ปีนี้เราคงเห็นกองทัพ ultrabook ออกมาถล่มตลาดกันเหมือนกับที่ netbook เคยเป็นกระแสอยู่ช่วงหนึ่ง ในกลุ่ม ultrabook รุ่นแรกๆ ที่เปิดตัวตั้งแต่ปีที่แล้วก็มี Acer Aspire S3 (เปิดตัว ก.ย. 2011) ซึ่งก็เข้ามาทำตลาดในบ้านเราสักระยะแล้ว
ผมมีโอกาสได้เครื่องมารีวิว (ดองนานไปหน่อยเลยเพิ่งได้เขียน) ก็มาดูกันหน่อยครับว่าความพยายามครั้งแรกของ Acer กับ ultrabook เป็นอย่างไรกันบ้าง
Ultrabook เป็น "คำประดิษฐ์" ของอินเทลที่สร้างขึ้นมาเรียกโน้ตบุ๊กสายตระกูล thin & light แต่เดิม (หรือบางที่เรียก ultraportable) โน้ตบุ๊กกลุ่มนี้มีมานานแล้วในตลาด เพียงแต่ขายราคาแพงกว่าโน้ตบุ๊กทั่วไป ซึ่งการลงมาลุยตลาดของอินเทลโดยออกชิปเฉพาะกิจครั้งนี้ ก็มีผลช่วยให้โน้ตบุ๊กกลุ่มนี้ราคาถูกลงพอสมควร (แต่เทียบกับเน็ตบุ๊กก็ยังแพงอยู่นะครับ)
ultrabook ส่วนใหญ่จะเปิดตัวที่ขนาดหน้าจอ 13.3" ขึ้นไป (ซึ่งเป็นตลาดที่ MacBook Air มาสร้างเอาไว้) เหตุผลที่ไม่มีจอขนาดเล็กกว่านี้คงเป็นเพราะไม่ต้องการไปชนกับตลาดเน็ตบุ๊กนั่นเองครับ (แต่เราก็เริ่มเห็นพวกโน้ตบุ๊กจอ 11" ที่ใช้ AMD Fusion มาแย่งตลาดอีกเหมือนกัน)
เกริ่นมาพอแล้ว มาดู Aspire S3 กันดีกว่าครับ สเปกพื้นฐานของมันตามนี้
สำหรับซีพียูและฮาร์ดดิสก์ ผมดูจากโบรชัวร์แล้ว รุ่นที่เอาเข้ามาทำตลาดเมืองไทยมี 3 รุ่นย่อยคือ
รุ่นที่ได้มารีวิวเป็นตัวท็อปสุด Core i7 + SSD นะครับ (สเปกจะใกล้เคียงกับ MacBook Air ตัวท็อป) รุ่นท็อปราคาอาจแพงเกินเอื้อมไปบ้าง แต่ถ้าดูรุ่นมาตรฐานก็อยู่ในระดับที่พอซื้อกันไหวสำหรับคนที่อยากได้โน้ตบุ๊กลักษณะนี้จริงๆ
รายละเอียดอื่นๆ ดูกันเองในเว็บ Acer ครับ
แวบแรกที่เห็น หน้าตามันคล้ายๆ กับ MacBook Air ของแอปเปิลพอสมควร แต่ลองจับไปจับมาก็ไม่เหมือนเสียทีเดียว เพราะมีกลิ่นของ Acer ยุคหลัง (สีเงินโลหะ) แทรกอยู่เยอะมาก
ด้านหน้าจะไม่มีพอร์ตเชื่อมต่อใดๆ เพราะขนาดของมันที่บางมาก และฝาพับก็ไม่มีตะขอหรือล็อค เป็นการล็อคด้วยแม่เหล็กทั้งหมด (ซึ่งก็จะเปิดยากสักนิดถ้าเปิดตัวมือเดียว)
