การเป็นนิรนาม (Anonymity หรือ Anonymous) และอินเทอร์เน็ตอาจจะดูว่าเป็นสิ่งคู่กัน แต่ในมุมมองของ Alexander Ntoko หัวหน้าฝ่ายแผนปฏิบัติการของ International Telecommunication Union (ITU) อินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้นไม่ได้เป็นเช่นนั้น และมันก็ไม่ควรจะเป็นเช่นนั้นในอนาคตเช่นกัน
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีกระแสการเรียกร้องถึงการทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นสภาวะนิรนาม แต่ Ntoko มีมุมมองที่แตกต่างออกไป โดยเขาเชื่อว่าบางส่วนของข้อมูลส่วนตัวควรถูกเปิดเผยไว้ เพราะข้อมูลบางอย่างเราสามารถรับรู้ได้ทันทีจากการพบกันซึ่งหน้าแต่ไม่สามารถรับรู้ได้จากการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น รู้ว่าคนที่กำลังพูดคุยด้วยอยู่ขณะนี้เป็นเด็กหรือผู้ใหญ่, อยู่ในพื้นที่ภูมิภาคเดียวกันหรือไม่ หรือแม้กระทั่งรูปร่างลักษณะเป็นยังไง เขายังบอกอีกด้วยว่าในยุคเริ่มแรก อินเทอร์เน็ตก็เป็นเช่นนี้ คือไม่ได้ถูกสร้างโดยมีเป้าหมายว่ามันจะต้องเป็นสังคมนิรนาม
"ในยุคเริ่มแรกของอินเทอร์เน็ต มันเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อของบุคคลที่รู้จักกัน ในยุคของ ARPAnet นั้นทุกคนรู้จักกันหมด คุณสามารถระบุได้เลยว่ากำลังติดต่อกับใครอยู่เพียงแค่ดูจาก IP address"
แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตถูกนำไปใช้เป็นหนึ่งในหัวใจหลักของระบบสาธารณูประโภค และจะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในยุคต่อๆ ไป ซึ่งหากว่าไม่มีการสร้างอัตลักษณะในสังคมออนไลน์ (Online Identity) อาจจะทำให้เกิดการลิดรอนสิทธิของผู้ใช้ได้
"บางคณะรัฐบาลอาจจะตัดบริการบางอย่างออกไปเพื่อตัดปัญหา เนื่องจากไม่สามารถแยกแยะได้ว่าใครเป็นใครที่ใช้บริการพวกนั้นอยู่"
ถึงแม้ว่า IP address จะสามารถใช้ในการแยกแยะบุคคลได้บ้าง แต่ IP address นั้นผูกติดอยู่กับพิกัดที่อยู่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล และถึงแม้ว่า IPv6 จะสามารถทำให้บุคคลทุกคนมี IP เป็นของตัวเองได้ แต่มันก็ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้ เพราะ IPv6 ท้ายที่สุดแล้วก็ยังผูกติดอยู่กับพิกัดหรือวัตถุ ไม่ใช่บุคคลผู้ใช้จริงของมัน
"เราเชื่อมต่ออุปกรณ์และสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน จนถึงจุดจุดหนึ่ง เราต้องเริ่มหาทางแยกแยะแล้วว่าอะไรเป็นเพียงสิ่งของหรืออุปกรณ์ และอะไรเป็นคนจริงๆ ซึ่งหากว่าไม่มีการสร้างวิธีแยกแยะบุคคลบนอินเทอร์เน็ตเลย มันจะเป็นเรื่องที่ยากมาก ในขณะนี้มีบริการบางอย่างที่เราไม่สามารถบอกได้เลยว่า เรากำลังให้บริการอยู่กับโปรแกรม[ของวัตถุสิ่งของเครื่่องใช้ต่างๆ] หรือคนจริงๆ"
มันอาจจะเป็นไปได้ที่องค์กรอย่าง Facebook จะสามารถกลายมาเป็นผู้ให้บริการในการแยกแยะบุคคลได้ แต่มันก็ยังมีปัญหาอยู่ เช่นว่า มีข้อจำกัดในการเข้าถึง, รัฐบาลบางที่อาจจะไม่ไว้ใจในการที่จะให้ Facebook หรือบริษัทใดๆ มาทำหน้าที่ในจุดนี้ หรือขึ้นอยู่สถานที่ตั้งของบริษัท บริษัทเหล่านั้นอาจจะไม่สามารถทำตามกฎหมายควบคุมการใช้ข้อมูลจากต่างชาติ (data-protection laws) ของประเทศอื่นๆ ได้
