ไมโครซอฟท์ได้เผยแนวคิดและวิธีการที่นักพัฒนาจะส่งแอพฯ ขึ้น Windows Store โดยบริษัทได้ตั้งเป้าหมายของการออกแบบกระบวนการส่งแอพฯ ขึ้น Windows Store ดังนี้
- พยายามให้นักพัฒนาเข้าเว็บท่าของนักพัฒนา (developer portal) ก่อนที่จะเริ่มพัฒนาแอพฯ
- ช่วยนักพัฒนาให้ทำตามความต้องการทางด้านเทคนิค (technical requirement) ของสโตร์
- ลดการทำงานซ้ำซ้อนของนักพัฒนา โดยดึงข้อมูลจากแพ็คเกจแอพฯ แทนการให้นักพัฒนากรอกเอง
ไมโครซอฟท์ได้นิยามกระบวนการนำแอพฯ ขึ้นสโตร์เป็นสองส่วน ส่วนแรกจะมีนักพัฒนาเป็น "ผู้ขับเคลื่อน" (driver's seat) ซึ่งนักพัฒนาจะส่งพัฒนา อัพโหลด และตรวจสอบด้วยตนเอง ส่วนที่สองนั้นนักพัฒนาจะกลายเป็น "ผู้โดยสาร" (passenger seat) ซึ่งนักพัฒนาจะทำได้แค่ติดตามผลการตรวจสอบและออกใบอนุญาตรับรองแอพฯ เพื่อขึ้นสโตร์เท่านั้น รายละเอียดในแต่ละหัวข้อดูได้หลังเบรค
พยายามให้นักพัฒนาเข้าเว็บท่าของนักพัฒนาก่อนที่จะเริ่มพัฒนาแอพฯ
- ไมโครซอฟท์ให้เหตุผลที่อยากให้นักพัฒนาเข้าเว็บท่าของนักพัฒนาก่อนที่จะเริ่มพัฒนาแอพฯ ว่า หากนักพัฒนาเข้าเว็บท่าเมื่อพัฒนาแอพฯ เสร็จ จะมีความเป็นไปได้สูงที่นักพัฒนาจะแก้ไขโค้ดซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการนำแอพฯ ขึ้นสู่สโตร์
- ไมโครซอฟท์จะเปิดให้นักพัฒนาจองชื่อแอพฯ ได้ ซึ่งไมโครซอฟท์จะแสดงกระบวนการนำแอพฯ ขึ้นสโตร์ในส่วนที่นักพัฒนาเป็นผู้ขับเคลื่อน เพื่อให้นักพัฒนาได้เรียนรู้ขั้นตอนและระยะเวลาที่จะใช้
- ไมโครซอฟท์ระบุว่าแนวคิด (concept) ของแอพฯ นั้นมีอยู่สามกลุ่ม คือ
- Markets การพัฒนาแอพฯ ขึ้นสโตร์เฉพาะท้องที่ที่ต้องการ และการ localize แอพฯ
- Monetization การพัฒนาแอพฯ เวอร์ชันทดลองใช้ โดยสามารถเปิดให้ทดลองใช้ตามช่วงเวลาหรือตามฟีเจอร์ที่ใช้งานได้ และรวมถึงฟีเจอร์ in-app purchase
- Services เมื่อนักพัฒนาจองชื่อแอพฯ แล้ว Windows Store จะสร้าง unique app identity และจัดเตรียมให้แอพฯ รองรับ push notification ไว้เลย ทำให้นักพัฒนาสามารถทดสอบ notification ได้ก่อนการส่งแอพฯ ขึ้นสโตร์จริงๆ
![No Description](https://www.blognone.com/sites/default/files/externals/e12d932e79d6ce8182d1709b67205a73.png)
ช่วยนักพัฒนาให้ทำตามความต้องการทางด้านเทคนิคของ Store
- ไมโครซอฟท์ได้เตรียมเครื่องมือ (ซึ่งอยู่ใน Visual Studio) ให้นักพัฒนากรอกข้อมูลเพื่อการสร้างแพ็คเกจได้โดยตรง