พอร์ตส่วนใหญ่จะย้ายมาอยู่ด้านหลังซึ่งเป็นจุดที่หนาที่สุดของเครื่อง ได้แก่ สายชาร์จไฟ (ผมลองเอาสายชาร์จ Acer รุ่นอื่นๆ มาเสียบแล้วใช้งานได้ครับ), HDMI และ USB x2
ใต้เครื่องก็ไม่มีอะไรพิสดาร สังเกตมีลำโพงอยู่ใต้เครื่องทั้งสองด้าน
ด้านซ้ายของตัวเครื่อง เป็นช่องเสียบหูฟัง จากมุมนี้จะเห็นการออกแบบแนวเดียวกับ MacBook Air คือเครื่องบางลงเรื่อยๆ ในทางปลาย
ด้านขวามือเป็นช่องเสียบ SD Card ครับ
คีย์บอร์ดเป็นแบบชิคเล็ตตามสมัยนิยม และทัชแพดก็เป็นแบบแผ่นเรียบแผ่นเดียว ไม่มีปุ่มแยกให้เห็น ตามสไตล์ของแอปเปิล
ปุ่มเปิดเครื่องจะอยู่บริเวณฝาพับ
คีย์บอร์ดกลับกลายเป็นจุดอ่อนที่สุดของ Acer Aspire S3 เครื่องนี้ จากภาพจะเห็นว่าปุ่มลูกศรเล็กมาก แถมปุ่มจะแบนกว่าปกติทำให้กดผิดพลาดได้ง่ายมาก ส่วนปุ่มตัวหนังสือทั่วไปจะแบน การกดลงไปจะทำได้ไม่ลึกนัก และผมพบว่าหลายครั้งผมเจออาหาร "พิมพ์ไม่ติด" ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นปัญหาของคีย์บอร์ดลักษณะนี้เอง หรือเป็นปัญหาของเครื่องที่ได้มาทดสอบ
จากภาพคีย์บอร์ดทั้งหมด เราจะเห็นว่ายังมี "ที่ว่าง" อีกมากให้ขยายปุ่มเล็กๆ ได้เต็มพื้นที่ แต่ Acer กลับเลือกไม่ทำอย่างนี้ ทำให้การพิมพ์คีย์บอร์ดบน S3 เป็นประสบการณ์ที่ไม่น่าประทับใจสำหรับผมครับ (พยายามใช้เขียนข่าวบน Blognone แล้วไม่สำเร็จ ทนไม่ไหวก่อน)
ทัชแพดทำได้ค่อนข้างโอเค ปรับแต่งด้านซอฟต์แวร์มาเรียบร้อย รองรับ gesture แบบหลายนิ้วหลายอย่างมาให้ตั้งแต่แรก (รวมทั้ง 2-finger scrolling แต่ยังไม่มี 2-finger right click)
จอของ Acer โฆษณาว่าเป็น LED-backlit ให้ความสว่างมากกว่าปกติ ความละเอียด 1366x768 อาจจะน้อยไปสักนิดแล้วสำหรับโน้ตบุ๊กจอ 13" ในปัจจุบัน (น่าจะได้สัก 1440x900 แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาอะไรมากนัก)
แต่ที่เลวร้ายคงเป็น "จอกระจก" ที่สะท้อนอย่างร้ายกาจ ถ้าแสงในห้องทำงานจัดไม่ดีพอ ก็เล่นเอาแย่เหมือนกันครับ น่าเสียดายว่าผู้ผลิตโน้ตบุ๊กในปัจจุบันไม่ค่อยมีตัวเลือกจอแบบด้านให้เราๆ สักเท่าไรแล้ว
