEngines]
ตอบเพิ่ม คน geekๆ (คือหมายถึง geek จริงๆนะ) นี่จบมาก็เข้าบริษัทใหญ่ จากนั้นสัก 1 -2 ปี ก็ ออกมาทำส่วนตัว ครับเพราะ คนพวกนี้สามารถหารายได้ตั้งแต่สมัยเรียนมหาลัยอยู่แล้ว แต่ที่เข้าไปทำงานในช่วงแรก เพื่อประสบการณ์และ connection เท่านั้น
เรื่องจริงของคนเรียน IT ที่สามารถหาเงินได้ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ ที่นึกออกคือ ช่วย ป โทรทำวิจัย ทำพรีเช้นเทชั่น ทำ flash ทำสื่อเขียนโปรแกรมเล็กๆ ทำเว็บเพจ สามารถหาเงินได้เป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว
ณ.เวลานี้ ถ้าไม่ใช่สายที่ต้องออกไปติดต่อลูกค้า ไม่ว่าใครก็นั่งหน้าคอมครับ ไม่ต้องห่วง 555
สายคอมเนี่ยทำได้หลายด้านเลยเพราะถ้าเราทำได้ทุกอย่างจะเจอคนจ้างให้ทำทุกอย่างเลย ไม่ว่าจะเป็นบัญชี เก็บข้อมูล เขียนโปรแกรม ทำโฆษณา ซ่อมสารพัดซ๋อม (98ยังมีหลงเหลืออีก) ฯลฯ เพราะดันรู้ข้อมูลเยอะ - -* แต่ไม่ต้องห่วงถ้าน้องๆมุ่งแต่จะทำด้านที่ถนัดรับลองทำได้แน่ๆครับ
1.ม.5
2.เคยสนใจแต่ไม่มั่นใจในอาชีพ IT ว่าในอนาคตจะมั่นคงมั้ย ตอนนี้ไปสนใจบัญชี TU แล้วครับ
3.คำถามอยู่ในคำตอบข้อสองครับ มั่นคงมั้ย อาชีพต่อยอดอะไรได้บ้าง ฯลฯ
สายไอที(ระดับลูกจ้าง)นี้อาชีพจะมั่นคงก็ขึ้นอยู่กับสกิลด้วยนะครับ
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ถ้าทำในกทม.ปริมณฑลหรือจังหวัดที่มีโรงงานชุกชุมเช่นอยุธยา ชลบุรี ระยอง มันจะมีรายได้ที่ค่อนข้างดีมาก แต่ถ้าไปจังหวัดอื่นๆที่เน้นเกษตรนี้ ผมมองว่าไม่เวิคเท่าไหรเงินน้อยมาก ยกเว้นจะทำกับรัฐวิสาหกิจเงินถึงจะแรง
เพิ่งขึ้นปี 1 ครับ = ="
หลงคิดว่าทำงานแล้วมาตั้งนาน!
May the Force Close be with you. || @nuttyi
พี่มอดอยู่ม. 5!
Blog | Twitter
มอดนู้น หรือ Me...
Coder | Designer | Thinker | Blogger
สอบ CCIE แล้วไปสมัครงานที่ Cisco ครับ
ขอบคุณครับ
+1
เอ่อ เสริมก่อนๆ เดี๋ยวน้องเขาจะเข้าใจว่ามันชิวๆ
อ่อ ... แต่ทั้งหมดแล้วไม่มีเกินคำว่าพยายามนะครับ คิดว่า คนอื่นทำได้ เราก็ต้องทำได้
เกินแสนตอนอายุ 30 คิดว่าขึ้นไปเป็นระดับ Director บริษัทเล็ก ๆ น่าจะถึงนะ
ชาวทวิตภพส่วนมากคนจะสนใจที่ bullet ม.5 :D
{$user} was not an Imposter
ลุงมอด นี่มันไม่ใช่ปี 2543 นะลุง #อิอิกำ
เป็น CEO ไม่ก็เจ้าของกิจการแบบเถ่าแก่น้อยรุ่งชัวร์ครับ สู้ๆแต่ม.5จิงๆเหรอเนี่ย !!
ส่วนตัวผมทำงานโปรเจคส่วนตัววันละ 3-4 ชม.ครับ
ผมมีเวลาทำโปรเจ็คส่วนตัวราวๆเที่ยงคืนถึงตีสามครับ นอกนั้นต้องมีเวลาให้ทางบ้านกับงาน ot และงานที่เอากลับมาทำที่บ้าน
ภาษาแรกผมนับเมื่อเริ่มนำมาใช้ แต่ไม่ถึงขนาดทำโปรเจ็คเผยแพร่หรอกครับ การนำมาใช้ก็คือ ได้ฝึกฝนแบบจริงๆจัง จนรู้สึก(ไปเอง ;) ว่าสามารถนำไปต่อยอดได้ ถ้าแค่อ่านเฉยๆผมไม่นับครับ
เรื่องเคยเขียนภาษาไหนมากี่ปีเนี้ย ส่วนใหญ่มันไม่ได้ตายตัวหรอกครับ มันแค่เป็นการบอกว่าเค้าตั้งใจจะรับคนที่มีความรู้พื้นฐานด้านนี้ขนาดไหน
(ความเห็นส่วนตัว)
0-1 แปลว่าเค้าพร้อมสอน
2-3 แปลว่าไม่ต้องเก่งมากก็ได้ แต่เค้าไม่สอนนะ และเริ่มงานคุณต้องพร้อมทำเลย
4-5 คุณต้องเชี่ยวชาญนะ
แต่เอาจริงๆ บางคนเขียนปีเดียวก็ถึงขั้นเชี่ยวชาญแล้วก็มีครับ ไม่ต้องไปคิดมากครับเรื่องพวกนี้ พอไปสัมภาษณ์ มันก็จะรู้กันเองว่าคนนี้รู้จริงแค่ไหน แต่ถ้าคนสัมภาษณ์เค้าสัมผัสไม่ได้ หรือส่งคนไม่รู้เรื่องมาสัมภาษณ์ ก็ช่างบริษัทนั้นมันเถอะครับ
อยู่ ม.5
คิดจะต่อเหมือนกันครับ อยากอยู่คณะวิดวะมากกว่า :)
อยากรู้ว่าเรียนไปในทางสายไหนใน IT แบบไหนในอนาคตที่ไปรอดและอนาคตสดใสที่สุดอ่ะครับ ^^
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
ORACLE
ผมว่าถ้าเก่งจริงไปสายไหนก็ดีหมดแหละครับ เอาตามที่ชอบดีกว่า ของแบบนี้ต้องใช้ทั้งความสามารถและอาศัยโอกาสด้วย
ตอบ ข้อ สาม 3.
พี่เข้าใจว่า คะแนนแอดมิชชั่น(สมัยพี่เรียกเอนทรานส์) ต้องใช้วิชา ฟิสิกส์ เคมี ยื่นสมัครเข้าเรียนนะครับ
ไม่จำเป็นแต่ควรครับ เพราะคณะสายคอมส่วนใหญ่จะถูกผูกขาดอยู่กับวิศวะไม่ก็วิทยาศาสตร์
แต่ถ้าจะไม่เรียนวิทย์คณิตจริงๆ คณะอื่นที่ทำงานสายคอมก็มีนะอย่างบัญชี นิเทศ สถาปัตย์
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ตอบข้อ 3
ผมจบศิลป์คำนวณมา ถ้าคิดว่าจะมาเรียนต่อทางด้านนี้โดยตรง ควรจะเรียนต่อสายวิทย์-คณิต แต่ถ้าไม่ได้เรียนสายวิทย์-คณิตก็มีสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้เรียนอยู่ แต่ต้องดูที่มหาวิทยาลัยด้วยครับว่ารับสายไหนบ้าง เพราะบางมหาวิทยาลัยจะรับแค่วิทย์-คณิตและศิลป์คำนวณ ตอนนี้ผมเรียนอยู่ในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ การเรียนคล้ายกับวิทยาการคอมพิวเตอร์แต่ไม่เน้นทฤษฎีในเชิงลึกเหมือนกับวิทยาการคอมพิวเตอร์
ตอบแทนน้องสาวได้ไหม เพราะมันคงไม่มีเวลามาตอบ
จบสายอาชีพ ม.ปลายเรียนเลขา แต่ป.ตรี เรียนไอที ตอนนี้ทำดร.อยู่
ตอบว่าเรียนได้ แต่ต้องพยายามมากกว่าคนอื่นๆหลายเท่าหน่อย
ข้อ 3 - ไปต่อ ปวช. ปวส. ก็ได้ครับ
ตอบ ข้อ 3.
พี่จบวิศวะ คอม มาครับ
วิศวะคอม จะสอนรวม ๆ ในแต่ละด้าน สอนด้านไฟฟ้า สอนให้เข้าใจเทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ สอนด้าน embedded รวมถึงคณิตศาสตร์ เพื่อที่จะนำไปศึกษาต่อด้วย อันนี้แล้วแต่ว่าเราจะเลือกเรียนวิชาอะไรครับ
แต่ถ้าเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์คอม เนี่ย ทางวิศวะคอมจะมีวิชาเกี่ยวกับ Hardware เพิ่มเข้ามา อาธิเช่น
ไฟฟ้า
digital login design = เรียนเกี่ยวกับ IC และ แผงวงจร ว่าการทำงานพื้นฐานคืออะไร
microprocessor + microcontroller = ประมาณว่าเรียนเกี่ยวกับ CPU นั่นเอง
แต่ที่สำคัญมากที่สุด คือความรู้นอกตำราครับ รั้วมหาลัยจะสอบให้เรามีพื้นฐานในการไปต่อยอดความรู้ของเราครับ
ถ้ารักในสาย hardware จริงๆ งานในระดับสูงอาจจะไม่ค่อยมีนะครับ
แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าเปิดเสรีแรงงานแล้ว job demand จะเป็นยังไงบ้าง
{$user} was not an Imposter
เรื่องแรงงานเสรี เสรีแรงงานพอมีข่าวบ้างไหมครับ ทำไมมันเงียบจัง...
[Blog ZeroEngine] [@ZeroEngines]
ขอบคุณครับ แล้วทางด้านการทำงานละครับ สามารถรองรับอะไรได้บ้างหรอครับ เงินเดือนสักเท่าไรครับ?
3.ฮาร์ดแวร์ที่น้องว่านี้ พี่เดาว่าพวกประกอบคอม อะไรแบบนี้รึเปล่าครับ ถ้าใช่พี่ไม่แนะนำแล้วกันครับ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะแนะนำเป็นพวกสาย network ครับ เช่น switch router ipphone firewall server แต่ถ้าจะเอาเป็นแนวสร้างเลย ที่ผมรู้ก็มีพวกธุรกิจผลิตชิป ผลิตซีพียู โดยทั้งหมดเรียนวิศวะคอม ครอบคลุมสุด ถ้าจะให้แรงก็เอาที่มี cisco academy ครับ
จำพวกประกอบคอมก็ใช่ครับ แนวสร้างเลย ผมก็สนใจ แล้ว cisco academy คืออะไรหรอครับ? เงินเดือนสักเท่าไรหรอครับ?
แล้วการเข้าวิศวะคอม ต้องใช้คะแนนวิชาอะไรครับ?
ถ้าเป็นพวกประกอบคอมมันจะเป็นสายงานช่างครับ พี่เลยไม่อยากแนะนำเท่าไหร แต่ก็ควรศึกษาไว้เป็นความรู้ครับ สายนี้ถ้าเรียน ปวช.จะรู้หมดเลยครับ รู้กว้างกว่าประกอบคอมด้วยครับ
ที่นี้มาถึงพวกสายผลิต ถ้าเป็นสายนี้น้องต้องเรียนวิศวะอิเล็กครับ แต่ก็ต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ด้วย คือมันจำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านการวิเคราะห์และออกแบบแผงวงจรให้เป็น ซึ่งก็ต้องมีเขียนโปรแกรมด้วย ถ้าจะศึกษาล่วงหน้าก็แนะนำ .net ครับ
Cisco Academy นั้นจะเกี่ยวกับงานทางสาย network ครับ โดย cisco academy เนี่ยจะมีอยู่ในมหาลัยต่างๆ ดูตามลิ้งนี้ครับ http://www.cisco.com/web/TH/learning/academy_thailand.html ถ้าสนใจฮาดแวร์แนว network พี่ก็แนะนำให้ลงเรียนไว้ในช่วงมหาวิทยาลัยด้วยครับ โปรไฟล์น้องเวลาจบมาอย่างน้อยก็มีอันนี้เป็นพื้นหรือถ้าจะลองเรียนดูตอนนี้ได้นะ search google ว่า ccna จะได้รู้ไปเลยว่าชอบด้านนี้มั้ย
เงินเดือน ทุกสายยกเว้นประกอบคอม เงินเดือนจะเริ่มต้นที่ 12k-25k ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับน้องด้วยว่ามีความรู้ขนาดไหน ภาษาเป็นยังไง ฝึกงานที่ไหนมาช่วงเรียน เอาเป็นว่าถ้าความรู้กลางๆแต่พูดอ่านเขียนภาษาอังกฤษคล่องมากน้องอาจได้เงิน 25k-35k เลยครับ แต่ถ้าความรู้ดีมากแต่ภาษาอังกฤษปานกลาง อาจได้ 15k-25k ยังไงสายคอมถ้าภาษาอังกฤษแย่แนะนำให้รีบขยันเลยเพราะมันจำเป็นจริง
เสริม! มีทริคอีกอย่างนึงช่วงฝึกงาน ถ้ามหาลัยให้ฝึกตอนปี 3 ให้ลองขอย้ายไปฝึกตอนปี 4 ดูครับหาที่ๆอยากไปทำงานด้วยเลย น้องจะได้โอกาสในการจบแล้วมีงานทำสูงกว่าฝึกตอนปี 3 แต่...น้องต้องขยันตอนปี 4 แบบสุดๆไปเลยนะเพราะต้องปั่นโปรเจคจบให้เสร็จก่อนฝึกงาน ซึ่งมันโหดมากๆ เมื่อถึงเวลาแล้วจะรู้ หากน้องขยันแล้วมุ่งมั่นนะ อนาคตจะสดใสเลย ลองดูครับ สู้ๆนะ
อืมๆ แล้ววิศวะคอมมันไม่เหมือนวิศวะอิเล็กหรอครับ ในใจผมอยากเรียนวิศวะคอมมากกว่านะ แล้ว Cisco เขาเน้นแค่ด้าน Network หรอครับ ซึ่งประกอบคอมผมก็รู้มาแล้วแต่อยากให้ลึกลงไปอีก แล้วสายการผลิตผมอยากทำความเข้าใจจำพวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกอย่างเลยเช่น CPU ประมาณนี้อ่ะครับ หรือเป็นแค่ Network เท่านั้นครับ?