ที่มา - ZDNet Australia
Comments
เห็นด้วยกับประเด็นนี้ เพราะทุกวันนี้นักเลงคีย์บอร์ดจำนวนมากมักคิดว่าในโลกอินเทอร์เน็ตไม่มีใครรู้จัก จะกากจะเกรียนยังไงแบบไหนก็ได้
~ HudchewMan's Station & @HudchewMan~
แล้วก็โดนสาวไส้มาเยอะแล้วเช่นกัน
เห็นด้วย แฃะเคยคิดแบบนี้มานานแล้ว ปัญหาในอินเตอร์เน็ทส่วนใหญ่ที่มันเกิดในตอนนี้ก็มาจากการที่มันนิรนามนี้แหละ
กลับกัน ความนิรนาม ทำให้เรามองเห็นถึงตรรกะและเหตุผล ของแต่ละคคห.และตัดสินจากสิ่งที่เขาพูด/พิมพ์ โดยไม่จำเป็นต้องใช้อคติจากหัวโขนในโลกจริง ที่เราอาจต้องเกรงใจ ไว้หน้า หรือเกลียดชังมาปะปนหรือบดบังในการคิดพิจารณาหรือแสดงความคิดเห็นครับ
เอาง่ายๆ ถ้าผมบอกว่าผมเป็นดร.จากNASA หรือจริงๆแล้วเป็นอาจารย์ของคุณ เวลาพูดอะไรก็มีคนรับฟังมากกว่าผมบอกว่าผมเป็นชาวนาหรือเป็นเด็กประถมหรือเปล่า? (บางท่านอาจจะไม่สนใจ แต่ผมเคยเจอโดนถามระดับการศึกษาในเวบนึง เพื่อพยายามdiscreditคคห.ผม ทั้งๆที่มันไม่เกี่ยวกับสิ่งที่ผมพูดเลยสักนิดเดียว ซึ่งสุดท้ายแล้วกลายเป็นว่ามันไม่ใช่อย่างที่เขาคิดซะอีก)
มันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่จะต้ัองมาหาจุดสมดุล
นิรนาม ก็มีนะที่คุณว่ามา อย่างเว็บทั่วไปก็วัดกันที่จำนวนโพส เห็นบ่อยๆ หรือวัดกันที่ตำแหน่งในเว็บ admin mod หรือหน้าตาของยูเซอร์ในเว็บนั้นๆ(สิ่งที่เคยทำมา) ซึ่งสุดท้ายมันก็ไม่ได้ต่างอะไรกับชีวิตจริง ทำอะไรคนอื่นก็จะมองแบบนั้น นิรนามหรือไม่ก็ตาม แต่จะต่างที่นิรนาม คุณสามารถ reset ตัวเองได้ทุกเมื่อเพียงแค่สมัครใหม่ ต่างจากชีวิตจริงที่ถ้าคุณทำอะไรผิดมันก็จะติดไปยันตาย มันน่าจะมีผลต่อสามัญสำนึกของคนมากพอสมควรเลย
เรื่องสร้่างอัตลักษณ์ตัวตนในเนท ก็เป็นเรื่องที่บางคนชอบไม่ชอบแตกต่างกันไป โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับสิทธิพิเศษใดๆจากการตอบเยอะๆ เพราะมันก็แค่การตลาดของเวบแบบหนึ่ง ให้คนอยากมาช่วยกันมีปฎิสัมพันธ์ในเวบนั้นมากๆเท่านั้นเอง
ส่วนเรื่องความรับผิดชอบ ผมว่า ไม่ว่ากรณีใดๆ จะนิรนามหรือไม่ ผู้ใช้ก็ต้องรับผิดชอบทางกฎหมายอยู่แล้วนี่ครับ? ก็เห็นมีคดีคอมฯและคดีหมิ่นประมาทกันประจำ ยกเว้นว่าคุณไป post ในประเทศที่เขามีเสรีภาพในการพูดมาก รัฐนั้นๆอาจจะไม่คิดว่าสิ่งที่คุณไม่ชอบว่าเป็นความผิดก็ได้
เรื่องเกรียนหรือไม่ ไม่เห็นจะเกี่ยวกันเลย บางเวบบางที่loginมีอายุ post รูปตัวเองบ่อยๆมีลูกมีเมียแล้ว กลับไปเกรียนทะเลาะกับเด็กๆอย่างไร้เหตุผลก็เยอะ ยิ่งเอาหัวโขนในโลกจริงมาเท่าไร ยิ่งมีอัตตาเยอะขึ้นครับ ประมาณว่าเถียงเด็กด้วยเหตุผลไม่ได้ก็ต้องโวยวายใช้อาวุโสข่ม ความเกรียนไม่เข้าใครออกใครครับ
แต่การบ่งบอก เพศ อายุ มันก็สร้างอคติในการสนทนาได้แล้วอย่างหนึ่ง เช่นในเวบโลกสวย ถ้ากระทู้ไหนลงท้ายด้วย "ค่ะ" จะมีคนรีบมาช่วยกันตอบเต็มไปหมด และจะยอมรับการใช้เหตุผลวิบัติของคนนั้นได้ง่ายขึ้น ทั้งๆที่บางทีก็เป็นผู้ชายปลอมตัวมาด้วยซ้ำ ที่บางคนไม่ชอบการปกปิด เพราะกลัวเจอชายปลอมเป็นหญิงแล้วจะเสียอารมณ์ที่เสียเวลาจีบไปแบบนี้หรือเปล่า(ฮา)