Aspire S3 มีน้ำหนักประมาณ 1.3 กิโลกรัม ก็ถือว่าเบามากแล้วสำหรับคนที่เคยแบกโน้ตบุ๊กขนาดปกติมา แต่ก็ไม่ได้เบาจนน่าตื่นเต้นเหมือนกับเน็ตบุ๊กหรือโน้ตบุ๊กสายที่เบาประมาณ 1 กิโลกรัม สรุปว่าตรงนี้ไม่มีอะไรแปลกใหม่ แต่ในการใช้งานจริงก็เบาอยู่ในขั้นที่พกพาได้สบาย ไม่เมื่อย ไม่หนัก
ความบางคงไม่มีผลต่อการใช้งานมากนัก แต่ก็ทำให้ตัวเครื่องดูดีขึ้นมาหลายเท่า ลองวางเทียบกับ Aspire รุ่นอื่นๆ จะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจน
เนื่องจากรุ่นที่ผมได้มาเป็นรุ่นท็อป การใช้งานจึงรวดเร็วมาก ทั้งการประมวลผล และการปลุกให้ตื่นจาก sleep (เพราะเป็น SSD) ถือว่าน่าประทับใจมาก อย่างไรก็ตามใช้โน้ตบุ๊กระดับนี้แล้วก็เกิดคำถามว่า เราต้องการสเปกขนาดนี้ในการใช้งานจริงๆ มากน้อยแค่ไหน
ตามสเปก Acer บอกว่าแบตเตอรี่ทำงานได้ 7 ชั่วโมง (6 ชั่วโมงสำหรับรุ่นที่เป็นฮาร์ดดิสก์) ผมลองใช้งานแบบปกติ ไม่ได้วัดระยะการใช้งานแบบจริงจังอะไร อยู่ได้ประมาณ 5 ชั่วโมงนิดๆ ครับ ก็ถือว่าโอเคพอสมควรสำหรับคนที่คิดจะซื้อไปทำงานนอกสถานที่โดยไม่นำอแดปเตอร์ไปด้วยเป็นครั้งคราว
ข้อดี
ข้อเสีย
ผมคิดว่าสุดท้ายแล้วปัจจัยในการผลัก ultrabook ให้เกิดคงเป็นเรื่อง "ราคา" เป็นหลัก (เหมือนกับที่เน็ตบุ๊กเคยบูมมาได้เพราะเหตุนี้) ซึ่งราคาชุดที่อินเทลตั้งมาในขั้นนี้ หลายคนอาจมองว่ายังไม่ถึงเวลาของมันสักเท่าไร
Comments
อาหาร "พิมพ์ไม่ติด"
สงใสหิวข้าวตอนทำมินิรีวิวนี้แน่เลยอิอิ
สงใส -> สงสัย
พิมพ์ไม่ติดน่าจะเป็นที่เครื่องมากกว่าครับ
เครื่องผมก็เป็นชิคเล็ต ไม่มีปัญหาใดๆ กับ keyboard
ผมก็พิมพ์ชิคเล็ตมาหลายเครื่องนะครับ แต่เพิ่งเป็นกับเครื่องนี้เครื่องแรก (ซึ่งก็ไม่กล้าฟันธงว่าเป็นกับรุ่นหรือตัวเครื่อง)
หน้าตาเหมือน MacBook Air ในระดับหนึ่ง
เป็นข้อเสียเหรอครับ :p
เป็นข้อเสียสำหรับบางคน แต่ก็เป็นข้อดีสำหรับบางคน ผมว่าน่าจะอย่างนี้มากกว่านะ 55555555
คิดไรไม่ออก ลอก Apple
เอ๊ะ... มันไม่เหมือนเลยะซักกะนิด... จริงๆนะ
ไปดู review ของที่อื่นเห็นก็บ่นเรื่องคีย์บอร์ดด้วย
งามไส้ละครับคุณ Acer...
Dream high, work hard.