แค่ Config router อย่างเดียว เงินเป็นเดือนแสนเอามั้ยล่ะครับ
{$user} was not an Imposter
ตอบหน่อยสิครับ ^^
ตอบ 3 นะครับ
วิศวะมันใช้ฟิสิกส์อยู่แล้วครับน้อง ต้องสายวิทย์ครับ
แต่ม. เอกชน (รัฐไม่ให้แน่นอน พี่ฟันธง - -) เค้าอนุโลมให้สายศิลป์คำนวณเข้าเรียนได้ครับ
1.ม5 คับ
2.อยากเรียนเศรษฐศาสตร์
3.~~..
มาแอบบอกอะไรเล็กๆ น้อยๆ ครับ
งานไอทีหลายสาขาที่ทุกคนใฝ่ฝันนั้น หากคุณมีความมั่นใจทางด้านไอที มีความชอบ เพียงเท่านั้นยังไม่พอครับ เพราะทักษะที่ผมพูดถึงนี้ ส่วนใหญ่จะได้ใช้เวลา Troubleshoot ซึ่งนั่นความว่า สิ่งนี้เพียงพอสำหรับการเป็นช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ หรือเป็น IT Supervisor เพียงเท่านั้น แต่ยังไม่พอสำหรับงาน IT สายอื่นๆ ที่ต้องอาศัยความรู้เฉพาะด้าน เช่น Network, Programmer, System Administrator ฯลฯ ซึ่งถ้าหากท่านมาด้วยใจรักอย่างเดียวเฉยๆ ท่านจะสอบไม่ผ่านตั้งแต่ด่านแรกที่สัมพากษ์งาน
ดังนั้น หากมีอาชีพที่ชื่นชอบเอาไว้ในดวงใจ ผมแนะนำให้ศึกษาลงลึกตั้งแต่ตอนนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆ หลังจากที่เรียนจบครับ งาน IT ใครๆ ก็ชอบได้ครับ แต่คนที่รู้จริงเท่านั้น ถึงจะทำได้
ps. ผมเองจบบริหารคอมฯ ครับ เคยทำงานร้านคอมตั้งแต่มัธยม มั่นใจในฝีมือด้านไอทีของตัวเอง แต่ทว่ามันไม่เพียงพอสำหรับการทำงานด้าน Network Engineer แม้แต่น้อยครับ ซึ่งผมต้องกลับมานั่งอ่านหนังสือทีหลังเพื่อสอบ Cert จึงจะสามารถก้าวเข้าสู่สายงานนี้ได้ครับ
+1
Blog | Twitter
ภาษาหลักๆ นั่นแหละครับที่ยังไม่มีแววว่าจะตาย C# .NET ก็โอนะเครื่องมือเยอะไมโครซอฟต์ดัน
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ตอบ ข้อ 3. ครับ
จากประสบการณ์ครับ พี่สนใจด้านเขียนโปรแกรมมาตั้งแต่ ประถมแล้วครับ ตอนนั้นภาษาที่ใช้จะมี basic, dbase, foxpro
แต่ได้มาหัดเขียนจริงๆจัง ๆ ตอน ม.3 ตอนนั้นอินเตอร์เน็ตเริ่มใช้กันแพร่หลายมากขึ้น ภาษายุคนั้นก็จะมี perl
และตามมาด้วย php อีกไม่กี่ปีต่อมา ตอน ม.ปลาย ถ้ามีการให้ไปแข่งขันเขียนโปรแกรม จะใช้ c ครับ
พอเข้ามามหาลัย จะเริ่มสอนใช้ java เพราะต้องการให้ นศ. เรียนรู้และคุ้นเคยกับ oop ..
เรื่องของภาษามีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ และแตกออกเป็น framework ย่อย ๆ มากมาย
ในช่วงเวลาไม่กี่ปี มี framework ที่เกิดมาแล้วก็ไป (อายุสั้นมาก)
ดังนั้นสิ่งที่พี่จะแนะนำ หากสนใจการเขียนโปรแกรม เราควรจะศึกษาแต่ละภาษาและเทคโนโยลีว่า อันไหน เหมาะสมกับงานแบบไหน หากเราเข้าใจหลักการของการเขียนโปรแกรม ภาษาไหนก็ไม่สำคัญ "อย่ายึดติดกับเทคโนโลยีใด เทคโนโลยีหนึ่ง"
สำหรับคำแนะนำสำหรับตอนนี้ (แต่อย่ายึดติด เอาไว้ให้ฝึกหัด) เรียนรู้เทคโนโลยีใกล้ตัวไปก่อนก็ได้ครับ
1. เขียน PHP เพราะง่ายต่อการศึกษาและเข้าใจ และฝึกการคิดแบบมีตรรกะ
2. น้องสามารถหาโจทย์พวกแข่งขันเขียนโปรแกรม มาลองทำ โดยใช้ภาษา php ก็ได้
3. พอน้องคล่องแล้ว ก็ลองเปลี่ยน code จาก php ไปเขียนภาษา c เนื่องจาก syntax ของสองภาษานี้มีความคล้ายกันบ้าง
4. ภาษา c จะทำให้น้อง เข้าใจคอมพิวเตอร์ได้ลึกขึ้น (c นะครับ ไม่ใช่ c++)
ที่สำคัญที่สุด น้องต้องหัดใช้ภาษาอังกฤษให้คล่อง เพราะว่าเอกสาร ส่วนใหญ่ในการเขียนโปรแกรม เป็นภาษาอังกฤษ ครับ
สาย coding แนะนำให้เริ่มจากภาษาพื้นฐานอย่าง C กับ C++ เพราะจะต่อยอดไปภาษาอื่น ๆ ได้ง่าย (เนื่องจากภาษาโปรแกรมส่วนใหญ่บนโลกนี้จะมีพื้นฐานมาจากสองภาษานี้)
แต่บอกไว้ก่อนนะครับว่า ในระดับอุดมศึกษา เขาไม่สอนเรื่องนี้ลึกซึ้งมาก จะต้องขวนขวายเอาเอง เพราะไม่ได้อยู่ใน scope ที่ศึกษากันในระดับนี้ครับ มันเป็นเรื่องของทักษะที่ผู้เรียนต้องไฝ่รู้เอาเอง (เขาสอนพื้นฐานให้บ้าง)
อาจารย์กวนTeen T-T
แนะนำหนังสือภาษา C ของ SPC book ครับ อ่านง่ายเข้าใจได้ดี ถ้าหาไม่ได้ก็หาหนังสือที่มันมีหน้าดัชนี แล้วเอาเข้าไปตอนที่เรียนด้วยเพราะมันจะช่วยได้มาก ไม่แนะนำค่ายที่มีตัว "D" เพราะแทบจะไม่ได้เนื้อหาสาระอะไรแม้แต่เล่มเดียว (ได้สาระแค่ไม่ถึง 10หน้า ตัวอย่างโปรแกรมโคตรห่วย แถมเอา library มาจากไหนก็มิทราบ)
ภาษา C เรียนแล้วไม่สนุกครับ แต่ใช้งานได้จริง
ภาษาที่เรียนแล้ว สนุก ก็พวกเว็บเลยครับ
เช่น flash javascript html css
ข้าพเจ้าสงสัยว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต่างกับ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ยังไง
เทคโนโลยีฯ(ict) เขียนโปรแกรม+ความรู้ทางด้านจัดการองค์ความรู้+บริหารองค์กรด้าน it
วิทยาการคอมฯ(cs) เขียนโปรแกรมเพียวๆ แทบไม่แตะ Hardware หรือเกี่ยวข้องด้านการบริหารเหมือนด้านบน
แถม
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ก็จะคล้ายๆกับ ict อ่านเถอะ (อาจจะกระทบกับท่านที่เรียนอยู่ต้องขออภัยอย่างสูง) ถ้าเป็นหน่วยงานราชการบางที่ล่ะก็ ตำแหน่งแทบไม่มีว่างให้เลื่อน เพราะมีตำแหน่งรองรับน้อย ict ก็มีปัญหาพอๆกัน (ไม่รู้จะโทษใคร)
จริงๆแล้วก็ไม่เสมอไปที่จะต้องเรียนสาขานั้นๆแล้วจะสมัครงานได้ คุรุศาสตร์คอมไปทำงาน it ก็มี มันอยู่ที่ฝีมือ แนะนำให้ไปหัดกันเองและรู้จักฝึกภาษาใหม่ๆไปด้วย เพื่อนหลายคนยึดติดกับภาษาเดิมๆ พอไปทำงานก็ไม่รู้เรื่อง (ก็มาลำบากตู)
1.ม. 3 ครับ
2.วิศวะคอมอ้ะครับ
3.จบมาแล้วหางานทำยากมั้ยครับ แล้วทำงานแนวไหนได้บ้างอ้ะครับ สงสัยอยู่ พอดีอยากเขียนโปรแกรมไรงี้อ่ะครับ
ผมว่าสายคอมเป็นสายที่หางานค่อนข้างง่ายนะ แล้วก็ fast track ได้ไว งานคอมก็มีหลายสายครับ ผมเองก็รู้ไม่หมดนะว่ามีสายอะไรบ้าง แต่ที่เคยเห็นก็จะมีพวก system engineer, network, software development, software process improvement, project management (อันนี้อาจจะต้อง senior หน่อย)
อยากเขียนโปรแกรมเข้าวิทยาการคอมเลยน้อง รุ่งแน่นอน
1.เรียนม.3 ครับ
2.ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ
ขอบคุณครับ
ตอบ 3 นะ
เขียนโปรแกรมบนโทรศัพมือถือ จริงๆก็เรียนพื้นฐานทาง วิทยาการคอม หรือวิศวคอม สายคอมทุกสายจะมีวิชาเขียนโปแรกรมเป็นพื้นฐานแน่ อย่างน้อยก็ C หรือ VB
แต่ปัจจุบันเวลาทำโปเจคมักไม่ค่อยมีใครใช้ภาษาที่เรียนทำกันเท่าไร (คห ส่วนตัว) ชอบลองของแปลกใหม่ๆ เวลาทำงานจริงๆ ก็เมื่อมี tool ใหม่ๆมาก็มักจะหามาติดตั้งลองใช้กัน
เขียนโรปแกรมบนมือถือ เคยเรียนมาตั้งแต่ยุค J2ME สมัยที่มือถือรันจาวาแบบ ขาวดำได้เมื่อครั้งกระโน้น
ม.6 ครับ กำลังจะเอ็น คิดว่า(อาจ)จะเข้าวิศวคอมจุฬา
อยากรู้ว่าจบมาจะหางานยากหรือเปล่าครับ แล้วเงินดีไหม
เพราะพ่อแม่พี่น้องอยากให้เรียนหมอมาก
เพราะท่านบอกวิศวะปี 58 จะตกงานครับ
คิดว่ายังไงคนไทยที่ทำวิชาชีพระดับมหาลัยไม่น่าจะตกงานมากเท่าที่คิดเพราะ skill "ภาษาไทย" น่าจะเป็น requirement ของการสัมครงานในบางที่ด้วยครับ :D
{$user} was not an Imposter
ผมมองว่าถ้าเรียนคอมน่าจะมีตำแหน่งอยู่อีกมาก เพราะเทคโนโลยีตอนนี้เข้าไปอยู่ในแทบจะทุกๆ อุตสาหกรรมแล้ว และเทคโนโลยีเองก็ยังปรับตัวไว (แปลว่ามีอะไรให้ทำอีกเยอะ และมีมาเรื่อยๆ) ส่วนงานก็หาไม่ยากครับ (เพื่อนๆ ที่เรียนจบมหาลัยมาด้วยกันไม่เห็นใครตกงานเลย)
ถ้าประสิทธิภาพถึงหมอ และชอบช่วยเหลือผู้อื่น เอาหมอดีกว่าครับ ผมยังอยากเป็นเลยแต่หัวไม่ถึง ฮะๆๆ
แนะนนำไปแพทย์ก่อนนะครับ ไม่ไหวค่อยออกมาดีกว่าครับ
"เพราะท่านบอกวิศวะปี 58 จะตกงานครับ"
ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าเป็นการเลี่ยงประโยคหรือเปล่า แต่ผมว่าวิศวะฯคอมเอาจริงๆ พูดว่าเป็นวิศวะฯไม่ได้เต็มปากเท่าไหร่ มันดูต่างจากโยธาหรือพวกทำงานโรงงานมากครับ
และมุมมองส่วนตัวยังไม่เห็นว่างานด้านคอมฯจะตกงานครับ แต่เงินเยอะน้อยอีกเรื่องนึง
ขอบคุณครับ
1.ม.6 ใกล้จะสอบและเนี่ย อีก 7 วัน!!!!