โดยส่วนตัวแล้วเสน่ห์ของ internet คือการที่เราสามารถโต้ตอบกันได้ โดยการพิจารณาจากความเหตุเป็นผลของสิ่งที่เขาโต้ตอบล้วนๆ ไม่ต้องคอยพะวงหัวโขนในโลกจริงนี่แหละ อย่าง FB เองก็น่าเบื่อ บางครั้งเห็นเพื่อนเรา(ที่ไม่สนิทมาก)ใช้เหตุผลวิบัติด่ากันแรงๆโชว์ขึ้นมาในหน้ารวม เราก็อยากจะไปโต้แย้ง ก็ต้องเกรงใจเขา(เคยไปโต้แย้งตรงๆ เจ้าตัวก็บอกว่าฉันอยากจะด่ามีอะไรไหมไม่สนใจรับฟังอะไรทั้งนั้น แล้วก็มีคนอื่นมารุมบอกว่า ไว้หน้าเพื่อนกันบ้าง อย่าแย้งตรงๆ?!?!) มันทำให้รู้สึกว่าสุดท้ายก็ต้อง fake กันมากขึ้น ทั้งๆที่เราเปิดเผยตัวจริงกันมากขึ้นนี่แหละ
ผมเลยคิดว่า หัวโขน เก็บไว้ในโลกจริงก็พอจะดีกว่าไหม?
+755 ครับ
ไม่จริงหรอกครับ ถึงจะนิรนามแต่ก็ต้องรับผิดชอบตาม กฎหมายครับ
ยกตัวอย่างง่ายๆ เวลาเราไปที่ไหนก็คงไม่อยากจะแขวนป้ายไว้ว่าเราชื่ออะไร นามสกุลอะไร และเราก็คงจะไม่อยากให้ใครๆรู้ว่าเราไปไหนมาบ้าง
ความเป็นส่วนตัวก็สำคัญครับ เราไม่มีหลักประกันว่า web site จะไม่เอาข้อมูลเราไป ทำอะไรที่ไม่ถูกต้องและ การเข้าถึง internet ของเรา จะถูกติดตามได้ง่ายเช่นเดียว กับ การที่มีคนติด gps ไว้กับเราตลอดเวลา
ตามกฏหมาย ต้องเกิดความเสียหายขึ้นก่อนน่ะสิครับ มันไม่เหมือนในหนัง minority report ที่จะมีตำรวจอนาคตมาเช็คบิลล่วงหน้า
สังคมนิรนามก่อให้เกิดปัญหาการล่อลวงทางเพศ ฉ้อโกง ฯลฯ
สมาชิก blognone เริ่มต้นกันง่ายๆ ด้วยการเอารูปจริงมาแปะ ก็น่าจะดีนะครับ
ผมเห็นด้วยกับเค้าตรงนี้นะ คือไม่ต้องถึงขั้นบอกเราว่าชื่อไร ประวัติอะไร แต่อย่างน้อยควรจะรู้ลักษณะคร่าวๆของคนนั้นได้บ้าง ไม่ใช่ชายปลอมเป็นหญิง หญิงปลอมเป็นชาย ปลอมเป็นเด็ก แล้วก็มาดราม่ากัน
ก็แค่เหตุผลหนึ่งเพื่อเข้าแทรกแซงตัวบุคคลของรัฐบาล และ ITU/FBI?
Don't those Feds know how much they've been hated?
ปล. อ่าน Talkback ในที่มาแล้วสะใจ "Remind me again how people can get to a leadership position with absolutely no practical knowledge?"
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมว่ามันมีทั้งข้อดีข้อเสียซึ่งต้องดูเป็นกรณีไปนะครับ
ถ้าเชื่อมกับตัวบุคคล
ถ้าไม่เชื่อม
สรุป ผมเห็นว่าต้องทำไว้ทั้ง 2 ระบบ ด้วยเหตุผลเดียวกับที่ต้องแลกบัตรเข้าตึกนั่นแหละครับ
ระบบกากเกรียนนี่แก้ด้วย Username และ User Privilege ได้นะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ในความเป็นจริงมันคงเป็นไปได้ยากมากๆ ครับ ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของคนที่มา comment ในบทความต้นฉบับสุดๆ ผมเข้าใจว่าสิ่งที่คนให้สัมภาษณ์ต้องการสื่อได้หมายถึงจะใช้ IPv6 เป็น ID
แต่ถ้ามองในมุมของ info sec จริงๆ แล้วมันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมี ID ออนไลน์ มันจะมีระบบอะไรที่ออกมาแล้วยืนยันได้ว่าจะไม่มีการปลอมแปลงกันได้ครับ?
The Cake is a Lie