ไม่ค่อยจะมั่นใจใน acer เล้ยจริงๆ
ผมรอการรีวิว(แบบมีคุณภาพ) จากคุณ mk เนี่ยหล่ะครับ (นานนิดนึงเพราะเห็นการรีวิวจากหลายเว็บพอควร)ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้มีรีวิว ultrabook ของ asus ด้วยครับ
ผมก็อยากนะครับแต่ไม่มีช่องทางติดต่อคนของ ASUS น่ะครับ (เคยเมลไปหา PR ของ ASUS เพื่อขอ ultrabook ก็พบกับความเงียบครับ)
เคยอยากได้ แต่สุดท้ายก็มาจบที่ Macbook Air เอามาลง 2 OS เอา
ราคาแม้จะถูกกว่า air อยู่เป็นหมื่น แต่ก็คงถูกเปรียบเทียบอย่างเสียไม่ได้ เพราะส่วนต่างของเงินแค่วัสดุเครื่องที่ต่างกัน แน่นอนว่า air ดูแข็งแรงกว่ามาก
ถ้าส่วนกับ air ยังไม่มากพอ แน่จะมีแรงจูงใจน้อยในการดึงดูดกลุ่มผู้ใช้ที่พอมีเงินครับ
เอาแนวเดียวกับ macbook air เลยนะ เหมือนจะเอามาทั้งดุล เลย อย่าง ACER ขนาดโน๊ตบุ๊ค ธรรมดาร้อนแทบ จะละเบิดแล้ว มาทำเป็นเล็กกว่าเดิมผมว่ามีหวังใช้ไม่ถึงปี พังละ ประกันก้ไม่ได้เรื่อง
ซื้อ Air มาลง Windows แล้วลบ Partition Mac ทิ้งไปเลย
ทำไม่ได้นะครับ การลง Bootcamp เพื่อลง Windows เป็นอีก OS หนึ่งห้ามเปลี่ยนตาราง Partition ใดๆ เด็ดขาด ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถเข้า OS ใดๆ ได้เลย ผมลองมาแล้วครับ จะว่าไป ก็อยากเขียนรีวิว Macbook Air with Windows เหมือนกัน ผมใช้มาได้สองเดือนแล้ว
เขียนเลยครับ ผมสนใจเรื่องนี้มากๆ
...
ราคาแรงแบบนี้ เก็บเงินเพิ่มอีกนิดไปถอย thinkpad ดีกว่า ทนกว่าเยอะ
Texion Business Solutions
เห็นมีคนเคยบอกว่า mac book air เลียบแบบยาก นี่ไงครับของเลียนแบบ ถึงมาช้า แต่มันก็มานะครับ
unibody ครับที่เลียนแบบยาก เพราะต้องมีเครื่องตัดพิเศษ
หาอ่านเอาเยอะๆๆนะครับบบบบบ เดี๋ยวนี้เขามีกันเพียบแล้วครับ
umm....
ลองหาอ่านเหมือนกัน +1
แต่ว่าเล็กขนาดนนี้แบตนี้ผมว่าต้องแปปเดียวหมดแน่เลย ขนาด ธรรมดาก้อนใหญ่ๆ ยังหมดเร็วเลย
ผมว่าไอ่เครื่องตัดนี่มันไม่ใช่ปัญหานะครับ เพราะ Apple เค้าก็ไปจ้างตัดเหมือนกัน ผมว่ามันเรื่องอื่นมากกว่า intel ไม่ต้องบอกผมว่าทุกคนก็คงรู้อยู่แล้วละว่าเรื่องอะไร
+1
เห็นอัตราการกินพลังงานของ CPU แล้วอยากได้มาใส่ X220 จริงๆ คงจะใช้งานได้ยาวขึ้นมากแน่ๆ - -'
ดูจากตารางคะแนนของ Windows แล้วเข้าใจว่าที่ Acer เครื่องนี้ได้คะแนนน้อยเพราะว่าทำไดรว์เวอร์การ์ดจอมาห่วย ผมใช้ Air ที่มี Graphic card เหมือนกันแต่ได้คะแนน 5.8 กับ 6.2 (เพื่อนผมใช้ Thinkpad ได้เยอะกว่านี้อีก)
ปล. ปุ่ม power ที่ฝาพับดูไม่สวยเอามากๆ
เครื่องนี้คีย์บอร์ดห่วยจริงครับ เทียบกับรุ่นข้างเคียงอย่าง UX31, Z830, U300s แล้วแพ้หมดเลย
กร้าก เอเซอร์ ห้าหมื่น ไม่เอาล่ะนะจ้ะ
S5 เปิดตัวแล้ว มี USB 3.0 ด้วย :)