2.วิศวคอม ครับ เพราะผมคิดว่า วิทย์คอมมันก็เน้นซอฟต์แวร์ไป เลยเรียนวิศวะคอมมันน่าจะรวมๆ
3.อยากรู้ว่า วิศวะคอมเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง แล้ว หนักมั้ย
แล้วช่วยแนะแนวคณะ ICT หน่อยสิครับผมยังไม่ค่อยเข้าใจคณะนี้เลย
แล้ว จบไปสามารถทำงานอะไรได้มั่งอะครับ (ทั้งสองคณะเลยเน้อ)
แต่เค้าบอกอีก 4 ปี จะเปิดประเทศอาเซียน มันจะส่งผลกระทบต่อเรามั้ยอะ
และที่สำคัญผมก็มีความรู้เกี่ยวกับคอมเล็กๆน้อยๆ ล้างเครื่อง ลงวินโดส์ ทำได้ แต่เน็ตดันไม่ติด -*- เขียนภาษาc java ไรไม่เป็นอ่า
สร้างเว็บก็พอได้ด้วยcms O_O คิดว่าจะเรียนไหวมั้ยอะครับ ^^
สุดท้าย ผมกะเข้า วิศวะคอมจุฬา พี่ๆ ว่า ม.ไหนดีสุดสำหรับวิศวะคอมอะครับ ช่วยแนะนำด้วยเน้อ ^^
ขอบคุณครับ
วิทยาคอมไม่ได้เน้นซอฟท์แวร์ครับ (กลัวจะเข้าใจผิดกัน) ไปเรียนก็ยังเจอ HW อยู่แต่จะไม่ถึงกับระดับลึก คือต้องเรียนทฤษฎีพื้นฐานทั้งหมดตั้งแต่ HW, SW, Network และอื่น ๆ รวมไปถึงระดับวิศวกรรมซอฟท์แวร์ขั้นพื้นฐานด้วยครับ
แต่เป็นในระดับของ "วิทยาศาสตร์" ครับ มีเรื่องธุรกิจเข้ามาผสมบ้างแต่น้อย คือแค่ไม่ให้คนตกงานเท่านั้น จะต่างกับพวก business จ๋าแบบ business com ที่จะตรงข้ามกันเลย (ดังนั้นพวกคณะผมจะโดนสั่งห้ามไม่ให้ลงวิชาของ business com เพราะลงไปก็ A ลอยมาเลย) ICT ผมไม่มีความรู้มากเลยไม่อยากออกความเห็น เคยได้ยินมาว่ามันคือคณะ IT ที่รวมเอาความรู้ด้าน communication เข้ามาสอนด้วยนิดหน่อย คิดว่าเน้นที่การนำ technology ไปใช้มากกว่าการสร้างเหมือนพวก CS หรือ Com Eng เข้าเรียนกัน
ส่วนเรื่องมหาวิทยาลัยไหน มันก็เหมือนกันแหละครับ ขึ้นอยู่กับว่าขวนขวายหรือเปล่า น้องในทีมผมบางคนผมถามคำถามพื้นฐานมากๆ เขาก็ตอบไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่จบจากมหาวิยาลัยรัฐที่มีชื่อเสียงนะ (ผมจบม.เอกชน) จบมาเกรดดีด้วย ไม่บอกว่าม.ไหนเดี๋ยวผมโดนเหยียบ 555
เห็นด้วยเรื่องที่ว่าความรู้ที่ได้จากมหาลัยจะเป็นความรู้พื้นฐานครับ ความรู้ส่วนใหญ่ที่ต้องใช้ในการทำงานจะมาจากการขวนขวายเองซะเยอะ
ส่วนข้อได้เปรียบของการเรียนมหาลัยชื่อดังผมว่ามี 2 ข้อ คือ สิ่งแวดล้อมกับโอกาสครับ เรียนมหาลัยชื่อดังเพื่อนๆ ส่วนใหญ่จะขยันและขวนขวายหาความรู้กันอยู่แล้ว (ซึ่งถ้าเราไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบนั้นก็จะสร้าง motivation ได้ดีกว่า และก็จะมีเพื่อนๆ ให้คอย discuss กัน มันก็จะสนุกไปอีกแบบ) ส่วนโอกาสคือจบจากมหาลัยดัง profile ก็ดีกว่า ได้เปรียบในช่วงการทำงานปีแรกๆ แต่ถ้าทำงานไปซัก 2-3 ปี จบที่ไหนก็ไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่แล้ว เค้าจะดูที่ความสามารถส่วนบุคคลมากกว่าครับ
ขอบคุณครับ เอ่อ แล้ว ถ้าเป็นวิศวะคอมมันจะเน้น HW อย่างเดียว หรือ รวมๆอะครับ
จบ ComEn ไม่มีงาน HW เลยครับ เหอๆ
{$user} was not an Imposter
ข้อ 3 +1 แม้จะเป็นน้อง (พอมีฐานจาก พี่ฉัตรปวิณ บ้าง (สะกดถูกเปล่าวะ))
Coder | Designer | Thinker | Blogger
วิศวะคอมเรียนหนักครับ (เหล้าก็หนักด้วยนะ 555+ ) 4ปีข้างหน้าเปิดประเทศผมว่าไม่กระทบ ส่วนความรู้น้องตอนนี้พี่แนะนำให้เก็บไว้ในใจครับ พอเข้ามาความรู้พวกนี้ไม่ได้เอาใช้ต่อยอดอะไรได้มันเป็นความรู้เบสิคครับ ของเราเรียนลงลึกถึงcpu processerกันเลยทีเดียว วิศวะคอมจุฬาก็ดีครับ สาวสวยดี ผมชอบนะ เอิ๊กๆๆๆ แต่สำหรับผมถ้าเอาสายวิศวะไม่เน้นสาวๆก็มุ่งพระจอมเลยครับ แต่ถ้าเน้นสาวๆก็ จุฬา ธรรมศาสตร์ เกษตร
เป้าหมายที่เปลี่ยนไป #ฮ่า
{$user} was not an Imposter
ขอบคุณครับ นี่ละจุดประสงค์หลัก เลย ฮ่า ๆ
กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ครับผม
ในระดับอุดมศึกษาก็มุ่งหวังที่จะเข้าเรียนต่อ "คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ" ครับผม
โดยส่วนตัวตัวทาง Programming ชอบไปทางด้าน Web Programming ครับ
ถ้าเป็นด้านอื่นๆสนใจทางด้าน Management หรือ Security ครับไปทางพวก Network, Database
ก็ไม่รู้ว่าจะถามอะไรพี่ๆเหมือนกันนะครับ แต่ก็ถ้าพี่ๆท่านไหนมีความคิดเห็น หรือแนะนำสายงานในอนาคต
(ทั้งเกี่ยว-ไม่เกี่ยวกับ ข้อ 3) ก็ขอบคุณมากครับ (:
ดูแล้วความสนใจของน้องหลากหลายดีนะครับ
ก็หวังว่าจะได้เข้ามาเจอกันครับ :P
พี่อ่านของน้องแล้วขอบอกเลยว่า น้องมาถูกทางแล้ว จงมุ่งหน้ามาทางสายนี้เลย เวิคมากเพราะคณะนี้ต้องรู้รอบด้านแบบน้องเนี่ยแหละ ถ้ารู้ทั้งหมดที่พิมมาได้เนี่ยหางานสบาย
เสริมอีกนิดว่า ผมเพื่อนน้อย แฟนไม่มี เพราะผมพึ่งรู้ตัวว่าผมมัน Geek ONLY!!!
Coder | Designer | Thinker | Blogger
2 เอ่อ ส่วนกราฟิค ... ในทางทฤษฎีแล้วมันไม่ได้อยู่ในส่วนของระบบปฎิบัติการณ์ แต่เป็นส่วนของ shell ที่ระบบปฎิบัติการณ์สมัยใหม่ส่วนใหญ่ใส่ลงมาให้ด้วยเท่านั้นเองครับ
อีกอย่างถ้าอยากออกแบบจริง ๆ ไปเรียนทางด้านศิลปะจะเหมาะกว่าครับ คิดว่าการออกแบบลักษณะนี้น่าจะอยู่ในส่วนของนิเทศศาสตร์ (communication art) นะครับ เพราะต้องเรียนรู้เรื่องการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้ใช้
ถามต่อครับ แล้วเรียนควบคู่เลย (4 ปี 2 คณะ) ดีไหม หรือว่าต้องเรียนแยก เพราะว่าอยากเป็นทั้งคู่ จะได้หางานได้ง่ายหน่อย
และอีกประการหนึ่งคือ
ไม่มีเพื่อนน้อย บางที อาจจะไม่มีคนทำงานร่วมกัน ถ้าหากจะทำงานเป็นของตนเองCoder | Designer | Thinker | Blogger
ไอ้เพื่อนน้อยนี่อย่ากังวลครับ เวลาทำงาน เพื่อนร่วมงานก็เป็นเพื่อน พอหลังเลิกงานก็ตัวใครตัวมันอยู่ดี 55 คือ ผมเจอคนที่แย่แบบ ... แย่แบบไม่เคยนึกฝันว่าจะมีคนแบบนี้อยู่บนโลกมาแล้วน่ะนะครับ ก็ยังทำงานออฟฟิศได้ ไม่มีปัญหาอะไร
ในทางกลับกันถ้ามีกิจการของตัวเองอาจจะวิ่งหาลูกค้าลำบากครับ อาจจะต้องหาเพื่อนสักคนมาดู แค่คนเดียวก็พอแล้ว
ผมยังพอจะมีเพื่อนบ้างนะครับ แต่ก็ถือว่าน้อยมากถ้าเทียบกับคนอื่น (คงเป็นเพราะบางอย่างหรือเปล่าก็ไม่รู้นะฮะ)
ขอบคุณมาก ๆ ครับสำหรับคำแนะนำดี ๆ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
การมีเพื่อนผมว่าอย่าไปเน้นเรื่องปริมาณครับ เน้นเรื่องคุณภาพดีกว่า มีเพื่อนกิน 10 คน สู้มีเพื่อนตายสักคนไม่ได้ครับ ยิ่งในที่ทำงานนี่แค่มีคนที่คุยกันเข้าใจสักคนนี่ดีมากแล้ว อิอิ
ฝึกดูพวก User Interface เยอะๆครับ นอกจากสวยกว่า ประเด็นที่สำคัญกว่าคือใช้แล้ว"รู้สึก"สบายกว่า
(คหสต)
การฟิกของระบบปฏิบัติการเป็นแค่ 10% (หรือน้อยกว่านั้น) ของ OS นะครับ :D
ในโลกของ OS ที่เหลือทั้งหมดจะเป็น Applied Math กลายๆเช่น การจัดสรรค๋ CPU, RAM, Harddisk ที่เราไม่เคยรู้หรือไม่เคยสนใจว่ามันทำอะไร
หรือง่ายๆ เหมือนการฟิกเป็นแค่หน้าตาของเราและตัว OS คือทั้งร่างกาย อวัยวะต่างๆ ทั้งหมดที่ทำให้เราเป็นเรา
ดีใจด้วยที่มีเป้าหมายแล้ว แต่ก็อย่าลืมว่ายังมีความรู้อีกมากให้ตักตวงนะครับ ^^
{$user} was not an Imposter
ขอบคุณมาก ๆ ครับ ผมว่าทางด้านระบบการติดต่อผู้ใช้งาน ถ้ามันยากจริง คนก็ไม่ใช้นะครับ ถึงแม้ว่าการฟิกจะสวยก็ตาม ผมคิดว่า ส่วนที่จะดึงลูกค้าได้ดีที่สุดคือทางด้าน UI หนะครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ลองตลาดอนาคตด้วยนะครับ
User Interface ไม่ได้มีแค่การฟฟิคบนจอ ต่อไปจะเห็นอะไรแบบ Minority Report ก็ได้โดยดูจาก Kinect ในตอนนี้ UI อาจจะเป็น Hologram หรืออะไรที่เรานึกไม่ถึง
ผมว่ารุ่นน้องจบมา จอ Monitor/TV แบบที่ใช้ๆกันอยู่อาจจะเป็น Rare Item ก็ได้ :P
{$user} was not an Imposter
ผมก็คิดไว้เพื่ออนาคตด้วย เพราะตอนนี้ (เพ้อหรือเปล่าก็ไม่รู้) ได้คิดถึงโครงการที่จะเปลี่ยนทั้งโลกให้เป็น Web2.0 ทั้งหมด ซึ่งก็หมายความว่า โลกนี้จะไม่ต้องมีจอก็อยู่ได้ อันนี้คิดเอาเองทั้งนั้นหนะครับ
ขอบคุณมาก ๆ สำหรับคำแนะนำดี ๆ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ไม่เพ้อหรอครับเพราะตอนนี้เราอยู่ใน The Matrix อยู่แล้ว
ตึ่งโป๊ะ
{$user} was not an Imposter
Web 2.0 น่าจะตกเทรนด์ไปแล้วนะครับ 555
web 2.0 ธรรมดาไปแล้วครับตอนนี้ โลกกำลังพัฒนาไปเรื่อยๆครับที่เป็น web 3.0 ตอนนี้ก็เพิ่มขึ้นเยอะแล้วครับ และแนวโน้มการวิจัยตอนนี้พุ่งไปที่ web 3.0 ถึง web 4.0 แล้วครับ อาจารย์ที่ผมรู้จักซึ่งตอนนี้ทำวิจัยด้านนี้ที่อังกฤษเขาพูดให้ฟังครับ
กราฟิกใน OS มีไว้เพื่อใครผู้ใช้รับรู้ระบบมันได้ อีกอย่างบางที่กราฟิกที่ดีเกินไปอาจจะหน่วงการทำงานของคอมได้น่ะครับ
ผมเคยได้เล่น FreeBSD มา มันคือ DOS ดีๆนี่เองแหละครับ แต่มันก็ใช้งานได้ดีและรวดเร็วครับ
ปล ร่วมยินดีด้วยคนที่สามารถวางเป้าหมายชีวิตได้แล้ว ผม ม.6 ยังไม่มีเป้าหมายยิ่งใหญ่แบบคุณเลยแฮะ = =
ก็จัดสเปกเอง ประกอบเองครับ
ถ้าจะทำงานด้านโปรเเกรม เเอนนิเมชั่นหรือเกมก็มีตัวอย่างมาหลายกรณี มีความเสี่ยงอยู่มาก การละเมิดลิขสิทธิ์ก็สูง
ตัวผมเองก็ไม่อยากการเป็นลูกน้องด้วย ก็เลยสับสนตัวเองอยู่เหมือนกัน...