- นักพัฒนาสามารถตรวจสอบแอพฯ ก่อนอัพโหลดได้ โดยใช้ Windows App Certification Kit
ลดการทำงานซ้ำซ้อนของนักพัฒนา
- ในการกรอกรายละเอียดของแอพฯ นั้น Visual Studio จะพยายามดึงข้อมูลจากแพ็คเกจแอพฯ โดยตรง เช่น ข้อมูลภาษา, ความละเอียดหน้าจอที่รองรับ เป็นต้น
- หากแอพฯ รองรับหลายภาษา เมื่อทำการอัพโหลดแพ็คเกจขึ้นสโตร์แล้ว ระบบจะเปิดให้นักพัฒนาเขียนอธิบายแอพฯ ในแต่ละภาษา
- นักพัฒนาไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลอธิบายแอพฯ ทั้งหมด (อาทิ ภาพตัวอย่างหน้าจอ คีย์เวิร์ดที่ให้ผู้ใช้ค้นหา เป็นต้น) ในคราวเดียว เพราะระบบจะรองรับการบันทึกเพื่อแก้ไขในคราวหลังได้
ติดตามผลการตรวจสอบและออกใบอนุญาตรับรองแอพฯ เพื่อขึ้นสโตร์
- นักพัฒนาสามารถติดตามสถานะการตรวจสอบ การออกใบรับรอง และการนำแอพฯ ขึ้นหน้าร้านสโตร์ ขั้นตอนทั้งหมดดูไดจากภาพข้างล่าง (คำอธิบายของแต่ละขั้นตอนดูได้ที่มาของข่าว)
![No Description](https://www.blognone.com/sites/default/files/externals/1418dae2708a584face32278a73e2315.png)
ที่มา: Windows Store for developers
Comments
ขอบคุณครับ
ไม่มีชื่อ Marketplace แล้วรึนี่ ...
โอ้โห ยาวได้ใจ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
รู้สึกคราวนี้ MS เตรียมตัวมาเยอะมาก ปล่อยรายละเอียดต่างๆออกมาตลอดเลยแฮะ หวังว่าจะไปได้ดีนะ
เยี่ยมครับ เราจะรวยแล้วอิอิ
โดยส่วนตัวไม่ชอบธีมของวินโดวส์ 8 ที่สีของไอคอนเป็นแบบโมโนโครม ยุคนี้แล้วสีสันมันต้องสดใสสิครับ
เขาเน้น Metro ครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
นั้นแหละครับที่ผมไม่ค่อยเก็ต เปิดพจนานุกรม metro เฉยๆหมายถึง รถไฟใต้ดิน, มดลูก หรือถ้าเป็น metropolitan จะหมายถึงอะไรที่เกี่ยวกับเมืองหลวงเมืองใหญ่
แต่ถ้า metrosexual หมายถึง ผู้ชายแท้ที่มีบุคลิกลักษณะสะอาดสะอ้านแกมสำอาง ชอบดูแลตัวเองให้ดูดีอยู่เสมอ
ซึ่ง UI แบบนี้มันดูโค-ตะ-ระจืดเลยครับ ดูไม่ออกว่ามันจะน่าใช้ น่าสนใจตรงไหน
คือมันแล้วแค่คนนะครับ ผมติดใจในตัว Metro UI ตั้งแต่ตอนที่อยู่ Windows Phone 7 แล้วหละครับ มันดูเรียบ ๆ แต่ให้บรรยากาศที่หรูน่าใช้มาก
แต่ในทาง Windows 8 แล้ว พูดตรง ๆ ว่า ค่อย ๆ ปรับไปก่อนดีไหม เพราะว่าผู้ใช้จะงงกว่าเดิม
Coder | Designer | Thinker | Blogger