การเป็นผู้ประกอบการณ์เป็นเป้าหมายที่ดีครับ แต่ผู้ประกอบการณ์ที่ดีต้องเข้าใจลูกน้องดีด้วย การที่เราไปเป็นลูกน้องมันไม่ได้มีข้อเสียทั้งหมดนะครับ
เรื่องลิขสิทธิ์ส่วนมากจะเป็นกรณีที่เราสร้าง Software ไปยัง End-User ตรงๆ การที่เราเป็นลูกจ้างก็ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงตรงนี้ แถมยังมีเรื่องการตลาด ธุรกิจ ไว้ค่อยๆสะสมประสบการณ์ไปนะครับ หรือถ้ายากเริ่มลองเริ่มจากสร้าง app เพื่อป้อน App Store ดู
หรือน้องอาจจะเลือกอาชีพที่เป็นการสร้าง Product/Service ที่เฉพาะเจาะจง เช่น ทำ app ให้ บริษัท abc ทำเว็บให้ หน่วยงาน xyz ครับ ขอเสียคือ เงินมันเป็นก้อน จบ project ก็จบกันไม่เหมือน software ที่ยอดขายมีได้เรื่อยๆ
{$user} was not an Imposter
พวกภาษาที่น้องเรียน #3 รู้สึกจะเก่าไปหน่อย แต่ขอให้จำแนวคิดการ Programming ไว้ครับ อันนี้ไม่เปลี่ยนไม่ว่าภาษาไหน(จริงๆก็เปลี่ยนนิดหน่อย)
{$user} was not an Imposter
นั่นแหละครับ เคยพยายามคิดว่าเป็นพื้นฐานไว้ใช้ในภาษาอื่นๆ แต่ไม่ไหวจริงๆ เหมือนต้องทำอะไรที่มันยากกว่า เพื่อประโยชน์ที่น้อยกว่า
ตอนนี้เลยพาลเกลียดคาบคอมไปด้วย เลยอยากทราบว่าในมหาลัยสอนดีไหมครับ
อีกอย่าง ตอนนี้พอมีประสบการณ์เกี่ยวกับเขียนเว็บ css (กับ php , jquery นิดหน่อย) แต่ไม่รู้จะไปทางไหนต่อ
ที่คิดไว้คืออยากลองสร้าง bot ไปเก็บข้อมูล (ที่เป็น text) จากเว็บไซต์ต่างๆ นี่ควรเลือกใช้ภาษาอะไรครับ
เมื่อก่อนตอนมัธยมผมก็เรียนเป็นภาษา Pascal นะครับ แต่ตอนมาเรียนมหาลัยก็ใช้ Java, C/C++, Python พอทำงานจริงเจอทั้ง C, C++, Java, VB, Delphi, C# ผมก็เลยคิดว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่เราเรียนเป็น foundation ถ้าเข้าใจถึงหลักการจริงๆ แล้วเวลาเปลี่ยนภาษาก็จะไม่ยากเท่าไหร่ แต่ master ไว้ซักภาษานึงก็ดีกว่าครับ
ส่วน bot เก็บข้อมูลภาษาอะไรก็น่าจะได้ครับ ผมเคยใช้ python (ตอน ป.ตรี) กับ java (ตอน ป.โท)
ตามนั้นเลยครับ ควรจะมีภาษาที่เราถนัดสุดๆสักอัน (เหมือนกระบี่คู่กาย)
{$user} was not an Imposter
ขออีกอย่างนึงครับ
ถ้าจบไปแล้วทำ freelance หรือทำธุรกิจของตัวเอง เป็นไปได้แค่ไหนครับ พอมีตัวอย่างคนไทยที่ประสบความสำเร็จด้านนี้บ้างไหมครับ
ยิ่งอ่านยิ่งไม่แน่ใจว่ามันจะเข้ากับสังคมไทยได้แค่ไหน
ถามหลายอย่างหน่อยครับ รอมีคนเปิดพื้นที่ให้ถามมานานแล้ว ขอบคุณครับ
การจะไป freelance อาจจะต้องเก่ง above average ซักนิดเป็นจุดขาย
โดยเฉพาะการทำ business deal หรือคุยงานยังไงให้ไม่โดนเอาเปรียบ การต่อรอง
ทักษะพวกนี้ก็ควรเริ่มสะสมได้แล้ว
จากประสบการณ์งานชิ้นแรกที่ผมรับเป็น freelance ตอนเรียนอยู่เค้าบอกให้แกอะไรเราก็แก้ไม่จบซักที พอมาคิดๆดูตอนนี้เงินที่เราควรจะได้น่าจะมากกว่านี้ตามเนื้องานไม่ใช่เหนื่อยฟรี แบบนี้
สายนี้ผมว่า @ipattt เป็นตัวอย่างที่ดีครับ (ปล ผมไม่ได้รู้ตักเป็นการส่วนตัวนะ)
{$user} was not an Imposter
เป็นไปได้ครับ แต่ต้องมี connection (มีงาน feed มาเรื่อยๆ) แล้วต้องมีเงินทุนหนาหน่อย เพราะงานด้าน IT กว่าจะเก็บตังได้มันก็ไม่ง่าย และใช้เวลานาน
ขอบคุณทุกคำตอบมากๆ ครับ อ่านแล้วมีไฟขึ้นเยอะเลย
3.1 ควรจะเลือกเรียนคณะไหนดีครับ ระหว่างวิศวคอม กับวิทยาคอม แต่ส่วนตัวแล้วชอบ Software มากกว่าครับ
3.2 ไม่ทราบว่าเรียนต่างกันแค่ไหนครับ(เมื่อจบแล้วความสามารถจะต่างกันไหม)(วิศวหรือวิทยาที่หนักกว่า)
3.3 มหาวิทยาลัยที่ไหนดี(เกี่ยวกับด้านนี้)
3.4 การสมัครงาน ไม่ทราบว่าจะมีการเลือกรับต่างกันไหมครับ ระหว่างวิศวกับวิทยา
3.5 เงินเดือนต่างกันไหมครับ
3.6 ถ้าจะต่อป.โท เมืองนอก คณะด้านคอมนี่ จะต้องจบวิศวหรือวิทยา หรือได้ทั้งคู่ครับ
รบกวนด้วยครับ
ข้ออื่น เดี๋ยวมาตอบให้
ตอบข้อ 3.6 ก่อน
ขึ้นอยู่ว่าประเทศไหนครับ ถ้าเมกาได้ทั้งคู่ครับ เพราะเมกา ComSci กับ ComEng มีค่าเท่าๆกัน แม้จะเรียนมาไม่เกี่ยวข้องเช่น IE หรือไฟฟ้าก็เรียนต่อได้แม้ใน U ดังๆ แต่ถ้าคิดว่าไม่ตรงสายและคิดว่าสมัครโดยตรงไม่ได้ เทคนิคคือสมัครเข้าเรียนในคณะใกล้เคียง ทำเกรดให้ดีมากๆในเทอมแรก แล้วทำเรื่องย้ายภาคเอา หรือแม้แต่กระทั่งย้าย U ได้ ซึ่งทำได้ง่ายมากครับ
ถ้าเป็น Stanford นี่ได้รึเปล่าครับ
หมายถึง ความแตกต่างของ ComEng/ComSci หรือ ย้ายภาคหรือครับ?
ถ้าเรื่องแรก ไม่มีความต่างครับ เพราะถ้าน้อง take courses พวกพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์มาทั้งหมดเช่น Discrete, Algorithm, Database, OS เขาไม่สนว่าจะ Eng หรือ Sci ครับมันเหมือนกัน
ถ้าเรื่องหลัง เดี๋ยวจะถามเพื่อนที่เรียนอยู่ให้ครับแต่คิดว่าไม่น่ายาก แต่ UPenn ตอบให้เลยว่าง่ายมากๆ เพราะระบบการเรียนของเมกามันไม่ strict เหมือนของไทยที่ว่าการย้ายสาย หรือย้าย U จะทำได้ยาก
ครับ ขอบคุณมากครับ
รบกวน ข้ออื่นด้วยจะได้รึเปล่าครับ
พี่ขอตอบรวมๆแล้วกันครับ
มุมมองของผม ในเรื่องการเรียนผมรู้สึกว่าไม่มีความแตกต่างครับ ตอนเมื่อสมัยผม Ent เคยคิดว่าต่างกัน ตอนแรกคิดว่า ComEng น่าจะได้เรียน hardware มากกว่า แต่ท้ายสุดมันก็ดูแล้วเหมือนๆกัน ถ้าถามว่าเชียร์อันไหน ผมจะเชียร์เรียนวิศวะมากกว่า เพราะในไทยวิศวะจะดูมีภาษีมากกว่าวิทยา อาจจะเป็นเพราะวิศวะมักจะเข้ายากกว่าวิทยา (แต่ในต่างประเทศอย่างเมกานั้นคนทีจบมาด้วย degree ของ Computer Science นั้นจะมีภาษีดีกว่า Computer Engineering จริงๆคือ B. of Science in Engineering มีภาษีมากกว่า B. of Engineering)
และถ้ามองในเรื่องของสภาพแวดล้อมทางและโอกาสในไทย วิศวะน่าจะเอื้อประโยชน์ได้มากกว่าวิทยา เพราะงานคอมพิวเตอร์ทั้งหมดไม่ได้จบลงที่คอมพิวเตอร์อย่างเดียว มันเป็นการไป integrate เข้ากับระบบอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วเกือบทั้งหมดเป็นงานของวิศวะไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า เครื่องกล ยานยนต์ วิศวะมีโอกาสให้น้องมากกว่าในการทำเข้าร่วมชมรมของวิศวะ ตัวอย่างเช่น ชมรม Robot ซึ่งทำด้าน Robocup หรือ Rescue การเข้าร่วมกิจกรรมและการได้รางวัลจาการแข่งขันต่างๆกับเพื่อนๆในช่วงมหาลัยมันทำให้ resume น้องดูดีกว่าชาวบ้านเยอะครับ ซึ่งน้องเอาไปใช้คุยในการสัมภาษณ์ได้ทุกครั้งครับ นอกจากนี้การที่น้องรู้จักเพื่อนในภาคอื่นๆที่ น้องสามารถขอคำปรึกษาได้ ทั้งตอนเรียนและการทำงานในอนาคต เพราะเมื่อเรียนในระดับมหาลัยแล้วน้องจะเข้าใจว่าชีวิตน้องจะจมปลักกับเพื่อนในคณะเดียวกันมากกว่า โอกาสที่จะรู้จักเพื่อนข้าม คณะมีบ้างแต่ไม่เยอะ การเรียนในระดับอุดมศึกษาไม่ใช่จะตั้งหน้าตั้งตาเรียนจบให้เกรดดีๆ งานดีๆอย่างเดียว แต่มันเป็นช่วงเวลาที่น้องสร้าง connection เพื่อนๆของน้องเอง ที่ท้ายสุดเมื่อทำงาน ชีวิตน้องมันก็จะวนๆกันอยู่แค่นี้จริงๆครับ
ที่ไหนสอนดีกว่าที่ไหน ตอนนี้ผมคงตอบไม่ได้ แต่ย้อนกลับไปถามผมเมื่อสมัยยังเรียนอยู่ผมจะมองอยู่แค่ 2 ที่คือ เกษตรกับจุฬา เกษตรมีทีมอาจารย์ที่แข็งมาจากสาย Olympic มีแกนหลักๆอย่างอาจารย์ยืน แต่จุฬาก็มีความแข็งด้วยความเป็นมหาลัยแนวหน้าโดยเฉพาะทางด้านวิศวะอยู่เหมือนกัน แต่ผมไม่อยากให้มองเรื่องของวิชาการอย่างเดียว เพราะจริงๆแล้วเมื่อน้องเรียนจบ ความรู้ที่จะได้ใช้จากมหาลัยมันมีแค่ 30-40% แค่นั้น ที่เหลือกว่า 60-70% ต้องไปเริ่มต้นเรียนรู้ใหม่หมดตอนทำงาน การจบป.ตรีเป็นแค่การปูทางเท่านั้น ดังนั้นไม่อยากให้ยึดติดกับเฉพาะเรื่องวิชาการ
อย่างเดียวกว่าที่ไหนสอนดีกว่า เพราะลึกๆแล้วผมเชื่อว่าเนื้อหาในการสอนมันก็ไม่ต่างกันมาก แต่ควรมองว่าหลังจากจบแล้ว ที่ไหนสร้างโอกาสให้น้องมากกว่ากัน ซึ่งมันจะขึ้นอยู่กับว่า
ชื่อเสียงและการยอมรับของมหาลัย
ถ้าคิดจะทำงานในไทย คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการจบจากมหาลัยที่มีชื่อเสียง จะมีโอกาสได้งานมากกว่าที่ๆน้อยๆกว่า และมีบริษัทบางแห่งเน้นการรับเด็กที่จบมาในมหาลัยเดียวกับระดับบริหารในบริษัทด้วย
กลุ่มเพื่อน
สภาพแวดล้อมของเพื่อนทั้งในห้องเรียนและกิจกรรม อย่างที่บอกแล้วการทำงานไทย connection เป็นสิ่งสำคัญมากๆ ตอนเริ่มต้นทำงานน้องอาจจะยังไม่เห็นมาก เมื่อทำไประดับหนึ่งจะรู้ว่ามันสำคัญมากเช่นตอนน้องย้ายงาน หรือเวลาน้องมีต้องทำโปรเจคยักษ์ๆสักตัว คนกลุ่มแรกที่น้องจะโทรหาก็คือเพื่อนๆน้องก่อนนั่นแหละ ไม่ว่าจะในสายงานเดียวกันหรือต่างสายงาน
เกรดจบ
ในการสมัครงานนั้นมีผลบ้างแต่ไม่เยอะ (ยกเว้นบริษัทยักษ์ใหญ่"บางแห่ง" หรือแม้แต่โครงการคัดเด็กบางโครงการคัดเด็กจากเกรดต้องเกิน 3 หรือ 3.5) ยิ่งถ้าน้องคิดว่าจะเรียนต่อต่างประเทศนั้น เกรดจบมีความสำคัญค่อนข้างมาก การติด U ดังๆในเมกาด้วยเกรดต่ำกว่า 3 นั้นยากมากๆ มหาลัยบางแห่งยังยึดติดกับระบบที่ว่าต้องออกข้อสอบให้โหด กดเกรดเด็กให้ต่ำๆ เพื่อให้ดูว่าระบบการเรียนแข็งนั้นนั้นส่งผลร้ายต่อเด็กมากๆ ซึ่งมหาลัยชื่อดัง"บางแห่ง" "บางภาควิชา" ก็ยังเป็นอยู่ เช่น มหาลัยแห่งหนึ่ง ในภาควิชายอดฮิตลำดับ 4 ของคณะมีเด็ก 120 คน แต่เกรดเด็กที่จบมาปี 4 เกิน 3.5 มีแค่ 5-6 คน เกิน 3.00 มีแค่ 20 กว่าคน และเฉลี่ยทั้งภาคกองกันอยู่ที่ 2.7
เรื่องเงินเดือน มันขึ้นอยู่กับตำแหน่งงานและบริษัท รวมถึงความสามารถของน้องเอง มากกว่ามหาลัยหรือสาขาที่จบมามากกว่าครับ โดยปกติแล้วบริษัทด้าน software ดังๆในไทย ที่ให้เงินเดือนสูงๆมักจะมีอยู่ไม่กี่แห่ง ส่วนใหญ่จะกองอยู่แถวๆตรงสีลม
ขอบคุณมากครับพี่ ช่วยได้มากเลยครับ
3.1 เลือกไปเลยแบบไม่ต้องคิดครับ เอาตามความชอบเราดีกว่า ถ้าเรียนสาขาที่ไม่ค่อยชอบ พอเรียนไปชั้นสูงขึ้นมันจะเริ่มมีปัญหาครับ
3.2 วิศวะ หนักไปทาง HW ล้วนๆ แต่มี SW บังหน้า "เล็กน้อย"... แต่ฝั่งวิทยา SW ล้วนๆ เช่นครับกัน และมี HW บังหน้าแบบพื้นฐาน ไม่เจาะลึกไปมากครับ
3.3 เอ่อ.... พวกพระจอมเกล้าไรงี้น่าจะดีกว่าครับ พี่ว่านะ -.-"
3.2 แล้วคณะไหนที่จะเอาความรู้ไปใช้จริงได้มากกว่ากันครับ แบบเอาไปประยุกต์ใช้น่่ะคับ
3.3 แล้วเกษตรกับลาดกระบังที่ไหนน่าจะดีกว่ากันครับ
ทั้งสองคณะสามารถใช้ความรู้ได้พอๆ กันครับ มีได้เปรียบเสียเปรียบนิดหน่อย พี่ถึงบอกว่าให้เราเลือกตามความคิดเราไงครับ มันจะเป็นผลดีกว่า
ถ้าวิทยา พี่ว่าเกษตรน่าจะดีกว่า แต่ถ้าวิศวะ ลาดกระบังดีกว่าครับ
ขอบคุณมากครับ
3.ยังคิดไม่ออกครับ (บอกตรงๆ - -*)
มาแสดงตัวครับ
อยู่ชั้น ม.6 สายศิลป์-คำนวณ
ไม่มีครับ แต่อยากเป็นเรียนเสริมเอามากกว่า
3.1 คือ ถ้าอยากเรียนเกี่ยวกับการเขียน Mobile application จะเริ่มต้นยังไงดีครับ ^^
ข้ออื่นๆยังนึกไม่ออกครับ =D
ตอบข้อ 3 ผมขอแนะนำพวกอย่างง่ายก่อน แล้วค่อย ๆ ศึกษากับมันไปเรื่อย ๆ เช่น
Ovi Apps Wizard (บนเว็บ) -> Microsoft Visual Express for Windows Phone -> บลา ๆ ๆ
อย่างผมก็เคยได้แอพตัวแรกก็จาก OAW นั่นแหละครับ ส่วน Visual Express ก็ได้แค่ออกแบบ ยังไม่ได้เขียนจริงจังก็หมดอายุแล้ว ส่วน iOS และ Android ยังไม่ได้วาดมันเลย
แต่ทุกสิ่งย่อมเริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ เสมอครับ สู้ ๆ ครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
อยู่ ปวช. ได้ป่ะครับ ?
มีบางสายครับ ลองดูละกัน พวกบริหารธุรกิจ (อันเดียวกันเปล่าวะ) อาจจะมีก็ได้นะครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
อ่อ คือตอนนี้ผมอยู่ ปวช.3 เรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จะสอบถามเกี่ยวกับการเข้ามหาฯลัยอ่ะัครับ ว่าจะสามารถเข้าึคณะที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทางด้านซอฟต์แวร์ที่ไหนได้บ้างอ่ะครับ เพราะเห็นมีแต่สายสามัญที่เข้ากันอ่ะครับขอบคุณครับ
เอาที่พี่รู้นะ....
เทคโนฯ พระจอมเกล้าลาดกระบัง ( = =)b
คณะ IT เค้ารับครับ ถ้าน้องสอบวิชาที่เค้ากำหนด (Math/Eng/Com) ไหว ฮ่าๆๆๆ... (ปีพี่ (52->53) มีปวช. สอบติดไปคนนึงครับ 55 (แต่ไอเราสามัญล้วนๆ ไม่ติด orz..))
ขอบคุณครับพี่
สามวิชานี้ "สบายมาก" อิอิ ^^
ไงก็ตามข่าวดีๆ นะครับ ^^ พลาดแล้วต้องไปเหนื่อย Gat/pat นะ เราต้องสอบ pat 1/pat 2 ด้วย
1.อยู่ชั้น ม.2 ครับ
2.คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ครับ อาจเรียนสองปริญญาพร้อมกับนิติศาสตร์น่ะครับ <แม่วาดหวังไว้ให้น่ะครับ>
3.ถ้าเน้นไปทางด้านฮาร์ดแวร์จะเวิร์คมั้ยครับ แล้วควรเรียนไปสองปริญญาเลยดีมั้ย หรือเรียนไปทีละอย่างดีครับ?
ป.ล.ชอบแงะคอมและศึกษาชิ้นส่วนมากกว่าเขียนโปรแกรมน่ะครับ เลยขอเน้นฮาร์ดแวร์
By @iPoohs
Visit My blog
"Stay hungry.Stay foolish" -Steve Jobs
รอท่านที่จบ Com En. มาตอบละกันครับ ... บางทีผมก็สงสัยนะว่าถ้าอยากเรียนรู้เรื่อง HW เนี่ยจะไปทาง Com En. หรือ Electronic ดีกว่ากัน ;-)
ไม่แนะนำให้เรียนสองปริญญาอย่างยิ่ง
เลือกเลยครับ พูดให้พ่อแม่เข้าใจให้ได้ เพราะวิศวะคอมเรียนเยอะกว่าคนอื่นอยู่แล้ว
เรื่องชอบสายฮาร์ดแวร์...สายนี่ต้องการ skill รอบด้านครับ โดยเฉพาะด้่านเขียนโปรแกรม
ส่วนเรื่องถ้าชอบสายฮาร์ดแวร์แล้วจะเลือกทาง com รึว่า elec ผมเชียร์ทางคอมนะ
อันนี้เป็นความชอบส่วนตัวผมนะครับ ผมชอบออกแบบโปรแกรมมากกว่า ออกแบบวงจร
สำหรับวิศวคอมฯ แนะนำให้อ่าน 9gag ตัวนี้ครับ
ส่วนผมเรียนวิทยาการคอมฯ ถึงจะไม่ได้เรียนฟิสิกส์แต่ก็เล่นกับอิเล็กฯเพราะวิศวะมันมาทาง software ได้ ผมก็ต้องแย่งงานมันคืนดิ (ศึกษาเพิ่มเอา)
วิศวคอมฯมันก็คาบเกี่ยวกันกับวิทยาการฯคอมเยอะ แต่วิศวมันจะเพิ่มพวกอิเล็ก ฟิสิกส์ เคมี คณิตอีกบานๆ(วิชาแกนเท่ากันกับเอกคณิตเลย-*-)
ถ้าชอบหุ่นยนต์ สนใจแมคาทรอนิกส์มั๊ยล่ะครับ?
ไม่ค่อยสนเมคราทรอนิกส์น่ะครับ ฮ่าๆ คือตริงๆ ผมก็ไม่ได้ถึงกับ coding ไม่เป็น ผมพอได้กับ VB, Python อยู่น่ะครับ ดังนั้นวิศวคอมสำหรับผมไปรอดเนอะ
By @iPoohs
Visit My blog
"Stay hungry.Stay foolish" -Steve Jobs
ถ้าอยากเรียนควบคู่คณะนิติศาสตร์
ก็ลงเรียน Non-Degree ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงก็ได้
แต่มันจะหนักกับน้องมากเวลาเรียนเพราะนิติศาสตร์ต้องให้เวลากับมันพอๆกับสายวิศวกรรม
หรือบอกคุณแม่ให้ลดภาวะการตึงเครียดตรงนี้หันสายมาเรียนรัฐศาสตร์แทนก็ได้น่ะครับ
รัฐศาสตร์มีกฏหมายอยู่สองเล่มที่ต้องเรียนคือ กฏหมายปกครอง และ รัฐธรรมนูญ
ไม่เจาะลึกแต่เอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีทีเดียว
Tip. จบสายวิศวกรรมที่เล่งไว้แล้วค่อยมาเรียนภาคบัณฑืตที่มหาลัยต่างๆที่เปิดรับก็ได้ครับ
จุฬา ธรรมศาสตร์ รามคำแหง มีหมดครับ
นิติศาสตร์ ปี2 ครับ อยากบอกว่าถ้าจะเอา ควรจะเรียนเดี่ยวๆ ครับ
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
จบวิศวะแล้วค่อยไปเรียนรามก็ได้ครับ เทียบโอนวิชาพื้นฐานไปได้หลายตัวเหมือนกัน
ผมก็เห็นด้วยกับท่านอื่นๆ ว่าน่าจะเรียนอย่างใดอย่างหนึ่งนะครับ เพราะการเรียนในมหาลัยไม่ได้หมายถึงแค่เรียนในชั้นเรียนอย่างเดียวนะครับ ถ้าเอาเวลาว่างนอกจากการเรียน (เช่น สมมติว่าเลือกเรียนคอม) มาศึกษาเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม หรือศึกษาเรื่องที่เรียนอยู่ให้ master ยิ่งขึ้น จะมีประโยชน์มากๆ เวลาสมัครงาน และในชีวิตการทำงานครับ และอาจจะทำให้เรา fast track career ของเราได้เยอะครับ
งานสาย IT มีข้อดีกว่าสายงานอื่นๆ ตรงทีี่ว่าถึงจะจบมาจากสาขาไหน ถ้ามีความตั้งใจก็สามารถเรียนรู้ ด้วยตนเองได้ ปัจจัยสำคัญคือ ต้องเรียนรู้เร็ว ทันเทคโนโลยี กล้าเสนอความคิดเห็น (แต่ไม่ใช่ไประรานคนอื่น) ถึงจะไปได้ไว
สิ่งสำคัญในงานสายไอทีในองค์กรขนาดใหญ่ คือ การยอมรับความสามารถของคนอื่น เพราะงาน IT มันเหมือนจิ๊กซอ ทำคนเดียวไ่ม่ได้ งานไอทีระดับ 10 ล้านขึ้น คุณไม่สามารถทำคนเดียวได้หรอก คุณต้องใช้ตั้งแต่ PM, BA, SA, DP, Sale, ....บาน กว่าจะทำโครงการกันเสร็จ
วิศวะ-คอมพิวเตอร์
ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นยาวๆสักนิดนึงก่อน ผมเริ่มศึกษาด้านโปรแกรมมาตั้งแต่ช่วง ม. ต้น น่ะครับ
(แค่เว็บไซต์ทดสอบ ใช้ Appserv สร้าง) ช่วงว่างก็เขียนนู่นเขียนนี่ไปตามประสา มากสุดก็ทำเว็บบอร์ดคุณภาพต่ำได้ตัวนึง
(เขียนๆ เขี่ยๆ ดัดแปลงโค้ดชาวบ้านเอา)
ตามความเห็นของตัวผมเองคิดว่าค่อนข้างถนัดด้าน โปรแกรมมิ่ง (ชอบ) แล้วก็ศึกษามาหลายปีอยู่ ค่อนข้างมั่นใจในพื้นฐานของตัวเองด้านนี้ ในส่วนของ Hardware นั้น ผมไม่ค่อยมีความรู้เท่าไรครับ แค่พองัดแงะ-ประกอบคอมพอได้
แต่ยังไม่ค่อยรู้รายละเอียดเบื้องลึกของแต่ละ Hardware เท่าไร แต่ในกรณีที่ถามว่าสนใจพวก Hardware หรือไม่ ก็คงตอบว่าสนใจ แต่คงไม่มากเท่าพวกโปรแกรมมิ่ง
ถึงคำถามซักที
การที่ผมเลือกเรียนสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นสาขาที่จะเรียนต่อ คิดว่าจะเหมาะสมกับความชอบด้านโปรแกรมมิ่งของผมหรือไม่ครับ หรือว่ามีสาขาอื่นที่เหมาะสมกว่าด้านนี้
เคยได้ยินมาว่าเรียนวิศวคอม จะมีแบ่งให้เลือกว่าจะเรียนสายไหน (embed / network / hardware / software)
เป็นเช่นนี้จริงหรือเปล่าครับ
ทิ้งท้าย ผมว่าการที่ตั้งขึ้นมาถาม + ช่วยกันให้ความรู้สำหรับการเรียนต่อของนักเรียนชั้นมัธยม
เป็นโครงงานที่ดีมากเลยขอชื่นชม เพราะผมเชื่อว่าสมาชิกในเว็บไซต์ี้จำนวนไม่น้อยก็น่าจะเป็นเด็กนักเรียนที่สนใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ-คอมพิวเตอร์ น่าจะมีความคลับแคลงใจในการศึกษาต่อในสาขาที่เกี่ยวข้อง การที่มีผู้รู้มาช่วยให้คำตอบนั้นจะช่วยนักเรียนเหล่านี้ได้มากครับ (หนึ่ีงในนั้นก็ผมด้วยล่ะ คนนึง)
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบครับ
สายโปรแกรมมิ่ง ... จริง ๆ ในใจผมมีตัวเลือกอยู่สองตัวครับ
แล้วจบมาก็ยื่น resume มาให้ผมก็ได้ครับ ... เจ๊ย ไม่ใช่ 555
คือ ถ้าอยากเทพ อยากเขียนโปรแกรมแบบเน้นว่าต้องเร็วที่สุด แก้โจทย์ยาก ๆ ได้ ออกแบบอัลกอรึทึ่มขั้นเทพ CS จะตรงแนวกว่าครับ เพราะว่าจะเน้นเรื่องนี้เยอะ
ส่วนถ้าอยากรู้ว่ากระบวนการสร้างซอฟท์แวร์ขนาดใหญ่ ที่มีความซับซ้อนมาก ๆ มีนักพัฒนาร่วมกันหลาย ๆ คน SE น่าจะเหมาะกว่าครับ
ส่วน CE ผมไม่ค่อยรู้เท่าไหร่ (เพราะไม่เคยเรียนด้วย 55) อาจจะต้องลองถามคนที่จบ CE โดยตรงมาครับ
เห็นด้วยครับ Computer Science เน้นเรื่องนี้มากจริงๆ (ผมก็จบ CS เหมือนกัน อิอิ) โดยส่วนตัวผมเห็นว่างานในสาย Programmer ในประเทศไทยส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะ Computer Engineer หรือ Computer Science ก็มีโอกาสหางานได้เท่าๆ กัน อ้างอิงจาก Requirement ในการรับสมัครงานตำแหน่ง Programmer ของหลายๆ บริษัทที่ส่วนใหญ่ระบุคณะที่จบเป็น Computer Science / Computer Engineer มาคู่กันเลย และบางบริษัทหรือบางองค์กรจะระบุมาเป็น Bachelor degree of Computer Science/Information Technology or Related fields (ขอยกตัวอย่างข้อมูลอ้างอิง การรับสมัครงานจากเว็บไซต์ JobsDB.com ตามนี้ครับ >> http://goo.gl/g3gg8 )
แต่นี่ก็ไม่ได้จะหมายความว่า Computer Science หรือ Computer Engineer จะมีโอกาสได้งานในสาย Programmer มากกว่ากัน ทุกงานวัดกันที่ความสามารถล้วนๆ บางบริษัทที่เขาไม่ดูเรื่องคณะที่จบมา แม้แต่คนที่จบ Computer Business ความสามารถสูงพอ ก็อาจจะเบียดแย่งงานกับ Computer Science และ Computer Engineer ได้เช่นเดียวกันครับ
สวัสดีครับ พี่จบวิศวะคอมฯ มาครับ ลักษณะของน้องจะคล้าย ๆ พี่ในหลาย ๆ อย่าง เช่นสนใจด้านการเขียนโปรแกรมมาตั้งแต่เด็ก
สำหรับวิศวะคอมเนี่ย วิชาบังคับ มีหมดเลยครับไม่ว่าจะเป็น embedded, network, software รวมถึงวิชาคำนวณต่าง ๆ แต่วิชาเลือกค่อยเลือกอีกที ว่าจะเรียนด้านไหนเพิ่มเป็นพิเศษ
คำว่า hardware เนี่ยพี่ว่ามันไม่มีอะไรมากครับ พี่ก็ไม่เคยสนใจด้านนี้มาก่อน แต่ถ้าความคิดเป็นตรรกะดี พี่ว่าไม่ยากเลย แถมสนุกด้วยครับ
มันอาจจะประกอบไปด้วยเรียนภาษา assembly ควบคู่กับเขียนโปรแกรมให้ microprocessor ทำงาน ซึ่งทุกอย่างก็เป็นไปตามตรรกกะอยู่แล้ว ฉะนั้น ถ้าน้องคล้ายกับพี่ น้องจะต้องชอบมัน
ปัจจุบันมีหลายสถาบันเปิดสาขาวิศวกรรมซอฟท์แวร์ พี่ลองดูหลักสูตรคร่าว ๆ แล้ว คิดว่าน่าจะเหมาะสำหรับคนที่สนใจแต่ด้าน software เลยนะ (ตัวอย่าง http://www.kmutt.ac.th/cd/th/curiculum/M.Sc.%20(Software%20Engineering).pdf)
1. ม. 4
2. หนีไม่พ้น Software/Computer Engineering - Computer Science.
3. คำถามครับ
ตอบข้อ 3.1 SE จะเน้นในเชิงคุมโปรเจคครับ ตั้งแต่ออกแบบ แบ่งโมดูล แจกจ่ายงาย การทำงานเป็นทีม รวมไปถึงการใช้ tools ต่างๆช่วยในการทำงานด้วย (พวก vcs, tracker) เรื่องเขียนโค้ดก็หนีไม่พ้นครับ แต่มักจะไม่ลงลึกอัลกอริธึมโหดๆเหมือนพวก CPE
ขอตอบเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ (ไม่ได้เรียงนะ)
ผมอยู่ชั้น ม.3 ครับ
และคิดจะศึกษาต่อไอทีเหมือนกันครับ ยังไม่รู้เป้าหมายเลย ช่วยแนะนำด้วยนะครับ แต่ผมสนใจที่ฮาร์แวร์มากกว่าซอฟแวร์ ซึ่งน่าจะหมายถึงสนใจการทำงานและโครงสร้างในฮาร์แวร์ต่างๆ ของคอมหรืออื่นๆมากกว่าครับ ไม่ทราบว่าเกี่ยวหรือเปล่า ?
[Ebook] แจกฟรีสำหรับน้องๆที่อยากจะเรียนวิศวกรคอมพิวเตอร์ (ภาษาไทย) http://on.fb.me/nnrUKM
ผมคงมาแปลกสุด, ผมเป็นคนลาว (ประเทศลาว) เรียนอยู่ชั้น ม.6 ครับ - -*, ที่นี้มันไม่มีแบ่งสายหรืออะไรเลยจนถึงมหาลัย, ทุกวันนี้ผมอึดอัดใจมากที่เรียนสิ่งที่ตัวเองไม่ได้รัก (เรียนสายสามัน เกลียดที่สุดคือวิชาท่อง เช่น ภูมิศาสตร์, สงคม ฯลฯ) แต่เคมี, ฟิสิกก็พอได้ครับ, ตอนนี้ผมก็แอบไปเรียนที่มหาลัยตอนเย็นสาย IT, อยู่ปีสุดท้ายแล้วกำลังจะจบ (แอบใช้วุฒิเถื่อนเข้าเอาครับ เพราะผมรอให้จบ ม.ปลายก่อนค่อยเข้าคงไม่ไหว ใจอยากเรียนมากครับ)
อยากรบกวนพี่ๆช่วยให้คำแนะนำหน่อยครับ ตัวผมเองพูดได้ 5 ภาษา (อ่านได้ เขียนได้), ชอบ Web Programming และอะไรหลายๆอย่างที่เกี่ยวกับ Hardware ครับ, แล้วผมก็ไม่รู้จะต่อ ป.ตรี สายอะไรดี? รบกวนด้วยครับ
ขอบคุณมากครับ!! :D
ปล. พวกพี่ๆ Blognone ทั้งหลายเป็นคนที่ทำให้ผมค้นหาตัวเองเจอ IT แหละใช่เลย ^ ^
ถ้าทำได้ขนาดนี้ ลองข้ามมาไทยมาหางานทำไหมครับ? ส่ง resume บริษัทในบอร์ดหางานนี่ล่ะ ผมเชื่อว่าบริษัทไม่น้อยเปิดกว้างพอที่จะไม่สนวุฒิอย่างเป็นทางการ แต่เตรียมใจรอรับคำปฎิเสธจากบริษัทอีกไม่น้อยเหมือนที่ดูวุฒิเป็นหลักด้วยนะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
อยู่เมืองไทยมี ม.7 ไหมครับ? และไม่ทราบกว่ามหาลัยที่นู้นการเรียนการสอนเป็นยังไงบ้างครับ? ที่นี้ไม่เน้นประติบัตเลย อ่านลูกเดียว - -* ผมต้องมานั่งทำเองทุกวัน รู้สึกไม่สนุกเท่าที่ควรเลยครับ อาจารย์ดีบ้างไม่ดีบ้าง - -
ม.7 ยกเลิกไปนานแล้วล่ะครับ
ส่วนระดับมหาวิทยาลัยอันนี้ต้องขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยด้วยครับ บางมหาลัยก็เน้นท่องจำ บางมหาลัยก็มีปฎิบัติมากกว่า (แต่คงไม่มีที่ไหนที่เน้นปฎิบัติไปเสียหมด สุดท้ายแล้วระดับมหาวิทยาลัยน่าจะเป็นเรื่องขององค์ความรู้มากกว่าทักษะครับ) บางมหาลัยนี่เรียนเหมือนมัธยมเลย คือ จัดวิชาให้ทั้งหมดแล้วผู้เรียนก็เรียนตามชั้นปี ในขณะที่บางมหาลัย (น่าจะเป็นมหาลัยระดับต้น ๆ ของประเทศส่วนใหญ่) จะให้ผู้เรียนเลือกได้เองว่าอยากเรียนวิชาอะไรก่อนหลัง (ซึ่งก็จะมีกฏของแต่ละวิชา อันนี้ปรกติ)
นอกเรื่อง : ผมว่าน้องใช้ภาษาไทยได้ดีกว่าคนไทยหลาย ๆ คนอีกนะครับ ผมรู้สึกอายแทนไงชอบกล 55 ส่วนตัวผมสมัยเรียนไม่เคยมีเพื่อนเป็นคนลาว (แต่มีเพื่อนที่เป็นคนพม่าหลายคนอยู่ผมจบมหาลัยนานาชาติน่ะครับ)
ที่นี้เรี่มจะมี ม.7 ผมไม่เห็นมันมีประโยชน์เลย = = ผมเรียน ม.ปลาย อยู่ รร.เอกชนที่ท็อปที่สุดของที่นี้การสอนห่วยแตกมาก, วันๆเอาคอมไปเล่น, เล่นกิต้าร์, นอน, เล่นไพ่ ทุกอย่าง - - เดี๋ยวก็สอบแต่ละวิชาให้ท่องยาวอย่างกับห่างว่าว 7 8 ใบกระดาษ A4, หลายประมาณสัปดาห์เดียว มันถึงบอกว่าสอบ วิชาที่สอบก็สิบกว่าวิชา และแล้วมันก็อาศัยขายข้อสอบ แล้วมี ม.7 อีก เศร้า กว่าจะได้เข้ามหาลัย ดีที่ผมเข้ามหาลัยก่อน ไม่งั้นคง? 25 มหาลัยก็ยังไม่จบ แก่แล้วถึงได้ใช้ความรู้ > <
ผมควรจะเรียนต่อ ป.ตรี สายอะไรดีครับ?
ปล. ผมก็ไม่ได้อยากขาย รร. ตัวเองนะครับ ผมแค่อยากให้เขาเปลี่ยนระบบการสอนเฉยๆ - -
นอกเรื่องด้วย : คงเพราะผมอ่านหนังสือไทยเยอะมั้งครับ - - ที่นี้หนังสือเฉพาะทางยังมีไม่มากครับ ตอบสนองความต้องการไม่ได้ ผมอยู่ที่เวียงจันทร์ เลยไป จ.หนองคาย เพื่อซื้อหนังสือบ่อยครับ
สุดยอด 5 ภาษา แต่อย่าไปยึดอะไรครับ สายกลาง
สายกลางที่ว่าคืออะไรครับ?
เห็นด้วยกับเรื่องที่นอกเรื่อง
อายแทนคนไทยจริงๆ - -"
วิศวะที่เน้นซอฟท์แวร์ น่าจะเป็น SW Engineer ครับ แต่เน้นที่ความเป็นวิศวกรรม คือ ... น่าจะเป็นเรื่องของกระบวนการผลิตมากกว่า (ผมไม่ได้จบด้านนี้เลยไม่มั่นใจเหมือนกัน)
ม.2 ครับ
ไม่มั่นใจครับ มีหลายแนวทาง
คำถาม
ต้องดูด้วยครับว่าเป็นอาการแบบไหน (ผมมีคนรู้จักเป็น Asperger Syndrome ก็เห็นเรียนจบมหาวิทยาลัยมาได้ เกรดดีด้วยนะ)
Asperger Syndrome นี่น่าจะเป็นอาการทางสมองมากกว่านะครับ (ผมไม่แน่ใจ)
@zumokik
ตอบข้อ 3
น้องโม่ครับ...
ถ้าน้องจะเรียนวิศวะ... โปรแกรมมิ่งแทบไม่ต้องแตะเลยมั้ง =___= เพราะมัน HW ล้วนๆ!!
Network พี่ให้ ICT เป็นอีกตัวเลือกละกัน เพราะสาขานี้จะเน้นเยอะกว่า CE
มันแล้วแต่ว่าเขากำหนดหลักสูตรมาไง.. แต่พี่ว่ามันก็เหมือนกันแหละ ยกเว้นฬ. 55+
หายากมั้ย ตอนนี้พวกนี้รับเยอะอยู่นะ ลองหาตำแหน่งงานที่เขารับดูๆ ไปพลางๆ ก็ได้
ผมเข้าใจว่าวิศวะก็ต้องเรียนโปรแกรมมิ่งเหมือนกันนะครับ เพราะมันเป็นพื้นฐาน (ซึ่งสุดท้ายการนำไปใช้แทนที่จะพัฒนา application หรือ web ก็จะเป็นเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุม hardware แทน)
อันนี้น่าจะแล้วแต่หลักสูตรของแต่ละสถาบันครับ
ผมว่าอย่างน้อยก็ต้องได้เขียน Assembly นะ หรือผมเข้าใจผิดว่าเรียนพวก HW แล้วไม่ต้องเขียน Assembly?
ผมก็ไม่รู้ฮะ แต่ CPE เกษตรมีเรียนโปรแกรมมิ่งครับ ลงลึกพวกอัลกอด้วย
อืมผมเรียนจบมา ก็ยัง งง อยู่เหมือนกันนะ ว่าวิศวะคอมฯ มันจะเก่งอะไรกันแน่ คือตอนเรียนก็มีทั้ง HW กับ SW แต่คนที่เก่ง HW นี้ไปทำงาน IT SP (sw engineering : ชือเท์ใช่ไหมละ)
ส่วนตัวผมเขียน SW (เพราะว่า ชอบ) ครับ และคิดว่า(ความคิดส่วนตัวนะ คิดว่า Sw เป็นอะไรที่น่าจะเกิดง่ายกว่า HW นะ และก็มีอัตราการ จ้างงานสูงกว่า {จากประสบการณ์นะ})
แต่ถ้าจะเอากันจิงๆๆ ผมก็คิดว่ามันดีทั้งสองอย่างและ(SW, HW) ขึ้นอยู่ว่าไครจะชอบทำอะไร เพราะว่าถ้าเราเก่งอะไรสักด้านๆๆ หนึ่ง (SW or HW) เก่งจิงๆๆนะแบบว่าไม่ใช่รู้แบบ งู ๆๆ ปลา งานก็หาง่ายเหมือนกันและครับ
เพราะคิดว่า คนที่เก่งๆ จริง(เอาแบบเนื้อๆๆนะหายากครับ)
+1 ผมก็รู้จักคนหนึ่งอยู่เหมือนกัน เป็น Specialist แล้วก็รับ Consult ให้ บ. ใหญ่ๆ ค่าตัวชั่วโมงหนึ่งก็หลายตังอยู่ :)
เสริมนิด บางคนคิดว่า CPE บางที่ยังเรียน VB6 กันอยู่ ก็อย่าได้น้อยใจเลย เพราะพวกโรงงานก็ยังมีความต้องการอยู่ และเงินเดือนก็ยังดีอยู่ด้วยครับ (เขียน C#.NET ยังแอบอิจฉาเลย)
^^... ตอบ 3, 4 ครับ
3.. พวกอินเตอร์หรือภาค Eng เวลาเรียนเลคเชอร์ในคาบ อาจารย์จะสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดอยู่แล้วครับ แต่พอหมดเลคเชอร์ปั๊บ น้องไม่เข้าใจตรงไหน ไปถามเก็บกับอาจารย์ทีหลังได้ครับ เค้ายินดีตอบเป็นภาษาไทยอยู่แล้ว ^^
4.. วิทยาการคอมใช้คณิตค่อนข้างเยอะครับ มีทั้งคำนวณ big o, เลขฐาน, อนุกรม (จะอยู่ในวิชา Data Structure, Algorithm Diagnostic) ถ้าไม่ค่อยเก่งก็ไม่ต้องกลัวครับ เรื่องพวกนี้ไม่ค่อยยากนะ ถ้าทำความเข้าใจได้ ^^
ขอบคุณมากครับ ^^
เสริมอีกนิืดว่าภาษาอังกฤษเริ่มหัดตั้งแต่ตอนนี้เลยก็ดีนะครับ จากประสบการณ์ของผมคือคนที่ภาษาอังกฤษดีก็เปิดโอกาสได้อีกเยอะครับ โดยเฉพาะบริษัทต่างชาติครับ
ผมมีประสบการ์ณจากที่ท่านเล็งไว้พอดีเลยครับ ก็ขอบอกว่า ภาษาอังกฤษดูจะน่าหนักใจกว่าเลขนะครับ เพราะที่มหิดลถ้าภาษาไม่ถึง จะต้องไปปรับทักษะระยะนึง
คณิตศาสตร์ ใช้เยอะมั้ย เยอะ ยากมั้ย คิดว่า ถ้าเข้าใจตรรกะดีพอที่จะมองมันเป็นเครื่องมือมากกว่าปัญหา ก็ไม่น่าจะยากเกินครับ ทุกวันนี้เราใช้ภาษาเพื่อสื่อสาร มากกว่ามานั่งนับว่ามีคำมูลกี่คำอยู่แล้ว
CS โดยพื้นฐานจะเป็นเรื่องของ Theory of Computation ซึ่งเป็นแขนงนึงของคณิตศาสตร์ พูดง่าย ๆ คือคอมพิวเตอร์เป็นคณิตศาสตร์แขนงนึงครับ อิอิ
ปล. ถ้าอยากเรียนภาษาอังกฤษเก่ง ๆ แนะนำให้หักดิบครับ เข้าไปเรียนเลยแล้วค่อยว่ากัน 555
ภาษาอังกฤษต้องใช้อย่างต่อเนื่องครับ เริ่มตั้งแต่ตอนนี้เลย ใช้บ่อยๆ เช่น ดูหนังก็ปิดซับลองฟังเอา อ่านหนังสือภาษาอังกฤษ อ่านข่าวจากเวปที่เป็นภาษาอังกฤษ อ่าน textbook ความรู้พวกนี้มันเพิ่มพูนเรื่อยๆ ครับ
อยู่ ม.3 ครับผม แต่คำถามส่วนใหญ่ถูกถามและตอบไปข้างบนหมดแล้ว :D
มีอะไรอยากรู้อีกหรือเปล่าล่ะคับ... ถามมาได้นะ :3
อายุเกินมานาน ขอแชร์บ้าง เพราะตัวผมเองจบอิเล็กฯมาแต่ก็จับพลัดจับผลูมาทำงานด้านโทรคมและไอทีแล้วก็กลับมาทำอิเล็กฯอีก สุดท้ายก็มาอยู่ประมาณวางแผนการผลิตซึ่งผมมองว่ามันเป็นวงจรปกติของการทำงานตามประสบการณ์ที่มากขึ้น
เลยอยากจะแนะนำน้องๆรุ่นใหม่แบบนี้
1. เรียนอะไรก็ได้แต่ขอให้สนใจภาษาอังกฤษแบบจริงจัง อ่าน เขียน ถ้าพูดได้ยิ่งดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
2. หาความรู้เพิ่มเติมจากที่เรียน เช่นการเขียนโปรแกรมต่างๆ, database ฯลฯ
3. เมื่อรู้ว่าชอบอะไรแล้วพยายามทำให้เชี่ยวชาญให้ถึงที่สุดที่จะทำได้เพราะมันจะเป็นจุดแข็งของคุณ
สิ่งที่ผมพลาดตอนเรียนคือ ติดเมา ลั๊ลลา ขี้เกียจไปหน่อย แล้วภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง จึงต้องมาปรับปรุงทีหลังซึ่งมันช้าไปหน่อยแต่ก็ยังไม่สาย ^^
1.อยู่ ม.6 ครับ (ปวช.3)
2.เข้า Com-Sci แน่นอนแล้วครับ
3.อยากทราบเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนเข้าไปเรียนในระดับมหาวิทยาลัยครับ
ส่วนคำถามที่เหลือข้างบนตอบไปหมดแล้วครับ
ปวช. 3 หรอ = =...
คือ... เตรียมตัว, เตรียมใจ ก่อนเป็นลำดับแรกครับ เพราะที่เรากำลังจะได้เรียน ความยากจะทวีคูณกว่าที่เราเจอในชั้นปวช. ครับ (เพราะทางฝั่งสามัญ เค้าจะได้เรียนพื้นฐานที่ต้องใช้ต่อในมหาวิทยาลัยมาแล้ว) และอีกอย่าง เราก็ต้องตามเนื้อหาให้ทัน เพราะว่าอาจารย์บางท่านก็สอนเร็วติดจรวด บางท่านก็สอนแบบช้าๆ ไอสอนช้าพี่ไม่ห่วง แต่สอนเร็วก็อย่างที่บอกอ่ะครับ ต้องตามให้ไหว ถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็เข้าไปปรึกษากับอาจารย์ประจำวิชาได้ครับ
อยู่ปีหนึ่งครับเมื่อก่อนอยากเรียนเกี่ยวกับสายไอทีแต่ทว่าพอโตมาแม่ไม่อยากให้เรียนจำได้ว่าคอมเครื่องแรกที่จับเป็นแมครุ่นคุณปู่ที่แอปเปิ้ลยังมีสีรุ้งอยู่. ตอนนี้เรียนอยู่ทันตแพทย์เพราะว่าแม่อยากให้เรียนหมอแต่กลัวผีเลยเลือกทันตะซึ่งแม่ก็ไม่ได้ว่าอะไร อยากจะขอให้เด็กมอต้นมอปลายทุกคนทำตามความฝันให้ได้นะครับ
ผมเรียนจบมาแล้ว กลายมาเป็นครูซะงั้น แต่ก็ชอบนะครับ ได้สอนนักเรียน
อยากจะบอกน้องๆที่ยังเรียนนะครับว่า การเรียนสายไอที-คอมพิวเตอร์ นั้นมันมีเยอะแยะมากมาย
ไม่ว่าจะเป็น คอมธุรกิจ วิทย์คอม วิศวะคอม เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์กราฟฟิก
เทคโนโลยีการศึกษา วิศวะซอฟแวร์ ฯลฯ แต่ถ้าเรียนพวกวิศวะ หรือสายวิทย์ ก็จำเป็นต้องเรียน วิทย์-คณิต เพราะใช้สอบและเรียนตอนมหาลัย เคมี ฟิสิกส์ ชีวะ แต่ใช้เรียน แค่ ฟิสิกส์ เคมี ควรเน้นเรียนภาษาอังกฤษไว้จะดีมากๆครับ แค่ อ่านออก ฟังรู้เรื่อง แปลได้ ก็พอแล้วครับ
ถ้าพูดถึงเรื่องความรู้ ส่วนใหญ่มันก็คล้ายๆกัน แต่จะเจาะลึกไม่เหมือนกัน ได้ความรู้แตกต่างกันไปในบางเรื่อง
แต่ถ้าเป็นพวกวิชาที่เกี่ยวกับ ซอฟแวร์ เน็ตเวิร์ค เว็บไซต์ ตัดต่อ วีดีโอ ถ่ายภาพ ถ่ายวีดีโอ อะไรพวกนี้
มันศึกษาหาความรู้กันได้ครับ ทั้งในอินเตอร์เน็ตและหนังสือ หรือครูพักลักจำ
จากประสบกาณณ์ส่วนตัว จากเพื่อนที่เรียนไอที-คอมพิวเตอร์ นะครับ
เพื่อน1 จบวิศวะคอม ทำงานดูแลเน็ตเวิร์คในทีโอที
เพื่อน2 จบวิทย์คอมทำงานบริษัทเครื่องสำอาง และเป็นฟรีแลนซ์ เขียนเว็บ เขียนapp อยู่เชียงใหม่(เงินดีมากๆ)
เพื่อน3 จบเทคโนโลยีการศึกษา ทำงานกับทีวีบูรพา ตัดต่อถ่ายๆ อย่างเดียว
เพื่อน4 จบคอมธุรกิจ ทำงานในอบต
แต่ทั้ง 4 คน มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ เขียนเว็บเป็นหมด รับจ๊อบพิเศษก็คือเขียนเว็บ
แต่ปัจจุบันโลกไม่ว่าทำงานอะไรมันก็ต้องเกี่ยวกับ อินเตอร์เน็ต ลองไปสมัครงานทำงานที่ไหน เค้าจะถามเลยเขียนเว็บเป็นไหม ดูแลเว็บได้ไหม หรือดูแลงานด้านเน็ตเวิร์ค เช่น วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ได้ไหม
แม้แต่ Lotus ยังรับพนักงานดูแลเฉพาะ Facebook เลย ผมได้ยินทีแรกก็แปลกใจ ฮ่าๆ
งานด้านเขียนเว็บเนี่ย ที่สำคัญก็คือ html นะครับ มัธยม ประถมคงเรียนกันมาหมด รปศ. นิติ ก็ได้เรียนนะ html เนี่ย เป็นพื้นฐานที่สำคัญ
แต่ก็เหมือนที่คุณ kengz(ด้านบน) ได้บอกไว้ "อย่ายึดติดกับเทคโนโลยีใด เทคโนโลยีหนึ่ง"
โลกนี้มีอะไรให้เรียนรู้เยอะแยะมากมาย บางทีน้องเห็นอาจารย์ใช้โปรแกรมเก่าๆสอน ก็อย่าน้อยใจ หรือโกรธอาจารย์
คิดซะว่ามันเป็นพื้นฐาน แล้วเราก็ต่อยอดไปศึกษาเอาเอง (เมื่อก่อนผมก็เคยคิดแบบนี้ จนมารู้ทีหลังอะแหละ)
...บ่นซะยาว จะอ่านรู้เรื่องไหมเนี่ย ฮ่าๆ
ผมจบครูครับแต่ตอนนี้ก็ต้องมาทำงานเกี่ยวกับ IT ผมว่าเรียนในสาขาที่เราสนใจ จะทำให้เราเข้าใจมากกว่านะครับ
แต่จากประสบการณ์การที่พบกับตัวเองนะครับถ้าชอบ IT ต้องควบคู่กับ ภาษาอังกฤษผมว่าจะดีมาก
ถ้าไม่นับสายที่ทำงานด้าน HW หนักๆ หรือ Engineer ไปเลย (System Eng, Network)
ทำงานด้าน Software เมื่อโตมา ที่ต้องเจอก็คือการเรียนรู้ Business Process ^^
แล้วก็เหมือนที่หลายๆคนบอกน้องๆทุกคน ภาษาอังกฤษ มันเป็นพื้นฐานที่ขาดไม่ได้แล้วครับ ฝึกได้ฝึก พูด ฟัง อ่าน เขียน ไม่ใช่แค่ทำข้อสอบ จะได้ไม่ต้องมาเหนื่อยตอนแก่ ห้า ห้า
..: เรื่อยไป
ถ้าน้องๆชอบงานสายนี้ อนาคตมีงานให้ทำเยอะ รายได้ก็ต้องดีมากแน่นอน เพราะคอมฯกำลังมีบทบาทมากขึ้นทุกวัน
ตามความเห็นของผม
แต่จริงๆแล้วทำงานไขว้สายกันได้ครับ ตามความถนัดของแต่ละบุคคล
ม.5 ครับ
สนใจศึกษาต่ออุดมศึกษาในสายที่เกี่ยวกับไอทีด้วยครึ่งนึง อยากเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครับ
คือถ้าเราเรียนด้านนี้ ควรจะเลือกคณะไหน อย่างไรดี คือ อยากทำงานเกี่ยวกับด้าน IT เกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์อะครับ ไม่เอาโปรแกรมเมอร์หรือวิศวะนะ
^__^
อยากทำงานไอที แต่ไม่เอาการเขียนโปรแกรม เหมือนซื้อรถแล้วไม่เอาเครื่องยนต์นะครับ จะเรียนอย่างไม่มีความสุขเลย จบมาหางานทำยากด้วย แต่ถ้าสนใจเกี่ยวกับการซื้อ-ขาย-ใช้-ซ่อมอุปกรณ์ไอที การศึกษาด้วยตัวเองน่าจะดีกว่าครับ
ม.6 ครับ
เข้าวิศวกรรมศาสตร์ครับ เลือกสาขาตามตลาดไปก่อน อาจไม่เข้าคอม ถ้าเกรดปี 1 ดีๆ ก็อยากได้ Petroleum Engineering ครับ
เอาจริงๆ เลยนะครับ ผมก็เหมือนคนทั่วไป อยากทำงานอะไรก็ได้ที่ได้เงินเยอะๆ เพื่อเอาไปซื้อความสุขในแบบที่เราชอบ สำหรับผมคือ เที่ยว .. :D คืออยากให้ช่วยแนะนำแนวทางหน่อยครับ โดยที่มองๆ ไว้ก็คือทำ ecommerce กับ อาจารย์สอนพิเศษออนไลน์ แบบเราตั้งใจทำเนื้อหา เตรียมโจทย์ เตรียมอะไรให้ดี และการสอนให้เยี่ยม เอาให้เด็กเข้าใจ ผมว่าเด็กจะมองเห็น และบอกต่อๆกัน ธุรกิจการศึกษาผมว่ายังโตอีกมาก ถ้าการศึกษาไทยยังแบบเป็นนี้อยู่
เริ่มจากเลือกซักหนึ่งภาษามาลองศึกษา basic concept ของ programming ก่อนอ่ะครับ อาจจะเริ่มจาก C ซึ่งเป็น structure programming ก็ได้ ซึ่งน่าจะง่ายกว่า OOP หรือถ้าอยากลอง OOP ก็ Java ก็ได้ครับ ลองอ่านแล้วทำตามแบบฝึกหัดใน text book ซักเล่มนึง หลังจากมีพื้นฐานแล้วก็ลองคิดเล่นๆ ว่าอยากเล่น application อะไร แล้วก็ลองทำดูครับ
1.ม.5ครับ
2.วิศวะคอมจุฬาฯเป็นเป็นหมายอันดับหนึ่งในใจตอนนี้ครับ
3.แรงบรรดาลใจตอนเด็กๆคือหนังเรื่อง I robot แล้วประทับใจตัวหุ่นยนต์นั้นมากเลยอยากสร้างหุ่นยนต์กับอยากเขียน A.I. นะครับ พอโตๆขึ้นรู้สึกประทับใจในแบรนด์ google ขึ้นมา เลยอยากทำเกี่ยวกับโทรศัพท์ android คือเป้าหมายดูสูงมาก แต่ผมอยากให้มันเป็นความฝันสูงสุดไปก่อน แล้วลองทำดูจะได้ไม่ได้ยังไงว่ากันอีกทีน่ะครับ ส่วนความสามารถในการ coding ตอนนี้เท่ากับศุนย์ครับ - -
สิ่งที่สงสัยในใจคือ คณะวิศวะคอม กับ วิทยาคอม เนี้ย ผมคิดเอาเองว่า วิศวะคอมมันจะมีภาษีกว่าในการทำงานจริงหรือเปล่าครับ? คือคะแนนสอบเข้าก็สูงกว่าอย่างเห็นได้ชัดอยู่แล้ว แล้วถ้าพูดถึงสายไอทีเขาจะพูดกันถึง วิศวะคอมกันก่อน และคุณแม่ที่เคารพรักของผมก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน เลยบอกว่าถ้าจะเข้าสายนี้ก็เอาวิศวะคอมให้ได้เถอะ แต่จริงๆ ผมสนใจในด้านเขียนแอป เขียนโปรแกรมอะไรพวกนี้มากกว่าน่ะครับ ถ้าเกิดเรียนวิศวะคอมมันจะไม่ตรงจุดหรือเปล่าครับ? ขอถามตรงนี้แล้วก็ขอความกรุณาแนะแนวทางที่จะเปิดโอกาสให้ความฝันสูงสุดของผมมีโอกาสเป็นไปได้ขึ้นมาสักนิดน่ะครับ ขอบคุณครับ : )
วิศวกรรมคอมฯ จุฬาฯ เป็นตัวเลือกที่ดีมาก(น่าจะมากที่สุด) แต่ก็ยังมีทางสายอื่นที่จะพาน้องไปถึงฝันได้ อย่างผู้ก่อตั้ง Google, Facebook, Microsoft ก็จบวิทยาการคอมฯ น่าจะมีไว้เป็นตัวเลือกด้วยนะครับ
ขอเพิ่มความเห็นส่วนตัวอีกนิดครับ ถ้าย้อนเวลากลับไปได้สัก ม.1 จะตั้งใจไปเรียน วิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่ Stanford University ดีกว่าครับ(ฝันไกลเลย)อยู่ใน Silicon Valley พบปะกับคนไอทีตัวจริง จะได้มีความคิดที่ก้าวหน้าขึ้น เพราะในบ้านให้ความสำคัญกับไอทีน้อยมาก(เมื่อเทียบกับประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ) ที่เรียนกันอยู่ตอนนี้ก็เพื่อว่าจบมาได้มีงานทำเฉยๆนะครับ
ขอบคุณครับ : ) ยังงี้ผมก็เรียน วิศวะคอมไปก่อนแล้วค่อยไปต่อโทที่นู้นก็ได้ใช่ไหมครับ
อีดิทเพิ่ม : คือที่บ้านผมไม่ได้มีฐานะร่ำรวยมากเท่าไหร่ คุณแม่อาจจะส่งได้แค่ถึงปริญญาตรีเท่านั้น พี่พอจะทราบไหมครับ ว่าจะต่อโทด้าน CE หรือ CS ที่ แสตนฟอร์ด อะไรงี้นี้มันต้องใช้เงินเท่าไหร่อ่ะครับ? ขอบคุณครับ
ตัวอย่างผลลัพธ์ก็มีให้เห็นเยอะอยู่นะครับ บางทีค่านิยมที่เราทำตามกันมาก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป
พ่อแม่ ครู ติวเตอร์ต่างๆ เขามองอีกมุมหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์แน่นอน
แต่อาจจะเป็นเรื่องของชื่อเสียง หรืออื่นๆ แล้วบุคคล ผมเห็นมาหลายยุคสมัยแล้วครับ ก็ไม่เห็นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย เช่น เด็กสายศิลป์แข่งกันสอบเข้านิเทศฯมหาลัยดังๆ จบออกมา ทำละคร ก็ยังน้ำเน่าอยู่เหมือนเดิม ธนาคารที่บอกว่าตัวเองคิดนอกกรอบ แต่ก็ไม่เห็นว่าจะมีอะไรนอกกรอบออกมา ฯลฯ ผมคิดว่าคำแนะนำของรุ่นพี่ที่มาตอบในที่นี้อาจไม่ได้ช่วยอะไรเลยจริงๆ เพราะน้องกลับไปบ้าน ไปเจอเพื่อน ไปเจอสังคม เขาก็คิดกันอีกแบบหนึ่งอยู่ดี
ผู้ก่อตั้ง MS ไม่ได้จบวิศวะครับ ... เอาเข้าจริง ๆ เรียนไม่จบด้วยซ้ำ (บิลล์เกตส์เรียนนิติศาสตร์แต่ไม่จบ)
แหม ถึงอย่างนั้นผมก็อยากเรียนให้จบน่ะพี่ 55555
เวลาเรียกพยาบาลคนเราก็มักจะเรียกติดปากกันว่าหมอใช่มั๊ยล่ะ วิศวคอมก็ไม่ต่างกัน (ภาษีเยอะกว่าอยู่แล้ว)
จริงๆสองสายนี้ไขว้และแย่งงานกันเองได้ครับ การเลื่อนตำแหน่งก็บางที่ไม่มีปัญหาเท่าไหร่ แต่ที่นอกเหนือจากนั้นผมตอบไว้ใน #365558 ครับ
ที่จริงผมก็ฝันถึงเรื่อง A.I. robot นะ ถึงได้ผันตัวเองจากวิดคอมมาทำอิเล็กฯร่วมด้วย
อ้อ ถ้าเป็นหุ่นยนต์นี้ต้องเป็นวิศวะ อิเล็กหรอครับ? แล้วยังงี้ถ้าผมอยากเรียนการเขียน AI เนี้ย มันจะอยู่ในส่วนภาควิชาไหนหรอครับ หรือต้องโทขึ้นไปอีกนู้นอ่ะครับ?
เอาจริง ๆ บ้านเราเรียก Engineer ว่า วิศวกร มันฟังดูเลิศกว่า นักวิทยาศาสตร์ อยู่แล้วครับ (แหม เป็นถึงมือของพระวิศณุ)
แต่ Engineer ต่างประเทศเป็นได้ตั้งแต่ ช่างเครื่อง ... ยัน ... ช่าง อะไรสักอย่าง หลัก ๆ ก็คือช่าง แต่อาจจะไม่่แขนงของช่างฝีมือ (Craftman) หรือ ช่างซ่อมประปา หรืออื่น ๆ คือจริง ๆ แล้ว Engineer หมายถึง คนคุมเครื่อง น่ะครับ แต่ว่าต้องซ่อม/สร้างด้วย เท่านั้นเอง
สรุปว่าถ้าในภาษาอังกฤษ ผมว่า Scientist เท่ห์กว่า 555
ขออภัยท่าน ๆ วิศวกร ทุกท่าน ยังไงผมก็เด็กวิทยาอ่ะครับ ^^ ความเห็นส่วนตัว กรุณาอย่าเหมาเป็นความคิดของเด็กวิทย์ทุกคนนะคร้าบบบ
ผมก็คิดงั้นเหมือนกันนะ ต่างประเทศวิทยาศาสตร์มันเหมือนเป็นศาสตร์ชั้นสูง ไม่เก่งเรียนไม่ได้
แต่พอเป็นไทยมันดูไม่เท่เลยได้เด็กอ่อนกว่ามา มันเลยทำให้คณะดูด้อยกว่า
May the Force Close be with you. || @nuttyi
พูดซะวิศวะ อย่างผมหง่อยเลย เอิ๊กๆ
[Blog ZeroEngine] [@ZeroEngines]
เมื่อมีคนถามผมว่า "วิศวกรคืออะไร?"
ผมมักจะตอบไปว่า "กรรมกรไฮเทค" ครับ
ไว้เจอกันนะครับ รุ่นน้อง หุหุ ผมกำลังจะ ent อะ 55+
ผมจะตามไปครับ 5555
ข้อ 1. ม.4 ครับ
ข้อ 2. อยากเข้าวิศวะคอมครับแต่คิดว่ายากไป วิทยาการคอม ดีกว่า-.-
ข้อ 3. พี่ๆข้างบนตอบให้หมดแย้ว^ ^
1อยู่ ม.2
2. อยากเรียคณะนิเทศศาสตร์
3. ผมชอบด้าน it(เน้นไปที่ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์โทรศัพท์)& gadget อ่ะครับควรเรียนสายอะไรดี แต่ที่อยากเรียนนิเทศ ก็เพราอยากเป็นพิธีกรไอทีแบบพี่ซี ฉัตรปวีณ์อ่ครับ
ไงน้องยังมีเวลาคนห้าตัวเอง เพิ่องขึ้นอีกนะครับ แต่ถ้าชอบด้าน ไอทีก็ ได้เกือบทุกสาขาวิชาเลยนะครับ อยู่ที่เนื้อหาและการสอนของแต่ละมหาวิทยาลัย
เรื่องการที่อยากเป็นพิธีกรนี่คือต้องพูดรู้เรื่อง
พี่ว่า น่าจะฝึกเรื่องการพูดเข้าไว้ หาข่าว และบางทีก็ควรจะมีบล็อกส่วนตัวบ้าง เพราะหลายคนก็มีบล็อกพวกนี้อยู่เหมือนกัน
อนาคตน่าจะไปได้สวยนะ สู้ ๆ ครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ขอบคุณครับ สำหรับกำลังใจนะครับ ผมก็มีบล็อกอยู่ด้วยนะครับ http://dailymam.wordpress.com
ตอนนี้พยายามฝึกอ่านข่าว(จากเว็บนี้แหละ) :)
ม.5 ครับ สายภาษา-คณิต พอจะเข้าคณะไหนที่เกี่ยวกับคอมได้มั่งครับ
เข้าได้ทุกตัวยกเว้นวิศวคอมพิวเตอร์ครับ
เพียงแต่.. ถ้าจะเข้า CS น้องต้องสอบข้อสอบวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ของสายวิทย์) ซึ่งจะมีฟิสิกส์, เคมี, ชีวะ ครับ (บางม. อาจจะตัดชีวะออก เพราะขึ้นไปแล้วมันไม่ต้องใช้ต่อครับ) และบางม. อาจจะเขียนข้อกำหนดว่า "เอาเฉพาะสายวิทย์เท่านั้น" ซึ่งถ้าไม่ใช่วิทย์มา เค้าไม่ให้สมัครครับ น้องต้องไปลุ้นเอาใน Admission ครับ
นอกนั้นก็สอบตามที่ทางคณะเขากำหนดมาครับ
ขอบคุณมากครับ
ตอนนี้สอบติด ICT มหิดลกับวิทยาการคอม มศว แล้ว
คือผมมอบตัวมหิดลไปเรียบร้อยแล้ว แต่ค่าเทอมเข้าขั้นแพง พ่อแม่อยากให้เรียนที่อื่นอย่างพวกลาดกระบังมากกว่า แต่ผมก็เอาของมหิดลไว้ก่อนเพราะชอบมหาลัย น่าเรียนมากๆ ถ้าเกิดไปได้ที่อื่นอีกคงจะไปเอาอันที่ค่าเทอมถูกหน่อยอะครับ และผมไม่อยากอยู่หอด้วย อีกสถาบันที่อยากเข้าคือพระนครเหนือเพราะใกล้บ้านและเห็นมีทุน/โครงการต่างๆกับประเทศเยอรมนีด้วย ปีที่แล้วผมไปแลกเปลี่ยนที่เยอรมนีมา พูดได้อ่านได้พอสมควร คิดว่าถ้าได้ทุนไปเยอรมนีของพระนครเหนือคงจะดีไม่น้อย ส่วนมศว คิดว่าคงไม่เอาเพราะว่ามหาลัยเค้าคงไม่ได้แน่นเรื่องพวกนี้เท่ามหิดลหรือสถาบันอื่นๆ และไม่ค่อยชอบบรรยากาศด้วยครับ อยู่อโศกติดรถไฟฟ้าก็จริงแต่โดนตึกสูงบังรอบทิศ
มีพี่ๆที่จบ ICT มหิดลบ้างมั้ยครับ มีอะไรจะแนะนำหรือเปล่า การเรียนเป็นยังไง ปี 1 2 3 4 เรียนอะไรยังไงบ้าง ควรจะเน้นอะไร ฯลฯ
ขอบคุณครับ
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
3.พี่ไม่ได้จบICT แต่พี่จบวิศวะ สารสนเทศมาครับ แต่เห็นเพื่อนพี่มันจบ ICT มหิดล มานะครับ(รุ่นที่พึ่งจบเลยครับ)
เห็นเพื่อนพี่มันจะตั้งบริษัทเองแต่ก็ยังหาลู่ทางสำหรับทำโปรเจ็คประกวดกับต่างชาติอยู่ครับ
เท่าที่เห็นมันบอกว่าตอนเรียนมีทั้งเขียนโปรแกรม มีทั้งสอนเขียนแผนธุรกิจ แล้วยังทำโปรเจคเกี่ยวกับการดูแลระบบ
เท่าที่ดูนะครับ จะออกลักษณะของ จะเอาความรู้ทั้งหมดที่มียังไงไปทำธุรกิจครับ อันนี้พี่ไม่แน่ใจ
ส่วนเรื่องของที่พี่จบมา เหมือนเป็นภาควิชาที่คนไทยไม่ทราบว่ามีครับหรืออาจไม่น่าสนใจเท่า Soft Eng, Com Eng, Com Sci และ ICT พี่ไม่รู้เหมือนกัน แต่ไปดูของเมืองนอกน่าเรียนมากครับ
ถ้ายังไม่มีใครตอบ เด๋วพี่ไปเรียกเพื่อนพี่มาตอบให้ครับ ^^
ยังรออยู่นะครับ ^^
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
1.ผมเรียน ม.6 สายวิทย์ คณิตครับ แต่เกรด 5 เทอมน้อยมากครับ
2.ตอนแรกสนใจวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่ตอนนี้สนใจเทคโนโลยีสารสนเทศแทนแล้วครับ ส่วนวิศวะคอม ผมไม่ไหวครับ
3.ทำไมมีแต่คนบอกว่าผม geek ครับ อยากทราบมากเลยครับ
ผมจบม.ปลายที่ 2.00 ครับ เรียกว่าน้อยดีมั้ย 555 อย่าไปซีเรียสครับ ผมจบมหาลัยเกรดดีกว่าเรียนมัธยมเยอะ
ยังทันครับ ยังไม่สาย ม.6 เกรดเท่าไรไม่สำคัญ มาเร่งตอนเรียนมหาวิทยาลัยครับ คนบางคน ตอนเรียน มัธยมได้ที่โหล่ของห้อง แต่เรียนมหาวิทยาลัย ได้ที่ 1 อีกทั้ง ขนาดโทมัส เอดิสันยังกล่าวไว้เลยว่า "Genius is 1 percent inspiration, 99 percent perspiration." ดังนั้น สู้ครับ
อ่านความเห็นคุณแล้วผมนึกถึงตัวเอง ตอน ม.ปลาย ผมก็เรียนวิทย์-คณิต เกรดผมก็ไม่ถึง 3 อยู่ที่ประมาณ 2.7 เท่านั้น เรียนวิชาสายวิทย์พวกนี้ผมก็ไม่ถนัดเลย ฟิสิกส์ เคมี อังกฤษได้แย่มาก หมาไม่ก็แมวเกือบทุกตัว ผมเลือกเข้าสาขาวิทยาการคอมเพราะคิดว่าตรงกับความชอบของตัวเองมากที่สุด ผมเรียนปี 1 ได้เกรดมาแค่ 2.0 แต่ด้วยความที่ไม่ท้อถอยและพยายามเกรดผมขึ้นเรื่อยๆ 2.6, 3.3, 3.7 ไปจนถึง 4.00 ได้ครับ
ขนาดคนเรียนแย่แต่มีใจรักอย่างผมยังฟันฝ่ามาได้ คุณไม่ต้องกลัวหรอกครับถ้าคุณรักจะเรียนและมีความพยายามจริงๆ
ปล.สมัยก่อนเพื่อนก็หาว่าผม geek(สมัยนั้นยังไม่มีศัพท์คำนี้ อาจเรียกได้ว่า "เนิร์ด" มากกว่า) มาล้อผมบ่อยๆแทบจะคุยกันเป็นเลขฐานสอง 01001110001 คุณก็ไม่ต้องสนใจอะไรครับ นั่นมันเป็นบุคลิกที่เกิดจากความหลงไหลและทุ่มเทให้กับสิ่งที่เรารักครับ
1.ม.5 ครับ
2.เคยสนใจตอน ม.ต้น วิศวคอมฯ แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้วครับ เปลี่ยนแล้ว
3.ไม่ค่อยมีอะไรถามครับ เข้ามาเสพข่าวอย่างเดียวครับ
อายุ 18 ครับ สนใจคณะ ไอที อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับคณะ มีมหาวิทยาลัยไหนเปิดบ้าง มีการสอบแบบไหนบ้างอะครับ
เยอะแยะเลยครับ ให้มุ่งไปที่คุณต้องการเข้าที่ไหนมากกว่าครับ จากนั้นหาเว็บไซต์ของภาควิชาที่คุณสนใจแล้วเปิดหาดูหลักสูตรของเขาเอาครับ จะมีรายละเอียดบอกว่าจะต้องเรียนอะไรบ้าง หากต้องการเปรียบเทียบหลายๆมหาวิทยาลัยก็เอาหลักสูตรนี่มาเทียบกันครับ
1.อยู่ ม.3 ครับ กำลังจะขึ้น ม.4 ละ
2.คิดอยู่เหมือนกันครับ